สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ธ.ค. 46) ยานวอยเอเจอร์ 1 ของนาซา กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้ง ตามรายงานจากคณะนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์กล่าวว่า ขณะนี้มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่ายานได้เดินทางไปถึงขอบเขตของลมสุริยะแล้ว นั่นหมายถึงยานกำลังจะเข้าสู่อาณาเขตของอวกาศระหว่างดาวอย่างแท้จริง สิ่งบอกเหตุว่ายานได้พ้นเขตระบบสุริยะคือความเร็วของลมสุริยะรอบยานได้ลดลงอย่าง ...

แหล่งกำเนิดดาวยักษ์

(30 พ.ย. 46) นักดาราศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรปได้พบแหล่งกำเนิดดาวแห่งหนึ่ง เป็นแหล่งกำเนิดดาวดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา การค้นพบนี้เกิดขึ้นขณะที่นักดาราศาสตร์กำลังศึกษากระจุกดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไป 5,400 ล้านปีแสงกระจุกหนึ่งในกลุ่มดาวแมวป่า ขณะนั้นได้พบแสงประหลาดสีแดงอยู่เบื้องหลัง เมื่อพยายามเทียบสเปกตรัมของแสงนี้กับวัตถุชนิดอื่นแต่ไม่พบว่าใกล้เคียงกับ ...

พบดาราจักรใหม่ อยู่ข้างบ้าน

(29 พ.ย. 46) คณะนักดาราศาสตร์จากนานาชาติคณะหนึ่งที่ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ และออสเตรเลีย ได้ค้นพบดาราจักรใหม่ดาราจักรหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดาราจักรใหม่นี้ไม่ได้อยู่ไกลโพ้นจนเพิ่งมาพบด้วยกล้องรุ่นใหม่กำลังสูง แต่เป็นดาราจักรข้าง ๆ บ้านเรานี้เอง ...

ดาวเคราะห์น้อยจิ๋วเฉียดโลก

(25 ต.ค. 46) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 ได้มีดาวเคราะห์น้อยขนาดจิ๋วดวงหนึ่งเฉียดผ่านโลกไปในระยะเผาขนที่ระยะห่างออกไปเพียง 78,000 กิโลเมตร หรือเพียงหนึ่งในห้าของรัศมีวงโคจรดวงจันทร์เท่านั้น แต่กว่าที่ชาวโลกจะรู้ตัวเวลาก็ล่วงเลยไปแล้วหนึ่งวันรอเบิร์ต เอ. แคช จาก โครงการค้นหาวัตถุใกล้โลกหอดูดาวโลเวลล์หรือ โลเนียส (LONEOS--Lowell Observatory Near-Earth Object Search) ค้น ...

แกะรอยดาราจักรแคระคนยิงธนู

(25 ต.ค. 46) เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรเพื่อนบ้านใหม่ที่ถูกลืมมาเป็นเวลานาน เป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้ดาราจักรทางช้างเผือกมากที่สุด ใกล้กว่าดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่หลายเท่า ดาราจักรนี้มีชื่อว่า ดาราจักรแคระคนยิงธนู ด้วยเหตุที่ดาราจักรนี้อยู่ด้านหลังใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก จึงถูกฝุ่นแก๊สที่หนาทึบบดบังไป จึง ...

ดาวแคระน้ำตาลคู่

(22 ต.ค. 46) เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์เยอรมันคณะหนึ่งได้ค้นพบดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งรอบดาวเอปไซลอนอินเดียนแดง (Epsilon Indri) มีชื่อว่า ดาวเอปไซลอนอินเดียนแดงบี และได้ตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อทราบว่าดาวดวงนั้นเป็นดาวแคระน้ำตาลที่อยู่ใกล้โลกที่สุดเท่าที่เคยพบมา แต่ในขณะนั้นเขายังไม่ทราบว่า แท้จริงดาวแคระน้ำตาลดวงนี้มีความลับที่น่าตื่นเต้นมากกว่านั้นอีก ...

พายุรังสีคอสมิกจากดาวแม่เหล็ก

(22 ต.ค. 46) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ได้เกิดคลื่นพลังงานรุนแรงในอวกาศพัดผ่านโลกไป ดาวเทียมที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลกตรวจพบระดับของรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาสูงมาก นักเล่นวิทยุสมัครเล่นถึงกับติดต่อสื่อสารกันไม่ได้ ปรากฏการณ์ในครั้งนั้นอาจถือว่าเป็นเรื่องปรกติ เพราะแทบทุกครั้งที่เกิดพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์มายังโลกก็จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่สำหรับครั้งนั้นต้องถือว่าไม่ปรกติ เพราะคลื่นพลังงานครั้งนั้นไม่ ...

ฮับเบิลสนับสนุนภารกิจโรเซตตา

(27 ก.ย. 46) ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศที่ร่อนลงดาวเคราะห์ได้มาหลายสิบปีแล้ว ยานที่ร่อนลงบนดาวเคราะห์น้อยก็ทำได้แล้ว แต่การควบคุมให้ยานอวกาศร่อนลงจอดบนดาวหางนั้นยังไม่เคยมี แต่ ...

เรื่องมืดๆ จากการประชุมดาราศาสตร์ที่ซิดนีย์

(13 ก.ย. 46) ระหว่างวันที่ 13 ถึง 26 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากทั่วโลกได้รวมกันที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ในการประชุมสามัญของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ซึ่งจัดขึ้นทุก 3 ปี สาระการประชุมครอบคลุมทุกด้านในดาราศาสตร์ ประเด็นหนึ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือเรื่องที่เกี่ยวกับสสารมืด ซึ่งเป็นสิ่งลึกลับที่คาดว่า ...

นกฟีนิกซ์คืนชีพ

(13 ก.ย. 46) เมื่อหลายปีก่อน ยานสำรวจดาวอังคารของนาซาชื่อมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ได้เกิดอุบัติเหตุสูญหายไปขณะเดินทางไปดาวอังคาร บัดนี้ทายาทของมาร์สโพลาร์แลนเดอร์กำลังจะคืนชีพกลับมา ในชื่อของ ฟีนิกซ์ ยานฟีนิกซ์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแอริโซนา เป็นยานสำรวจดาวอังคารในโครงการมาร์สสเกาต์ ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศออกมาแล้วว่ายานฟีนิกซ์ ...

ภาพล่าของดาวหางฮัลเลย์

(13 ก.ย. 46) เมือต้นเดือนมีนาคม ขณะที่นักดาราศาสตร์กำลังสำรวจวัตถุประเภทวัตถุนอกวงโคจรดาวเนปจูน (TNO--Trans-Neptunian Object) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ยักษ์สามกล้องของเครือข่ายวีแอลที (VLT--Very Large Telescope) คณะได้สามารถถ่ายติดภาพของดาวหางฮัลเลย์ได้ ขณะนั้น ดาวหางฮัลเลย์อยู่ห่างเกือบเท่ากับดาวเนปจูน หรือประมาณ 4,000 ล้านกิโลเมตรจากโลก มีอันดับความ ...

เควสต์พบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่

(28 ส.ค. 46) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา กล้องเควสต์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวใหม่ของนาซา ได้พบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ที่มีขนาดถึง 250 เมตรและโคจรใกล้กับวงโคจรโลก หลังจากการค้นพบครั้งแรกไม่นาน การสำรวจเพิ่มเติมโดยหอดูดาวอีกสามแห่งและโดยศูนย์ดาวเคราะห์น้อยก็ยืนยันการค้นพบนี้ และตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยนี้ว่า 2003 NL7 แม้ว่า 2003 NL7 จะจัดอยู่ในจำพวกดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก แต่แน่ใจได้ว่า ...

แผนที่น้ำใต้ดินดาวอังคารฉบับปรับปรุง

(28 ส.ค. 46) ที่ประชุมดาวอังคารนานาชาติครั้งที่หกในพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา วิลเลียม เฟลด์แมน จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสลามอส หัวหน้านักสำรวจประจำสเปกโทรมิเตอร์นิวตรอนของยานมาร์สโอดิสซี ได้แสดงแผนที่ที่แสดงแหล่งน้ำบนดาวอังคารใหม่ที่ได้จากยานมาร์สโอดิสซีย์และแผนที่แสดงความสูงที่ได้จากมาตรวัดสูงของยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ เมื่อเปรียบเทียบ ...

ดาวเคราะห์ชอบโลหะ

(28 ส.ค. 46) การค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นในช่วงที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์มักพุ่งเป้าไปยังดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ โดยเชื่อว่าดาวประเภทดวงอาทิตย์เป็นดาวที่น่าจะมีดาวเคราะห์มากกว่าชนิดอื่น ๆ แต่ต่อจากนี้นักดาราศาสตร์อาจต้องเปลี่ยนเป้าหมายเสียใหม่ นักล่าดาวเคราะห์ชื่อ เดบรา ฟิสเชอร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกับ เจฟฟ์ วาเลนตี จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศได้วัดสเปกตรัมเพื่อ ...

พายุฝุ่นดาวบุกระบบสุริยะ

(28 ส.ค. 46) นับตั้งแต่ปี 2535 ยานยูลีสซีสได้สำรวจระบบสุริยะมาอย่างต่อเนื่องจากหลายมุมมอง ภารกิจหนึ่งในหลายภารกิจของยูลีสซีสคือ สำรวจกระแสของฝุ่นดาวที่พัดผ่านระบบสุริยะ ปัจจุบันดวงอาทิตย์พุ่งผ่านกลุ่มเมฆของฝุ่นดาวก้อนหนึ่งด้วยอัตราเร็ว 26 กิโลเมตรต่อวินาที ด้วยอัตราเร็วเท่านี้ ฝุ่นแต่ละเม็ดจะใช้เวลา 20 ปีในการเดินทางผ่านระบบสุริยะ จากการสำรวจด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่าดัสต์ของยานพบว่าสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์มีผลต่อกระแสของ ...

ดาวที่แป้นที่สุด

(19 ก.ค. 46) ดาวอะเคอร์นาร์ หรือ ดาวแอลฟาแม่น้ำ เป็นดาวสว่างที่รู้จักกันดีในซีกฟ้าใต้ มีอันดับความสว่าง 0.5 เป็นดาวสว่างเป็นอันดับ 9 บนท้องฟ้า อยู่ห่างจากโลก 145 ปีแสง เป็นดาวฤกษ์ชนิดบี มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6 เท่า เมื่อเร็ว ๆ นี้นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวอะเคอร์นาร์มีความพิเศษเหนือกว่าดาวดวงใด นั่นคือเป็นดาวที่แป้นที่สุดในท้องฟ้า ...

เพื่อนบ้านที่ถูกลืม

(18 ก.ค. 46) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งนำโดย บอนนาร์ด เจ. ทีการ์เดน จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดของนาซา ได้ค้นพบดาวฤกษ์ดวงใหม่ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรามาก ดาวดวงนี้มีชื่อว่า SO 025300.5+165258 มีอันดับความสว่าง 15.4 ซึ่งเกือบเท่ากับขีดจำกัดของกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ซีซีดี จึงไม่น่าแปลกใจที่จะหลุดร ...

กล้องโทรทรรศน์อวกาศกล้องแรกของแคนาดา

(11 ก.ค. 46) องค์การอวกาศแคนาดา ได้ปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโมสต์ (MOST--Microvariability and Oscillations of Stars) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศกล้องแรกขององค์การขึ้นสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศโมสต์ มีขนาดประมาณกระเป๋าเดินทางเท่านั้น กล้องหลักมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 15 เซนติเมตร นับเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เล็กที่สุดในโลก แต่คุณภาพของกล้องไม่ได้. ...

กำเนิดดาวยักษ์

(7 ก.ค. 46) นักดาราศาสตร์ยุโรปได้พบหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนว่า ดาวฤกษ์มวลสูงเกิดขึ้นจากการสะสมดาวทีละน้อย ไม่ใช่เกิดจากการชนและหลอมรวมกันของดาวฤกษ์ดวงเล็ก ดาวฤกษ์มวลสูงมีอายุสั้น ทำให้การศึกษากำเนิดของดาวฤกษ์จำพวกนี้ทำได้ยากเนื่องจากหาดาวฤกษ์มวลสูงที่ยังอยู่ช่วงต้นไม่ค่อยพบ โดยเฉพาะช่วงที่ยังเป็นดาวก่อนเกิด (protostar) ซึ่งดาวยังถูกห้อมล้อมด้วยม่านก๊าซและฝุ่นในช่วงที่ใกล้จะเป็นดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์ ...

ดวงอาทิตย์สองขั้วเหนือ

(13 มิ.ย. 46) โดยปรกติ ดวงอาทิตย์มีขั้วแม่เหล็กสองขั้วเช่นเดียวกับโลก คือขั้วเหนือและขั้วใต้ แต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2543 ขั้วใต้แม่เหล็กของดวงอาทิตย์อ่อนลงและเกิดขั้วเหนือขึ้นแทนที่ กลายเป็นดาวฤกษ์ที่มีขั้วเหนือสองขั้ว แม้เรื่องนี้จะฟังดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อแต่ก็เกิดขึ้นจริง ปรากฏการณ์นี้เป็นผลข้างเคียงจากวัฏจักรสุริยะ ซึ่งมีคาบ 11 ปีเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของไดนาโมใน ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น