สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(13 มิ.ย. 46) ในที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันที่แนชวิลล์ คณะนักดาราศาสตร์ที่นำโดยซูซาน จี. เนฟฟ์ จากนาซาและศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด เจมส์ เอส. อัลเวสทัด จากหอดูดาววิทยุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา และ สเตซี เติ้ง จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ได้แสดงผลการสำรวจซากซูเปอร์โนวา 5 ซากในกระจุกดาวกระจุกหนึ่งในในดาราจักรอาร์ป 299 (Arp 299) ...

ฮับเบิลพบดาวพิสดาร

(8 มิ.ย. 46) เมื่อต้นเดือนมกราคม 2545 นิโคลัส บราวน์ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวออสเตรเลียถ่ายภาพกลุ่มดาวยูนิคอร์น เขาได้สังเกตว่ามีดาวอันดับความสว่าง 10 ดวงหนึ่งปรากฏอยู่ในที่ ๆ ไม่เคยมีมาก่อน หลังจากที่โลกทราบข่าวการค้นพบนี้ นักดาราศาสตร์ทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นทั่วโลกต่างพุ่งความสนใจมายังดาวดวงนี้ และได้พบว่ามีความสว่างมากขึ้น ...

พื้นผิวของไททัน

(8 มิ.ย. 46) เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 เป็นเวลาตามกำหนดที่ยานยานแคสซินีจะเดินทางไปถึงดาวเสาร์ และปล่อยยานสำรวจไฮเกนส์ลงไปบนดวงจันทร์ไททัน ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อมาเป็นเวลานานว่าเป็นโลกแห่งไฮโดรคาร์บอน แต่จากข้อมูลการสำรวจไททันโดยกล้องบนพื้นโลก ชี้ว่าสิ่งที่ยานไฮเกนส์พบอาจเป็นโลกแห่งน้ำแข็งแทน. ...

เนปจูนก็มีฤดูกาล

(26 พ.ค. 46) ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลเป็นอันดับที่ 8 ของระบบสุริยะ และมีลักษณะและความเปลี่ยนแปลงน้อยมากจนดูเหมือนเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่นักดาราศาสตร์เพิ่งพบว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีฤดูกาลด้วย ...

มาร์สเอกซ์เพรสพร้อมขึ้นสู่อวกาศ

(23 พ.ค. 46) ยานมาร์สเอกซ์เพรส ได้กำหนดวันที่ขึ้นสู่อวกาศใหม่แล้วเป็นวันที่ 2 มิถุนายน ที่ไบโคนอร์ ประเทศคาซัคสถาน ยานมาร์สเอกซ์เพรสเป็นยานสำรวจดาวอังคารลำแรกและถือเป็นยานนำร่องของโครงการสำรวจดาวอังคาร ขององค์การอวกาศยุโรป เพราะหลังจากนี้ระหว่างปี 2546 ถึง 2547 จะมียานอวกาศจากอีเอสโอไปสำรวจดาวอังคารอีกไม่น้อยกว่าสี่ลำ ...

สสารมืดในดาราจักรรี

(15 พ.ค. 46) เป็นที่ยอมรับกันมาอย่างกว้างขวางว่า ราว 90 เปอร์เซ็นต์ของมวลในเอกภพเป็นมวลของสสารที่มองไม่เห็นหรือที่เรียกกันว่า สสารมืด แนวคิดนี้เกิดขึ้นในต้นทศวรรษ 1970 โดย วีรา รูบิน เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่แปลกประหลาดที่ขอบด้านนอกของดาราจักรชนิดก้นหอย ซึ่งมีความเร็วไม่สอดคล้องกับการกระจายมวลตามรูปของดาราจักรที่ปรากฏ หากมวลของดาราจักรมีการกระจายเช่นเดียวกับรูปของดาราจักรนั่นคือมีมวลแน่นที่สุดตรงดุมของดาราจักร ...

แสงวาบรังสีแกมมาที่สว่างที่สุด

(14 พ.ค. 46) เมื่อเวลา 6.37 นาฬิกา (EST) ของวันที่ 29 มีนาคม ได้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่ตำแหน่งห่างออกไปสองพันล้านปีแสง มีความสว่างในย่านรังสีแกมมายิ่งกว่าวัตถุอื่นในเอกภพทั้งหมดรวมกัน การระเบิดกินเวลา 30 วินาที หลังจาก ...

แผนที่เอกภพจากทูแมส

(26 เม.ย. 46) โครงการทูไมครอนออลสกายเซอร์เวย์ หรือ ทูแมส (2MASS--Two Micron All Sky Survey) ได้เสร็จสิ้นภารกิจในการถ่ายภาพทั่วฟ้าแล้ว ทิ้งผลงานคือแผนที่ท้องฟ้ากว่า 5 ล้านภาพ แสดงวัตถุท้องฟ้า ...

ใช้แบบจำลองดวงอาทิตย์สำรวจแอลฟาคนครึ่งม้า

(24 เม.ย. 46) ในจำนวนดาวฤกษ์นับแสนนับล้านดวงในดาราจักรของเรา มีดาวเพียงดวงเดียวที่เรารู้จักดีที่สุดก็คือดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ได้พยายามประยุกต์แบบจำลองของดวงอาทิตย์เพื่อใช้กับดาวฤกษ์ดวงอื่น การทดลองกับกล้องวีแอลทีทำให้นักดาราศาสตร์สามารถวัดขนาดของดาวฤกษ์ใกล้เคียงทางตรงได้เป็นครั้งแรก เป็นการยืนยันความถูกต้องของแบบ ...

ดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์

(23 เม.ย. 46) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวเสาร์เพิ่มขึ้นอีก 1 ดวง ดวงจันทร์ดวงนี้พบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ด้วยกล้องซุบะรุ ขนาด 8.3 เมตร ที่ยอดเขามานาเคอา หลังจากนั้นจึงติดตาม ...

หลักฐานของหลุมดำปานกลาง

(12 เม.ย. 46) ปัจจุบันนักดาราศาสตร์รู้จักและค้นพบหลุมดำมาแล้วหลายดวง หลุมดำเท่าที่ค้นพบมาพอจะแบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ตามมวลคือ หลุมดำยักษ์ ซึ่งมีมวลหลายล้านหรือถึงหลายพันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ อยู่ตามใจกลางของดาราจักรต่าง ๆ อีกชนิดหนึ่งคือหลุมดำมวลดาวฤกษ์ ซึ่งมีมวลเพียงไม่กี่ ...

พบหลักฐานของดาวเคราะห์ในวงแหวนดาวฤกษ์

(12 เม.ย. 46) เมื่อ 17 ปีก่อน นักดาราศาสตร์ได้สำรวจดาว HD 141569A ด้วยดาวเทียมไอราส พบว่าดาวดวงนี้มีการแผ่รังสีอินฟราเรดมากผิดปรกติ คาดกันว่ารังสีอินฟราเรดส่วนเกินนี้เกิดจากฝุ่นก๊าซในจานพอกพูนมวล (accreation disc) ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบในการสร้างดาวเคราะห์ล้อมรอบดาวอยู่ ดังนั้นดาวดวงนี้จึงเป็นที่คาดหมายว่าน่าจะมีดาวเคราะห์เป็นบริวารอยู่ ...

จุดดำใหญ่ของดาวพฤหัสบดี

(1 เม.ย. 46) นักดาราศาสตร์เคยคิดว่า สิ่งที่ใหญ่ที่สุดบนดาวพฤหัสบดีคือจุดแดงใหญ่ แต่ยานแคสซินีได้ค้นพบคู่แข่งที่พอฟัดพอเหวี่ยงของจุดแดงใหญ่แล้ว นั่นคือ “จุดดำใหญ่” ความจริงแล้วแคสซินีไม่ใช่ผู้ค้นพบจุดดำใหญ่เป็นรายแรก ก่อนหน้านี้ในปี 2540 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเคยถ่ายภาพของจุดดำใหญ่นี้มาก่อนในภาพอัลตราไวโอเลต ซึ่งนั่นเป็นเพียงภาพเดียวที่ถ่ายได้ และหลังจากนั้นก็ไม่เคยได้ภาพ ...

อำลา กาลิเลโอ

(15 มี.ค. 46) หลังจากการปฏิบัติภารกิจอันยาวนานถึง 13 ปีและโคจรรอบดาวพฤหัสบดีมาถึง 34 รอบ ยานกาลิเลโอได้จบภารกิจลงแล้วอย่างสมเกียรติ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้ควบคุมยานกาลิเลโอขององค์การนาซาได้ปิดเครื่องบันทึกแถบข้อมูลหน่วยความจำและปิดการสื่อสารระหว่างยานกับโลกลง เป็นการยุติภารกิจอันยาวนาน ...

ดวงจันทร์ใหม่ของดาวพฤหัสบดี

(14 มี.ค. 46) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นอีก 11 ดวง สร้างสถิติใหม่ให้กับดาวพฤหัสบดีในฐานะที่เป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์มากที่สุดถึง 52 ดวง นักดาราศาสตร์ที่ค้นพบนี้นำโดยสกอตต์ เชปพาร์ด จากมหาวิทยาลัยฮาวาย เดวิด จีวิตต์ จากมหาวิทยาลัย. ...

หลุมอุกกาบาตที่อายุน้อยที่สุดบนดวงจันทร์ (จริงหรือ?)

(13 มี.ค. 46) เมื่อไม่นานมานี้ บอนนี เจ. บูแรตตี จากเจพีแอลและ เลน จอห์นสัน ได้รายงานว่า ภาพจุดสว่างบนดวงจันทร์ที่ปรากฏบนภาพที่ถ่ายโดย ลีออน สจวร์ต เมื่อปี 2496 นั้น อาจเป็นภาพอุกกาบาตพุ่งชนดวงจันทร์ โดยได้อ้างหลักฐานจากภาพถ่ายดวงจันทร์ที่ถ่ายโดยยานเคลเมนไทน์ ซึ่ง ...

ดาวเคราะห์น้อยวงโคจรเล็กกว่าโลก

(8 มี.ค. 46) คณะสำรวจดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น หรือลีเนียร์ (LINEAR--Lincoln Near Earth Asteroid Research) ได้พบดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีวงโคจรเล็กกว่าวงโคจรโลก ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2003 CP20 ค้นพบเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ...

แผนที่น้ำบนดาวอังคาร

(8 มี.ค. 46) นักดาราศาสตร์ทราบมาเป็นเวลานานแล้วว่า ในอดีตดาวอังคารเคยเป็นดาวเคราะห์ที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ จากหลักฐานที่ปรากฏมากมายในรูปของหุบผาชัน คลอง ร่องธาร และอื่น ๆ แต่ปัญหาใหญ่ที่ยังหาคำตอบไม่ได้คือ ปัจจุบันน้ำเหล่านั้นหายไปไหน? มาร์สโอดิสซีย์มีคำตอบ ...

มาร์สโอดิสซีย์ไขปริศนาร่องธารบนดาวอังคาร

(8 มี.ค. 46) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ดร.ฟิลลิป อาร์. คริสเทนเซน จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต หนึ่งในทีมงานของภารกิจมาร์สโอดีสซีย์ของนาซา และเป็นผู้รับผิดชอบอุปกรณ์เทมีส (THEMIS) บนยาน รายงานว่าพบหลักฐานสำคัญที่สามารถไขปริศนาร่องธารบนดาวอังคารได้แล้ว ...

ปิดฉากไพโอเนียร์ 10

(8 มี.ค. 46) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 วิศวกรของนาซาประสบความล้มเหลวในการพยายามติดต่อกับยานไพโอเนียร์ 10 หลังจากที่สัญญาณจากยานได้ขาดหายไปตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2546 หลังจากนั้นทางนาซาได้ตัดสินใจยกเลิกการพยายามติดต่อกับยานอีกต่อไป คาดว่าขณะนี้เชื้อเพลิงพลูโตเนียม ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น