สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(9 มิ.ย. 45) นักดูดาวทุกคนทราบดีว่า การดูดาวฤกษ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ไม่ว่าจะมีกำลังขยายเท่าใด ก็จะมองเห็นดาวฤกษ์เป็นเพียงจุดสว่างเท่านั้น การจะมองให้เห็นเป็นดวงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่จริงเสมอไป เพราะคงต้องยกเว้นดวงหนึ่งที่พอจะมองเห็นขนาดของดาวและบรรยากาศได้ ดวงนี้คือ ...

คลื่นยักษ์จากดีปอิมแพกต์ ของจริงสูงกว่าในหนัง

(9 มิ.ย. 45) ใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่องดีปอิมแพกต์เมื่อ 4 ปีก่อน คงยังจำฉากหายนะจากอวกาศได้ติดตา ดาวเคราะห์น้อยได้พุ่งชนโลกที่มหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดมหึมาเข้าถล่มนิวยอร์กและเมืองใหญ่อีกหลายเมือง หลายคนคงอยากรู้ใช่ไหมว่า หากเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นจริง ๆ ผล ...

บอเรลลี ดาวหางที่ร้อนแล้ง

(5 มิ.ย. 45) นักดาราศาสตร์เคยเชื่อมาเป็นเวลานานว่า นิวเคลียสของดาวหางคือก้อนน้ำแข็งผสมฝุ่นที่เย็นยะเยือก แต่ข้อมูลจากยานดีปสเปซ 1 ที่ได้เฉียดเข้าใกล้ดาวหางบอเรลลี (19P/Borelly) เมื่อปีที่แล้วพบว่าไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์สเปกตรัมของนิวเคลียสของดาวหางบอเรลลีพบว่า บนผิวนิวเคลียสไม่มีร่องรอยของแร่ธาตุที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเลย และยังพบว่านิวเคลียสของบอเรลลีมีอุณหภูมิอยู่ ...

ดาวฤกษ์เฉื่อยชา

(14 พ.ค. 45) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดย ลูอิซา รีบุล จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและเจพีแอล ได้ใช้กล้อง 30 นิ้วของหอสังเกตการณ์แมกโดนัลด์ สำรวจและวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ในเนบิวลานายพรานและเนบิวลากรวยราว 9,000 ดวง แต่จากจำนวนหลายร้อยดวงที่สามารถวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองได้ รีบัล พบว่ามีหลายดวงที่หมุนรอบตัวเอง ...

หอสังเกตการณ์ใหม่ไขปัญหานิวทริโน

(11 พ.ค. 45) ที่ประชุมดาราศาสตร์อเมริกาที่นิวเม็กซิโกเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้แสดงผลการสำรวจจากหอสังเกตการณ์นิวทริโนแห่งใหม่ของแคนาดาที่เป็นการพิสูจน์ชัดว่า นิวทริโนมีมวลจริง และสามารถไขปริศนานิวทริโนของดวงอาทิตย์ได้อย่างสิ้นเชิง ...

ฮับเบิลโชว์ภาพจากอุปกรณ์ใหม่

(6 พ.ค. 45) เมื่อวันที่ 30 เมษายน นาซาได้เปิดเผยภาพจากอุปกรณ์เอซีเอสของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นถึงภาพวัตถุท้องฟ้าในแบบที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน อุปกรณ์เอซีเอส (ACS) ย่อมาจาก Advanced Camera for Surveys เป็นอุปกรณ์ตัวใหม่ล่าสุดที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลโดยนักบินอวกาศในภารกิจซ่อมบำรุง ...

วัดอายุเอกภพด้วยดาวแคระขาว

(4 พ.ค. 45) เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียนำโดย ฮาร์เวย์ ริเชอร์ ได้ศึกษาหาอายุเอกภพด้วยวิธีการที่ต่างไปจากที่คณะอื่นเคยทำมา แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาสอดคล้องกันที่ประมาณ 14,000 ล้านปี ...

จันทราพิสูจน์เควซาร์คู่

(18 เม.ย. 45) เควซาร์คู่หนึ่งในกลุ่มดาวปลาชื่อ Q2345+007A และ Q2345+007B ถูกค้นพบเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน เควซาร์นี้อยู่ใกล้เคียงกันมากเพียง 7.3 พิลิปดา มีสเปกตรัมเหมือนกันและมีค่าการเลื่อนไปทางแดง 2.15 เท่ากัน จากคุณสมบัติที่เหมือนและตำแหน่งที่ใกล้กันมาก ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเป็นภาพลวงตาจากเลนส์ความโน้มถ่วงมากกว่า หมายความว่าวัตถุคู่นี้เป็นเควซาร์เดี่ยว แต่มีความโน้มถ่วงมหาศาลที่ขวางทางอยู่ระหว่างเควซาร์กับโลก แรงโน้มถ่วงทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของแสงและปรากฏเป็นเควซาร์คู่เมื่อมองจากโลก ...

ดาวเคราะห์น้อยอันตรายหมายเลขหนึ่ง 1950 DA

(16 เม.ย. 45) ดาวเคราะห์น้อย 1950 DA ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อ 52 ปีก่อน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นอีกเลยมาเป็นเวลาถึงครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งปี 2543 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมทั้งข่าวใหม่มาสะกิดขวัญชาวโลก ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อาจชนโลกในอีก 800 กว่าปีข้างหน้า ...

กระจุกดาวชนิดใหม่

(13 เม.ย. 45) เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า ในเอกภพมีวัตถุประเภทกระจุกดาวอยู่ 2 ชนิด นั่นคือ กระจุกดาวเปิดและกระจุกดาวทรงกลม ทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ได้พบกระจุกดาวจำนวนหนึ่งที่มีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างกระจุกดาวทั้งสองแบบจนไม่สามารถจัดประเภทให้เข้ากับแบบใดแบบหนึ่งข้างต้นได้ ...

ปริศนาอายุพัลซาร์

(10 เม.ย. 45) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วงการนักดาราศาสตร์เชื่อว่าได้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของพัลซาร์และดาวนิวตรอนเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบบางอย่างทำให้นักดาราศาสตร์เริ่มไม่มั่นใจและต้องทบทวนทฤษฎีของพวกเขาอีกครั้ง ตามทฤษฎีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ดาวนิวตรอนเกิดขึ้นจากดาวฤกษ์ที่มีน้ำหนักมาก เมื่อดาวฤกษ์นั้นมีอายุมากจนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในใจกลาง ...

แมรีคืนชีพ

(29 มี.ค. 45) แมรี (MARIE--Matian Radiation Environment Experiment) หนึ่งในสามอุปกรณ์สำคัญของยานมาร์สโอดิสซีย์ กลับมาทำงานได้แล้ว หลังจากหยุดการทำงานไปนานหลายเดือน แมรี เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดความเข้มข้นของรังสีในอวกาศบริเวณใกล้เคียง ...

เขย่าขวัญรับลมร้อนกับ 2002 EM7

(23 มี.ค. 45) เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ระบบตรวจจับวัตถุแปลกปลอมอัตโนมัตได้ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้รับชื่อว่า 2002 EM7 ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่ถอยห่างออกจากโลก แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้แล้วจึงได้พบว่า 2002 EM7 ได้เฉียดเข้าใกล้โลกที่สุดไปเมื่อ 4 วันก่อนหน้านั้นโดยอยู่ห่างเพียง 464,000 กิโลเมตร หรือมากกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์เพียง ...

การลุกจ้ารังสีเอกซ์บนดาวพฤหัสบดี

(16 มี.ค. 45) ปลายปี 2543 เป็นช่วงเวลาที่มีการสำรวจดาวพวฤหัสบดีพร้อม ๆ กันในระยะใกล้จากยานอวกาศ 2 ลำ นั่นคือยานกาลิเลโอ และยานแคสซีนี เป็นโอกาสอันพิเศษสุดที่หาไม่ได้ง่ายนัก ในครั้งนั้น ยานแคสซีนีได้ตรวจพบแสงวาบรังสีเอกซ์ออกมาจากดาวพฤหัสบดีเป็นช่วง ๆ ห่างกันช่วงละ 45 นาที แสงวาบนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 และเกิดขึ้นเป็นเวลานาน 10 ชั่วโมง หรือ 1 รอบการหมุนรอบ ...

ลูกอุกกาบาตยักษ์จากดาวอังคาร

(13 มี.ค. 45) นักธรณีวิทยาชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบลูกอุกกาบาตจากดาวอังคารขนาดใหญ่จากบริเวณทุ่งน้ำแข็งบนเทือกเขายามาโตะ ในทวีปแอนตาร์กติกา ลูกอุกกาบาตนี้ได้ชื่อว่า ...

เซติทักทายไพโอเนียร์ 10

(13 มี.ค. 45) เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โครงการฟีนิกซ์ของสถาบันเซติได้เริ่มการสำรวจสิ่งมีชีวิตนอกโลกรอบใหม่ซึ่งจะกินเวลานาน 3 สัปดาห์ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ยักษ์เอริซิโบกวาดสัญญาณจากดาวฤกษ์ใกล้เคียงเพื่อเสาะหาสัญญาณที่อาจจะสร้างขึ้นโดยอารยธรรมนอกพิภพ นักวิทยาศาสตร์ของโครงการได้ ...

วงแหวนรอบระบบสุริยะช่วยค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น

(11 มี.ค. 45) มาร์คุส ลันด์กราฟ จากองค์การอวกาศยุโรปและคณะได้ค้นพบวงแหวนฝุ่นล้อมรอบระบบสุริยะเป็นครั้งแรก วงแหวนฝุ่นนี้มีระยะเริ่มตั้งแต่วงโคจรของดาวเสาร์ออกไป การค้นพบนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ค้นหาระบบสุริยะอื่น ๆ ในดาราจักรของเราได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกมาก ...

ดาราจักรแคระคนยิงธนูกับแมเจลแลนใหญ่อาจเป็นพี่น้องกัน

(5 มี.ค. 45) ดาราจักรแคระคนยิงธนู (Sagittarius dwarf) ซึ่งเป็นดาราจักรที่ใกล้ทางช้างเผือกมากที่สุด อาจเคยเป็นดาราจักรเดียวกันกับเมฆแมเจลแลนใหญ่มาก่อน แต่แยกจากกันเนื่องจากแรงดึงดูดของทางช้างเผือก หรือจากการที่ถูกดาราจักรอื่นชน ...

ลอร์ดออฟเดอะริง มหัศจรรย์แห่งวงแหวน

(21 ก.พ. 45) กล้องโทรทรรศน์วีแอลที (Very Large Telescope) ของหอสังเกตการณ์ยุโรปซีกโลกใต้ได้เปิดเผยภาพถ่ายล่าสุดของกล้องเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นภาพถ่ายดาวเสาร์พร้อมวงแหวนที่มีความคมชัดอย่างสุดยอด นับเป็นภาพดาวเสาร์ที่ดีที่สุดเท่าที่กล้องบนพื้นโลกเคยทำได้ ...

ดาราจักรกังหันพิสดาร

(11 ก.พ. 45) ในบรรดาดาราจักรหลากหลายรูปแบบในเอกภพ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าดาราจักรชนิดก้นหอยมีรูปร่างสวยงามที่สุด สำหรับ จีน ไบร์ด ก็เช่นกัน เมื่อสิบห้าปีก่อน ขณะที่เขากำลังเพลิดเพลินกับรูปดาราจักร NGC 4622 ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยที่มีแขนสองแขนวนตามเข็มนาฬิกาโอบล้อมอย่างรัดรูปนั้น เขาได้สังเกตว่า ลึกเข้าไปภายในดาราจักรกลับมีแขนอีกแขนหนึ่งวนรอบแกนดาราจักรในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น