สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(28 ม.ค. 45) นักดาราศาสตร์ได้พบแหล่งใหม่ในการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีกแห่งหนึ่งแล้ว นั่นคือ บริเวณสุสานของดาวฤกษ์ สไตน์ ไซเกิร์ดสัน และ จอห์น เดบส์ นักดาราศาสตร์จากเพนน์ สเตต ได้กล่าวในที่ประชุมของสมาคมดาราศาสตร์อเมริกาที่วอชิงตัน ดีซี เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาว่า ดาวแคระขาวอาจเป็นแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของ ...

ใจกลางดาราจักรของเรา

(28 ม.ค. 45) ผลการสังเกตของกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราเปิดเผยให้เห็นถึงการกระจายตัวของรังสีเอกซ์บริเวณใจกลางดาราจักรของเรา การกระจายตัวดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบเส้นใยและกลุ่มเมฆขนาด 40 ปีแสง แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์นี้ซ่อนตัวอยู่ภายในแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุความเข้มข้นสูง ...

ไอโอเคล้าเกลือ

(14 ม.ค. 45) รายงานฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ ฉบับวันที่ 2 มกราคม รายงานว่า ในจำนวนเศษหินเศษดินที่พ่นออกมาจากปล่องภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดีถึงสองตันต่อวินาทีนั้น มีเกลือปะปนอยู่ด้วย ย้อนหลังไปในปี 2517 บอบ บราวน์ได้ตรวจพบโซเดียมในเมฆก๊าซรอบ ๆ ไอโอโดยบังเอิญในขณะที่กำลังทดสอบสเปกโทรกราฟ นับแต่ครั้ง ...

ภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองไทย

(5 ม.ค. 45) บริษัทดิจิตอลโกลบผู้ให้บริการด้านภาพถ่ายดาวเทียม อ้างว่าภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้จากดาวเทียมควิกเบิร์ดของตนมีความละเอียดสูงมา กที่สุดในบรรดาภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้จากดาวเทียมประเภทเดียวกัน ดาวเทียมดังกล่าวถูกส่งเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2544 ที่ระดับความสูง 450 กิโลเมตรจากพื้นโลก ...

โซโฮจับภาพการพ่นมวลคอโรนา

(2 ม.ค. 45) เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2545 ดาวเทียมโซโฮ (SOHO) ได้ทำการบันทึกปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการพ่นมวลคอโรนา (Coranal Mass Ejection, CME) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่มีความซับซ้อนมากที่สุด เท่าที่ดาวเทียมโซโฮเคยบันทึกมา โดยการระเบิดในครั้งนี้เริ่มขึ้นบริเวณขอบด้านตะวันออกเฉียงเหนือของดวงอาทิตย์ ถือเป็นความโชคดีที่. ...

บุกดาวอังคาร

(2 ม.ค. 45) ภายในเวลา 2 ปีข้างหน้า ดาวอังคารจะถูกรายล้อมไปด้วยยานอวกาศที่ถูกส่งจากโลกโดยประเทศต่างๆ ยานอวกาศจะร่วมกันใช้ช่องสัญญาณในการสื่อสาร เพื่อขจัดปัญหาข้อจำกัดของจำนวนช่องสัญญาณในการส่งข้อมูลกลับมายังโลก ...

การหดตัวของจุดแดงใหญ่

(2 ม.ค. 45) แม้นักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 จะไม่มีกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมดังเช่นปัจจุบัน แต่มันเป็นเรื่องง่ายที่จะทำการสังเกตจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดี (Great Red Spot, GRS) จากการศึกษาของ เอมมี ไซมอน-มิลเลอร์ (ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด นาซา) เปิดเผยว่า ขนาดของจุดแดงใหญ่ในวันนี้ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเมื่อ ...

สนามแม่เหล็กในดาวคู่

(1 ม.ค. 45) เป็นเวลานานนับสิบปีมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ได้รับรู้และศึกษาสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ใกล้โลกมากที่สุด แต่สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ดวงอื่นนั้นไม่เคยมีใครรู้ เพราะไม่เคยมีใครได้เคยเห็นมาก่อน เนื่องจากดาวฤกษ์เหล่านั้นอยู่ไกลเกินไปจนแม้แต่กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดบนโลกก็ยังไม่สามารถ ...

คิโบะกับการแข่งขันในโครงการอวกาศของเอเชีย

(29 ธ.ค. 44) ในอีก 3 ปีข้างหน้า ห้องทดลองขนาดเล็กของญี่ปุ่นจะกลายเป็นโครงสร้างส่วนเดียวของสถานีอวกาศนานาชาติที่ถูกสร้างโดยประเทศในทวีปเอเชีย ห้องทดลองดังกล่าวมีชื่อว่า คิโบะ ซึ่งมีความหมายว่าความหวัง ญี่ปุ่นใช้เวลากว่า 16 ปี และเงินทุนราว 4 พันล้านเหรียญสหรัฐในการพัฒนาคิโบะ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 โครงการดังกล่าวได้เข้าสู่ช่วงสุดท้าย แต่โครงการอวกาศของญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหา ในขณะที่ ...

ฝนดาวตกสิงโตไขความลับดาวตก

(27 ธ.ค. 44) เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2544 ทีมนักวิจัยได้ประกาศความสำเร็จในการศึกษาองค์ประกอบภายในของดาวตกต่อที่ประชุมสหภาพธรณีฟิสิกส์แห่งอเมริกา ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ ฮันส์ สเตนเบก-นีลเซน แห่งมหาวิทยาลัยอลาสกาวิทยาเขตแฟร์แบงส์ สังเกตดาวตกสิงโตด้วยกล้องวิดีโอ ในโครงการสังเกต ...

หอดูดาวกริฟฟิทปิดให้บริการ

(22 ธ.ค. 44) ในวันที่ 6 มกราคม ที่จะถึงนี้ หาดูดาวและท้องฟ้าจำลองกริฟฟิทในเมืองลอสแองเจลลิสจะปิดให้บริการแก่ประชาชนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้งได้ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งปีที่ 70 ของหอ สาเหตุที่หอดูดาวกริฟฟิทต้อง ...

ประกาศสิ้นสุดโครงการดีปสเปซ 1

(20 ธ.ค. 44) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ผ่านมา วิศวกรประจำห้องปฏิบัติการเจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory) ของนาซาได้ประกาศสิ้นสุดโครงการดีปสเปซ 1 ด้วยการปิดเครื่องยนต์หลักของยานลง ยานดีปสเปซ 1 ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2541 โดยถือเป็นส่วน ...

M87 ยิ่งดูยิ่งงง

(19 ธ.ค. 44) เมื่อใดก็ตามที่นักดาราศาสตร์หันกล้องโทรทรรศน์ยักษ์ขึ้นสู่ท้องฟ้า เขาจะได้รับข้อมูลอันมีค่าที่ช่วยตอบไขปัญหาต่าง ๆ ในจักรวาลกลับมาเสมอ แต่บางครั้ง การสำรวจไม่ช่วยตอบคำถามใด ๆ ได้ ซ้ำยังก่อให้เกิดคำถามใหม่ ๆ ให้ชวนพิศวงมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เช่นกัน นักดาราศาสตร์ได้สำรวจดาราจักร M87 ในย่านความถี่อินฟราเรด แต่ผล ...

พบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกใหม่ 1998 WT24

(18 ธ.ค. 44) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ผ่านมา ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่กว่าหนึ่งกิโลเมตรที่มีชื่อว่า 1998 WT24 ได้โคจรเข้าใกล้โลกด้วยระยะห่างเพียง 5 เท่าของระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์ แต่การโคจรเข้าใกล้โลกครั้งนี้มิได้ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อโลกของเรา ในทางกลับกัน "มันเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมในการศึกษาดาวเคราะห์น้อยประเภทที่มีวงโคจรใกล้โลก" โดนัลด์ ยีโอแมน หัวหน้า นักดาราศาสตร์ในโครงการศึกษา ...

กำเนิดดาวแคระน้ำตาล

(11 ธ.ค. 44) ดาวแคระน้ำตาลเป็นวัตถุท้องฟ้าชนิดหนึ่ง มีลักษณะและคุณสมบัติอยู่ระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ในช่วงต้นหลังจากที่ดาวแคระน้ำตาลถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 2538 เป็นเรื่องไม่ยากนักสำหรับนักดาราศาสตร์ที่จะจัดประเภทวัตถุชนิดนี้ให้อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่า โดยมองว่าดาวแคระน้ำตาลเป็น "น้องดาวฤกษ์" และเชื่อว่ามีต้นกำเนิดแบบเดียวกับดาวฤกษ์ เพียงแต่ไม่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น ...

อุบัติเหตุที่ซูเปอร์เค

(6 ธ.ค. 44) เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่หอสังเกตการณ์ซูเปอร์กามิโอกันเดหรือ ซูเปอร์เค หอสังเกตการณ์นิวทริโนที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เหตุเกิดในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเปลี่ยนถ่ายน้ำจำนวน 50,000 ตันในถังน้ำขนาด 12.5 ล้านแกลลอนตาม ...

เจเนซีสไปถึงเป้าหมาย แต่อาการน่าเป็นห่วง

(28 พ.ย. 44) เจเนซีส ยานสำรวจลมสุริยะของนาซา ได้เดินทางไปถึงตำแหน่งเป้าหมายแล้วเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตำแหน่งเป้าหมายของยานนี้คือจุด แอล 1 (L1) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตรในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ยานได้ออกเดินทางสู่อวกาศไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีภารกิจในการเก็บอนุภาคในลมสุริยะ และนำกลับมายังโลกเพื่อศึกษาวิจัยซึ่งมี ...

ดาวเคราะห์น้อยโทรจันคู่

(28 พ.ย. 44) จำนวนของดาวเคราะห์น้อยที่พบว่าเป็นคู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 18 คู่แล้วในวันที่ 22 กันยายน 2544 เมื่อ วิลเลียม เจ. เมอร์ไลน์ จากสถาบันเซาท์เวสต์และคณะได้ใช้กล้องโทรทรรศน์เจมิไนเหนือขนาด 8.1 เมตรพร้อมกับระบบอะแดปทีฟออปติกสำรวจดาวเคราะห์น้อยหมายเลข 617 แพทโรคลัส (617 Patroclus) และพบว่า ...

ภาพแรกจากโอดิสซีย์

(3 พ.ย. 44) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ได้ส่งภาพถ่ายดาวอังคารภาพแรกกลับมายังโลก หลังจากที่ได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์แดงดวงนี้มาได้ 1 สัปดาห์ ภาพแรกนี้ถ่ายโดยอุปกรณ์เทมีส (THEMIS) เป็นภาพของบริเวณขั้วใต้ของดาวอังคาร ถ่ายที่ระยะ 22,000 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน กินมุม 6,500 กิโลเมตร ภาพที่เห็นชัดเจนคือ ...

มาร์สโอดิสซีย์ไปถึงดาวอังคาร

(2 พ.ย. 44) หลังจากที่ได้เดินทางเป็นระยะทาง 460 ล้านกิโลเมตรเป็นเวลา 6 เดือนครึ่ง ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ ขององค์การนาซาก็ได้ถึงดาวอังคารจุดหมายปลายทางแล้วเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา ยานได้จุดจรวดเป็นเวลากว่า 20 นาทีเพื่อปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารด้วยคาบ 18.7 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ยานจุดจรวดเพื่อปรับวงโคจร ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น