สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ธ.ค. 43) หลังจากที่การค้นพบดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์ 4 ดวงผ่านไปไม่ถึงเดือน นักดาราศาสตร์ได้พบดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์เพิ่มขึ้นอีก 4 ดวง ทำให้จำนวนของดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์นับจากเดือนตุลาคมเป็นต้นมาเพิ่มขึ้นอีก 10 ดวง ...

วัตถุแถบไคเปอร์ยักษ์

(1 ธ.ค. 43) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุแถบไคเปอร์ดวงใหม่อีกดวงหนึ่ง วัตถุนี้มีชื่อว่า 2000 WR106 อันดับความสว่าง 20 อยู่ถัดจากดาว เอปไซลอน คนคู่ ไปทางใต้ไปประมาณ 1.5 องศา จากการคำนวณเบื้องต้นพบว่า ...

เพื่อนบ้านใหม่สีน้ำตาล

(1 ธ.ค. 43) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งได้ค้นพบวัตถุที่น่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งที่อยู่ในละแวกใกล้กับระบบสุริยะของเรานี้เอง วัตถุดวงนี้มีมวลประมาณ 60-90 เท่าของดาวพฤหัสบดี เป็นวัตถุเดี่ยว ไม่ได้อยู่ในระบบดาวหรือกระจุกดาวใดด ๆ อยู่ห่างจากโลกเพียง 13 ปีแสงเท่านั้น ...

การลุกจ้าบนดาวก่อนเกิด

(1 ธ.ค. 43) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตคณะหนึ่งนำโดย Tsuboi ได้ใช้สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) สำรวจดาวก่อนเกิด (protostar) จำนวนหนึ่ง และได้พบว่าเกิดการลุกจ้าอย่างรุนแรง ...

ยานเฟิสต์ เปลี่ยนเป็น เฮอร์เชล

(1 ธ.ค. 43) องค์การอวกาศยุโรป แถลงข่าวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เนื่องในโอกาสของวันครบรอบ 200 ปีของการค้นพบรังสีอินฟราเรดว่า ยาน เฟิสต์ (FIRST-Far Infrared and Submillimetre Telescope) ขององค์การได้รับการตั้งชื่อใหม่เป็น สถานีสังเกตการณ์อวกาศเฮอร์เชล (Herschel Space Observatory) ...

ดาวนิวตรอนที่ใกล้ที่สุด

(1 พ.ย. 43) เมื่อต้นเดือนพฤจิกายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้รายงานการพบดาวนิวตรอนดวงหนึ่งที่เคลื่อนที่เร็วมาก และพบว่ามันเป็นดาวนิวตรอนที่อยู่ใกล้โลกที่สุด ...

พายุหมุนชนกันบนดาวพฤหัสบดี

(1 พ.ย. 43) กว่าศตวรรษมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ได้สังเกตเห็นสิ่งที่คล้ายกับการเชื่อมกันของพายุหมุนบนดาวพฤหัสบดี และการเชื่อมกันของพายุหมุนนี้เองที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของจุดแดงใหญ่อันมีชื่อเสียงของดาวพฤหัสบดีตั้งแต่เมื่อกว่า 300 ปีก่อน แต่ถึงอย่างนั้น นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่เคยเห็น ...

พลูติโนยักษ์ดวงใหม่

(1 พ.ย. 43) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้รายงานการค้นพบวัตถุวงแหวนไคเปอร์ดวงใหม่อีกดวงหนึ่ง วัตถุใหม่นี้มีชื่อว่า 2000 EB173 ถูกค้นพบในครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมโดยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 1 เมตรในเวเนซุเอลา จัดเป็นวัตถุประเภทที่เรียกว่า พลูติโน (Plutino) ซึ่งเป็นชนิดย่อยของวัตถุวงแหวนไคเปอร์ มีคุณสมบัติ ...

แสงวาบรังสีแกมมาที่ไกลที่สุด

(1 พ.ย. 43) เมื่อต้นปี 2543 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พบแสงวาบรังสีแกมมาดวงใหม่ดวงหนึ่ง เป็นแสงวาบรังสีแกมมาที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมา เพราะอยู่ไกลถึง 11,000 ล้านปีแสง การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นโดยเครือข่ายอินเตอร์พลาเนตารี ซึ่งเป็นเครือข่ายการสำรวจอวกาศของยานอวกาศ 3 ลำ ประกอบด้วย ...

พบดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์ 4 ดวง

(1 พ.ย. 43) ทีมนักดาราศาสตร์จากนานาประเทศ ได้รายงานเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า ได้พบดวงจันทร์ของดาวเสาร์เพิ่มขึ้นอีก 4 ดวง ทำให้ดาวเสาร์กลับมาครองตำแหน่ง ดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์มากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ...

พบปัญหาบนยานแคสซีนี

(1 ต.ค. 43) เจ้าหน้าที่ขององค์การอวกาศยุโรปหรืออีเอสเอรายงานว่า จากการทดสอบระบบสื่อสารของหัวสำรวจไฮเกนส์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้พบปัญหาบางอย่างขึ้นกับระบบนี้ สาเหตุของปัญหาน่าจะเกิดขึ้นที่เครื่องรับบนยานแคสซีนี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มาจากฝ่ายของอีเอสเอ อาการของปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ...

ดาวเคราะห์อิสระในเนบิวลานายพราน

(1 ต.ค. 43) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกา สเปน และเยอรมนี ได้ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ถึง 18 ดวงอยู่ในกระจุกดาว ซิกมา นายพราน ซึ่งอยู่ในเนบิวลานายพราน แต่ดาวเคราะห์เหล่านี้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่เคยค้นพบมาเพราะมันเป็นดาวเคราะห์อิสระ ที่ไม่ได้โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงใด รายงานการวิจัยนี้ได้ ...

ดาวเคราะห์น้อยคู่

(1 ต.ค. 43) ข่าวที่เกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยที่น่าตื่นเต้นที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวไหนเกินข่าวการค้นพบดวงจันทร์ แด็กทีล (Dactyl) ที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อย ไอดา (Ida) ในปี 2536 และเมื่อปีที่แล้วก็พบว่าดาวเคราะห์น้อย 45 ยูจีเนีย (45 Eugenia) ก็มีดวงจันทร์บริวารเหมือนกัน มาจนถึง ...

สารพัดภารกิจอวกาศจากยุโรปเตรียมขึ้นสู่อวกาศในทศวรรษหน้า

(1 ต.ค. 43) เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ได้แถลงข่าวถึงโครงการอวกาศหลายโครงการ ที่จะพาเหรดออกมาอย่างต่อเนื่องในทศวรรษหน้า ภารกิจต่าง ๆ ในโครงการอวกาศขององค์การนี้แบ่งเป็นสอง ...

นาซาระงับโครงการสำรวจดาวพลูโต

(1 ต.ค. 43) บริหารขององค์การนาซา ได้ตัดสินในระงับภารกิจ พลูโต/ไคเปอร์เอกซ์เพรส (Pluto/Kuiper Express) แล้วเนื่องจากปัญหาในด้านงบประมาณ ...

หลุมดำมิดเดิลเวท

(1 ก.ย. 43) ในเดือนเมษายน 2542 นักดาราศาสตร์สองกลุ่มได้พบหลักฐานว่ามีหลุมดำที่มีมวลปานกลางอยู่ในดาราจักรอื่น ๆ บางดาราจักร ซึ่งเป็นการค้นพบทางอ้อม จนเมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์กลุ่มอื่นอีกหลายกลุ่มได้ยืนยันการค้นพบดังกล่าว ว่ามีหลุมดำประเภทดังกล่าวอยู่จริง โดยได้มีการค้นพบหลุมดำที่ ...

ยูลิสซีสเข้าสู่แนวขั้วดวงอาทิตย์

(1 ก.ย. 43) ยานยูลิสซีสได้เข้าสู่แนวของขั้วดวงอาทิตย์เป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ยานจะอยู่ภายในระยะเชิงมุม 7 องศาจากขัวใต้ของดวงอาทิตย์อย่างนี้จนถึงวันที่ 16 มกราคมปีหน้า การผ่านเข้าสู่บริเวณดังกล่าวในช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่สำคัญยิ่ง เพราะในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในช่วงที่มี ...

ดาราจักรเก่าเขย่าทฤษฎีกำเนิดดาราจักร

(1 ก.ย. 43) ทฤษฎีการกำเนิดดาราจักรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อาจต้องมีการปรับปรุงใหม่ในเร็ว ๆ นี้ เมื่อนักดาราศาสตร์พบว่า มีดาราจักรเป็นจำนวนมากที่มีอายุมากกว่าที่เคยคิดไว้ ...

ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 เฉียดโลก

(1 ก.ย. 43) เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบในเดือนสิงหาคมได้พุ่งเฉียดโลกไปเล็กน้อย โดยคลาดไปเพียง 4.5 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น และในปี 2562, 2608, และ 2627 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะเข้าเฉียดโลกใกล้กว่าในครั้งนี้มาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มี ...

กล้องยักษ์แห่งแอฟริกาใต้

(1 ก.ย. 43) เมื่อวันที่ 1 กันยายน ได้มีพิธีเริ่มการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์ตัวใหม่ขึ้น กล้องตัวใหม่นี้ชื่อว่า ซอลต์ (SALT--Southern African Large Telescope) ตั้งอยู่ที่นอกซัทเทอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น