สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 เม.ย. 43) เควซาร์ที่ถูกค้นพบนี้มีชื่อว่า SDSS 1044-0125 ถูกค้นพบโดย Sloan Digital Sky Survey (SDSS) ในนิวเม็กซิโก ในตอนแรกเควซาร์นี้ดูไม่ต่างอะไรกับดาวฤกษ์สีแดงจาง ๆ ดวงหนึ่ง แต่สเปกตรัมของดวงนี้มีการเลื่อนมาทางสีแดง (การเลื่อนไปทางแดง) มากถึง 5.8 จึงแน่ใจได้ว่าวัตถุดวงนี้จะเป็นอย่างเป็น ...

ภาพใหม่จากดาวอังคาร

(1 เม.ย. 43) ภาพนี้เป็นภาพจากยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ที่ถ่ายได้เมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ เป็นภาพพื้นผิวบริเวณขั้วใต้ของดาวอังคารที่มีความละเอียดสูงมาก แสดงพื้นผิวที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งเกิดจากการทับถมสลับกันระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง (น้ำแข็งแห้ง) น้ำแข็ง และฝุ่นละเอียด ความหนาและ ...

ดาวเคราะห์สุริยะอื่นที่มีมวลระดับดาวเสาร์

(1 เม.ย. 43) นักดาราศาสตร์นักล่าดาวเคราะห์ได้ทะลายขีดจำกัดในการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นไปอีกระดับหนึ่งแล้ว เมื่อสามารถพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่อีกสองดวงที่มีมวลน้อยระดับดาวเสาร์ ...

วัตถุรังสีแกมมาชนิดใหม่ในทางช้างเผือก

(1 เม.ย. 43) วารสาร Nature ฉบับ 22 มีนาคม ได้ตีพิมพ์รายงานการค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาลึกลับใหม่จำนวนมากที่อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก แหล่งกำเนิดรังสีแกมมานี้แตกต่างจาก แสงวาบรังสีแกมมา (Gamma-ray Burst) ที่คุ้นเคยกัน เพราะแสงวาบรังสีแกมมาปล่อยรังสีแกมมาออกมาเพียงช่วง ...

เนียร์ ชูเมกเกอร์เข้าใกล้อีรอส

(1 เม.ย. 43) เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ยาน เนียร์ ชูเมกเกอร์ (NEAR Shoemaker) ได้ปรับวงโคจรอีกครั้งจากวงกลมที่ห่างจากผิวดาว 205 กิโลเมตร เขาสู่วงโคจรใหม่ที่เป็นวงรีมีระยะห่างจากผิวดาวระหว่าง 100 ถึง 200 กิโลเมตร ระยะที่ห่างเพียง 100 กิโลเมตรทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าจะสามารถ ...

พบดวงจันทร์ที่หายไปของยูเรนัส

(1 มี.ค. 43) นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบดวงจันทร์ คอร์ดีเลีย (Cordelia) และ โอฟีเลีย (Ophelia) ดวงจันทร์ขนาดเล็กของดาวยูเรนัสที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดยยานวอยเอเจอร์ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2529 แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครเห็นดวง ...

เนียร์ได้ชื่อใหม่

(1 มี.ค. 43) นาซาได้เปลี่ยนชื่อยานอวกาศ เนียร์ (NEAR-Near-Earth Asteroid Rendezvous) ใหม่เป็น เนียร์ ชูเมกเกอร์ (NEAR Shoemaker) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. ยูจีน เอ็ม ชูเมกเกอร์ นักธรณีวิทยาและนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ...

นาซาอนุมัติคอนทัวร์

(1 มี.ค. 43) องค์การนาซาได้อนุมัติให้ดำเนินภารกิจอวกาศใหม่แล้ว ภารกิจนี้มีชื่อว่า คอนทัวร์ (Contour) ย่อมาจาก Comet Nucleus Tour เป็นภารกิจหนึ่งในโครงการดิสคัฟเวอรี มีหน้าที่สำรวจดาวหางสามดวง ขณะนี้ได้ผ่านการตรวจแบบเบื้องต้นแล้ว คาดว่าจะเริ่มลงมือสร้างยานในเร็ว ๆ นี้ และพร้อมจะ ...

ปิดเอ็นอาร์เอโอ

(1 มี.ค. 43) หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ (NRAO-National Radio Astronomy Observatory) ได้แถลงว่า กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 12 เมตร ที่ตั้งอยู่ที่เขาคิตต์พีกในแอริโซนา จะต้องปิดตัวลงในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ ...

สตาร์ดัสต์ เริ่มเก็บฝุ่น

(1 มี.ค. 43) ยานอวกาศสตาร์ดัสต์ของนาซา ได้เริ่มปฏิบัติการเก็บฝุ่นอวกาศเป็นครั้งแรกแล้ว เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากการเดินทางออกจากโลกไปกว่าป. ...

เนียร์พบอีรอส

(1 มี.ค. 43) เมื่อเวลา 15.33 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ตามเวลาสากล ยานเนียร์ได้จุดจรวดเพื่อลดความเร็วของยานลงจนกระทั่งเหลือเพียง 1 เมตรต่อวินาทีเทียบกับอีรอส เพื่อให้ช้าพอให้สนามความโน้มถ่วงอันอ่อนบางของดาวเคราะห์น้อยสามารถคว้าจับ ...

ทิ้งคอมป์ตัน

(1 ก.พ. 43) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2542 ที่ผ่านมา ได้เกิดปัญหากับสถานีสังเกตการณ์รังสีแกมมาคอมป์ตัน (Compton Gamma Ray Observatory) ขึ้นโดยไจโรหมายเลข 3 ซึ่งเป็นหนึ่งในไจโรทั้งสามตัวของดาวเทียมดวงนี้ได้เสียไป จริง ๆ แล้วการเสียหายของไจโรหนึ่งตัวไม่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภารกิจของคอมป์ตันแต่อย่างใด เพราะไจโรอีกสองตัวยังเพียงพอสำหรับปฏิบัติงานของยานต่อไปได้ แต่ความเสี่ยงจะมากขึ้น เพราะหากไจโรตัวที่สองเกิดเสียตามไป นอกจากจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติ ...

ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกมีไม่มากอย่างที่คิด

(1 ก.พ. 43) รายงานการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ฉบับ 13 มกราคม โดย เดวิด ราบิโนวิตซ์ ระบุว่าจำนวนของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (NEA - Near-Earth Asteroid) อาจมีน้อยกว่าที่เคยคาดไว้ จากการสำรวจโดยระบบติดตามดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (NEAT-Near-Earth Asteroid Tracking) ทำให้เขาสรุปได้ว่า ...

แคสซีนีเข้าใกล้มาเซอร์สกี

(1 ก.พ. 43) ยานแคสซีนีได้เข้าใกล้แถบดาวเคราะห์น้อยเมื่อวันที่ 23 มกราคม ยานได้เฉียดดาวเคราะห์น้อย 2685 มาเซอร์สกี (2685 Masursky) ที่ระยะ 1.5 ล้านกิโลเมตร พร้อม ๆ กันนี้ยานได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ด้วยกล้องถ่ายรูปธรรมดา กล้องอินฟราเรด และสเปกโทรมิเตอร์รังสีอัลตราไวโอเลต เพื่อที่จะรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมทั้งรูปร่างและสี นอกจากนี้การเข้าใกล้ในครั้งนี้ ...

อุกกาบาตจากดาวอังคารก้อนใหม่

(1 ก.พ. 43) เมื่อ 20 ปีก่อน โรเบิร์ต เวอริช พบก้อนหินสองก้อนจากทะเลทรายโมฮาเวในแคลิฟอร์เนีย และได้เก็บเอาไว้ด้วยเห็นว่ามีรูปร่างแปลกดี จนเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมานี้เองเมื่อเขากำลังชมก้อนหินในคอลเลกชันที่สะสมไว้แล้วเกิดสงสัยว่ามันอาจจะเป็นอุกกาบาตก็ได้ จากการวิเคราะห์ธาตุที่อยู่ในก้อนหินสองก้อนนี้โดยนักวิทยาศาสตร์จากยูซีแอลเอ ...

พบหลุมดำเดี่ยวผ่านหน้าดาวฤกษ์

(1 ก.พ. 43) นักดาราศาสตร์ได้พบหลุมดำเดี่ยวที่มีมวลระดับดาวฤกษ์สองดวงผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงอื่นในดาราจักรทางช้างเผือกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อื่นบนพื้นโลกในออสเตรเลียและชิลี การค้นพบหลุมดำที่มีมวลระดับดาวฤกษ์ก่อนหน้านี้ มักจะพบอยู่กับระบบดาวคู่ ซึ่งเป็นการค้นพบโดยการตีความจากการเคลื่อนไหวแกว่งไกวของดาวฤกษ์สหาย แต่หลุมดำที่ค้นพบในครั้งนี้ถูกค้นพบทางอ้อมจากปรากฏการณ์ ...

แอดวานซ์แอโรเบรกกิง

(1 ก.พ. 43) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลินอยส์ได้คิดเทคนิคใหม่เรียกว่า แอดวานซ์แอโรเบรกกิง ซึ่งเป็นเทคนิคแอโรเบรกกิงแบบใหม่ที่นอกจากจะสามารถหน่วงความเร็วของยานอวกาศได้แล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางของยานอวกาศได้โดยอิสระได้อีกด้วย การเปลี่ยนทิศทางทำโดยเพิ่มแผ่นคล้ายกับแผงรับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อ ...

อนาคตของกาลิเลโอ

(1 ม.ค. 43) ผู้บริหารองค์การนาซาได้ตัดสินใจที่จะยืดอายุการปฏิบัติงานของยานอวกาศกาลิเลโอออกไปอีก จากกำหนดเดิมที่จะต้องจบปฏิบัติการในวันที่ 31 มกราคม 2543 ปฏิบัติการเสริมครั้งใหม่นี้จะมีชื่อว่า กาลิเลโอมิลเลเนียมมิชชัน (Galileo Millennium Mission) กำหนดการต่าง ๆ ของปฏิบัติการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนวางแผนอยู่ ...

มาร์สโพลาร์แลนเดอร์อาจพังเพราะพุ่งตกเหว

(1 ม.ค. 43) วิศวกรของล็อกฮีด มาร์ติน สันนิษฐานว่า สาเหตุที่ทำให้ภารกิจยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ล้มเหลว อาจเป็นเพราะยานได้ชนหรือตกลงไปในกับหน้าผาในบริเวณใกล้กับขั้วเหนือของดาวอังคาร ซึ่งมีความเป็นไปได้ แม้ว่าพื้นที่ ๆ กำหนดให้ยานลงจอดจะมีความราบเรียบมาก แต่ก็มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกับร่องเหว ...

สิ่งมีชีวิตใหม่ในทะเลสาบแอนตาร์กติกาสนับสนุนการมีสิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่น

(1 ม.ค. 43) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแบคทีเรียภายใต้แผ่นน้ำแข็งลึกในทวีปแอนตาร์กติกา จุดประกายความหวังที่จะพบสิ่งมีชีวิตบนยูโรปา การค้นพบครั้งนี้เป็นผลงานของ ดร. คริส แมกเคย์ นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ของ NASA Ames Research Center และทีมงาน จากงานวิจัยที่มีชื่อว่า Geomicro-bioloty of Subglacial Ice About Lake Vostok, Antarctica ซึ่งเป็นการวิเคราะห์น้ำแข็ง ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น