สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเทียมไวส์พบดาวเคราะห์น้อยมืดดวงแรก

ดาวเทียมไวส์พบดาวเคราะห์น้อยมืดดวงแรก

26 ม.ค. 2553
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เพียงไม่ถึงเดือนหลังจากที่ดาวเทียมไวส์ (WISE--Wide-field Infrared Survey Explorer) ของนาซาขึ้นสู่อวกาศ ก็ประเดิมพบดาวเคราะห์น้อยมืดดวงแรกได้แล้ว
ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2010 เอบี 78 (2010 AB78ค้นพบเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 
ดาวเทียมไวส์โคจรรอบโลกด้วยคาบรอบละหนึ่งวันครึ่ง ขณะที่โคจรจะกวาดสายตาไปทั่วท้องฟ้าเพื่อค้นหาดาวเคราะห์น้อยโดยการค้นหาวัตถุที่เปลี่ยนตำแหน่งไปเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์พื้นหลัง ไวส์ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อย 2010 เอบี 78 หลายครั้งก่อนที่มันจะหลุดพ้นสายตาไป หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ภาคพื้นดินก็สำรวจต่อด้วยกล้อง 2.2 เมตรของมหาวิทยาลัยฮาวายที่อยู่บนยอดเขามานาเคอาเพื่อยืนยันการค้นพบ
ดาวเคราะห์น้อย 2010 เอบี 78 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ห่างจากโลก 158 ล้านกิโลเมตร มีขนาดประมาณ กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีและทำมุมกับระนาบของระบบสุริยะ มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดใกล้เคียงกับโลก แต่เนื่องจากวงโคจรไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกับโลก จึงไม่มีโอกาสจะเข้าใกล้โลกอย่างน้อยก็ในช่วงหลายร้อยปีต่อจากนี้ ดังนั้นดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จึงไม่ใช่วัตถุอันตรายที่จะมาชนโลกแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์ก็ยังต้องติดตามดูอยู่เสมอ
ไวส์จะตรวจหาดาวเคราะห์น้อยและดาวหางดวงอื่นต่อไป ข้อมูลจากไวส์ถูกส่งตรงลงมายังสำนักงานศูนย์ดาวเคราะห์น้อยในเคมบริดจ์ แมสซาจูเซตต์ เพื่อเปรียบเทียบกับบัญชีของวัตถุในระบบสุริยะที่รู้จักอยู่แล้ว และชุมชนนักดาราศาสตร์ทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นก็จะเข้ามาช่วยติดตามสำรวจ เพื่อให้ได้วงโคจรที่แน่นอนของวัตถุดวงใหม่
ไวส์มีเป้าหมายว่าจะค้นหาดาวเคราะห์น้อยที่ไม่เคยค้นพบมาก่อนได้ถึง 100,000 ดวงที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ซึ่งโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี และวัตถุใกล้โลกดวงใหม่ ๆ อีกหลายร้อยดวง
วัตถุใกล้โลก (NEO--Near-Earth objects) เป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางที่มีวงโคจรผ่านใกล้วงโคจรของโลก หรืออาจมีโอกาสถึงขั้นชนโลก วัตถุดังกล่าวอาจส่งผลร้ายแรงต่อพื้นโลก เชื่อกันว่าเมื่อ 65 ล้านปีก่อนมีวัตถุขนาด 10 กิโลเมตรพุ่งชนโลก เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ด้วยการสำรวจท้องฟ้าในย่านรังสีอินฟราเรดแทนที่จะเป็นแสงที่ตามองเห็น ไวส์จึงมีความสามารถในการมองเห็นวัตถุที่มืดมาก ๆ ได้ ภารกิจของไวส์จึงมีประโยชน์อย่างมากในการประเมินหาขนาดของดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง เนื่องจากความสว่างของดาวเคราะห์น้อยที่วัดได้จากภาพถ่ายแสงขาวใช้ประเมินขนาดได้ไม่แม่นยำ คลาดเคลื่อนได้มาก เช่นวัตถุขาวซีดขนาดเล็กก็อาจดูสว่างได้เท่ากับวัตถุดวงใหญ่ที่สีคล้ำ แต่ในย่านรังสีอินฟราเรด วัตถุดวงใหญ่จะแผ่รังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรดมากกว่าเสมอ ซึ่งสื่อความหมายของขนาดได้แม่นยำกว่า ข้อมูลด้านขนาดของดาวเคราะห์น้อยยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ประเมินความถี่ของเหตุการณ์วัตถุชนโลกระดับมหาวินาศได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นอีกด้วย
    ดาวเคราะห์น้อย <wbr>2010 <wbr>เอบี <wbr>78 <wbr>(2010 <wbr>AB<sub>78</sub>) <wbr>(จุดสีแดงกลางภาพ) <wbr>ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงแรกที่ค้นพบโดยดาวเทียมไวส์ <wbr>ภาพนี้ถ่ายในย่านรังสีอินฟราเรดสามย่าน <wbr>ภาพสีแดงถ่ายในย่านความยาวคลื่น <wbr>12 <wbr>ไมครอน <wbr>สีเขียว <wbr>4.6 <wbr>ไมครอน <wbr>และสีน้ำเงิน <wbr>3.4 <wbr>ไมครอน <wbr>จุดดาวเคราะห์น้อยมีสีแดงกว่าดาวฉากหลังเนื่องจากร้อนน้อยกว่า <wbr>และแผ่รังสีออกมาในย่านอินฟราเรดมากกว่าแสงขาว <wbr>ในภาพที่ถ่ายด้วยแสงที่ตามองเห็น <wbr>ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะจางมากและมองเห็นยากมาก<br />
<br />

    ดาวเคราะห์น้อย 2010 เอบี 78 (2010 AB78(จุดสีแดงกลางภาพ) ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงแรกที่ค้นพบโดยดาวเทียมไวส์ ภาพนี้ถ่ายในย่านรังสีอินฟราเรดสามย่าน ภาพสีแดงถ่ายในย่านความยาวคลื่น 12 ไมครอน สีเขียว 4.6 ไมครอน และสีน้ำเงิน 3.4 ไมครอน จุดดาวเคราะห์น้อยมีสีแดงกว่าดาวฉากหลังเนื่องจากร้อนน้อยกว่า และแผ่รังสีออกมาในย่านอินฟราเรดมากกว่าแสงขาว ในภาพที่ถ่ายด้วยแสงที่ตามองเห็น ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะจางมากและมองเห็นยากมาก

    ดาวเทียมไวส์

    ดาวเทียมไวส์

    ที่มา:

    • NASA - astronomy.com