สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์น้อยมีวงแหวน

ดาวเคราะห์น้อยมีวงแหวน

1 เม.ย. 2557
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดาวเคราะห์น้อยเป็นวัตถุที่น่าสนใจเสมอ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งใหม่จากดาวเคราะห์น้อยมามากมาย เช่นพบว่าดาวเคราะห์น้อยบางดวงอยู่เป็นคู่ ดาวเคราะห์น้อยที่มีน้ำแข็ง ดาวเคราะห์น้อยมีบริวาร ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกเผาจนแตกเป็นเสี่ยง มีแม้กระทั่งดาวเคราะห์น้อยมีหางคล้ายดาวหาง
และล่าสุด นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งมีวงแหวนด้วย ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้คือ 10199 คาริโกล (10199 Chariklo)
ดาวเคราะห์น้อยคาริโกลเป็นสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดในดาวเคราะห์น้อยกลุ่มเซนทอร์ โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเสาร์กับดาวยูเรนัส จากการคำนวณวงโคจรล่วงหน้าทำให้พยากรณ์ได้ว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะผ่านหน้าดาวฤกษ์ชื่อ ยูซีเอซี4 248-108672 (UCAC4 248-108672) ในวันที่ มิถุนายน 2556 โดยสถานที่ที่สังเกตการบังนี้ได้คืออเมริกาใต้ นักดาราศาสตร์จึงใช้กล้องจาก แห่งในทวีปนี้ สำรวจการบังดาวในครั้งนี้ ในจำนวนนี้รวมถึงกล้องจากหอสังเกตการณ์ลาซียาของอีเอสโอด้วย
แต่การบังดาวในครั้งนี้ไม่ธรรมดา นักดาราศาสตร์พบว่านอกจากแสงดาวฤกษ์ที่หายไปจากการบังของดาวเคราะห์น้อยแล้ว ยังพบว่าที่เวลาก่อนหน้าและหลังการบังของดาวเคราะห์น้อย แสงดาวมีการหรี่ลงเป็นเวลาสั้น ๆ ด้วย นั่นแสดงถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ล้อมรอบคาริโกลได้บังแสงดาวจากเบื้องหลัง สิ่งนั้นย่อมหมายถึงวงแหวนนั่นเอง การค้นพบวงแหวนของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนก็เกิดจากปรากฏการณ์แบบนี้เช่นกัน
ดาวเคราะห์น้อยคาริโกลเป็นวัตถุดวงที่ห้าในระบบสุริยะที่พบว่ามีวงแหวน ถัดจากดาวดาวเสาร์ พฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 250 กิโลเมตร จึงเป็นวัตถุมีวงแหวนที่เล็กที่สุดเท่าที่รู้จัก
เมื่อประมวลข้อมูลที่ได้จากหอดูดาวต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งต่างกัน ทำให้นักดาราศาสตร์ทราบรูปร่าง ขนาด ความกว้าง และทิศการหันเหของวงแหวนนี้ด้วย พบว่าวงแหวนของคาริโกลมีเป็นวงแคบ ๆ แต่แน่นและขอบคมชัด นอกจากนี้ยังพบว่ามีวงแหวนถึงสองวงซ้อนกัน วงหนึ่งกว้าง กิโลเมตร อีกวงกว้าง กิโลเมตร ช่องว่างระหว่างวงแหวนกว้างประมาณ กิโลเมตร
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังอธิบายต้นกำเนิดของวงแหวนนี้ไม่ได้ คาดว่าน่าจะเป็นผลจากการชนบางอย่างจนทำให้เศษซากจับกันเป็นวงแหวน นอกจากนี้ การที่วงแหวนนี้มีขอบคม ทำให้เชื่อว่าต้องมีบริวารอยู่ใกล้ ๆ ที่ทำหน้าที่ "แต่งขอบ" อยู่
วงแหวนนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้กำเนิดบริวารดวงเล็กต่อไป กระบวนการทำนองเดียวกันนี้อาจเคยเกิดขึ้นกับโลก แต่เกิดในพิสัยที่ใหญ่กว่า และอาจอธิบายการกำเนิดดวงจันทร์ของโลก รวมถึงดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ได้เช่นกัน 
แม้วงแหวนสองวงนี้จะยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่หัวหน้าโครงการสำรวจในครั้งนี้ได้ตั้งชื่อวงแหวนสองวงนี้ไว้แล้วว่า ออยะโพคี (Oiapoque) และ ชุย (Chuí) ตามชื่อแม่น้ำสองสายในประเทศบราซิล 
ภาพในจินตนาการของศิลปินของสภาพบนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยคาริโกล <wbr>แสดงวงแหวนบาง <wbr>ๆ <wbr>สองวง<br />

ภาพในจินตนาการของศิลปินของสภาพบนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยคาริโกล แสดงวงแหวนบาง ๆ สองวง

ที่มา: