สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เหมือนดาวหาง แต่ไม่ใช่ดาวหาง

เหมือนดาวหาง แต่ไม่ใช่ดาวหาง

11 ก.พ. 2553
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจพบซากรูปร่างประหลาดในอวกาศ คาดว่าเป็นผลจากการชนประสานงากันระหว่างดาวเคราะห์น้อยสองดวง 
เมื่อวันที่ มกราคม 2553 โครงการลิเนียร์ (LINEAR-Lincoln Near-Earth Asteroid Research) ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุใกล้โลก ได้ค้นพบวัตถุคล้ายดาวหางดวงหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้ชื่อชั่วคราวว่า พี/2010 เอ (P/2010 A2ต่อมาในวันที่ 25 และ 29 มกราคม กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ติดตามสำรวจวัตถุดวงนี้และถ่ายภาพไว้ด้วยกล้องมุมกว้างหมายเลข (WFC3) ภาพที่ได้แสดงโครงสร้างซับซ้อนมีรูปร่างคล้ายอักษร บริเวณใกล้ส่วนที่เป็นนิวเคลียส ขณะนั้น พี/2010 เอ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 290 ล้านกิโลเมตร และอยู่ห่างจากโลก 145 ล้านกิโลเมตร 
โครงสร้างของวัตถุดวงนี้นับว่าแตกต่างจากโครงสร้างที่เรียบนวลของดาวหางทั่วไป มีส่วนที่เป็นริ้วเป็นเส้นที่ประกอบด้วยฝุ่นและกรวดทราย ซึ่งคาดว่าเพิ่งพ่นออกมาจากนิวเคลียส บางส่วนถูกพัดไปด้านหลังโดยแรงดันรังสีจากแสงอาทิตย์จนดูเหมือนหางฝุ่นดาวหางที่เหยียดยาว
ฮับเบิลยังพบอีกว่า นิวเคลียสของ พี/2010 เอ ไม่ได้ถูกห่อหุ้มโดยส่วนหัวแบบดาวหาง แต่อยู่นอกส่วนหัวออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นในดาวหางดวงไหนมาก่อน คาดว่านิวเคลียสนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 เมตร
ดาวหางทั่วไปมีแหล่งกำเนิดอยู่ในแถบไคเปอร์และเมฆออร์ต เมื่อดาวหางหลุดเข้ามาสู่ระบบสุริยะชั้นใน จะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ผิวชั้นนอกจะเริ่มกลายเป็นไอแล้วพ่นออกมาจากหัวดาวหาง แต่ พี/2010 เอ อาจมีแหล่งกำเนิดต่างไป วัตถุดวงนี้โคจรอยู่แถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ซึ่งวัตถุในบริเวณนี้จะเป็นหินที่แห้งผาก ไม่มีสสารที่สลายง่ายอย่างพวกดาวหาง 
จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากที่ซากรูปร่างประหลาดเป็นทางยาวที่เห็นนั้นเป็นผลจากการพุ่งชนกันระหว่างวัตถุเช่นดาวเคราะห์น้อยสองดวง มากกว่าที่จะเป็นน้ำแข็งที่ละลายแล้วหลุดออกจากหัว ส่วนนิวเคลียสของ พี/2010 เอ ก็น่าจะเป็นส่วนที่เหลือจากการพุ่งชนนั้น
แถบดาวเคราะห์น้อยเต็มไปด้วยหลักฐานที่แสดงถึงการชนกันในอดีตที่ทำให้วัตถุดั้งเดิมแตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย วงโคจรของ พี/2010 เอ แสดงว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยในวงศ์ฟลอรา ซึ่งเกิดขึ้นจากการชนกันเมื่อกว่า 100 ล้านปีก่อน 
การชนกันของดาวเคราะห์น้อยเป็นปรากฏการณ์รุนแรงมาก ความเร็วเฉลี่ยของการชนอาจสูงกว่า 17,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือกว่า เท่าของกระสุนปืนยาวที่ออกจากลำกล้อง 
นักดาราศาสตร์เชื่อมาเป็นเวลานานว่าในแถบดาวเคราะห์น้อยมีการชนกันตลอดเวลา นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นเหตุการณ์ได้เกือบทันท่วงที






ภาพถ่าย พี/2010 เอ 2 (P/2010 A2) วัตถุคล้ายดาวหาง ที่มีโครงสร้างส่วนหัวเป็นเส้นสายรูปตัวเอ็กซ์ รูปแบบของเศษซากที่ปลิวออกไปเป็นสายแสดงว่าเกิดจากการดาวเคราะห์น้อยสองดวงพุ่งชนแบบประสานงา

ภาพถ่าย พี/2010 เอ 2 (P/2010 A2) วัตถุคล้ายดาวหาง ที่มีโครงสร้างส่วนหัวเป็นเส้นสายรูปตัวเอ็กซ์ รูปแบบของเศษซากที่ปลิวออกไปเป็นสายแสดงว่าเกิดจากการดาวเคราะห์น้อยสองดวงพุ่งชนแบบประสานงา (จาก NASA, ESA, and D. Jewitt (University of California, Los Angeles))

ดาวเคราะห์น้อยชนกันกลางอวกาศ เกิดขึ้นยากมาก แต่ก็เป็นไปได้

ดาวเคราะห์น้อยชนกันกลางอวกาศ เกิดขึ้นยากมาก แต่ก็เป็นไปได้ (จาก AstroEngine)

พี/2010 เอ 2 (ลิเนียร์) ดาวหางหรือซากดาวเคราะห์น้อย?

พี/2010 เอ 2 (ลิเนียร์) ดาวหางหรือซากดาวเคราะห์น้อย? (จาก Spacewatch/U of Arizona)

ที่มา: