สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ใจร้าว ๆ ของดาวพลูโต

ใจร้าว ๆ ของดาวพลูโต

18 ก.ค. 2558
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วันนี้ องค์การนาซาได้เผยข้อมูลของดาวพลูโตจากยานนิวเฮอไรซอนส์อีกชุดหนึ่งออกมา เป็นภาพความละเอียดสูงขึ้นจากส่วนหนึ่งของพื้นที่สีขาวรูปคล้ายหัวใจที่ทุกคนจดจำได้ดี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของภารกิจนิวเฮอไรซอนส์มีชื่อเรียกพื้นที่รูปหัวใจนี้แล้วว่า "บริเวณทอมบอก์"  เพื่อเป็นเกียรติแก่ ไคลด์ ทอมบอก์ ผู้ค้นพบดาวพลูโต 

ภาพ "เจาะใจพลูโต" ภาพนี้ถ่ายจากระยะ 77,000 กิโลเมตร ให้ความละเอียดได้ถึง กิโลเมตร แสดงถึงที่ราบกว้างใหญ่ที่มีเส้นโครงข่ายคล้ายกับรอยแตกระแหงบนท้องนาที่แห้งแล้ง รอยแตกแบ่งพื้นที่ออกเป็นแผ่นเป็นเกล็ด แต่ละแผ่นมีขนาดกว้างประมาณ 20 กิโลเมตร รายล้อมด้วยแนวที่คล้ายร่องคูตื้น ๆ ร่องบางร่องมีวัสดุสีคล้ำขังอยู่ ส่วนบางร่องก็มีแนวของภูเขาเรียงรายเป็นแนวทับอยู่

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎีสองทฤษฎีที่อาจอธิบายสาเหตุของการเกิดภูมิลักษณ์เช่นนี้ ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า เกิดจากแผ่นผิวดาวหดตัว ทำนองเดียวกับที่ดินเหนียวก้นบึงที่แตกระแหงเป็นแผ่นยามแล้งน้ำ อีกทฤษฎีกล่าวว่านี่อาจเกิดจากการถ่ายเทความร้อนแบบที่เรียกว่าการพา บนดาวพลูโต การพาความร้อนเกิดขึ้นได้ในชั้นพื้นผิวที่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง มีเทน และไนโตรเจน โดยรับพลังงานความร้อนมาจากใต้พิภพของดาวพลูโต

ในภาพเดียวกันนี้ยังพบพื้นที่บางส่วนมีลักษณะเป็นทุ่งที่เต็มไปด้วยหลุมแอ่งขนาดเล็ก คาดว่าร่องรอยเช่นนี้เกิดขึ้นจากการระเหิดของน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่น้ำแข็งเปลี่ยนไปเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการละลายเป็นน้ำ เช่นเดียวกับที่เกิดกับน้ำแข็งแห้งบนโลก

นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อที่ราบนี้ไว้แล้วเช่นกันว่า "ที่ราบสปุตนิก" เพื่อเป็นการระลึกถึงดาวเทียมดวงแรก อย่างไรก็ตาม ทั้งชื่อ "หัวใจพลูโต" "บริเวณทอมบอก์" และ "ที่ราบสปุตนิก" ล้วนเป็นชื่อที่เรียกกันอย่างลำลอง ไม่ใช่ชื่อทางการ การตั้งชื่อภูมิลักษณ์อย่างเป็นทางการเป็นหน้าที่ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลเท่านั้น

นอกจากนี้ บริเวณที่ราบน้ำแข็งของดาวพลูโตยังพบมีเส้นสีดำยาวหลายกิโลเมตรหลายเส้นพาดผ่าน เส้นเหล่านี้ดูคล้ายกับเรียงกันเป็นแนวเดียวกัน คาดว่าอาจเกิดจากการกระทำของลม

ด้านคณะสำรวจบรรยากาศได้ศึกษาบรรยากาศของดาวพลูโตห่างออกจากผิวดาวเป็นระยะไกลถึง 1,600 กิโลเมตรจากพื้นผิว พบว่าบรรยากาศของดาวพลูโตที่ประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นจำนวนมากนี้แผ่ออกมาจากดาวไกลกว่าที่เคยคาดไว้มาก

นักดาราศาสตร์อีกคณะหนึ่งที่ทำงานด้านอนุภาคและพลาสมาได้พบแก๊สมีประจุที่หนาแน่นกลุ่มหนึ่งอยู่ห่างจากดาวพลูโตหลายหมื่นกิโลเมตร เป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าดาวเคราะห์แคระดวงนี้กำลังสูญเสียบรรยากาศจากการพัดพาโดยลมสุริยะ

ในด้านคารอน ซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารดวงใหญ่ที่สุดในห้าดวงของดาวพลูโต นาซาได้เผยภาพพื้นที่ส่วนหนึ่งของคารอนที่มีความกว้างประมาณ 390 กิโลเมตร ภาพนี้ปรากฏหลุมอุกกาบาตจำนวนหนึ่งไม่มากนัก แต่ที่น่าสะดุดตาคือหุบแห่งหนึ่งที่มีเนินเขานูนขึ้นมาที่ตรงกลางหุบด้วย

ภาพที่ส่งมาจากนิวเฮอไรซอนส์ที่เปิดเผยมาในครั้งนี้ ยังเป็นภาพฉบับที่มีการบีบอัดด้วยอัตราสูงมาก คุณภาพของภาพจึงไม่ดีนัก ดังจะเห็นว่ามีลายน้ำมุมฉากปรากฏอยู่ทั่วไปในภาพ นักดาราศาสตร์ยังจะต้องรอภาพคุณภาพสูงต่อไปซึ่งยานนิวเฮอไรซอนส์จะทยอยส่งมาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาเวลาปีเศษต่อจากนี้

ภาพคู่ของดาวพลูโตและคารอน <wbr>ถ่ายเมื่อวันที่ <wbr>13 <wbr>และ <wbr>14 <wbr>กรกฎาคม <wbr>สีที่แสดงนี้ใกล้เคียงกับสีจริง<br />

ภาพคู่ของดาวพลูโตและคารอน ถ่ายเมื่อวันที่ 13 และ 14 กรกฎาคม สีที่แสดงนี้ใกล้เคียงกับสีจริง
(จาก NASA/JHUAPL/SWRI)

พื้นที่ <wbr>ที่ราบสปุตนิก <wbr>แสดงภูมิลักษณ์แปลกประหลาดและหลากหลายมาก <wbr>ถ่ายจากกล้องลอร์รี <wbr>เมื่อวันที่ <wbr>14 <wbr>กรกฎาคม <wbr>จากระยะทาง <wbr>7,7000 <wbr>กิโลเมตร<br />

พื้นที่ ที่ราบสปุตนิก แสดงภูมิลักษณ์แปลกประหลาดและหลากหลายมาก ถ่ายจากกล้องลอร์รี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม จากระยะทาง 7,7000 กิโลเมตร
(จาก NASA/JHUAPL/SWRI)

ดวงจันทร์คารอน <wbr>ภาพในกรอบย่อยแสดงพื้นที่ส่วนหนึ่งที่พบหลุมอุกกาบาตและหุบหน้าตาประหลาดแห่งหนึ่ง <wbr>ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ <wbr>14 <wbr>กรกฎาคม <wbr>เวลา <wbr>17:30 <wbr>น. <wbr>ตามเวลาประเทศไทย <wbr>ซึ่งเป็นเวลาก่อนเข้าเฉียดดาวพลูโตราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง <wbr>ขณะนั้นยานอยู่ห่างจากคารอนประมาณ <wbr>79,000 <wbr>กิโลเมตร<br />

ดวงจันทร์คารอน ภาพในกรอบย่อยแสดงพื้นที่ส่วนหนึ่งที่พบหลุมอุกกาบาตและหุบหน้าตาประหลาดแห่งหนึ่ง ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 17:30 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเป็นเวลาก่อนเข้าเฉียดดาวพลูโตราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ขณะนั้นยานอยู่ห่างจากคารอนประมาณ 79,000 กิโลเมตร
(จาก NASA-JHUAPL-SwRI)

อุปกรณ์ราล์ฟของนิวเฮอไรซอนส์พบกลุ่มของน้ำแข็งแห้งอยู่ใจกลางของ <wbr>"บริเวณทอมบอก์" <wbr>(พื้นที่สีเขียว)<br />

อุปกรณ์ราล์ฟของนิวเฮอไรซอนส์พบกลุ่มของน้ำแข็งแห้งอยู่ใจกลางของ "บริเวณทอมบอก์" (พื้นที่สีเขียว)

ที่มา: