สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เทียนกง 1 ขัดข้องติดต่อไม่ได้ ลอยเคว้งรอวันตกใส่โลก

เทียนกง 1 ขัดข้องติดต่อไม่ได้ ลอยเคว้งรอวันตกใส่โลก

31 มี.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
สำนักข่าวซินหัวของจีนได้รายงานว่า สถานีอวกาศเทียนกง ของจีน กำลังประสบปัญหาจากระบบโทรมาตรของสถานีขัดข้อง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีกับภาคพื้นดินถูกตัดขาด ทำให้ขณะนี้สถานีอวกาศแห่งแรกของจีนลำนี้ต้องกลายเป็นสถานีร้างที่ลอยละล่องไปอย่างไร้การควบคุม

เมื่อระบบโทรมาตรใช้การไม่ได้ สถานีภาคพื้นดินจะรับข้อมูลใด ๆ จากเทียนกงไม่ได้เลย และเป็นไปได้อย่างมากว่าขณะนี้ก็ควบคุมยานไม่ได้ด้วย สถานการณ์เช่นนี้ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องใหญ่ในตอนนี้ แต่ปัญหาจะใหญ่ขึ้นเมื่อวงโคจรของสถานีลดต่ำลงเรื่อย ๆ 

เรื่องดาวเทียมขนาดใหญ่ตกใส่โลกไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บางครั้งก็เป็นการตกอย่างไร้การควบคุม เป็นเรื่องโชคดีที่ไม่เคยมีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ดังกล่าว 

แต่โชคดีไม่ได้มีทุกครั้ง วันใดหากโชคหมด โศกนาฏกรรมก็จะเกิดขึ้นแทน 

เทียนกง ขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ปี 2554 มีกำหนดอายุการใช้งาน ปี แต่ก็สามารถคงอยู่มาได้นานถึง ปี 
ตามแผนเดิมที่วางไว้ เมื่อเทียนกง เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ก็จะปิดฉากด้วยการจุดจรวดเบนทิศทางมุ่งสู่โลก แล้วปล่อยให้บรรยากาศโลกฉีกทึ้งให้แหลกสลายมอดไหม้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อนตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก  แต่ในเมื่อขณะนี้ควบคุมเทียนกงไม่ได้ แผนนี้ก็ต้องพับไป

เทียนกงเป็นสถานีอวกาศ มีขนาดใหญ่กว่าดาวเทียมทั่วไปมาก แรงต้านของบรรยากาศจึงมีผลมากเมื่อผ่านอากาศ นอกจากนี้การที่มีลักษณะกลวงและความหนาแน่นต่ำ การคาดเดาทิศทางหรือตำแหน่งตกจึงทำได้ยากเมื่อสถานีตกอย่างอิสระ  

ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังบอกไม่ได้ว่าเทียนกงจะตกสู่โลกเมื่อใด เนื่องจากวงโคจรเทียนกงยังอยู่สูงจากพื้นดินมาก มีปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้หลายอย่างที่มีผลต่อการลดระดับวงโคจร เช่นกัมมันตภาพจากดวงอาทิตย์ 

ในปี 2545 รัสเซียตัดสินใจยุติภารกิจของสถานีอวกาศมีร์ ในการบังคับสถานีอวกาศมีร์ให้ตกลงสู่โลกในตำแหน่งที่ปลอดภัย รัสเซียได้ใช้ยานที่ทำหน้าที่ลากจูงสถานีให้เคลื่อนที่อย่างที่ต้องการ แต่ปัจจุบันดูเหมือนจีนยังไม่มียานเช่นว่านี้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะพัฒนาขึ้นมาได้ทันใช้กับเทียนกง

ยังมีทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ไม่ต้องรอให้เทียนกงตกลงมาเองคือ ใช้อาวุธต่อต้านขีปนาวุธยิงทำลาย แต่นี่ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักและออกจะสติแตก จีนเคยใช้วิธีนี้ในการทดลองทำลายดาวเทียมของตนเองดวงหนึ่งในปี 2550 การกระทำในครั้งนั้นแม้จะถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ก็ถูกประณามจากนานาชาติเพราะวิธีนี้ทำให้เกิดขยะอวกาศนับพันชิ้นกระจายไปทั่ววงโคจร และถือว่าเป็นการคุกคามสันติภาพในอวกาศ จีนย่อมไม่อยากจะกลับไปพบกับประสบการณ์เช่นนั้นอีกเป็นแน่

ดังนั้น หนทางที่จีนน่าจะทำได้ในตอนนี้ก็คือ รอ และภาวนาว่าจะไม่ไปตกใส่ใคร 

สถานีเทียนกง <wbr>1 <wbr>สถานีอวกาศที่เป็นห้องทดลองลอยฟ้าแห่งแรกของจีน <wbr>อาจจะต้องตกลงสู่โลกอย่างไรการควบคุมในอนาคต<br />

สถานีเทียนกง สถานีอวกาศที่เป็นห้องทดลองลอยฟ้าแห่งแรกของจีน อาจจะต้องตกลงสู่โลกอย่างไรการควบคุมในอนาคต

ที่มา: