โครงการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 2
(ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
The Second Thai Astronomy Olympiad : TAO


ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.)
  • สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ความสำคัญและที่มาของโครงการ

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงสนพระทัยทางด้านดาราศาสตร์และทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปี ซึ่งในครั้งนั้นตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 นับเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งทางด้านดาราศาสตร์ ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สืบเนื่องต่อมาพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงสนพระทัยในทางดาราศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะประกาศใช้ทั่วประเทศในปี 2546 แล้วนั้น หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์และอวกาศได้บรรจุสาระเนื้อหาวิชาในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เพื่อให้ได้ระดับมาตรฐานของสากลในระดับนานาชาติ ดังนั้นมูลนิธิ สอวน. ตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างยิ่ง ซึ่งทางมูลนิธิได้จัดโครงการโอลิมปิกวิชาการหลายสาขาต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา อาทิ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ฯลฯ สืบเนื่องจากมีการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ International Astronomy Olympiad หรือย่อว่า IAO จัดโดย Euro – Asian Astronomical Society (EAAS) และ Euro – Asian Association of Astronomy Teacher (EAATA) เป็นการแข่งขัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมช่วงอายุไม่เกิน 15 ปีและ 17 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้มีการพบปะในระดับนานาชาติระหว่างโรงเรียนที่มีการสอนดาราศาสตร์และฟิสิกส์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของดาราศาสตร์ที่มีต่อวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมทุกสาขา รวมทั้งการศึกษาโดยทั่วไปของเยาวชนซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษาในสาขาวิชาดาราศาสตร์และอวกาศที่จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับชั้นต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องวางแผนงานโครงการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกในระยะเวลา 5 ปีเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนและเยาวชนของชาติอีกทั้งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา อาทิ ครู อาจารย์ นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตร สิ่งสำคัญยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ศูนย์สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทย ศูนย์สอวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดให้มีการเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2547 – 2548 (ค่ายดาราศาสตร์ 1) จำนวนนักเรียน 35 คน จากนักเรียนทั่วประเทศ และคัดนักเรียนเข้าค่ายดาราศาสตร์ 2 จำนวน 20 คน เพื่อสอบคัดเลือกเป็นผู้แทนศูนย์ละ 6 คน รวม 24 คน แต่ละระดับชั้น โดยนักเรียนทั้งหมดจะเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งศูนย์ สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2548 นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ อาจารย์และครูสังเกตการณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ จำนวนประมาณ 30 คน ในการสอบแข่งขันประกอบด้วย 3 ส่วน คือการสอบแข่งขันภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และภาคสังเกตการณ์ เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติต่อไป

วัตถุประสงค์

  • ให้นักเรียนที่เป็นผู้แทนศูนย์ได้เพิ่มพูนประสบการณ์การแข่งขันดาราศาสตร์ระดับชาติเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านความรู้ความสามารถทางด้านดาราศาสตร์
  • เพิ่มพูนประสบการณ์ครูสังเกตการณ์ให้มีประสบการณ์ด้านความรู้และทักษะทางดาราศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาดาราศาสตร์ในสาระการเรียนรู้ดาราศาสตร์และอวกาศ
  • เพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นผู้แทนเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2548
  • พัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านดาราศาสตร์เพื่อได้บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิธีดำเนินการ
  • ศูนย์การอบรม 4 ศูนย์ คัดเลือกนักเรียนเข้าแข่งขันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์ละ 12 คน รวม 48 คน
  • ศูนย์การอบรม 4 ศูนย์ ดำเนินการออกข้อสอบภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติการ และภาคสังเกตการณ์แล้วส่งให้ศูนย์ สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทย เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวิชาการพิจารณาและ คัดเลือกข้อสอบ
  • ศูนย์การอบรม 4 ศูนย์ เสนอชื่ออาจารย์รวมเป็นกรรมการออกข้อสอบ กรรมการตรวจข้อสอบและกรรมการวิชาการ ศูนย์ละ 2 คน รวมทั้งเสนอชื่อครูสังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมศูนย์ละ 2 คน
  • ศูนย์สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทยประสานงานและดำเนินการจัดแข่งขันในระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2548
กำหนดการและสถานที่
  • กำหนดการจัดแข่งขัน วันศุกร์ที่ 29 เมษายน - วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2548
  • สถานที่จัดแข่งขัน ภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ ณ อาคารฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พระนครแกรนด์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพฯ
  • ภาคสังเกตการณ์ ณ วัดมกุฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
หลักสูตรการจัดแข่งขัน

ประเภทข้อสอบ จำนวนข้อสอบ เวลาสอบ (ชั่วโมง) เนื้อหาข้อสอบ / กิจกรรม คะแนนเต็ม
ภาคทฤษฎี แบบอัตนัย 6 ข้อ 3 ชม. (ข้อละ 30 นาที) ทฤษฎีดาราศาสตร ์ 60
ภาคปฏิบัติการแบบอัตนัย
2 ข้อ 3 ชม. (ข้อละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) ใช้ข้อมูลจริง แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำปฏิบัติการ 20
ภาคสังเกตการณ์ 3 ข้อ 35 นาที / คน
จำนวน 24 คน
รวม 3 ชม.
ให้นักเรียนสังเกตดวงดาวท้องฟ้าจริง แล้วบันทึกผล 20

งบประมาณ
     จากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริน