โครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก"

รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี
ประจำปีการศึกษา 2548
( ประจำปีดาราศาสตร์โอลิมปิกสากล 2549)


กลับหน้าหลักดาราศาสตร์โอลิมปิก



- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
โครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก" รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี
ประจำปีดาราศาสตร์โอลิมปิกสากล 2549 (ค่ายดาราศาสตร์ )
จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา
ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
(มูลนิธิ สอวน.) และศูนย์ สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทย

- - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ความสำคัญและที่มาของโครงการ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงสนพระทัยทางด้านดาราศาสตร์และทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปี ซึ่งในครั้งนั้นตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 นับเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งทางด้านดาราศาสตร์ ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สืบเนื่องต่อมาพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงสนพระทัยในทางดาราศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะประกาศใช้ทั่วประเทศในปี 2546 แล้วนั้น หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์และอวกาศได้บรรจุสาระเนื้อหาวิชาในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เพื่อให้ได้ระดับมาตรฐานของสากลในระดับนานาชาติ ดังนั้นมูลนิธิ สอวน. ตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างยิ่ง ซึ่งทางมูลนิธิได้จัดโครงการโอลิมปิกวิชาการหลายสาขาต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา อาทิ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ฯลฯ

สืบเนื่องจากมีการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ International Astronomy Olympiad หรือย่อว่า IAO จัดโดย Euro – Asian Astronomical Society (EAAS) และ Euro – Asian Association of Astronomy Teacher (EAATA) เป็นการแข่งขัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมช่วงอายุไม่เกิน 15 ปีและ 17 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้มีการพบปะในระดับนานาชาติระหว่างโรงเรียนที่มีการสอนดาราศาสตร์และฟิสิกส์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของดาราศาสตร์ที่มีต่อวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมทุกสาขา รวมทั้งการศึกษาโดยทั่วไปของเยาวชนซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษาในสาขาวิชาดาราศาสตร์และอวกาศที่จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับชั้นต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องวางแผนงานโครงการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกในระยะเวลา 5 ปีเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนและเยาวชนของชาติอีกทั้งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา อาทิ ครู อาจารย์ นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตร สิ่งสำคัญยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21

ดังนั้นมูลนิธิ สอวน.และสมาคมดาราศาสตร์ไทย จึงจัดโครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก" รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ประจำปีดาราศาสตร์โอลิมปิกสากล 2549 (ค่ายดาราศาสตร์) โดยรับผิดชอบโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ทั้งหมดประมาณ 1,000 โรงเรียน ซึ่งทางมูลนิธิ สอวน. และสมาคมดาราศาสตร์ไทยจะจัดโครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก" ในช่วงวันที่ 22 มีนาคม – 2 เมษายน 2549

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก จำนวน 35 คน โดยการสอบคัดเลือกตรงจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 25 คน และจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ค่ายดาราศาสตร์ 2) จำนวน 10 คน
2. เพื่อจัดให้มีกิจกรรมแข่งขันความสามารถทางดาราศาสตร์ระดับประเทศ
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดาราศาสตร์ของนักเรียนในการเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ
4. เพื่อพัฒนาการศึกษาดาราศาสตร์ในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากลตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
5. เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21


เป้าหมายของโครงการ
1. เมื่อนักเรียนสิ้นสุดจากการเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก จำนวน 35 คน โดยการสอบคัดเลือกตรงจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 25 คน และจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ค่ายดาราศาสตร์ 2) จำนวน 10 คน เพื่อคัดเลือกในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติต่อไป
2. นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ดาราศาสตร์อย่างกว้างขวาง
3. พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถทางด้านดาราศาสตร์แก่เยาวชนของประเทศเข้าสู่มาตรฐานระดับนานาชาติและเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ
4. ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนดาราศาสตร์บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา
5. พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับแผนการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 


วิธีดำเนินการ
ศูนย์ สอวน. (สมาคมดาราศาสตร์ไทย) กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าค่าย ดาราศาสตร์โอลิมปิก ตามรายละเอียดดังนี้
4.1 ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก
ระยะเวลาที่เข้าค่ายในวันที่ 22 มีนาคม – 2 เมษายน 2549 จำนวน 12 วัน ณ สมาคมดาราศาสตร์ไทย จำนวนนักเรียนเข้าค่าย 35 คน โดยคัดเลือกจากนักเรียนที่สังกัด โรงเรียนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ประมาณ 1,000 โรงเรียน
4.2 จำนวนค่ายที่จัด เวลา สถานที่
- ค่ายปิดเทอมปลายปีการศึกษา 2548 จำนวน 12 วัน ในระหว่างวันที่ 22 มีนาคม – 2 เมษายน 2549 จำนวน 35 คน
- เมื่อสิ้นค่ายจะคัดเลือกผู้แทนศูนย์ๆ ละ 3 คน เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณเดือนเมษายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ผู้แทนจากการแข่งขันระดับชาติจะส่งไปแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าค่าย
5.1 นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา (* อายุไม่เกิน 17 ปี ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีที่ส่งไปแข่งขันระดับนานาชาติ )
5.2 นักเรียนจะต้องเกิดระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2532 – 30 ธันวาคม 2535 ******

วิธีการสมัคร
6.1 กรอกใบสมัครพร้อมชำระค่าสมัครคนละ 50.- บาท ส่งมาทางไปรษณีย์หรือโอนเงินผ่านธนาคาร รายละเอียดอยู่ในใบสมัครดังแนบ ภายในวันที่ 3 มีนาคม 2549
6.2 ทางโรงเรียนสามารถให้นักเรียนสมัครเข้าร่วมคัดเลือกเข้าค่ายโดยไม่จำกัดจำนวน
6.3 นักเรียนสามารถสมัครได้ด้วยตนเองหรือสมัครผ่านโรงเรียนทางไปรษณีย์ ทางอินเทอร์เน็ต ผ่าน website สมาคมดาราศาสตร์ไทย

การคัดเลือก
7.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยทดสอบความรู้พื้นฐานทางด้านดาราศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
7.2 สอบคัดเลือกในวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2549 เวลา 13.00 – 16.00 น.
7.3 สถานที่สอบ โรงเรียนปทุมคงคา แขวงเอกมัย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (ข้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
7.4 แผนผังที่นั่งสอบและห้องสอบให้นักเรียนตรวจสอบได้ในวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2549 ณ บริเวณสนามสอบ
7.5 ให้นักเรียนนำบัตรประจำตัวนักเรียน หรือบัตรมีรูปถ่ายที่ทางโรงเรียนออกให้มาแสดงในวันสอบ (ถ้านักเรียนไม่นำบัตรมาแสดงทางสมาคมฯไม่อนุญาตให้สอบ)

การประกาศผลสอบ
8.1 ประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าค่ายในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2549
ทาง website สมาคมดาราศาสตร์ไทย https://thaiastro.nectec.or.th
และที่สำนักงานสมาคมดาราศาสตร์ไทย โทรศัพท์ 0-2381-7409-10 โทรสาร 0-2381-7410
8.2 ผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกได้ 25 คน จะมีจดหมายถึงนักเรียนโดยตรง

ระยะเวลาและสถานที่เข้าค่าย
9.1 วันพุธที่ 22 มีนาคม 2549 นักเรียนรายงานตัวเพื่อเข้าค่ายดาราศาสตร์ ระยะเวลาเข้าค่าย วันพุธที่ 22 มีนาคม - วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 (รวม 12 วัน)
9.2 สถานที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
https://thaiastro.nectec.or.th E-Mail Address : thaiastro@inet.co.th และ thaiastro@hotmail.com
โทรศัพท์ 0 - 2381 - 7409 - 10 โทรสาร. 0 - 2381 - 7410


ค่าใช้จ่าย (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
มูลนิธิ สอวน. จะเป็นผู้รับชอบ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าจัดกิจกรรมอื่นๆ สำหรับ นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายทุกคน


***** ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า