รายงานฝนดาวตกคนคู่ 13-15 ธ.ค. 2545

15 ธันวาคม 2545 รายงานโดย: รุ่งโรจน์ พิทักษ์ด่านธรรม (Pitukdantham@rocketmail.com)
ตอนดึก คืนวันศุกร์ 13 ต่อ เช้ามืด 14 ธ.ค. 45
สถานที่ ต. คลองเกลือ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี
มุมมอง ฟ้าทิศเหนือ
มุมเงย 45 - 90 องศา
เวลาท้องถิ่นทิศที่พุ่งไปหมายเหตุ
23.47ตกพุ่งหาดวงจันทร์
23.52ตก
00.22เหนือ
00.23ออกพุ่งหาดาวพฤหัส
01.03ออก
01.13ตก/เหนือใกล้ดาวคาเพลลา
01.23ตกใกล้ดาวคาเพลลา
02.15ออก/เหนือใกล้ดาวพฤหัส
02.25ออก/เหนือใกล้ดาวพฤหัส
03.00ออกพุ่งหาดาวพฤหัส

สรุป การสังเกตคืนวันที่ 13/14 ธ.ค. 45 พบ ดาวตก 10 ดวง (ดูทางฟ้าด้านเหนือเท่านั้น) ดาวตกทั้งหมดมีสีขาว ไม่เห็นหาง หรือมีหางค่อนข้างสั้น


ตอนดึก คืนวันเสาร์ 14 ต่อ เช้ามืด 15 ธ.ค. 45
สถานที่ ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
มุมเงย 40 - 85 องศา มองไปรอบๆ ยกเว้นทิศใต้และตก/ใต้
เวลาท้องถิ่นทิศที่พุ่งไปหมายเหตุ
21.30ตกหางยาวขนานขอบฟ้า
21.45ตัดดาวไถหางยาวเท่าบริเวณดาวเต่า
21.50พุ่งหาดาวเสาร์
22.13พุ่งหาดาวสุนัขใหญ่หางยาว
22.25ตก/ใต้
22.50 -22.553 ดวง ตกบริเวณ ดาวเต่า สารถี ดาวเสาร์
23.03 และ 23.10ใกล้ดาวสารถี
23.12 และ 23.13ใกล้ดาวสุนัขใหญ่
23.14 ?ด้านตะวันตกของดาวสารถี พุ่งไปทางเหนือ?
23.16ไฟร์บอลสีเขียวอมฟ้าสว่างมาก มีควันพันเป็นเกลียวรอบๆ หางยาว ได้ยินเสียงและแตกดังคล้ายพลุ ผ่านดาวเต่า จากมุมเงยสูงถึงต่ำ
23.22ใกล้ดาวสุนัขใหญ่
23.31พุ่งหาดาวพฤหัส
23.36?พุ่งจากใต้ไปเหนือ ใกล้ดาวคาเพลลา?
23.37ใกล้ดาวสุนัขใหญ่
23.42ใกล้ดาวสุนัขใหญ่
23.55พุ่งหาดาวพฤหัส
00.12พุ่งหาดาวพฤหัสสว่างปานกลาง สีเขียว ขนาดกลาง
00.17, 00.19, 00.20, 00.22, 00.24ใกล้ดาวพฤหัสที่ค่อนไปทางตะวันออก
00.34-00.59หยุดพัก และเปลี่ยนทิศที่มองมาเป็นด้านฟ้าใต้
01.00 และ 01.03ออก/ใต้ มุมเงย 60-70 องศา
01.04-01.39หยุดพัก
01.402 ดวง ใกล้ดาวพฤหัสที่ค่อนไปทางตะวันออก
01.46อีก 2 ดวง ใกล้ดาวพฤหัสที่พุ่งไปทางตะวันออก/ใต้
เปลี่ยนมุมมองไปสังเกตทางด้านฟ้าตก/ใต้ (ดวงจันทร์ลับขอบหลังคา)
01.55ตก/ใต้ สีเหลืองสุกสว่าง ใกล้ดาวเต่า
02.00, 02.05, 02.13ตก/ใต้ สีเหลืองสุกสว่าง ใกล้ดาวบีทาจุส
02.37ตก จากดาวเสาร์
02.43ทางด้านเหนือของดาวคาเพลลา
03.07พุ่งไปทิศเหนือ
03.08พุ่งไปทิศตะวันออก/เหนือ
03.09พุ่งไปทิศตะวันออก
สิ้นสุดเวลาการสังเกต

สรุป การสังเกตคืนวันที่ 14/15 ธ.ค. 45 พบ ดาวตก 41 ดวง ไฟร์บอล 1 ดวง เกือบเป็นไฟร์บอล 2-3 ดวง ดาวตกส่วนใหญ่มีสีขาว (ยกเว้นไฟร์บอลมีสีเขียวอมฟ้า) มีหางยาวปานกลางถึงยาวมาก แต่ใกล้เวลาดวงจันทร์ลับ ดาวตกมักมีสีเหลือง มุมเงยที่เหมาะสมคือ 35-70 องศา และมักมีดาวตกขนาดกลางมากในตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 -02.30 น. ทางทิศตะวันออก, ออกเฉียงใต้, ตกเฉียงใต้ และ ตะวันตก หรือกลุ่มดาวปู สิงโต สุนัขใหญ่ เต่า และพบใกล้กลุ่มดาววัว และ สารถีบ้าง แต่มีโอกาสพบไฟร์บอลได้เมื่อมองไปยังบริเวณกลุ่มดาว สุนัขใหญ่ เต่า อย่างไรก็ตาม สามารถพบดาวตกจากกลุ่มดาวอื่นได้ 1-2 ดวงในช่วงเวลาดังกล่าว

อนึ่ง การสังเกตดาวตกครั้งนี้ ไม่สามารถมองเห็นฟ้าทางทิศใต้ และมุมเงยที่ต่ำกว่า 30 องศาเนื่องจากตัวอาคารบดบังและมีแสงไฟรบกวน ส่วนการเตรียมกล้องถ่ายภาพในหลายมุมมองเพื่อบันทึกประกอบรายงาน รวมถึงการจดบันทึก ทำให้เสียโอกาสการสังเกตดาวตกบ้าง ดังนั้นจำนวนดาวตกที่บันทึกได้จึงมีค่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น







วิมุติ วสะหลาย [wimut@hotmail.com]