รายงานฝนดาวตกควอดแดรนต์

27 กุมภาพันธ์ 2546 รายงานโดย: รุ่งโรจน์ และ สุภา พิทักษ์ด่านธรรม
วัน/เวลา : 4 มกราคม พ.ศ. 2546 เวลา 04.55-06.12 น.
สถานที่สังเกต : ซอยอยู่วิทยา 5 ท้องที่รอยต่อ สน.สุวินทวงศ์ และ สน.ลำผักชี ข.หนองจอก กรุงเทพฯ
สภาพทั่วไป : ท้องฟ้าโปร่ง มองเห็นดาวที่มีความสว่างน้อยๆ ได้ตั้งแต่มุมเงย 10 องศา แต่ด้านทิศตะวันตก (ด้านหลัง) มีแสงไฟและแนวต้นไม้ริมถนนบดบังท้องฟ้าถึงมุมเงย 35 องศา อากาศเย็น ด้านหน้า (ทิศตะวันออก) ด้านขวาและซ้ายเป็นทุ่งนา มียุงและน้ำค้างพอสมควร

เวลาที่เห็นดาวตกสีขนาดทิศทางหรือกลุ่มดาวที่ดาวตกพุ่งผ่านไป
04.55เหลืองใหญ่ผ่านดาวศุกร์ไปทางตะวันออกค่อนไปทางใต้เล็กน้อย
05.10-05.15ขาวเล็กดวงหนึ่งไปทางดาวศุกร์ อีกดวงหนึ่งไปทางดาวพฤหัส
05.23ขาวเล็กจากดาวพฤหัสไปทางตะวันตกเฉียงใต้
05.32ขาวเล็กสองดวง ? พุ่งจากตำแหน่งที่ต่ำกว่าดาวศุกร์ไปทางใต้ และเหนือ
05.37ขาวเหลืองกลางผ่านกลุ่มดาวสิงโตไปหาดาวพฤหัส
05.40ขาวเล็กสองดวง พุ่งไปทางตะวันออก และทางใต้
05.45ขาวเล็กจากกลุ่มดาวหมีใหญ่ ไปทางดาวพฤหัส
05.47ขาวเล็กใกล้จุดจอมฟ้า ? ไปทางกลุ่มดาวหมีใหญ่
06.00ขาวกลางไปทางตะวันออก
06.03ขาวเหลืองกลางไปทางใต้
06.12ยุติการสังเกต เนื่องจากฟ้าเริ่มสว่าง ขณะที่ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสยังปรากฏอยู่

สรุป ช่วงเวลา 04.20-04.35 น. สามารถมองเห็นดาวตกสีขาวที่มีขนาดเล็กมาก (ที่ปรากฏเป็นระยะทางสั้นๆ ) ประมาณ 5-6 ดวงได้ บริเวณรอบๆ เรเดียนต์ จึงเปลี่ยนสถานที่สังเกตไปยังที่ดังกล่าวข้างต้น แล้วเริ่มบันทึกผล ตั้งแต่ 04.55-06.12 น. พบว่าดาวตกส่วนใหญ่มีสีขาว ขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่เห็นหางที่มีสีสันสวยงามและหางที่ยาวเท่าดาวตกสิงโต หรือดาวตกคนคู่ แต่ดาวตกที่มีขนาดกลางถึงขนาดค่อนข้างใหญ่ที่ปรากฏมักมีสีเหลืองมากขึ้นตามขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยนับดาวตกควอดแดรนต์ได้ไม่น้อยกว่า 11 ดวง และดาวตกอื่นๆ (?) อีก 3 ดวง ในเวลา 1 ชม. 20 นาที

อนึ่ง ดาวตกสองดวงสุดท้ายปรากฏให้เห็นเมื่อฟ้าสาง (ขณะที่เริ่มเห็นรูปร่างของต้นไม้ที่ขอบฟ้าทางตะวันออก) มีขนาดใหญ่ขึ้นมีหางยาวและมีสีอมเหลืองมากขึ้น ถ้านับจำนวนรวมของดาวตกที่เห็นในเวลารวมราว 1 ชั่วโมง 30 นาที จะพบว่ามีถึง 20 ดวง หรือที่อัตราการตกอย่างน้อย 1 ดวงทุก 5 นาที อันเป็นอัตราการตกของดาวตกก่อนเวลาที่จะมีอัตราการตกมากที่สุดที่ได้มีการคำนวนไว้ว่าจะมีมากถึง 1 ดวงต่อ 1-2 นาที ที่จุดสังเกต สูงกว่าละติจูดที่ 40 องศาเหนือ (ข้อมูลจาก IMO) ณ เวลา 07.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ดังนั้น กรณีท้องฟ้าโปร่งและไม่มีแสงจันทร์หรือแสงสว่างรบกวน และอัตราการตกสูงสุดที่คำนวณอยู่ในห้วงเวลา ก่อนฟ้าสางอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง การสังเกตดาวตกควอดแดรนต์น่าจะพอมีค่าควรศึกษาให้มีความละเอียดมากขึ้นกว่านี้ ถึงแม้ว่าการสังเกตในประเทศไทยจะพบดาวตกได้น้อยกว่าที่ ZHR ณ ละติจูดที่ 40 องศาเหนืออยู่กว่าครึ่งหนึ่งก็ตาม







วิมุติ วสะหลาย [wimut@hotmail.com]