รายงานฝนดาวตกกลุ่มดาวพิณ

9 พฤษภาคม 2546 รายงานโดย: รุ่งโรจน์ และ สุภา พิทักษ์ด่านธรรม
วันที่สังเกต : 23 เมษายน พ.ศ. 2546
เวลา : 04.20 - 05.20 น.
สถานที่สังเกต : บนดาดฟ้าของอาคารสูงย่านเมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
สภาพท้องฟ้าและวิธีการสังเกตดาวตก : ท้องฟ้ามีเมฆบาง ๆ เล็กน้อยด้านทิศตะวันตกเท่านั้น แต่มีแสงจันทร์รบกวนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จึงเอนตัวลงนอนหงายหันหน้าไปทางทิศเหนือค่อนไปทางตะวันตก ทำให้มองเห็นดาวเวกา (Vega) ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ใกล้เรเดียนต์อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันแสงจันทร์รบกวนการสังเกตลดน้อยลงเมื่อไม่ได้มองเห็นดวงจันทร์โดยตรง อย่างไรก็ตามไม่สามารถสังเกตท้องฟ้าด้านทิศใต้จนถึงทิศตะวันตกค่อนไปทางใต้ได้ เนื่องจากมีตัวอาคารบดบัง

เวลาที่เห็นดาวตกสีขนาดทิศทางที่ดาวตกพุ่งผ่านไป
04.25ขาวเล็กห่างจากดาวเวกา 15 องศา พุ่งไปทางตะวันออก
04.31ขาวกลางห่างจากดาวเวกา 15 องศา พุ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
04.41ขาวกลางห่างจากดาวเวกา 30 องศา พุ่งไปทางตะวันออก
05.00ขาวกลางห่างจากดาวเวกา 30 องศา พุ่งไปทางดวงจันทร์
05.02ขาวค่อนข้างใหญ่ห่างจากดาวเวกา 50 องศา พุ่งไปทางตะวันออก

สรุปผลการสังเกต : ในช่วงเวลาก่อนฟ้าสางประมาณ 1 ชั่วโมง ดวงจันทร์ครึ่งดวงส่องสว่างอยู่บนซีกฟ้าด้านใต้ พบดาวตกจากกลุ่มดาวพิณ มีสีขาวทั้งหัวและหางที่มีขนาดเล็ก(มีหางสั้น) ขนาดกลาง(มีหางยาวประมาณ 15 องศา) และขนาดค่อนข้างใหญ่ (หางยาวกว่า 20 องศา) รวม 5 ดวง อย่างไรก็ตามพบว่ามีดาวตกขนาดเล็กมากที่มองเห็นคล้ายแสงไฟกะพริบ(มองไม่เห็นหาง) รอบๆ เรเดียนต์เกิดขึ้น 5 ดวงในระหว่างเวลา 04.40-05.10 น. ดังนั้นอัตราการตกควรมีค่าอย่างน้อย 10 ดวงต่อชั่วโมง (หรือโดยเฉลี่ย พบ 1 ดวงทุก 6 นาที)





วิมุติ วสะหลาย [wimut@hotmail.com]