สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2564

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2564

13 กุมภาพันธ์ 2564
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
      พ.ศ. 2564 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างละ ครั้ง รวมเป็น ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาทั้งสองครั้ง โดยเกิดขึ้นในเวลาหัวค่ำ

1. จันทรุปราคาเต็มดวง 26 พฤษภาคม 2564


     วันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย ออสเตรเลีย แอนตาร์กติกา มหาสมุทรแปซิฟิก และด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง ห่างดาวแอนทาเรสหรือดาวปาริชาตประมาณ 

      ประเทศไทยสามารถเห็นได้ในช่วงครึ่งหลังของปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาหัวค่ำ พื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศไทยไม่สามารถสังเกตได้ในช่วงบังเต็มดวงซึ่งนานเพียง 15 นาที เนื่องจากดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นเหนือขอบฟ้า หลังจากดวงจันทร์ขึ้นแล้ว จันทรุปราคาบางส่วนยังดำเนินอยู่ โดยเงามืดอยู่ทางด้านขวาบนของดวงจันทร์ เมื่อสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 19:52 น. ที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 15° แม้จันทรุปราคาบางส่วนจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ดวงจันทร์จะยังไม่สว่างเต็มที่เนื่องจากยังอยู่ในเงามัวต่อไปอีกราว ชั่วโมง

 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 26 พฤษภาคม 2564
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก15:47:37
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน16:44:57
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง18:11:21
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด18:18:41 (ขนาดอุปราคา 1.0097)
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง18:26:02
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน19:52:25
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก20:49:45


2. สุริยุปราคาวงแหวน 10 มิถุนายน 2564


     วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564 เกิดสุริยุปราคาวงแหวน ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ บังดวงอาทิตย์ไม่มิด มีลักษณะปรากฏคล้ายวงแหวน เราเห็นสุริยุปราคาชนิดนี้ได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสวงแหวนอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ เริ่มต้นที่รัฐออนแทรีโอของแคนาดา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น จากนั้นเงาคราสวงแหวนผ่านรัฐควิเบก ลงสู่อ่าวฮัดสัน เกาะแบฟฟิน ตะวันตกของกรีนแลนด์ อาร์กติก แล้วไปสิ้นสุดในรัสเซีย 

     จุดกลางคราสของสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ในทะเลระหว่างแคนาดากับกรีนแลนด์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 51 วินาที สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ นาทีครึ่ง

     สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 15:12 20:11 น. ตามเวลาประเทศไทย เงาที่ทำให้เกิดคราสวงแหวนสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 16:50 18:34 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 10 มิถุนายน 2564
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก15:12:20.2ละติจูด 23° 38.6′ ลองจิจูด 43° 56.4′ W
2. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลก16:54:58.2ละติจูด 50° 10.2′ ลองจิจูด 89° 31.6′ W
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.94350)17:41:56.1ละติจูด 80° 48.9′ ลองจิจูด  66° 46.2′ W
4. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนออกจากผิวโลก18:28:41.3ละติจูด 63° 34.4′ ลองจิจูด 156° 33.7′ E
5. เงามัวออกจากผิวโลก20:11:21.2ละติจูด 41° 27.4′ ลองจิจูด 94° 06.9′ E


3. จันทรุปราคาบางส่วน 19 พฤศจิกายน 2564

     วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เกิดจันทรุปราคาบางส่วน บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันตกของแอฟริกา ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัวที่ระยะห่างประมาณ 

     บางส่วนของประเทศไทย ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และด้านตะวันออกของภาคเหนือ สังเกตจันทรุปราคาครั้งนี้ได้ในช่วงท้ายขณะดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้า (และดวงอาทิตย์ตก) เนื่องจากบางส่วนของดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามืด ส่วนพื้นที่อื่นนอกเหนือจากนี้ จันทรุปราคาบางส่วนได้สิ้นสุดลงก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้น ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงจันทร์แหว่งได้ แต่ดวงจันทร์จะยังไม่สว่างเต็มที่เนื่องจากยังอยู่ในเงามัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 19 พฤศจิกายน 2564
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก13:02:08
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน14:18:41
3. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด16:02:54 (ขนาดอุปราคา 0.9741)
4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน17:47:05
5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก19:03:41


 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

4. สุริยุปราคาเต็มดวง ธันวาคม 2564


     วันเสาร์ที่ ธันวาคม 2564 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ได้มิดทั้งดวง สังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสเต็มดวงอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้ เริ่มต้นในมหาสมุทร ห่างไปทางตะวันออกของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ในแอตแลนติกใต้ จากนั้นพาดผ่านทวีปแอนตาร์กติกา ก่อนลงสู่มหาสมุทรอีกครั้ง แล้วสิ้นสุดในทะเล จุดกลางคราสในทะเลจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 54 วินาที สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนานประมาณ นาทีครึ่ง

     นอกเหนือจากทวีปแอนตาร์กติกา แผ่นดินที่อยู่ในแนวคราสเต็มดวงคือบางส่วนของหมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ เป็นหมู่เกาะที่อยู่ห่างจากปลายคาบสมุทรแอนตาร์กติกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 604 กิโลเมตร อ้างสิทธิ์ครอบครองโดยอังกฤษและอาร์เจนตินา แต่บริเวณนี้อยู่ห่างจากเส้นกลางคราส ใกล้ขอบเขตด้านทิศใต้ของแนวคราสเต็มดวง

     สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 12:29 16:37 น. ตามเวลาประเทศไทย เงามืดที่ทำให้เกิดคราสเต็มดวงสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 14:00 15:07 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ แอนตาร์กติกา ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา และตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

 (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา ธันวาคม 2564
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก12:29:15.8ละติจูด 23° 19.2′ ลองจิจูด 4° 56.3′ W
2. ศูนย์กลางเงามืดเริ่มสัมผัสผิวโลก14:02:52.4ละติจูด 53° 04.9′ ลองจิจูด 51° 12.1′ W
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 1.03673)14:33:27.0ละติจูด 76° 46.5′ ลองจิจูด  46° 13.7′ W
4. ศูนย์กลางเงามืดออกจากผิวโลก15:03:46.8ละติจูด 67° 21.9′ ลองจิจูด 134° 10.5′ W
5. เงามัวออกจากผิวโลก16:37:28.4ละติจูด 46° 23.6′ ลองจิจูด 148° 40.0′ E


ดูเพิ่ม


 จันทรุปราคาในวันวิสาขบูชา 26 พฤษภาคม 2564