สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2544

อุปราคาในปี 2544

8 มกราคม 2544
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 29 กันยายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปีนี้มีสุริยุปราคาสองครั้งและจันทรุปราคาสามครั้ง สุริยุปราคาทั้งสองครั้งไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย แต่คนไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาได้สองครั้ง คือ จันทรุปราคาเต็มดวงในคืนวันที่ 9/10 มกราคม และจันทรุปราคาบางส่วนในวันที่ กรกฎาคม อุปราคา ครั้งประกอบด้วย

จันทรุปราคาเต็มดวง 9/10 มกราคม 2544

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 10 มกราคม 2544
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก00.43 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)01.42 น.
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)02.49 น.
4. กึ่งกลางของการเกิด03.20 น.
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์ออกจากเงามืด)03.51 น.
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวง)04.59 น.
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก05.58 น.


บริเวณที่มองเห็นการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ กรีนแลนด์ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย รายละเอียดของจันทรุปราคาครั้งนี้ อ่านได้จากทางช้างเผือกฉบับธันวาคม 2543

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ผ่านเงาโลก วันที่ 9/10 มกราคม 2544 

สุริยุปราคาเต็มดวง 21 มิถุนายน 2544

สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 21 มิถุนายน 2544 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ ปีของทวีปแอฟริกา เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกในมหาสมุทรแอตแลนติก ขึ้นฝั่งที่แองโกลา พาดผ่านซิมบับเว แซมเบีย โมซัมบิก และมาดากัสการ์ สุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมถึงบางส่วนของอเมริกาใต้ และส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา จุดที่มองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา ด้วยระยะเวลานาน นาที 57 วินาที

เส้นทางการเคลื่อนที่ของเงาดวงจันทร์บนผิวโลก วันที่ 21 มิถุนายน 2544 

จันทรุปราคาบางส่วน กรกฎาคม 2544


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน กรกฎาคม 2544
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก19.11 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)20.35 น.
4. กึ่งกลางของการเกิด21.55 น.
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวง)23.15 น.
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก00.40 น.

ณ เวลากึ่งกลางของการเกิด ดวงจันทร์จะถูกบังครึ่งดวงพอดี บริเวณที่มองเห็นการเกิดจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของแอฟริกาและตะวันออกกลาง เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวาย และแอนตาร์กติกา

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ผ่านเงาโลก วันที่ กรกฎาคม 2544 

สุริยุปราคาวงแหวน 15 ธันวาคม 2544

เส้นทางอุปราคาส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยพื้นดินส่วนที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนคือบางส่วนของนิการากัวและคอสตาริกาในอเมริกากลาง บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมไปถึงอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และบางส่วนของอเมริกาใต้

จันทรุปราคาเงามัว 30 ธันวาคม 2544

วันที่ 30 ธันวาคม 2544 มีจันทรุปราคาเงามัวซึ่งสังเกตได้ยากเนื่องจากดวงจันทร์เพียงผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้น