สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2545

อุปราคาในปี 2545

2 มกราคม 2545
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 กันยายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ในปี 2545 มีอุปราคาเกิดขึ้นรวมทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคาสองครั้งและจันทรุปราคาสามครั้งเช่นเดียวกับปีที่แล้ว แต่จันทรุปราคาทั้งสามครั้งในปีนี้เป็นแบบเงามัว คือ ดวงจันทร์ไม่ได้ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกเลย ทำให้ปีนี้ไม่ว่าที่ใดในโลกก็ไม่สามารถมองเห็นจันทรุปราคาแบบบางส่วนและเต็มดวงได้ สำหรับปีนี้บางพื้นที่ของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจมีโอกาสมองเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้ในเช้ามืดของวันที่ 11 มิถุนายน 2545

1. จันทรุปราคาเงามัว วันที่ 26 พฤษภาคม 2545 มองเห็นได้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ฮาวาย แม้ว่าบริเวณที่มองเห็นการเกิดจันทรุปราคาแบบเงามัวครั้งนี้จะรวมถึงประเทศไทยด้วย แต่จะสังเกตการณ์ได้ยากเพราะดวงจันทร์จะอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าขณะที่เข้าไปใกล้เงามัวมากที่สุดในเวลา 19.03 น.

2. สุริยุปราคาวงแหวน วันที่ 11 มิถุนายน 2545 เส้นทางสุริยุปราคาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีเกาะเล็กๆ บางแห่งของอินโดนีเซียและบางส่วนของหมู่เกาะในครอบครองของสหรัฐฯ ที่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนได้ เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนเริ่มต้นขึ้นที่ชายฝั่งทางตอนเหนือของสุลาเวสี จากนั้นพาดผ่านเกาะเล็ก ๆ ของอินโดนีเซีย หมู่เกาะพาลอและหมู่เกาะมาเรียนา ทางเหนือของเกาะกวม จากนั้นเงาของดวงจันทร์เคลื่อนขึ้นไปผ่านทางเหนือห่างออกไปจากฮาวาย แล้ววกกลับลงมาขึ้นฝั่งทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก พร้อมกับหลุดออกจากพื้นผิวโลก เป็นการสิ้นสุดการเกิดสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมไปถึงเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ฮาวาย อเมริกาเหนือ และบางส่วนของอเมริกากลาง

3. จันทรุปราคาเงามัว วันที่ 25 มิถุนายน 2545 มองเห็นได้ในแอฟริกาและตะวันออกกลาง

4. จันทรุปราคาเงามัว วันที่ 20 พฤศจิกายน 2545 มองเห็นได้ในทวีปอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา

เส้นทางการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ ธันวาคม 2545 ในทวีปแอฟริกา โดย Fred Espenak (NASA/GSFC) 

5. สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ ธันวาคม 2545 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาเป็นปีที่สองติดต่อกัน เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกในมหาสมุทรแอตแลนติก ขึ้นฝั่งที่แองโกลา พาดผ่านชายแดนรอยต่อของแซมเบีย นามิเบีย บอตสวานา และซิมบับเว ตอนเหนือของแอฟริกาใต้และตอนใต้ของโมซัมบิก แล้วลงสู่มหาสมุทรอินเดีย ก่อนที่จะขึ้นฝั่งอีกครั้งที่บริเวณตอนใต้ของออสเตรเลีย สุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา บางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกา อินโดนีเซีย และนิวซีแลนด์ จุดที่มองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน นาที วินาที