สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2553

อุปราคาในปี 2553

26 ธันวาคม 2552
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 22 เมษายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
หากไม่นับจันทรุปราคาบางส่วนที่เกิดในช่วงก่อนเช้ามืดของวันที่ มกราคม ปีนี้มีสุริยุปราคา ครั้ง และจันทรุปราคา ครั้ง รวมเป็นอุปราคาทั้งหมด ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคากับสุริยุปราคาอย่างละครั้ง

1. สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม 2553

สุริยุปราคาครั้งแรกเกิดขึ้นในบ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 ตามเวลาในประเทศไทย ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากจึงเกิดเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า บังกลาเทศ และจีน สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. ทางตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม 2553 และสุริยุปราคาเต็มดวง 11/12 กรกฎาคม 2553 

เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 52 วินาที

กึ่งกลางคราสซึ่งเห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทร นาน 11 นาที วินาที เกิดขึ้นเวลา 14:07 น. นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ เงาคราสวงแหวนพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที จากนั้นถึงทางใต้ของอินเดียและตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้เส้นกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที วินาที

เงาคราสมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ผ่านพม่า ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออก มัณฑะเลย์เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 37 วินาที จากนั้นเข้าสู่ประเทศจีน ฉงชิ่งเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 50 วินาที เจิ้งโจว นาที 40 วินาที คราสวงแหวนสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงในเวลา 15:59 น. จากนั้นปรากฏการณ์สิ้นสุดเมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น.

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนซึ่งเงามัวของดวงจันทร์พาดผ่านครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้ได้ทั่วทุกภาคโดยภาคเหนือตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ (ดูรายละเอียดในสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553)

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 23 ใน 70 ครั้งของชุดซารอสที่ 141 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1613 สิ้นสุดในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2857 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยสุริยุปราคาบางส่วน ครั้ง วงแหวน 41 ครั้ง และบางส่วน 22 ครั้ง ตามลำดับ คราสในซารอสนี้เริ่มต้นบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือแล้วไปสิ้นสุดใกล้ขั้วโลกใต้ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 12 นาที วินาที เกิดขึ้นเมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1955

2. จันทรุปราคาบางส่วน 26 มิถุนายน 2553

จันทรุปราคาครั้งนี้เห็นได้ในประเทศไทย เกิดขึ้นในช่วงพลบค่ำของคืนวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553 ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 17:17 น. แต่ประเทศไทยยังไม่เห็นเนื่องจากดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น เงามืดของโลกจะบังดวงจันทร์ลึกที่สุดเวลา 18:38 น. ด้วยขนาดความลึก 54% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ทางทฤษฎีที่กรุงเทพฯ เริ่มเห็นขอบบนของดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้าในเวลา 18:47 น. แต่ในความเป็นจริงอาจเริ่มเห็นดวงจันทร์ได้หลังจากนั้นเพราะขอบฟ้ามีหมอกควันบดบัง เมื่อขึ้นมาแล้วจะเห็นดวงจันทร์แหว่งทางซ้ายมือด้านบนและเป็นเวลาที่ท้องฟ้ายังไม่มืด

จันทรุปราคาบางส่วน 26 มิถุนายน 2553 

จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดในเวลา 20:00 น. ซึ่งดวงจันทร์จะกลับมาเต็มดวง ขณะนั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงยเพียง 15 องศา จึงมีเวลาสังเกตจันทรุปราคาบางส่วนได้นานประมาณ ชั่วโมง ภูมิภาคที่มีโอกาสเห็นได้นานกว่านี้คือด้านตะวันออกของภาคอีสานและภาคตะวันออกซึ่งจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นเร็วกว่านี้และขณะสิ้นสุดคราสนั้นดวงจันทร์ก็อยู่สูงกว่าที่เห็นในกรุงเทพฯ เล็กน้อย พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (ยกเว้นด้านตะวันออก)

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 26 มิถุนายน 2553

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 15:57:21 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 17:16:57 น.
3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 18:38:27 น.
4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 19:59:50 น.
5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 21:19:33 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 57 ใน 83 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 120 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1000 2479 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยจันทรุปราคาเงามัว 21 ครั้ง บางส่วน ครั้ง เต็มดวง 25 ครั้ง บางส่วน ครั้ง และเงามัว 23 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 นาน ชั่วโมง 44.9 นาที

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาในชุดซารอสเดียวกับที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1685 (เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 11 ธันวาคม) ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรที่บริเวณระเบียงด้านทิศตะวันตกของตำหนักทะเลชุบศร เมืองละโว้ (พระที่นั่งไกรสรสีหราช จ.ลพบุรี) พร้อมกับบาทหลวงนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้นำภาพแกะสลักไม้ที่แสดงถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเป็นตราสัญลักษณ์สมาคมฯ

3. สุริยุปราคาเต็มดวง 11/12 กรกฎาคม 2553
เส้นทางคราสเต็มดวงครั้งนี้เกือบทั้งแนวอยู่ในทะเลโดยเริ่มต้นทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านเกาะเล็ก ๆ ในแปซิฟิกใต้ รวมทั้งเกาะอีสเตอร์ แล้วไปสิ้นสุดทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 00:10 น. ของวันที่ 12 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นสุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มขึ้นเมื่อเงามืดเริ่มแตะผิวโลกในเวลา 01:15 น. ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดนั้นอยู่ห่างจากแหลมตะวันออกของนิวซีแลนด์ประมาณ 1,500-1,600 กม. หรือจากตองกาประมาณ 800 กม. เงามืดเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเกาะแมนไกอา (Mangaia) ในหมู่เกาะคุก และอะทอลล์ในกลุ่มเกาะตูอาโมตู (Tuamotu) ของเฟรนช์โปลีนีเซีย แล้วเบนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในทะเล นาน นาที 20 วินาที เกิดขึ้นเวลา 02:34 น.

ด้านตะวันออกของเกาะอีสเตอร์อยู่ใกล้เส้นกึ่งกลางคราสเต็มดวงมากที่สุด เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 47 วินาที เงามืดเคลื่อนไปถึงชายฝั่งทางใต้ของประเทศชิลีซึ่งมีภูมิประเทศขรุขระเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะจำนวนมาก จากนั้นพาดผ่านเทือกเขาแอนดีส เข้าสู่ตอนล่างของมณฑลซานตาครูซบนที่ราบสูงปาตาโกเนียในอาร์เจนตินา ผ่านอุทยานแห่งชาติลอสกลาเซียเรส (Los Glaciares National Park) ซึ่งมีธารน้ำแข็งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว เมืองเอลคาลาฟาเต (El Calafate) อยู่ใกล้แนวกลางคราสมากที่สุด เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 47 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงยไม่ถึง องศา เงามืดหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 03:52 น. ตรงจุดที่ห่างไปทางตะวันออกของเอลคาลาฟาเตราว 100 กม. หลังจากนั้นเงามัวจะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 04:57 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนซึ่งเงามัวของดวงจันทร์พาดผ่านครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ในแปซิฟิกใต้กับตอนล่างของทวีปอเมริกาใต้

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 27 ใน 76 ครั้งของชุดซารอสที่ 146 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1541 สิ้นสุดในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2893 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 22 ครั้ง เต็มดวง 14 ครั้ง ผสม ครั้ง วงแหวน 24 ครั้ง และบางส่วน 13 ครั้ง ตามลำดับ คราสในซารอสนี้เริ่มต้นบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้แล้วไปสิ้นสุดใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 21 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1992 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ นาที วินาที จะเกิดในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2461

4. จันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553


จันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553 (ไม่เห็นในประเทศไทย) 

อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง สังเกตเห็นได้ในหลายพื้นที่ ได้แก่ ทางตะวันออกของเอเชียกับออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ทางตะวันตกของยุโรปกับแอฟริกา ประเทศไทยไม่เห็นปรากฏการณ์ในวันนี้

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 12:29:18 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 13:32:37 น.
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:40:46 น.
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 15:16:57 น.
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:53:09 น.
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 17:01:20 น.
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 18:04:31 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 48 ใน 72 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 125 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1163 2443 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยจันทรุปราคาเงามัว 17 ครั้ง บางส่วน 13 ครั้ง เต็มดวง 26 ครั้ง บางส่วน ครั้ง และเงามัว ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1812 นาน ชั่วโมง 40.4 นาที

จันทรุปราคาครั้งถัดไปของชุดซารอสนี้เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่สามารถเห็นได้เหนือท้องฟ้าประเทศไทย มีความพิเศษตรงที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2571 และเป็นช่วงเวลาที่กำลังก้าวเข้าสู่ปีใหม่

ดูเพิ่ม

 สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
 จันทรุปราคาบางส่วน 26 มิถุนายน 2553
 จันทรุปราคา พ.ศ. 2551-2555