สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2565

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2565

25 ธันวาคม 2564
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 3 พฤศจิกายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
      พ.ศ. 2565 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างละ ครั้ง รวมเป็น ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียว เกิดขึ้นในเวลาหัวค่ำของวันที่ พฤศจิกายน 2565 โดยจะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวยูเรนัสในช่วงเวลาเดียวกัน สังเกตดาวยูเรนัสอยู่ใกล้ขอบดวงจันทร์ได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์

1. สุริยุปราคาบางส่วน พฤษภาคม 2565


     วันอาทิตย์ที่ พฤษภาคม 2565 เกิดสุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ไม่ได้ผ่านผิวโลก มีเพียงเงามัวของดวงจันทร์เท่านั้นที่สัมผัสผิวโลก เกิดขึ้นระหว่างเวลา 01:45 05:38 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก บางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกา และตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ (ตรงกับเย็นวันเสาร์ที่ 30 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น) จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดอยู่ในมหาสมุทรใต้ ระหว่างปลายทวีปอเมริกาใต้กับแอนตาร์กติกา เวลาบังลึกที่สุดคือ 03:41 น. เกิดสุริยุปราคาบางส่วนด้วยขนาดความลึก 0.6396 เมื่อวัดตามแนวผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

แผนที่แสดงบริเวณที่เงาของดวงจันทร์พาดผ่านบนผิวโลกขณะเกิดสุริยุปราคา (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา พฤษภาคม 2565
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก01:45:19.1ละติจูด 68° 02.1′ ลองจิจูด 150° 35.7′ W
2. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.6396)03:41:25.5ละติจูด 62° 13.6′ ลองจิจูด  71° 34.0′ W
3. เงามัวออกจากผิวโลก05:38:00.7ละติจูด 25° 05.5′ ลองจิจูด 77° 24.9′ W


2. จันทรุปราคาเต็มดวง 16 พฤษภาคม 2565


     วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2565 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก  อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรป แอฟริกา และแอนตาร์กติกา ประเทศไทยไม่เห็นจันทรุปราคาในวันนี้

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 16 พฤษภาคม 2565
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก08:32:06
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน09:27:53
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง10:29:04
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด11:11:30 (ขนาดอุปราคา 1.4137)
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง11:53:57
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน12:55:09
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก13:50:51


3. สุริยุปราคาบางส่วน 25 ตุลาคม 2565


     วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2565 เกิดสุริยุปราคาบางส่วน เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 15:58 20:02 น. ตามเวลาประเทศไทย บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ยุโรป ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา ตะวันออกกลาง และด้านตะวันตกของเอเชีย จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดอยู่ในรัสเซีย เวลาบังลึกที่สุดคือ 18:00 น. เกิดสุริยุปราคาบางส่วนด้วยขนาดความลึก 0.8619 เมื่อวัดตามแนวผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

แผนที่แสดงบริเวณที่เงาของดวงจันทร์พาดผ่านบนผิวโลกขณะเกิดสุริยุปราคา (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 25 ตุลาคม 2565
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก15:58:19.6ละติจูด 66° 28.0′ ลองจิจูด 18° 56.6′ W
2. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.8619)18:00:08.6ละติจูด 61° 46.7′ ลองจิจูด  77° 16.9′ E
3. เงามัวออกจากผิวโลก20:02:15.2ละติจูด 17° 34.7′ ลองจิจูด 66° 31.3′ E



4. จันทรุปราคาเต็มดวง พฤศจิกายน 2565

     วันอังคารที่ พฤศจิกายน 2565 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันตกของแอฟริกา ยุโรปตะวันออก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวแกะ จันทรุปราคากำลังดำเนินอยู่ขณะดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าประเทศไทย

     ขณะเกิดจันทรุปราคาในวันนี้ ดาวยูเรนัสกำลังจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี ทำให้บางส่วนของโลก รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย สามารถเห็นดวงจันทร์บังดาวยูเรนัสได้

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา พฤศจิกายน 2565
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก15:02:15
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน16:09:12
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง17:16:39
4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด17:59:10 (ขนาดอุปราคา 1.3592)
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง18:41:39
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน19:49:05
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก20:56:11


เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลกขณะเกิดจันทรุปราคาในคืนวันลอยกระทง (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)