สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2548

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2548

11 มกราคม 2548
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ต้นเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี สามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีได้ตลอดคืน ตั้งแต่เวลาหัวค่ำจนถึงเช้ามืด

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ มีวงโคจรถัดจากวงโคจรของดาวอังคารและแถบดาวเคราะห์น้อยออกไป โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบในเวลาเกือบ 12 ปี เราจึงเห็นดาวพฤหัสบดีเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่ในกลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มใหม่โดยเฉลี่ยปีละครั้ง เช่น ปีกลายอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ปีนี้อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว ปีหน้าจะเข้าสู่กลุ่มดาวตาชั่ง ปีถัดไปจะไปอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง เป็นต้น

ด้วยขนาดใหญ่กว่าโลก 11 เท่าและมีพื้นผิวสะท้อนแสงได้ค่อนข้างดี ในบรรดาดาวเคราะห์ด้วยกัน ดาวพฤหัสบดีจึงเป็นดาวเคราะห์ที่สว่าง มองเห็นได้ชัดเจน เป็นรองแต่เพียงดาวศุกร์เท่านั้น (บางโอกาส ดาวอังคารสามารถส่องสว่างได้มากกว่าดาวพฤหัสบดี แต่เกิดขึ้นไม่บ่อย)

ขณะที่ดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ เมษายน ดาวพฤหัสบดีจะมีโชติมาตรอยู่ที่ -2.5 และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม 44.2 พิลิปดา ซึ่งสว่างน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ย สาเหตุเป็นเพราะดาวพฤหัสบดีกำลังอยู่ในตำแหน่งใกล้กับจุดที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในวงโคจรรูปวงรี

จุดแดงใหญ่ที่เป็นพายุบนดาวพฤหัสบดี และแถบเมฆที่เป็นกลุ่มแก๊สประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ (ภาพโดย Hubble Heritage Team) 

ร่องรอยบนดาวพฤหัสบดี


ในช่วงสัปดาห์ที่ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุด กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายเพียง 45 เท่า จะทำให้มองเห็นดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์เต็มดวงที่ดูด้วยตาเปล่าอยู่เล็กน้อย และหากส่องดูขณะที่ทัศนวิสัยดี จะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดบนบรรยากาศของดาว ส่วนที่เด่นชัดที่สุดของดาวพฤหัสบดีและมองเห็นได้อยู่เสมอ คือ แถบคล้ำและแถบสว่างในบรรยากาศที่คาดรอบดาวพฤหัสบดีในแนวละติจูดทั้งเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีปั่นป่วนรุนแรงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองที่รวดเร็วและพลังงานความร้อนจากภายใน รวมทั้งกระแสลมในบรรยากาศชั้นบน พายุขนาดใหญ่ที่คงอยู่มาตลอดหลายร้อยปีนับจากค้นพบ คือ จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) พายุขนาดยักษ์นี้สามารถกลืนกินโลกได้ทั้งใบ มองเห็นได้เฉพาะในเวลาที่ซีกด้านที่มีพายุหันเข้าหาโลก ปัจจุบันนักดาราศาสตร์สังเกตว่าจุดแดงใหญ่มีสีซีดลงจากในอดีต ซึ่งอาจทำให้สังเกตได้ยากขึ้นสำหรับกล้องโทรทรรศน์ที่คุณภาพไม่ดีนัก

จากการที่เรารู้คาบการหมุนของดาวพฤหัสบดีและตำแหน่งของจุดแดงใหญ่ นักดาราศาสตร์คาดหมายได้ล่วงหน้าว่าจะเห็นจุดแดงใหญ่ได้ดีในเวลาใด ดังเช่นข้อมูลต่อไปนี้ ที่แสดงเวลาขณะที่จุดแดงใหญ่ผ่านแนวกึ่งกลางดวงในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคม (เวลาไทย เปลี่ยนวันในเวลาเที่ยงคืน)

29 มี.ค.: 02:21 น., 22:12 น.; 31 มี.ค.: 04:00 น., 23:50 น.; เม.ย.: 19:41 น.; เม.ย.: 05:36 น.; เม.ย.: 01:28 น., 21:19 น.; เม.ย.: 03:06 น., 22:57 น.; เม.ย.: 04:44 น.; เม.ย.: 00:35 น., 20:26 น.; 10 เม.ย.: 02:13 น., 22:04 น.; 12 เม.ย.: 03:51 น., 23:42 น.; 13 เม.ย.: 19:33 น.; 15 เม.ย.: 01:20 น., 21:11 น.; 17 เม.ย.: 02:58 น., 22:49 น.; 19 เม.ย.: 04:36 น. 20 เม.ย.: 00:27 น., 20:19 น. 22 เม.ย.: 02:05 น., 21:57 น.; 24 เม.ย.: 03:43 น., 23:35 น.; 25 เม.ย.: 19:26 น.; 24 เม.ย.: 05:21 น.; 27 เม.ย.: 01:13 น., 21:04 น.; 29 เม.ย.: 02:51 น., 22:42 น.; พ.ค.: 04:29 น. พ.ค.: 00:20 น., 20:12 น.; พ.ค.: 01:59 น., 21:50 น.; พ.ค.: 03:37 น., 23:28 น.; พ.ค.: 19:19 น.; พ.ค.: 01:06 น., 20:58 น.; 11 พ.ค.: 02:45 น., 22:36 น.; 14 พ.ค.: 00:14 น., 20:06 น.; 16 พ.ค.: 01:53 น., 21:44 น. 18 พ.ค.: 23:22 น.; 19 พ.ค.: 19:14 น.; 21 พ.ค.: 01:01 น., 20:52 น.; 23 พ.ค.: 02:39 น., 22:31 น. 26 พ.ค.: 00:09 น., 20:01 น.; 28 พ.ค.: 01:48 น.; 29 พ.ค.: 21:39 น.; 30 พ.ค.: 23:18 น.; 31 พ.ค.: 19:09 น.