สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2553

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2553

20 กันยายน 2553
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปีนี้ดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 21 กันยายน 2553 เวลาประมาณ ทุ่ม ตามเวลาประเทศไทย ตลอดเดือนนี้จึงเป็นช่วงที่เราสามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีได้นานหลายชั่วโมงเกือบตลอดทั้งคืน

ต้นเดือนกันยายนดาวพฤหัสบดีเริ่มโผล่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาประมาณ ทุ่ม หลังจากนั้นจะขึ้นเร็วขึ้นทุกวันราววันละ นาที ปลายเดือนเริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาพลบค่ำเมื่อท้องฟ้ามืดพอจะเห็นดาวได้ ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนขึ้นไปสูงที่สุดราวเที่ยงคืน แล้วย้ายไปอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกทุกดวงผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ นั่นเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่มันจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี จึงสว่างและมีขนาดใหญ่เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะในคืนที่ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีเมฆเป็นอุปสรรค

ภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีเมื่อวันที่ กรกฎาคม 2552 (ซ้าย) กับวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 (ขวา) ห่างกัน 10 เดือน แถบเมฆคล้ำทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรจางลงมากจนดูเหมือนเลือนหายไป ขณะเดียวกัน จุดแดงใหญ่ก็มีสีเข้มขึ้นด้วย ภาพนี้ทิศเหนืออยู่ด้านล่าง (ภาพ Anthony Wesley) 

นักดาราศาสตร์แบ่งบรรยากาศดาวพฤหัสบดีออกเป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้
 


ดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 11.86 ปี กลุ่มดาวจักรราศีมี 12 กลุ่ม ดาวพฤหัสบดีจึงเคลื่อนไปตามแนวเส้นสุริยวิถีโดยขยับไปข้างหน้าปีละราว ราศี กล้องสองตาขนาด 7x50 ที่มีฐานยึดมั่นคงเพื่อช่วยไม่ให้กล้องสั่นไหวก็เพียงพอที่จะส่องเห็นดาวบริวาร ดวงที่ใหญ่และสว่างที่สุด เรียกว่าดาวบริวารกาลิเลโอ (Galilean Satellites) ประกอบด้วยไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต บางดวงมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลก แกนิมีดใหญ่กว่าดาวพุธเสียอีก

ปีนี้ดาวพฤหัสบดีจะใกล้โลกที่สุดในเวลาประมาณตี ถึงตี ของเช้ามืดวันที่ 21 กันยายน (15 ชั่วโมง ก่อนจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์) ด้วยระยะห่าง 3.9539 หน่วยดาราศาสตร์ เป็นระยะที่ใกล้ที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ทำให้ดาวพฤหัสบดีสว่างที่สุดด้วยโชติมาตร -2.9 และมีขนาดเชิงมุม 49.9 พิลิปดา เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2548 ซึ่งดาวพฤหัสบดีอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์บริเวณจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ขณะนั้นดาวพฤหัสบดีมีโชติมาตร -2.5 ขนาดเชิงมุม 44.2 พิลิปดา

แม้ว่าปีนี้ดาวพฤหัสบดีจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบหลายปี แต่มันก็ไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยมากนัก โดยปกติกล้องโทรทรรศน์กำลังขยาย 50 เท่า ก็ขยายขนาดดาวพฤหัสบดีให้ใหญ่พอ ๆ กับดวงจันทร์เต็มดวงที่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่แล้ว และเพียงพอที่จะเห็นรูปร่างที่ไม่เป็นทรงกลมของดาวพฤหัสบดีกับแถบเมฆคล้ำในบรรยากาศ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัสซึ่งขณะนี้มีตำแหน่งบนท้องฟ้าใกล้เคียงกัน ก็จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันเดียวกันด้วย ตามหลังดาวพฤหัสบดีเพียง ชั่วโมง

ตำแหน่งดาวพฤหัสบดีกับดาวยูเรนัสในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม 2553 

การหายไปของแถบศูนย์สูตรตอนใต้

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่และมีมวลสูงที่สุดในระบบสุริยะ องค์ประกอบภายในดาวส่วนมากเป็นแก๊สและของเหลว คาดว่ามีแก่นเป็นหิน บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีไฮโดรเจนมากที่สุด รองลงมาคือฮีเลียม ที่เหลืออีกส่วนน้อย เช่น มีเทน แอมโมเนีย ไอน้ำ ที่ยอดเมฆเย็นจัดด้วยอุณหภูมิราว -150 องศาเซลเซียส ยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิและความกดอากาศยิ่งสูงขึ้น ทำให้ไฮโดรเจนเปลี่ยนเป็นของเหลวและโลหะ ใกล้ใจกลางคาดว่าร้อนจัดนับหมื่นองศาเซลเซียส (ร้อนกว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์)

การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวพฤหัสบดีทำให้เมฆในบรรยากาศมีลักษณะเป็นริ้วสว่างกับคล้ำสลับกัน ริ้วสว่างเป็นส่วนที่อยู่สูง ริ้วที่คล้ำกว่าเป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไป เมฆสีขาวอยู่สูงที่สุด ประกอบด้วยผลึกแอมโมเนีย ต่ำลงไปเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลเข้ม ส่วนที่เห็นเป็นสีน้ำเงินและม่วงน่าจะเป็นบริเวณที่อยู่ลึกที่สุด

ดาวพฤหัสบดีกับดาวบริวาร อยู่ทางซ้ายมือของดาวยูเรนัส เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2553 ดาวยูเรนัสสว่างเกือบใกล้เคียงกับความสว่างของดาวบริวารขนาดใหญ่ ดวงของดาวพฤหัสบดี (ภาพ Jean-Paul Godard Martine Tlouzeau) 

จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ที่เป็นเอกลักษณ์ของดาวพฤหัสบดีคือพายุขนาดยักษ์ พัดวนทวนเข็มนาฬิกา มีทรงรีกว้าง-ยาวประมาณ 12,000 20,000 กิโลเมตร (โลกมีขนาด 12,756 กิโลเมตร) อยู่บริเวณละติจูด 22 องศาใต้ นอกจากจุดแดงใหญ่ ยังอาจเห็นพายุในรูปของจุดขาวและจุดมืดในบรรยากาศ

หลายเดือนมานี้ดาวพฤหัสบดีมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้น ขณะที่ดาวพฤหัสบดีเริ่มโผล่พ้นออกมาจากแสงอาทิตย์เมื่อเดือนเมษายน 2553 แถบคล้ำทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรที่เรียกว่าแถบศูนย์สูตรตอนใต้ (South Equatorial Belt หรือ SEB) จางลงมากจนดูเหมือนหายไป ในอดีตเหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด สมมุติฐานหนึ่งคืออาจเกิดจากบริเวณนั้นถูกเมฆซีร์รัสบดบัง ทำให้ไม่สามารถมองทะลุลงไปเห็นส่วนที่อยู่ลึกกว่าได้ มักเกิดอยู่นานหลายเดือนหรืออย่างมากไม่เกิน ปี หลังจากนั้นอาจเริ่มมีจุดมืดเกิดขึ้นก่อน แล้วแผ่ออกจนแถบคล้ำกลับมาปรากฏอีกครั้ง ที่น่าสนใจคือแถบที่ดูเหมือนหายไปนี้จะเริ่มกลับมาให้เห็นได้อีกครั้งเมื่อใด และใครจะเป็นคนแรกที่สังเกตเห็น

ดูเพิ่ม

 ดาวเคราะห์เดือนนี้
 ดาวเคราะห์ในปี 2553