สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2555

ดาวเคราะห์ในปี 2555

31 ธันวาคม 2554
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ ดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงที่สว่างเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ที่เหลืออีก ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งนอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์

แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2555 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี 

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ และเคลื่อนที่เร็วที่สุด วงโคจรของดาวพุธมีความรีค่อนข้างสูง ทำให้มุมห่างสูงสุดจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 18°-28° ระนาบวงโคจรของดาวพุธเอียงทำมุมประมาณ 7° กับระนาบวงโคจรโลก หากดาวพุธโคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในจังหวะที่มันอยู่ใกล้กับจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง คนบนโลกจะมีโอกาสเห็นดาวพุธเป็นจุดดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งครั้งถัดไปจะเกิดในวันที่ พฤษภาคม 2559 ประเทศไทยสังเกตเห็นได้ขณะเริ่มปรากฏการณ์ระหว่างที่ดวงอาทิตย์กำลังตก

ด้วยมุมห่างที่ไม่สูงนัก ทำให้เรามีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง เวลาที่สังเกตดาวพุธได้คือช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอสมควร ปีนี้มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกคือต้นเดือนมกราคม (ต่อเนื่องมาจากเดือนธันวาคม 2554) ช่วงที่ คือเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างดวงอาทิตย์มาก ช่วงที่ กลางเดือนสิงหาคม ช่วงสุดท้ายคือปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ดาวศุกร์กับดาวเสาร์มาอยู่สูงเหนือดาวพุธ

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี ช่วง ช่วงแรกอยู่ในต้นเดือนมีนาคม ช่วงที่ กลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดาวพุธทำมุมห่างดวงอาทิตย์มาก แต่อาจมีอุปสรรคจากเมฆฝน ช่วงสุดท้ายคือกลางเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายดิถีของดวงจันทร์ หากปรากฏในเวลาหัวค่ำ ดาวพุธจะเปลี่ยนแปลงจากสว่างเกือบเต็มดวงไปสว่างเป็นเสี้ยว และมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนเวลาเช้ามืดจะเปลี่ยนแปลงจากเป็นเสี้ยวไปสว่างเกือบเต็มดวง และมีขนาดเล็กลง

เหตุการณ์เกี่ยวกับดาวพุธในปี 2555
ร่วมทิศแนววงนอกก.พ.27 พ.ค.10 ก.ย.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดมี.ค. (18°)ก.ค. (26°)27 ต.ค. (24°)
ร่วมทิศแนววงใน22 มี.ค.29 ก.ค.17 พ.ย.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด19 เม.ย. (27°)16 ส.ค. (19°)ธ.ค. (21°)


ดาวศุกร์

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า เมื่อดาวศุกร์ปรากฏในเวลาหัวค่ำ เราเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" แต่ถ้าปรากฏในเวลาเช้ามืด เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" วงโคจรของดาวศุกร์ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ทำให้ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47° เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์เปลี่ยนแปลงรูปร่างเช่นเดียวกับดาวพุธ แต่เห็นได้ชัดกว่าเนื่องจากขนาดที่ใหญ่กว่ามาก

ระนาบวงโคจรของดาวศุกร์เอียงทำมุม 3.4° กับระนาบวงโคจรโลก ดาวศุกร์มีโอกาสเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธ โดยมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธมาก สามารถเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำเมื่อดูดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นกรองแสง ซึ่งปีนี้จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ให้เห็นได้ในประเทศไทยด้วย

เหตุการณ์เกี่ยวกับดาวศุกร์ในปี 2555
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด27 มี.ค. (46°)
ร่วมทิศแนววงในมิ.ย.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด15 ส.ค. (46°)


ดาวศุกร์เป็น "ดาวประจำเมือง" อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 โดยเคลื่อนตัวออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน ค่ำวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ สามารถใช้ดาวศุกร์ช่วยหาตำแหน่งดาวยูเรนัส เนื่องจากเป็นคืนที่ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวยูเรนัสด้วยระยะห่างน้อยกว่า 1° กลางเดือนมีนาคมจะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี

วันที่ 27 มีนาคม 2555 ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด วันนั้นดาวศุกร์สว่างเป็นรูปครึ่งวงกลมเมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง หลังจากนั้นดาวศุกร์จะมีพื้นผิวด้านสว่างลดลง กลายเป็นเสี้ยวพร้อมกับมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากเข้าใกล้โลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ดาวศุกร์จะผ่านเข้าไปอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์หลายดวงของกระจุกดาวลูกไก่ในคืนวันที่ เมษายน

ปลายเดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดาวศุกร์ในเวลาหัวค่ำ หลังจากนั้นดาวศุกร์จะใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก ช่วงที่ดาวศุกร์หายไปนี้ ดาวศุกร์จะเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในเช้าวันที่ มิถุนายน สามารถสังเกตเห็นได้เป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ของโลก ยกเว้นส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้และด้านตะวันตกของแอฟริกา ดาวศุกร์ปรากฏเป็นดวงกลมดำเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 33 เท่า

หลังจากผ่านหน้าดวงอาทิตย์เพียงราว 1-2 สัปดาห์ ดาวศุกร์จะเริ่มกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดเป็นดาวประกายพรึก จันทร์เสี้ยวมาอยู่เคียงข้างดาวศุกร์ในเช้ามืดวันที่ 18 มิถุนายน ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งที่ ของปีนี้ แต่ห่างมากกว่าครั้งก่อน โดยมีดาวอัลเดบารันในกลุ่มดาววัวอยู่ใกล้ 

วันที่ 15 สิงหาคม ดาวศุกร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด จากนั้นผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในกลางเดือนกันยายน เช้ามืดวันที่ ตุลาคม ดาวศุกร์จะอยู่ใกล้ดาวหัวใจสิงห์ด้วยระยะห่างประมาณครึ่งองศา วันที่ 27 พฤศจิกายน ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ เมื่อถึงสิ้นปี ดาวศุกร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า แต่ยังพอจะสังเกตได้หากท้องฟ้าโปร่ง

ภาพจำลองดาวเคราะห์ในปี 2555 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA) 

ดาวอังคาร


ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ มันได้ชื่อว่าดาวแดงเนื่องจากปรากฏบนท้องฟ้าเป็นดาวสว่างสีแดง ชมพู หรือส้ม ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นและดาวฤกษ์ส่วนใหญ่บนท้องฟ้า บรรยากาศอันเบาบางทำให้เราสามารถส่องกล้องมองเห็นพื้นผิวดาวอังคารได้ ยกเว้นช่วงที่เกิดพายุฝุ่นปกคลุม และบางช่วงสามารถเห็นน้ำแข็งที่ขั้วดาว

ดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อ พ.ศ. 2542 (ภาพ – Jim Bell (Cornell University), Justin Maki (JPL), Mike Wolff (Space Sciences Institute), NASA) 

ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ปี เดือน วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง อาจใกล้เพียง 56 ล้านกิโลเมตร อย่างที่เกิดในปี 2546 หรือไกลถึง 101 ล้านกิโลเมตร อย่างที่จะเกิดในปี 2555 นั่นทำให้ขนาดปรากฏของดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์กว้างใหญ่ได้ถึง 25.1 พิลิปดา หรือเล็กเพียง 13.8 พิลิปดา

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีช่วงของความสว่างกว้างมาก ขณะใกล้โลกที่สุดเมื่อปี 2546 ดาวอังคารสว่างถึงโชติมาตร –2.9 เมื่ออยู่ไกลโลกที่สุดในปี 2562 มันสามารถจางลงได้ถึงโชติมาตร +1.8 แกนหมุนของดาวอังคารเอียงจากระนาบวงโคจรประมาณ 25° จึงเกิดฤดูต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของขั้วน้ำแข็งและเมฆในบรรยากาศ ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ ไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

ปีนี้ดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ มีนาคม 2555 การที่ดาวอังคารกำลังเข้าใกล้โลกมากขึ้นในช่วงต้นปี ทำให้ขนาดและความสว่างของดาวอังคารเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครึ่งแรกของเดือนมกราคม ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต จากนั้นย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว ก่อนถอยหลังกลับมาอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตอีกครั้งในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบนี้จะเห็นดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ขนาดปรากฏ 13.9 พิลิปดา

ต้นเดือนมิถุนายน ดาวอังคารตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ จึงเห็นอยู่สูงกลางฟ้าในเวลาหัวค่ำ ปลายเดือนมิถุนายน ดาวอังคารออกจากกลุ่มดาวสิงโต เข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว คืนวันที่ 14 สิงหาคม อยู่ตรงกลางระหว่างดาวเสาร์กับดาวรวงข้าว เมื่อถึงต้นเดือนกันยายน ดาวอังคารจะเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง แล้วย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องและคนแบกงูในช่วงต้นเดือนและปลายเดือนตุลาคม ตามลำดับ

กลางเดือนพฤศจิกายน ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู ปลายเดือนธันวาคม เข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเล สองเดือนสุดท้ายของปี เป็นช่วงที่มีเวลาสังเกตดาวอังคารได้ไม่นานนัก เนื่องจากมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 40° แต่ยังสามารถสังเกตได้บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ

ต้นปี 2555 ดาวอังคารสว่างที่โชติมาตร +0.2 จากนั้นสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เป็นช่วงที่สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร –1.2 เกือบใกล้เคียงกับดาวซิริอัสในกลุ่มดาวหมาใหญ่ หลังจากนั้นความสว่างลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อสิ้นปี ความสว่างของดาวอังคารลงไปอยู่ที่โชติมาตร +1.2 ช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้ ดาวอังคารจะปรากฏถอยหลัง (เคลื่อนจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์) ในช่วงวันที่ 24 มกราคม – 14 เมษายน 2555 ซึ่งเกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เร็วกว่า และแซงหน้าดาวอังคารในวงโคจรที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่สว่างเป็นอันดับ รองจากดาวศุกร์ มีขนาดใหญ่และมวลสูงที่สุด การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วทำให้ดาวพฤหัสบดีมีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวศูนย์สูตรยาวกว่าในแนวขั้ว สามารถใช้กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์สังเกตดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีได้อย่างน้อย ดวง

ดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 11.86 ปี มันจึงขยับเข้าสู่กลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มที่อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกปีละกลุ่ม โดยประมาณ การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวพฤหัสบดีทำให้เมฆในบรรยากาศมีลักษณะเป็นริ้วสว่างกับคล้ำสลับกัน ริ้วสว่างเป็นส่วนที่อยู่สูง ริ้วที่คล้ำกว่าเป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไป เมฆสีขาวอยู่สูงที่สุด ประกอบด้วยผลึกแอมโมเนีย ต่ำลงไปเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลเข้ม ส่วนที่เห็นเป็นสีน้ำเงินและม่วงน่าจะเป็นบริเวณที่อยู่ลึกที่สุด

จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ที่เป็นเอกลักษณ์ของดาวพฤหัสบดีคือพายุขนาดยักษ์ พัดวนทวนเข็มนาฬิกา มีทรงรี ขนาดประมาณ 12,000 × 20,000 กิโลเมตร (ใหญ่กว่าโลกที่มีขนาด 12,756 กิโลเมตร) ตำแหน่งของจุดแดงใหญ่อยู่บริเวณละติจูด 22° ใต้ นอกจากจุดแดงใหญ่ ยังอาจเห็นพายุในรูปของจุดขาวและจุดมืด

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้  


เดือนมกราคมถึงปลายเดือนเมษายน 2555 เป็นช่วงที่สามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีได้บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ดาวพฤหัสบดีทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนมกราคม เป็นช่วงที่มองเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืน

สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ดาวพฤหัสบดียังอยู่ในกลุ่มดาวปลา ใกล้รอยต่อระหว่างกลุ่มดาวปลากับกลุ่มดาวแกะ จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ กลางเดือนมีนาคมจะเห็นดาวพฤหัสบดีกับดาวศุกร์อยู่เคียงกัน สูงเหนือท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ปลายเดือนเมษายน ดาวพฤหัสบดีหายเข้าไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์ โดยอยู่ร่วมทิศกันในวันที่ 13 พฤษภาคม

ต้นเดือนมิถุนายน ดาวพฤหัสบดีเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด อยู่ในกลุ่มดาววัว ห่างไปทางขวามือของกระจุกดาวลูกไก่ ต้นเดือนกรกฎาคม ดาวอัลเดบารัน ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และกระจุกดาวลูกไก่ เรียงกันเกือบเป็นเส้นตรง วันที่ 15 กรกฎาคม มองเห็นจันทร์เสี้ยวอยู่เคียงข้างดาวพฤหัสบดี ปลายเดือนดาวพฤหัสบดีเคลื่อนไปอยู่ทางซ้ายมือของดาวอัลเดบารัน

ต้นเดือนกันยายน ดาวพฤหัสบดีทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืน แล้วไปอยู่เหนือศีรษะในเวลาเช้ามืด วันที่ ธันวาคม 2555 ดาวพฤหัสบดีจะใกล้โลกที่สุดในรอบปี ขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตรอยู่ที่ 48.5 พิลิปดา จากนั้นอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ ธันวาคม สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร –2.8 หลังจากนั้น เราจะเริ่มเห็นดาวพฤหัสบดีได้ตั้งแต่ท้องฟ้าเริ่มมืดในเวลาหัวค่ำ ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า 60 ดวง ดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดวง สามารถเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต แกนีมีดสว่างที่สุดด้วยโชติมาตรประมาณ +4.4 คัลลัสโตจางที่สุดโดยจางกว่าแกนีมีดราว โชติมาตร

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2555
ดาวเคราะห์วันที่โชติมาตร
(อันดับความสว่าง)
ดาวอังคารมีนาคม (3 น.)-1.2
ดาวเสาร์16 เมษายน (1 น.)+0.2
ดาวเนปจูน24 สิงหาคม (20 น.)+7.8
ดาวยูเรนัส29 กันยายน (14 น.)+5.7
ดาวพฤหัสบดีธันวาคม (9 น.)-2.8


ดาวเสาร์


ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ในระบบสุริยะ ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว จึงมีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น มีวงแหวนสว่างล้อมรอบในระนาบศูนย์สูตรของดาวเสาร์ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสามารถแบ่งวงแหวนดาวเสาร์ออกได้เป็น วง ได้แก่วงแหวนเอ (A) บี (B) และซี (C) เรียงลำดับจากวงนอกสุดถึงวงในสุด เมื่อสังเกตจากโลก ขอบวงแหวนจะหันเข้าหาโลกทุก ๆ 15-16 ปี ครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2552 ปัจจุบันดาวเสาร์กำลังหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ วงแหวนดาวเสาร์จึงมีแนวโน้มขยายกว้างขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ โดยจะกว้างที่สุดในปี 2560

ยานแคสซีนีถ่ายภาพแถบเมฆสีขาวที่เรียกว่าจุดขาวใหญ่บนดาวเสาร์เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 (ภาพ – NASA/JPL/Space Science Institute) 

รูปร่างของดาวเสาร์เป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้วสั้นกว่าในแนวศูนย์สูตรราวร้อยละ 10 นับว่าเป็นดาวเคราะห์ที่มีความแป้นมากที่สุด บรรยากาศของดาวเสาร์ถูกแบ่งเป็นแถบและเขตต่าง ๆ แบบเดียวกับดาวพฤหัสบดี บางครั้งเกิดแถบเมฆสีขาวขึ้น เรียกว่าจุดขาวใหญ่ (Great White Spot) ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2553

ปีนี้ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในช่วงต้นปี วันที่ 16 เมษายน ดาวเสาร์จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มีขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตร 19.1 พิลิปดา สว่างที่โชติมาตร 0.2 หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดาวเสาร์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ

ปลายเดือนกันยายน ดาวเสาร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ อยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 25 ตุลาคม เมื่อถึงต้นเดือนพฤศจิกายน น่าจะเริ่มเห็นดาวเสาร์บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ขณะนั้นดาวเสาร์อยู่ห่างทางซ้ายมือของดาวรวงข้าว ทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นตลอดช่วงที่เหลือของปี

ดาวเสาร์มีดาวบริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า 60 ดวง ไททันมีขนาดใหญ่และสว่างที่สุด โชติมาตรของไททันขณะที่ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์คือ ดวงที่สว่างรองลงมา ได้แก่ เรีย ทีทิส ไดโอนี เอนเซลาดัส และไอยาพิตัส บริวาร ดวงนี้มีโชติมาตรอยู่ในช่วง ถึง 12 โชติมาตรของไอยาพิตัสแปรผันระหว่าง 10 ถึง 12 เนื่องจากพื้นผิว ด้านสะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน มันจะสว่างกว่าเมื่ออยู่ทางด้านตะวันตกของดาวเสาร์

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงตลอดปี 2555 

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ จัดอยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แก๊ส องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบในเวลา 84 ปี แต่ละปี ดาวยูเรนัสจึงเคลื่อนที่ไปเป็นระยะเชิงมุมประมาณ 

ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นดาวยูเรนัสจะอยู่ต่ำและเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น กลับมาสังเกตได้อีกครั้งในเวลาเช้ามืด ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป

กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน เป็นช่วงที่ดาวยูเรนัสเข้าไปอยู่ในเขตของกลุ่มดาวซีตัส หลังจากนั้นมันจะถอยไปอยู่ในกลุ่มดาวปลาอีกครั้ง ปีนี้ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 29 กันยายน 2555 สว่างที่โชติมาตร 5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.70 พิลิปดา

ปีนี้ดาวยูเรนัสจะมีตำแหน่งผ่านใกล้ดาว 44 ปลา (44 Psc) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์โชติมาตร 5.8 ในกลุ่มดาวปลา ครั้ง ครั้งแรกในช่วงก่อนเช้ามืดของวันที่ พฤษภาคม 2555 ห่างกัน ลิปดา ครั้งที่ ในคืนวันที่ 23 กันยายน 2555 ห่างกันไม่ถึง ลิปดา โดยจะสังเกตได้ว่าความสว่างของดาวยูเรนัสกับดาว 44 ปลา ใกล้เคียงกันมาก

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบในเวลา 165 ปี แต่ละปี ดาวเนปจูนจึงเคลื่อนที่ไปเป็นระยะเชิงมุมประมาณ 

ตลอดปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ช่วยให้สังเกตดาวเนปจูนได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ถึงต้นเดือนมกราคม 2556 ช่วงแรกอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 24 สิงหาคม 2555 สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร 7.8 และมีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.36 พิลิปดา หลังจากนั้น ดาวเนปจูนจะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าตั้งแต่เวลาหัวค่ำ

แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันที่ ของเดือน (1 มกราคม, กุมภาพันธ์, ..., 13 มกราคม 2556) ขวามือด้านล่างมีเส้นบอกระยะเชิงมุม 5° ซึ่งเป็นขนาดโดยประมาณของขอบเขตภาพในกล้องสองตาขนาด 8×50 หรือ 10×50 ขนาดของวงกลมที่แทนดาวในภาพ กำหนดตามความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร 

ดูเพิ่ม

 ดาวเคราะห์เดือนนี้
 ดาวอังคารใกล้โลก 2555
 เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก
 เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
 สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดระบบสุริยะ