สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2556

ดาวเคราะห์ในปี 2556

24 ธันวาคม 2555
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2561
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวเคราะห์สว่างที่สังเกตเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งนอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์

แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2556 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี 

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่เร็วที่สุด วงโคจรของดาวพุธมีความรีค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ทำให้ดาวพุธมีมุมห่างสูงสุดจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 18°-28° ระนาบวงโคจรของดาวพุธเอียงทำมุมประมาณ 7° กับระนาบวงโคจรโลก หากดาวพุธโคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในจังหวะที่มันอยู่ใกล้กับจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง คนบนโลกจะมีโอกาสเห็นดาวพุธเป็นจุดดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งครั้งถัดไปจะเกิดในวันที่ พฤษภาคม 2559 ประเทศไทยสังเกตเห็นได้ขณะเริ่มปรากฏการณ์ระหว่างที่ดวงอาทิตย์กำลังตก

ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด ทำให้เรามีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง เวลาที่สังเกตดาวพุธได้คือช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอสมควร ปีนี้มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างดวงอาทิตย์มาก ช่วงที่ คือปลายเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม ช่วงที่ อยู่ในครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่กลางเดือนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวพุธ ช่วงที่ คือปลายเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่ดาวพุธอยู่ใกล้ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี ช่วงสุดท้ายคือปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคม

เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายดิถีของดวงจันทร์ หากปรากฏในเวลาหัวค่ำ ดาวพุธจะเปลี่ยนจากสว่างเกือบเต็มดวงไปสว่างเป็นเสี้ยว และมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนเวลาเช้ามืดจะเปลี่ยนจากเป็นเสี้ยวไปสว่างเกือบเต็มดวง และมีขนาดเล็กลง

เหตุการณ์เกี่ยวกับดาวพุธในปี 2556
ร่วมทิศแนววงนอก 18 ม.ค. 12 พ.ค. 25 ส.ค. 29 ธ.ค.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด 17 ก.พ. (18°) 12 มิ.ย. (24°) ต.ค. (25°) -
ร่วมทิศแนววงใน มี.ค. 10 ก.ค. พ.ย. -
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด เม.ย. (28°) 30 ก.ค. (20°) 18 พ.ย. (19°) -


ดาวศุกร์


ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า เมื่อดาวศุกร์ปรากฏในเวลาหัวค่ำ เราเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" แต่ถ้าปรากฏในเวลาเช้ามืด เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" วงโคจรของดาวศุกร์ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ทำให้ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47° เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์เปลี่ยนแปลงรูปร่างเช่นเดียวกับดาวพุธ แต่เห็นได้ชัดกว่าเนื่องจากขนาดที่ใหญ่กว่ามาก

ระนาบวงโคจรของดาวศุกร์เอียงทำมุม 3.4° กับระนาบวงโคจรโลก ดาวศุกร์มีโอกาสเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธ โดยมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดาวพุธ 5-6 เท่า สามารถเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำเมื่อดูดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นกรองแสง ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อวันที่ มิถุนายน 2555 ครั้งถัดไปจะเกิดในวันที่ 11 ธันวาคม 2660

เหตุการณ์เกี่ยวกับดาวศุกร์ในปี 2556
ร่วมทิศแนววงนอก 29 มี.ค.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด พ.ย. (47°)


ต้นเดือนมกราคม 2556 ดาวศุกร์ยังคงเป็น "ดาวประกายพรึก" ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ปรากฏอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกงูและคนยิงธนู ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ดาวศุกร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกวัน ปลายเดือนมกราคมเริ่มสังเกตได้ยาก วันที่ 29 มีนาคม ดาวศุกร์จะอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดาวศุกร์

ราวกลางเดือนพฤษภาคม ดาวศุกร์จะย้ายไปเป็น ”ดาวประจำเมือง” อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ และปรากฏบนท้องฟ้าเวลานี้ตลอดช่วงที่เหลือของปี ช่วงแรกยังอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าบริเวณกลุ่มดาววัว มีเวลาสังเกตได้ไม่นานก่อนตกลับขอบฟ้า ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวพุธในวันที่ 24-25 พฤษภาคม และผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 28 พฤษภาคม ช่วงเวลานั้นเราจึงเห็นดาวเคราะห์ ดวงนี้อยู่ใกล้กันเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกท่ามกลางแสงสนธยา

ช่วงวันที่ 19-21 มิถุนายน ดาวพุธกับดาวศุกร์จะปรากฏใกล้กันอีกครั้งขณะอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ วันที่ กรกฎาคม ดาวศุกร์ผ่านเข้าไปในกระจุกดาวรังผึ้ง ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวปู วันที่ 22 กรกฎาคม ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะห่างเพียง 1.1° จากนั้นวันที่ กันยายน ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาวที่ระยะห่าง 1.7°

วันที่ 18 กันยายน ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะห่าง 3.5° จากนั้นวันที่ 16-17 ตุลาคม ผ่านใกล้ดาวแอนทาเรสหรือดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่องที่ระยะห่าง 1.6° วันที่ พฤศจิกายน ดาวศุกร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่การสังเกตในซีกโลกเหนือจะเห็นดาวศุกร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ค่อนไปทางซีกฟ้าใต้ เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงในช่วงเวลานั้น จะเห็นดาวศุกร์สว่างครึ่งดวง หลังจากนั้นดาวศุกร์จะมีพื้นผิวด้านสว่างลดลงน้อยกว่าครึ่งดวง

ช่วงสิ้นปีถึงสัปดาห์แรกของปี 2557 ดาวศุกร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏเรี่ยขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาพลบค่ำ กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงส่องเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวและมีขนาดใหญ่

ภาพจำลองดาวเคราะห์ในปี 2556 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ 

ดาวอังคาร


ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ได้ชื่อว่าดาวแดงเนื่องจากปรากฏบนท้องฟ้าเป็นดาวสว่างสีแดง ชมพู หรือส้ม ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นและดาวฤกษ์ส่วนใหญ่บนท้องฟ้า บรรยากาศอันเบาบางทำให้เราสามารถส่องกล้องมองเห็นพื้นผิวดาวอังคารได้ ยกเว้นช่วงที่เกิดพายุฝุ่นปกคลุม และบางช่วงสามารถเห็นน้ำแข็งที่ขั้วดาว

ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ปี เดือน วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง อาจใกล้เพียง 56 ล้านกิโลเมตร อย่างที่เกิดในปี 2546 หรือไกลถึง 101 ล้านกิโลเมตร อย่างที่เกิดในปี 2555 นั่นทำให้ขนาดปรากฏของดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์กว้างใหญ่ได้ถึง 25.1 พิลิปดา หรือเล็กเพียง 13.8 พิลิปดา

ดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อ พ.ศ. 2542 (ภาพ – Jim Bell (Cornell University), Justin Maki (JPL), Mike Wolff (Space Sciences Institute), NASA) 

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีพิสัยความสว่างกว้างมาก ขณะใกล้โลกที่สุดเมื่อปี 2546 ดาวอังคารสว่างถึงโชติมาตร –2.9 เมื่ออยู่ไกลโลกที่สุดในปี 2562 ดาวอังคารสามารถจางลงได้ถึงโชติมาตร +1.8 แกนหมุนของดาวอังคารเอียงจากระนาบวงโคจรประมาณ 25° จึงเกิดฤดูต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของขั้วน้ำแข็งและเมฆในบรรยากาศ

ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว ตลอดปี 2556 ดาวอังคารไม่ผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ครั้งที่แล้วเกิดขึ้นเมื่อวันที่ มีนาคม 2555 ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ เมษายน 2557

ช่วงต้นปี 2556 ดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกไม่มากนัก โดยค่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดาวอังคารจะย้ายออกจากกลุ่มดาวแพะทะเล เข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือนมกราคม 2556 ดาวพุธปรากฏอยู่ใกล้ดาวอังคารภายในระยะ 1° ในค่ำวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ โดยใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ ที่ระยะห่าง 19 ลิปดา โดยอยู่เหนือขอบฟ้าไม่มากนัก มีเวลาสังเกตได้ไม่นานหลังจากท้องฟ้าเริ่มมืด

วันที่ 18 เมษายน ดาวอังคารอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ จากนั้นกลางเดือนมิถุนายน น่าจะเริ่มเห็นดาวอังคารได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ปรากฏใกล้ขอบฟ้าในกลุ่มดาววัว โดยอยู่ทางซ้ายมือของดาวอัลเดบารันประมาณ 6° ดาวอังคารย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ในกลางเดือนกรกฎาคม ผ่านใกล้กระจุกดาวเปิดเอ็ม 35 (M35) ในวันที่ 17 กรกฎาคม และอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในเช้ามืดวันที่ 22 กรกฎาคม ด้วยระยะห่าง 0.8° โดยอยู่ทางทิศเหนือ (ซ้ายมือ) ของดาวพฤหัสบดี

ปลายเดือนสิงหาคม ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวปู เช้ามืดวันที่ และ กันยายน ดาวอังคารจะผ่านเข้าไปอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ในกระจุกดาวรังผึ้ง (ใกล้กึ่งกลางมากที่สุดในวันที่ กันยายน) จากนั้นปลายเดือน ดาวอังคารจะเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในเช้ามืดวันที่ 16 ตุลาคม ด้วยระยะห่าง 1.0° โดยอยู่ทางทิศเหนือ (ซ้ายมือ) ของดาวหัวใจสิงห์ อาจสังเกตได้ว่าดาวหัวใจสิงห์สว่างกว่าดาวอังคารเล็กน้อย และเป็นโอกาสที่จะได้เปรียบเทียบสีที่ต่างกัน

ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาวในปลายเดือนพฤศจิกายน จากนั้นทำมุม 90° โดยห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ในช่วงสิ้นปี จึงเห็นดาวอังคารอยู่สูงกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด

เดือนแรกของปี 2556 ดาวอังคารสว่างเกือบคงที่ที่โชติมาตร +1.2 จากนั้นจางเรื่อย ๆ จนจางที่สุดที่โชติมาตร +1.6 ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ก่อนจะสว่างเพิ่มขึ้นจนถึงโชติมาตร +0.9 ในช่วงสิ้นปี และยังคงสว่างขึ้นได้อีกหลังจากนั้น เนื่องจากดาวอังคารใกล้โลกมากขึ้น ความสว่างของดาวอังคารจะเพิ่มถึงโชติมาตร –1.5 ในเดือนเมษายน 2557


ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

ดาวพฤหัสบดี


ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่สว่างมาก รองจากดาวศุกร์ มีขนาดใหญ่และมวลสูงที่สุด การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วทำให้ดาวพฤหัสบดีมีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวศูนย์สูตรยาวกว่าในแนวขั้ว สามารถใช้กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์สังเกตดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีได้อย่างน้อย ดวง

ดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 11.86 ปี จึงขยับเข้าสู่กลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มที่อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกปีละกลุ่ม โดยประมาณ การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวพฤหัสบดีทำให้เมฆในบรรยากาศมีลักษณะเป็นริ้วสว่างกับคล้ำสลับกัน ริ้วสว่างเป็นส่วนที่อยู่สูง ริ้วที่คล้ำกว่าเป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไป เมฆสีขาวอยู่สูงที่สุด ประกอบด้วยผลึกแอมโมเนีย ต่ำลงไปเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลเข้ม ส่วนที่เห็นเป็นสีน้ำเงินและม่วงน่าจะเป็นบริเวณที่อยู่ลึกที่สุด

จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ที่เป็นเอกลักษณ์ของดาวพฤหัสบดีคือพายุขนาดยักษ์ พัดวนทวนเข็มนาฬิกา มีทรงรี ขนาดประมาณ 12,000 20,000 กิโลเมตร (ใหญ่กว่าโลกที่มีขนาด 12,756 กิโลเมตร) ตำแหน่งของจุดแดงใหญ่อยู่บริเวณละติจูด 22°ใต้ นอกจากจุดแดงใหญ่ ยังอาจเห็นพายุในรูปของจุดขาวและจุดมืด

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

ครึ่งแรกของปี 2556 ดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ทำมุม 90° กับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง ปลายเดือนพฤษภาคม ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ดาวพุธกับดาวศุกร์จะผ่านมาอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม แต่อาจสังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า และเป็นฤดูฝน จากนั้นดาวพฤหัสบดีจะอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 19 มิถุนายน

ครึ่งปีหลัง สังเกตดาวพฤหัสบดีได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด โดยเริ่มปรากฏราวกลางเดือนกรกฎาคมบนท้องฟ้าทิศตะวันออก ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่แล้ว ปลายเดือนจะเห็นดาวพฤหัสบดีกับดาวอังคารอยู่เคียงคู่กัน ต้นเดือนตุลาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณเที่ยงคืน แล้วไปอยู่เหนือศีรษะในเวลาเช้ามืด คืนวันที่ ตุลาคม ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏใกล้ดาวเดลตาคนคู่ (delta Geminorum) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์โชติมาตร +3.5 ที่ระยะห่าง ลิปดา

ชื่อสามัญของดาวเดลตาคนคู่ คือ วาแซต (Wasat) มีตำแหน่งอยู่ห่างเส้นสุริยวิถีไปทางใต้เพียง 11 ลิปดา ดวงจันทร์และดาวเคราะห์จึงมีโอกาสผ่านใกล้หรือบดบังดาวดวงนี้ (ล่าสุดดาวเสาร์บังดาววาแซตเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1857) ไคลด์ ทอมบอก์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ค้นพบดาวพลูโตขณะอยู่ใกล้ดาวดวงนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1930 วาแซตเป็นระบบดาว ดวง กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ กำลังขยายสูง ส่องเห็นเพียง ดวง (ดวงที่ อยู่ใกล้มากจนสังเกตไม่ได้) โชติมาตร 3.6 และ 8.2 ห่างกันเพียง 0.2 พิลิปดา โคจรรอบกันด้วยคาบ 1,200 ปี

ตลอดปีนี้ดาวพฤหัสบดีไม่ผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ครั้งที่แล้วเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ธันวาคม 2555 ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ มกราคม 2557 สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร –2.8 ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า 60 ดวง ดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดวง สามารถเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต แกนีมีดสว่างที่สุดด้วยโชติมาตรประมาณ +4.4 คัลลิสโตจางที่สุด โดยจางกว่าแกนีมีดราว โชติมาตร

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2556
ดาวเคราะห์ วันที่ โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวเสาร์ 28 เมษายน +0.2
ดาวเนปจูน 27 สิงหาคม +7.8
ดาวยูเรนัส ตุลาคม +5.7
ดาวอังคาร -
ดาวพฤหัสบดี -


ดาวเสาร์


ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ในระบบสุริยะ มีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้วสั้นกว่าในแนวศูนย์สูตรราวร้อยละ 10 บรรยากาศของดาวเสาร์ถูกแบ่งเป็นแถบและเขตต่าง ๆ แบบเดียวกับดาวพฤหัสบดี บางครั้งเกิดแถบเมฆสีขาวขึ้นในบรรยากาศ เรียกว่าจุดขาวใหญ่ (Great White Spot) ครั้งล่าสุดพบเมื่อปลายปี 2553

ดาวเสาร์มีวงแหวนสว่างล้อมรอบอยู่ในแนวระนาบศูนย์สูตร กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสามารถแบ่งวงแหวนดาวเสาร์ออกได้เป็น วง ได้แก่วงแหวนเอ (A), บี (B), และซี (C) เรียงลำดับจากวงนอกถึงวงในสุด เมื่อสังเกตจากโลก ขอบวงแหวนจะหันเข้าหาโลกทุก ๆ 15-16 ปี ครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2552 ปัจจุบันดาวเสาร์กำลังหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ วงแหวนดาวเสาร์จึงมีแนวโน้มขยายกว้างขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ โดยจะกว้างที่สุดใน พ.ศ. 2560

ภาพถ่ายวงแหวนดาวเสาร์จากยานแคสซีนี แสดงวงหลัก A, B, กับวงที่ไม่ชัดนัก คือวง ที่อยู่ด้านใน และวง ที่อยู่ด้านนอก 

ดาวเสาร์ย้ายออกจากกลุ่มดาวหญิงสาวเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2555 จากนั้นเคลื่อนถอยไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกันยายน 2556 ก่อนจะเคลื่อนที่เดินหน้าเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งอีกครั้ง ต้นปีสังเกตดาวเสาร์ได้บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด วันที่ 28 เมษายน ดาวเสาร์จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มีขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตร 18.9 พิลิปดา สว่างที่โชติมาตร +0.2 หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดาวเสาร์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ

กลางเดือนตุลาคม ดาวเสาร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ อยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ พฤศจิกายน ปลายเดือนอาจเริ่มเห็นดาวเสาร์บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวเสาร์มีตำแหน่งอยู่ใกล้ดาวพุธ จากนั้นดาวเสาร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปี

นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวบริวารของดาวเสาร์แล้วมากกว่า 60 ดวง ไททันมีขนาดใหญ่และสว่างที่สุด โชติมาตรของไททันขณะที่ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์คือ ดาวบริวารดวงที่สว่างรองลงมา ได้แก่ เรีย, ทีทิส, ไดโอนี, เอนเซลาดัส, และไอยาพิตัส บริวาร ดวงนี้มีโชติมาตรอยู่ในช่วง ถึง 12 โดยโชติมาตรของไอยาพิตัสแปรผันระหว่าง 10 ถึง 12 เนื่องจากพื้นผิว ด้านสะท้อนแสงไม่เท่ากัน มันจะสว่างกว่าเมื่อปรากฏอยู่ทางทิศตะวันตกของดาวเสาร์

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงตลอดปี 2556 

ดาวยูเรนัส


ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ จัดอยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แก๊ส องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 84 ปี ดาวยูเรนัสจึงเคลื่อนที่ในวงโคจรเป็นมุมเฉลี่ยประมาณ 4°ต่อปี

ช่วงเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม 2556 ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นดาวยูเรนัสจะอยู่ต่ำและเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น กลับมาสังเกตได้อีกครั้งในเวลาเช้ามืด โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ปีนี้ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ ตุลาคม 2556 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.7 พิลิปดา

วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2556 ดาวยูเรนัสจะผ่านใกล้ดาว 44 ปลา (44 Piscium) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์โชติมาตร +5.8 ในกลุ่มดาวปลา นับเป็นครั้งที่ หลังจากเคยปรากฏใกล้ดาวดวงนี้ ครั้งเมื่อปีที่แล้ว สามารถสังเกตได้ว่าความสว่างของดาวยูเรนัสใกล้เคียงกับดาว 44 ปลา ต่างกันที่สี และดาวฤกษ์จะกะพริบแสงมากกว่า กลางเดือนธันวาคม ดาวยูเรนัสจะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวซีตัสเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่วัน หลังจากนั้นจึงกลับเข้าสู่กลุ่มดาวปลา
ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นระยะเวลานาน 165 ปี ดาวเนปจูนจึงเคลื่อนที่ในวงโคจรเป็นมุมเฉลี่ยประมาณ 2°ต่อปี

ตลอดปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ สังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ ครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2556 ดาวเนปจูนจะอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ ดาวเนปจูนจะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในเดือนเมษายน 2556

ปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2556 สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร +7.8 และมีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา หลังจากนั้นจะเริ่มสังเกตดาวเนปจูนได้ตั้งแต่เวลาหัวค่ำ

แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันที่ ของเดือน (1 มกราคม, กุมภาพันธ์, ..., 13 มกราคม 2557) ซ้ายมือมีเส้นบอกระยะเชิงมุม 5° ซึ่งเป็นขนาดโดยประมาณของขอบเขตภาพในกล้องสองตาขนาด 8×50 หรือ 10×50 ขนาดของวงกลมที่แทนดาวในภาพ กำหนดตามความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร 

ดูเพิ่ม

     ดาวเคราะห์เดือนนี้
     เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก
     เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
     สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดระบบสุริยะ