สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2562

ดาวเคราะห์ในปี 2562

13 กันยายน 2562 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์


แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2562 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุด ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาที่ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ประเทศไทยเห็นดาวพุธได้เฉพาะในเวลาหัวค่ำหรือเช้ามืดเท่านั้น

ปี 2562 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกต่อเนื่องมาจากปลายเดือนธันวาคม 2561 สังเกตดาวพุธในเวลาเช้ามืดได้จนถึงกลางเดือนมกราคม ซึ่งช่วงท้าย ดาวพุธจะอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ 14 มกราคม แต่อาจสังเกตได้ยาก ช่วงที่ คือปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม โดยมีดาวศุกร์อยู่เหนือดาวพุธ ช่วงที่ อยู่ในเดือนสิงหาคม และช่วงที่ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำของปีนี้มี ช่วง โดยช่วงแรกอยู่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ช่วงที่ คือปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม โดยมีดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวพุธ เข้าใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 18 มิถุนายน ที่ระยะห่าง 0.3 องศา ช่วงสุดท้ายคือปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน โดยมีดาวศุกร์อยู่ทางขวามือของดาวพุธในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมที่ระยะ 2.5°

ดาวศุกร์


ดาวศุกร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดที่เราเรียกว่า “ดาวประกายพรึก” ต่อเนื่องมาจากปลายปี 2561 ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง ผ่านกลุ่มดาวแมงป่องก่อนจะเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกงูในกลางเดือนมกราคม วันที่ มกราคม ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด สัปดาห์ก่อนสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีโดยปรากฏอยู่ทางซ้ายมือของดาวพฤหัสบดีที่ระยะ 2.4°

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู ผ่านใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ระยะ 1.2° จากนั้นอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลตั้งแต่ต้นเดือนถึงปลายเดือนมีนาคม ก่อนจะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในช่วงถัดไป ครึ่งหลังของเดือนเมษายนจะเห็นดาวศุกร์อยู่เหนือดาวพุธขณะอยู่ในกลุ่มดาวปลา

กลางเดือนพฤษภาคม ดาวศุกร์ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ ต้นเดือนมิถุนายนผ่านเข้าสู่กลุ่มดาววัวและเข้าสู่ช่วงท้ายที่จะเห็นดาวศุกร์ในเวลาเช้ามืด ต้นเดือนกรกฎาคม หากท้องฟ้าเปิดอาจยังพอมีโอกาสเห็นดาวศุกร์อยู่เรี่ยขอบฟ้าในเวลาไม่นานก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หลังจากนั้นดาวศุกร์เข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก

ต้นเดือนตุลาคม ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้เริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ที่เราเรียกว่า “ดาวประจำเมือง” ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งในกลางเดือนตุลาคม และจะเห็นดาวศุกร์กับดาวพุธอยู่ใกล้กันในช่วงสิ้นเดือนตุลาคม

สองเดือนสุดท้ายของปี 2562 ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแมงป่อง คนแบกงู คนยิงธนู และแพะทะเล ช่วงนี้ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เป็นครั้งที่ ของปี โดยใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ระยะ 1.4° และใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ 11 ธันวาคม ที่ระยะ 1.8°

ภาพวาดแสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ 

ดาวอังคาร


ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ปี เดือน วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว

ปี 2562 ดาวอังคารไม่ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จึงไม่ใช่ปีที่ดีสำหรับการสังเกตดาวอังคาร ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวปลา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวยูเรนัสด้วยระยะห่าง 1.0° จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ

ดาวอังคารผ่านกลุ่มดาววัวในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยคืนวันที่ 31 มีนาคม ดาวอังคารอยู่ทางซ้ายมือของกระจุกดาวลูกไก่ที่ระยะ 3° ช่วงถัดไป ดาวอังคารเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ เป็นช่วงที่สังเกตได้ว่าดาวอังคารอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกมากขึ้น ดาวพุธมาอยู่ใกล้ดาวอังคารในคืนวันที่ 18 มิถุนายน ที่ระยะห่าง 0.3° ใกล้สิ้นเดือน ดาวอังคารย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวปู เดือนกรกฎาคมจะเป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดาวอังคาร หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก

ต้นเดือนตุลาคม ดาวอังคารกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด โดยอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว วันที่ 10 พฤศจิกายน จะเห็นดาวอังคารอยู่ทางซ้ายมือของดาวรวงข้าว ต้นเดือนธันวาคม ดาวอังคารย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง และยังคงอยู่ในกลุ่มดาวนี้ไปจนถึงต้นเดือนมกราคม 2563

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

ดาวพฤหัสบดี


ช่วงแรกของปี 2562 ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวนี้คั่นอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับคนยิงธนู ปลายปีย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู ช่วงแรกดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเช้ามืด สัปดาห์ก่อนสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม ดาวศุกร์จะมาอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี เข้าใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 23 มกราคม ที่ระยะห่าง 2.4°

กลางเดือนมีนาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90 องศา โดยห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีขึ้นเหนือขอบฟ้าราวเที่ยงคืน แล้วเคลื่อนไปอยู่สูงที่สุดบนท้องฟ้าทิศใต้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 10 มิถุนายน 2562 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.6 สังเกตได้ตลอดทั้งคืน

ต้นเดือนกันยายน ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° โดยห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก จากนั้นเคลื่อนต่ำลงจนตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ปลายเดือนพฤศจิกายน ดาวศุกร์จะผ่านมาอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี เข้าใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ระยะ 1.4°

ต้นเดือนธันวาคมเป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดาวพฤหัสบดี หลังจากนั้นดาวพฤหัสบดีจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนไม่สามารถสังเกตได้ อยู่แนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนธันวาคม 2562

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

        
วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2562
ดาวเคราะห์ วันที่ โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวพฤหัสบดี 10 มิถุนายน -2.6
ดาวเสาร์ 9/10 กรกฎาคม +0.1
ดาวเนปจูน 10 กันยายน +7.8
ดาวยูเรนัส 28 ตุลาคม +5.7
ดาวอังคาร --


ดาวเสาร์


สัปดาห์แรก ๆ ของปี เรายังไม่เห็นดาวเสาร์ เนื่องจากดาวเสาร์มีตำแหน่งอยู่แนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนมกราคม 2562 หลังจากนั้นดาวเสาร์จะทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น เริ่มเห็นได้ในเวลาเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม โดยปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูตลอดทั้งปีนี้

กลางเดือนกุมภาพันธ์ เราจะเห็นดาวศุกร์กับดาวเสาร์อยู่ใกล้กัน โดยดาวเคราะห์ทั้งสองเคลื่อนมาอยู่ใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ระยะห่าง 1.2° วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร 0.1

ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนธันวาคม โดยมีช่วงที่น่าสนใจคือดาวศุกร์จะผ่านมาอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในคืนวันที่ 11 ธันวาคม ที่ระยะห่าง 1.8° เมื่อใกล้สิ้นปี ดาวเสาร์ทำมุมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนไม่สามารถสังเกตได้ โดยเคลื่อนไปอยู่แนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนมกราคม 2563

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง 

ดาวยูเรนัส


ต้นปี 2562 ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา จากนั้นย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแกะในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดาวยูเรนัสอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตลอดช่วง เดือนแรกของปี โดยมีดาวอังคารผ่านมาอยู่ใกล้ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ต้นเดือนเมษายน ดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก หลังจากอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 23 เมษายน 2562 แล้ว ปลายเดือนพฤษภาคม ดาวยูเรนัสจะกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด มุมห่างจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นทุกวันจนกระทั่งตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนกรกฎาคม และอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 28 ตุลาคม 2562 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.7 พิลิปดา

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ มีความสว่างน้อยจึงจำเป็นต้องสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ เดือนมกราคมดาวเนปจูนอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนเริ่มสังเกตได้ยาก ดาวเนปจูนผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ มีนาคม 2562 ก่อนจะเริ่มสังเกตได้อีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในราวกลางเดือนเมษายน มุมห่างจากดวงอาทิตย์ของดาวเนปจูนเพิ่มขึ้นจนเป็นมุม 90° ในต้นเดือนมิถุนายน และอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 10 กันยายน 2562 สว่างที่สุดในรอบปีด้วยโชติมาตร +7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา หลังจากนั้นปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของทุกวัน ทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนธันวาคม

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันแรกของเดือน (1 มกราคม 2562, กุมภาพันธ์ 2562, ..., 13 มกราคม 2563, 14 กุมภาพันธ์ 2563) ขนาดของดาวในภาพสอดคล้องกับความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร