สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางแมกนอต (C/2009 R1 McNaught)

ดาวหางแมกนอต (C/2009 R1 McNaught)

26 พฤษภาคม 2553
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวหางแมกนอต (C/2009 R1 McNaught) เป็นหนึ่งในดาวหาง ดวงของปี 2553 ที่มีแนวโน้มจะสว่างพอสำหรับการสังเกตด้วยกล้องสองตาเมื่อทราบตำแหน่งที่แน่นอน รอเบิร์ต แมกนอต (Robert H. McNaught) นักดาราศาสตร์ชาวสกอต-ออสเตรเลีย ค้นพบดาวหางดวงนี้จากภาพซีซีดีที่ถ่ายเมื่อวันที่ กันยายน 2552 ระหว่างการสำรวจท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ชมิดต์ขนาด 0.5 เมตร ในโครงการไซดิงสปริงเซอร์เวย์ (Siding Spring Survey) ซึ่งเป็นโครงการค้นหาดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรผ่านใกล้โลกด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่หอดูดาวไซดิงสปริง รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ขณะนั้นดาวหางสว่างที่โชติมาตรราว 17-18 นับเป็นดาวหางดวงที่ 51 ที่แมกนอตค้นพบ

ดาวหางมีองค์ประกอบหลัก ส่วน คือ หัวกับหาง หัวดาวหางมักเห็นเป็นหมอกฝ้าทรงกลม ดาวหางที่สว่างมากจนเห็นได้ด้วยตาเปล่ามักมีหางสว่างทอดยาวออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวหางที่ไม่ค่อยสว่างนัก หางมักจะจางมากจนไม่เห็นหรือเห็นได้ไม่ชัดเจน แต่สามารถจับภาพหางได้ด้วยกล้องถ่ายภาพที่เปิดหน้ากล้องนาน ๆ โดยเฉพาะกล้องที่ประกบกับกล้องหรือฐานยึดที่มีระบบติดตามดาวตามการหมุนรอบตัวเองของโลก

ภาพถ่ายดาวหางแมกนอตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ดาวหางสว่างที่โชติมาตร หัวดาวหางมีสีเขียว เห็นหางแก๊สสีน้ำเงิน เป็นลำแคบและจางมาก พุ่งไปทางขวามือ (ภาพโดย Michael Jaeger)
 


ดาวหางแมกนอตมีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา เข้าใกล้ดวงอาทิตย์คราวนี้ครั้งเดียวแล้วจะไม่กลับมาอีก ระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 77 องศากับระนาบวงโคจรโลก วันที่ กรกฎาคม 2553 ดาวหางแมกนอตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยระยะห่าง 0.405 หน่วยดาราศาสตร์ หรือราว 61 ล้านกิโลเมตร

ดาวหางแมกนอตปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือตลอดครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน ก่อนที่มันจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในต้นเดือนกรกฎาคม การสังเกตดาวหางแมกนอตต้องใช้แผนที่ดาวลงตำแหน่งดาวหางเทียบกับดาวฤกษ์และต้องอาศัยท้องฟ้ามืด ไม่มีเมฆหมอกและแสงรบกวน กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์น่าจะเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากคาดว่าดาวหางไม่สว่างนัก

สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะสามารถสังเกตดาวหางแมกนอตได้ดีในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน ช่วงดังกล่าวดาวหางเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแอนดรอเมดาและเพอร์ซิอัส อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเวลาเช้ามืดด้วยมุมเงยไม่เกิน 30 องศา ดาวหางสว่างมากขึ้นทุกวันจากโชติมาตร ไปถึงโชติมาตร หรือ อย่างไรก็ตาม สัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนจะมีแสงจันทร์รบกวนบ้าง

วันที่ 10 มิถุนายน 2553 ดาวหางแมกนอตผ่านใกล้กระจุกดาวเอ็ม 34 (M34) ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสด้วยระยะห่าง องศา คาดว่าขณะนั้นดาวหางกับกระจุกดาวนี้สว่างใกล้เคียงกันที่โชติมาตร ครึ่งหลังของเดือนมิถุนายนดาวหางสว่างมากขึ้นไปที่โชติมาตร แต่การสังเกตการณ์ทำไม่ได้เนื่องจากมันขึ้นพร้อมกับดวงอาทิตย์ หลังจากผ่านใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดแล้ว ดาวหางแมกนอตจะจางลงและยังอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถสังเกตได้

หากพลาดโอกาสในการสังเกตดาวหางแมกนอต ปลายปีนี้ราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะมีดาวหางอีกดวงหนึ่ง คือดาวหางฮาร์ตลีย์ ที่คาดว่าน่าจะสว่างใกล้เคียงกัน มาปรากฏบนท้องฟ้าให้สังเกตการณ์ได้เกือบตลอดทั้งคืน

ตำแหน่งดาวหางบนท้องฟ้าประเทศไทย


ด้านล่างคือแผนที่ตำแหน่งดาวหางแมกนอต (C/2009 R1 McNaught) ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน 2553 เมื่อมองไปบนท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวขอบฟ้าที่แสดงในแผนที่นี้เป็นแนวขอบฟ้าโดยประมาณในเวลาตี ของต้นเดือนมิถุนายน และเวลาตี ของกลางเดือนมิถุนายน ดังนั้นหากสังเกตดาวหางในช่วงต้นเดือน มันจะมีมุมเงยต่ำกว่าในภาพ

ต้นเดือนมิถุนายนดาวหางมีโชติมาตรประมาณ 6-7 หลังจากนั้นมันจะสว่างขึ้นเรื่อย ๆ กลางเดือนคาดว่าสว่างขื้นมาอีก อันดับ ไปอยู่ที่โชติมาตร หางมีทิศทางชี้ขึ้นด้านบนเฉียงไปทางซ้ายมือ วัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจในบริเวณนี้คือดาราจักรแอนดรอเมดา มีลักษณะเป็นหมอกฝ้าทรงรี เห็นได้ด้วยตาเปล่าหากท้องฟ้ามืดและไม่มีเมฆรบกวน ห่างโลก 2.5 ล้านปีแสง ทางขวามือคือดาราจักรตะไล ห่างโลก ล้านปีแสง ทั้งสองเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย วันที่ และ มิถุนายน ดาวหางแมกนอตผ่านใกล้กระจุกดาวเอ็นจีซี 752 เป็นกระจุกดาวเปิดโชติมาตร วันที่ 10 มิถุนายน ดาวหางผ่านใกล้กระจุกดาวเอ็ม 34 เป็นกระจุกดาวเปิดโชติมาตร  

ที่มา

Faint Comet in the June Dawn skyandtelescope.com
C/2009 R1 McNaught cometography.com
C/2009 R1 McNaught IAU: Minor Planet Center
C/2009 R1 McNaught Seiichi Yoshida
Recent Comet Brightness Estimates ICQ