สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกคนคู่ในปี 2558

ฝนดาวตกคนคู่ในปี 2558

11 ธันวาคม 2558
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 1 สิงหาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ฝนดาวตกคนคู่เป็นฝนดาวตกที่น่าดูที่สุดของปีสำหรับประเทศไทย เนื่องจากมีดาวตกให้เห็นมากพอสมควร เกิดในช่วงฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่ และปีนี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่มีต้นกำเนิดต่างจากฝนดาวตกกลุ่มอื่นที่เกิดจากดาวหาง สะเก็ดดาวของฝนดาวตกคนคู่มาจากดาวเคราะห์น้อย ซึ่งคาดว่าเคยเป็นดาวหางมาก่อน ฝนดาวตกคนคู่ปรากฏในช่วงวันที่ 4-17 ธันวาคม แต่จะพบดาวตกในอัตราสูงสุดราววันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ดาวตกปรากฏขึ้นบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่หากลากเส้นสมมุติย้อนตามแนวการเคลื่อนที่ของดาวตกแต่ละดวงจะไปพบกันที่จุดหนึ่ง เราเรียกว่าจุดกระจาย

ปีนี้องค์การดาวตกสากลพยากรณ์ว่าฝนดาวตกคนคู่จะมีอัตราสูงสุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา น. ตามเวลาประเทศไทย ด้วยอัตราสูงสุดที่ 120 ดวงต่อชั่วโมง อัตรานี้เป็นตัวเลขเมื่อสมมุติให้จุดกระจายอยู่เหนือศีรษะ และท้องฟ้ามืดจนสามารถมองเห็นดาวจางที่สุดได้ถึงโชติมาตร 6.5 การสังเกตการณ์จริง ตำแหน่งจุดกระจายของฝนดาวตกมีมุมเงยแปรผันตามเวลา หากจุดกระจายอยู่ต่ำ อัตราการเห็นดาวตกก็ต่ำตามไปด้วย และหากสังเกตจากสถานที่ซึ่งมีแสงรบกวน ก็ทำให้เห็นดาวตกได้น้อยลง ดังนั้น โดยส่วนใหญ่เราจะไม่มีโอกาสเห็นดาวตกในอัตราสูงสุด

เมื่อสังเกตจากประเทศไทย จุดกระจายของฝนดาวตกคนคู่ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม ดาวตกจึงเริ่มปรากฏในช่วงนี้ แต่ตกด้วยอัตราที่ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเห็นดาวตกซึ่งเคลื่อนที่เป็นทางยาวได้ เนื่องจากเป็นช่วงที่สะเก็ดดาวเคลื่อนที่เฉียดบรรยากาศโลก หลังจากนั้นอัตราการเห็นดาวตกควรจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สูงสุดในช่วงที่จุดกระจายอยู่ใกล้จุดเหนือศีรษะมากที่สุด ตรงกับเวลาประมาณตี ถึงตี คาดว่าอาจตกด้วยอัตราสูงสุดราว 110 ดวงต่อชั่วโมง (เมื่อสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดและไม่มีเมฆหมอกบดบัง) จากนั้นเมื่อใกล้เช้ามืด อัตราจะลดลงเล็กน้อย

แผนที่ทั่วฟ้าแสดงตำแหน่งจุดกระจายของฝนดาวตกคนคู่ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลาประมาณ 04:00 น. ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ปรากฏได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนตามแนวการเคลื่อนที่ของดาวตกแต่ละดวงจะไปพบกันที่จุดกระจาย 

ตารางด้านล่างแสดงการคาดหมายจำนวนดาวตกในแต่ละชั่วโมงของคืนวันที่ 14 ถึงเช้ามืดวันที่ 15 ธันวาคม 2558 เมื่อสังเกตภายใต้สภาพท้องฟ้าที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าช่วงแรกมีดาวตกน้อยเนื่องจากมุมเงยของจุดกระจายอยู่ต่ำ และยิ่งมีแสงรบกวนมาก (เห็นดาวได้น้อย) ก็ยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกได้น้อย (ในการสังเกตการณ์จริงอาจเห็นได้น้อยกว่านี้อีก เนื่องจากมีปัจจัยอื่น เช่น มีเมฆหรือสิ่งอื่นบดบังท้องฟ้าบางส่วน การที่เราไม่ได้มองท้องฟ้าตลอดเวลา เป็นต้น) ตารางนี้จึงเป็นกรณีสมมุติเพื่อแสดงให้เห็นว่าในการสังเกตการณ์จริง จำนวนดาวตกมีการเปลี่ยนแปลงตามมุมเงยของจุดกระจายและแตกต่างกันตามสภาพท้องฟ้า


เวลาชนบท (เห็นดาวได้ถึงโชติมาตร 6.5)ชานเมือง (เห็นดาวได้ถึงโชติมาตร 5.0)เมืองใหญ่ (เห็นดาวได้ถึงโชติมาตร 3.5)ใจกลางเมืองใหญ่ (เห็นดาวได้ถึงโชติมาตร 2.0)
20:00-21:00194-510
21:00-22:0041102-30-1
22:00-23:0064153-41
23:00-00:00842051
00:00-01:001022461-2
01:00-02:001082661-2
02:00-03:001022461-2
03:00-04:00902251
04:00-05:00751841
05:00-06:00581431


หมายเหตุ หากสังเกตในคืนวันที่ 13 ถึงเช้ามืดวันที่ 14 ธันวาคม อัตราจะลดลงจากตารางนี้เหลือราวร้อยละ 40-50