สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2558

ดาวเคราะห์ในปี 2558

30 ธันวาคม 2558
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 25 สิงหาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์

แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2558 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี 

ดาวพุธ


ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่เร็วที่สุด ด้วยมุมห่างที่จำกัด จึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง ปีนี้มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ช่วงที่ คือกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ช่วงที่ คือกลางเดือนตุลาคม โดยมีดาวอังคาร ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เกาะกลุ่มกันอยู่สูงเหนือดาวพุธ

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนถึงปลายเดือนมกราคม โดยมีดาวศุกร์อยู่ใกล้ สามารถสังเกตเห็นเป็นดาวสว่างอยู่คู่กัน ช่วงที่ คือปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 22-23 เมษายน ช่วงที่ คือต้นเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน โดยผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ สิงหาคม ช่วงสุดท้ายคือกลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม 2559

เหตุการณ์เกี่ยวกับดาวพุธในปี 2558
ร่วมทิศแนววงนอก 10 เม.ย. 24 ก.ค. 17 พ.ย.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด 15 ม.ค. (19°) พ.ค. (21°) ก.ย. (27°) 29 ธ.ค. (20°)
ร่วมทิศแนววงใน 30 ม.ค. 30 พ.ค. 30 ก.ย. -
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด 24 ก.พ. (27°) 25 มิ.ย. (23°) 16 ต.ค. (18°) 


ดาวศุกร์


ตลอดครึ่งแรกของปี 2558 ดาวศุกร์เป็นดาวประจำเมืองอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ วันที่ 5-16 มกราคม ดาวพุธผ่านมาใกล้ดาวศุกร์ภายในระยะ 2° เข้าใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ 11 มกราคม ที่ระยะ 0.6° คืนวันที่ กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะ 0.8° คืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวอังคารที่ระยะ 0.4°

วันที่ มีนาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 0.3° วันที่ 11 เมษายน มองเห็นดาวศุกร์อยู่ทางซ้ายมือของกระจุกดาวลูกไก่ 3° วันที่ มิถุนายน ดาวศุกร์อยู่ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยมุม 45° จากนั้นวันที่ 13 มิถุนายน ดาวศุกร์ผ่านทางขวามือของกระจุกดาวรังผึ้ง ห่าง 0.8°

ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงคู่กัน ใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ กรกฎาคม ห่างกัน 0.4° กลางเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะ 2.4° ต้นเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก

ปลายเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เริ่มเป็นดาวประกายพรึกอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ผ่านทางทิศใต้ (ขวามือ) ของดาวหัวใจสิงห์ในต้นเดือนตุลาคม ปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร อยู่ใกล้กัน ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 26 ตุลาคม ที่ระยะ 1.0° เป็นวันที่ดาวศุกร์ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยมุม 46° จากนั้นดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ พฤศจิกายน ที่ระยะ 0.7°

ดาวศุกร์ปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2559 โดยจะผ่านใกล้ดาวเสาร์ในเช้ามืดวันที่ มกราคม 2559 ห่างกันเพียง 0.3°

ภาพจำลองดาวเคราะห์ในปี 2558 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ 

ดาวอังคาร

ปี 2558 ดาวอังคารไม่ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จึงไม่ใช่ปีที่ดีนักสำหรับการสังเกตดาวอังคาร ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแพะทะเล คนแบกหม้อน้ำ ปลา และแกะ โดยผ่านใกล้ดาวพุธในวันที่ 22-23 เมษายน เดือนพฤษภาคมดาวอังคารอยู่ต่ำจนสังเกตได้ยาก ดาวอังคารจะอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนมิถุนายน

เดือนสิงหาคม ดาวอังคารกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด โดยออกจากกลุ่มดาวคนคู่ เข้าสู่กลุ่มดาวปู ผ่านกระจุกดาวรังผึ้งในวันที่ 20-21 สิงหาคม ต้นดือนกันยายนเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต โดยมีดาวศุกร์ปรากฏอยู่ทางขวามือของดาวอังคาร เช้ามืดวันที่ 25 กันยายน ดาวอังคารผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ จากนั้นดาวอังคารจะเคลื่อนไปอยู่เคียงดาวพฤหัสบดีในวันที่ 17-19 ตุลาคม โดยมีดาวศุกร์อยู่สูงเหนือดาวทั้งสองไม่มากนัก สองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคมจะเห็นดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวศุกร์ เกาะกลุ่มเรียงกันเป็นแนวอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด

ต้นเดือนพฤศจิกายน ดาวอังคารผ่านใกล้ดาวศุกร์ขณะเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว ปลายเดือนธันวาคม ดาวอังคารอยู่ทางซ้ายมือของดาวรวงข้าว ยังคงอยู่ในกลุ่มดาวนี้ไปถึงกลางเดือนมกราคม 2559

ดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อ พ.ศ. 2542 (ภาพ – Jim Bell (Cornell University), Justin Maki (JPL), Mike Wolff (Space Sciences Institute), NASA) 

ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 

ดาวพฤหัสบดี


ต้นปี 2558 ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต จากนั้นเคลื่อนถอยหลังเข้าสู่กลุ่มดาวปู วันที่ กุมภาพันธ์ 2558 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ สว่างที่สุดในรอบปี มีขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตร 45.4 พิลิปดา สว่างที่โชติมาตร –2.6 หลังจากนั้นจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของทุกวันไปจนถึงเดือนสิงหาคม

ต้นเดือนพฤษภาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90°กับดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ต้นเดือนมิถุนายน ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงคู่ดาวศุกร์

ต้นเดือนสิงหาคม ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ขณะนั้นดาวพุธจะผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีและมีดาวหัวใจสิงห์อยู่ใกล้ ๆ ดาวพฤหัสบดีหายไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์โดยอยู่ในทิศทางเดียวกันในปลายเดือนสิงหาคม

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

กลางเดือนกันยายน หากท้องฟ้าเปิดอาจเริ่มเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น ผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 18 ตุลาคม และใกล้ดาวศุกร์ในวันที่ 26 ตุลาคม ดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อไปจนถึงต้นปีหน้า โดยทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ และเข้าใกล้กลุ่มดาวหญิงสาวมากขึ้น กลางเดือนธันวาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณเที่ยงคืน แล้วอยู่เหนือศีรษะในเวลาเช้ามืด

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า 60 ดวง ดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดวง สามารถเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ช่วงที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ แกนีมีดจะสว่างที่สุดด้วยโชติมาตรประมาณ +4.4 คัลลัสโตจางที่สุด โดยจางกว่าแกนีมีดราว อันดับ

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2558
ดาวเคราะห์ วันที่ โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวพฤหัสบดี กุมภาพันธ์ -2.6
ดาวเสาร์ 23 พฤษภาคม +0.0
ดาวเนปจูน กันยายน +7.8
ดาวยูเรนัส 12 ตุลาคม +5.7
ดาวอังคาร -


ดาวเสาร์


ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ในระบบสุริยะ มีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้วสั้นกว่าในแนวศูนย์สูตรราวร้อยละ 10 บรรยากาศของดาวเสาร์ถูกแบ่งเป็นแถบและเขตต่าง ๆ แบบเดียวกับดาวพฤหัสบดี บางครั้งเกิดแถบเมฆสีขาวขึ้นในบรรยากาศ เรียกว่าจุดขาวใหญ่ (Great White Spot) ครั้งล่าสุดพบเมื่อปลายปี 2553

ดาวเสาร์มีวงแหวนสว่างล้อมรอบอยู่ในแนวระนาบศูนย์สูตร กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสามารถแบ่งวงแหวนดาวเสาร์ออกได้เป็น วง ได้แก่วงแหวนเอ (A), บี (B), และซี (C) เรียงลำดับจากวงนอกถึงวงในสุด เมื่อสังเกตจากโลก ขอบวงแหวนจะหันเข้าหาโลกทุก ๆ 15-16 ปี ครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2552 ปัจจุบันดาวเสาร์กำลังหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ วงแหวนดาวเสาร์จึงมีแนวโน้มขยายกว้างขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ โดยจะกว้างที่สุดใน พ.ศ. 2560

ต้นปี 2558 ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง ค่อนไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง วันที่ 23 พฤษภาคม ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มีขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตร 18.5 พิลิปดา สว่างที่โชติมาตร +0.0 หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดาวเสาร์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน โดยเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม

ภาพถ่ายวงแหวนดาวเสาร์จากยานแคสซีนี แสดงวงหลัก A, B, กับวงที่ไม่ชัดนัก คือวง ที่อยู่ด้านใน และวง ที่อยู่ด้านนอก 

กลางเดือนพฤศจิกายน ดาวเสาร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้ กลางเดือนธันวาคม ดาวเสาร์ออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น น่าจะเริ่มเห็นได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู

ดาวเสาร์มีดาวบริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า 60 ดวง ไททัน (Titan) มีขนาดใหญ่ที่สุด ขณะดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ไททันจะสว่างที่สุดราวโชติมาตร ดาวบริวารดวงที่สว่างรองลงมา ได้แก่ เรีย (Rhea), ทีทิส (Tethys), ไดโอนี (Dione), เอนเซลาดัส (Enceladus), และไอยาพิตัส (Iapetus) บริวาร ดวงนี้มีโชติมาตรอยู่ในช่วง ถึง 12 โดยโชติมาตรของไอยาพิตัสแปรผันระหว่าง 10 ถึง 12 เนื่องจากพื้นผิว ด้านสะท้อนแสงไม่เท่ากัน สว่างกว่าเมื่อปรากฏอยู่ทางทิศตะวันตกของดาวเสาร์

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงตลอดปี 2558 

ดาวยูเรนัส


ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา เดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม 2558 สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วงท้ายดาวศุกร์และดาวอังคารจะผ่านใกล้ดาวยูเรนัส หลังจากนั้น ดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น กลับมาสังเกตได้อีกครั้งในเวลาเช้ามืด เริ่มตั้งแต่ราวกลางเดือนพฤษภาคม กลางเดือนกรกฎาคม ดาวยูเรนัสทำมุม 90°กับดวงอาทิตย์ จากนั้นจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2558 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.7 พิลิปดา

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ สังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ ครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2558 ดาวเนปจูนอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ดาวอังคารจะผ่านใกล้ดาวเนปจูนโดยเข้าใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 20 มกราคม 2558 ที่ระยะ 0.4° จากนั้นดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวเนปจูนในคืนวันที่ กุมภาพันธ์ 2558 ที่ระยะ 0.8° ทั้งสองช่วง โดยเฉพาะช่วงแรก อาจเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการสังเกตดาวเนปจูนด้วยกล้องโทรทรรศน์

หลังจากใกล้ดาวศุกร์แล้ว ดาวเนปจูนจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนไม่สามารถสังเกตได้ ต้นเดือนเมษายน เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนพฤษภาคม แล้วอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ กันยายน 2558 สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร +7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา

ปลายเดือนพฤศจิกายน ดาวเนปจูนทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ขณะอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ และคงอยู่บนท้องฟ้าเวลานี้ต่อไปถึงต้นปี 2559


แผนที่แสดงตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันแรกของเดือน (1 มกราคม 2558, กุมภาพันธ์ 2558, ..., 13 มกราคม 2559, 14 กุมภาพันธ์ 2559) ขนาดของวงกลมดาวในภาพ กำหนดตามความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร