โครงการกรุเวลาดาราศาสตร์ไทย

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 4 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2546

โครงการกรุเวลาดาราศาสตร์ไทย

ความสำคัญ

ปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันประมาณ 800 ปี หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ บางครั้งหลักฐานมีการสูญหายและไม่ได้บันทึกเก็บไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาค้นคว้า จนกระทั่งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการสังเกตอย่างมาก และปรากฎการณ์อื่นๆ อีก เช่น ฝนดาวตกสิงโต ในคืนวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ดาวอังคารใกล้โลกวันที่ 27 สิงหาคม 2546

ภาพข่าวกิจกรรมของประชาชน ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 ซึ่งเป็นเวลาอีกกว่า 60 ปี สามารถมองเห็นได้ในหลายจังหวัดภาคใต้ อาทิ ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก เช่น เกาะช้าง จังหวัดตราด

กรุเวลาดาราศาสตร์ไทย (Time Capsule) เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับเก็บข้อมูลดังกล่าว มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ

  1. กรุเวลาดาราศาสตร์ (Time Capsule) สร้างจากวัสดุคงทน เพื่อเก็บสิ่งของและรักษาสภาพไม่ให้ของที่อยู่ภายในเสื่อมสลาย ในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 100 ปี ซึ่งฝังลึกใต้ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  2. โครงสร้างครอบกรุเวลาดาราศาสตร์ ก่อสร้างเป็นลักษณะพิเศษสำหรับป้องกันจากสภาพแวดล้อมภายนอก และรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม สิ่งของที่บรรจุในกรุเวลาจะไม่เสื่อมสลาย และเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
  3. ข้อความที่เขียนลงในบัตรส่งสารสู่อนาคตจากประชาชน จะถ่ายเป็นไมโครฟิล์มซึ่งสามารถรักษาสภาพได้ประมาณ 100 ปี


ภายในถังแบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับบรรจุข้อมูลทางดาราศาสตร์ไทย

ภายในถังแบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับบรรจุข้อมูลทางดาราศาสตร์ไทย



สายยางนำแก๊สเฉื่อยอาร์กอน บรรจุในถังเพื่อรักษาข้อมูล

สายยางนำแก๊สเฉื่อยอาร์กอน บรรจุในถังเพื่อรักษาข้อมูล



ชั้นแต่ละส่วนมีฝาปิดทุกชั้น

ชั้นแต่ละส่วนมีฝาปิดทุกชั้น