จดหมายถึง thaiastro |
นายสุวรรณ นาคเกษม (leonide13@thaimail.com)สวัสดีครับ อาวิมุติ1.ขณะนี้ยานไพโอเนียร์เดินทางถึงไหนแล้ว 2.ทำไมเราไม่สามารถมองเห็นใจกลางดาราจักรของเรา ในเมื่อใจกลางดาราจักรของเรามีดาวฤกษ์มากมาย 3.การถ่ายภาพดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาวหาง หรือเนบิวลา เราจะใช้ฟิล์มอะไร 4.ดวงอาทิตย์เรามีโอกาสเกิดโนวาหรือไม่ ถ้าไม่เกิดแล้วตอนดวงอาทิตย์ดับ ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวเคราะห์หรือไม่ 5.ดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุด ตั้งแต่มีการค้นพบมาคืออะไร 6.เมื่อดาวบีเทลจุสดับไปแล้ว อีกกี่ปีเราถึงจะเห็นในลักษณะที่ดับไปแล้ว 7.ดวงจัทร์เป็นดาวเคราะห์คู่กับโลกใช่หรือไม่
ขอบคุณมากครับ thaiastro1. ยานไพโอเนียร์ 10 ในขณะนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณกว่า 1 หมื่นล้านกิโลเมตร มุ่งหน้าสู่กลุ่มดาววัว2. คำถามหมายถึงดาวฤกษ์และหลุมดำต่าง ๆ ในใจกลางดาราจักรใช่หรือไม่ครับ ถ้าใช่ ก็เพราะว่าบริเวณใจกลาง ของทางช้างเผือกไม่ได้มีแต่ดาวฤกษ์อย่างเดียว แต่เต็มไปด้วยก๊าซหนาแน่นจำนวนมาก และก๊าซเหล่านี้ก็ไม่ได้อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ จึงดูดำทึบไปหมด ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุหรืออินฟราเรดจึงจะสามารถมองทะลุฝุ่นเหล่านี้ได้ 3. มีหลายแบบครับ ไม่ว่าฟิล์มขาวดำและฟิล์มสี ทั้งฟิล์มเนกาทีฟและฟิล์มสไลด์ ก็มีนักถ่ายภาพดาวเลือกใช้ทั้งนั้น ฟิล์มแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป และรู้สึกว่าความนิยมของนักถ่ายดาวก็มักจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาด้วยครับ ในเร็ว ๆ นี้โฮมเพจ thaiastro จะเสนอข้อดีข้อเสียเกี่ยวกับฟิล์มชนิดต่าง ๆ ด้วยครับ 4. นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ของเราจะมีวิวัฒนาการไปสู่การเป็นโนวาครับ หลังจากที่ผ่านการเป็นโนวาไปแล้ว ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวและดาวแคระดำต่อไป สำหรับดาวฤกษ์บางดวงที่มีมวลน้อยมาก ๆ ก็อาจจะไม่เป็นโนวา แต่จะกลายเป็นดาวแคระขาวไปเลย 5. ดาวที่ใหญ่มาก ๆ ถ้าไม่ใช่ดาวฤกษ์ที่กำลังเป็นโนวาอย่างบีเทลจุสแล้ว ก็มักจะเป็นดาวที่เพิ่งสร้างใหม่ ๆ มีบรรยากาศและจานก่อตัวรอบ ๆ ที่หนามาก ๆ ดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบ น่าจะเป็นดาว อัลฟา-เฮอร์คิวลิส ดูมีขนาดใหญ่โตเพราะมีบรรยากาศหนามาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึงสองแสนห้าหมื่นล้านกิโลเมตรแน่ะครับ ใหญ่กว่าบีเทลจุสนับร้อยเท่าเลยทีเดียว 6. ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากเราราว 490 ปีแสง แสงจากดาวใช้เวลา 490 ปีจึงจะมาถึงเรา นั่นก็หมายความว่า ถ้าเกิดมันดับไปเสียแต่ตอนนี้ เราก็ต้องรอไปอีก 490 ปี จึงจะเห็นว่ามันดับไป 7. การเป็นดาวเคราะห์คู่ หมายความว่ามันจะต้องเกิดมาด้วยกัน พร้อมกัน เช่นอาจเกิดมาจากเศษฝุ่นกลุ่มเดียวกัน โคจรกันมาจนถึงปัจจุบัน ทฤษฎีที่ว่าโลกและดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์คู่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ทฤษฎีที่อธิบายกำเนิดดวงจันทร์ และเป็นทฤษฎีที่นักดาราศาสตร์เชื่อถือกันมานานทีเดียวครับ จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้เองที่พบหลักฐานหลายอย่างว่า ดวงจันทร์น่าจะมีกำเนิดจากสาเหตุอื่น คือ ดวงจันทร์น่าจะเกิดหลังจากที่โลกได้เติบโตเป็นรูปเป็นร่างมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว แต่ได้เกิดมีดาวเคราะห์น้อย หรือดาวเคราะห์ดวงอื่นที่ยังสร้างไม่เสร็จดี (อาจเป็น planetesimal หรือ protoplanet) ขนาดเท่าดาวอังคารมาพุ่งชน เปลือกโลกและเนื้อของโลกส่วนนอกถูกแรงกระแทกให้แตกกระจายออกไปโคจรอยู่รอบ ๆ ต่อมาเศษโลกเหล่านั้นได้รวมตัวกันอีกครั้งเป็นดวงจันทร์ และโคจรรอบโลกอย่างทุกวันนี้ ถ้าการกำเนิดดวงจันทร์เป็นไปตามนี้จริง ก็ย่อมกล่าวได้ว่า โลกและดวงจันทร์ไม่ใช่ดาวเคราะห์คู่ วิมุติ วสะหลาย "pong manachai" (peoenge@chaiyo.com)สวัสดีครับ คุณวิมุติ
thaiastroการปรับปรุงในอนาคตมีแน่นอนครับ แม้เว็บไซต์เราจะโตช้าสักนิดแต่ก็ไม่เคยหยุดหย่อน เราก็เปลี่ยนแปลงทุกเดือนนะครับ คุณบอกว่าผ่านมาสามเดือนแล้วยังไม่เปลี่ยนแปลง คงจะดูไม่ถ้วนทั่วกระมังครับ อย่างเช่นหน้าข่าวก็ออกทุกกลางเดือน หน้าปรากฏการณ์ท้องฟ้าก็เปลี่ยนทุกต้นเดือน แล้วหน้ากิจกรรมก็มีการเปลี่ยนแปลงตามปฏิทินกิจกรรม ลองดูอีกทีนะครับ จริงอยู่ ส่วนอื่น ๆ ค่อนข้างนิ่ง โดยเฉพาะหน้าห้องสมุด ช่วงนี้มีปัญหาเล็กน้อยในด้านกำลังคน เราจะพยายามปรับปรุงให้มากขึ้นครับ ขอบคุณคุณ pong มากที่กระทุ้งมาวิมุติ วสะหลาย sopapun sangsupata (fedusps@nontri.ku.ac.th)บริวารของดาวสาร์ดวงที่ใหญ่ที่สุดและสว่างที่สุดคือ
thaiastroไททัน (Titan) ครับ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,150 กม.วิมุติ วสะหลาย "alan brockman" (alanb@cscoms.com)Dear Sir/Madam,I am an Australian expat living and working in Mae Sot. I am very interested in knowing more about the Thai Astronomical Society and becoming a member. I use a Meade LX200 10" Schmidt Cassegrain telescope and do imaging with a SBIG ST-6 CCD camera. I would also be interested in submitting some images to your website. Loking forward to hearing from you.
Sincerely, thaiastroThank you for your interest in the Society. The Thai Astronomical Society was set up in 1972 by a group of astronomers and professionals working in astronomy field in Thailand. Since then it has grown to serve the general public who are interested in astronomy, its membership comprising largely amateurs and enthusiasts.Our activities include star parties, public lectures, monthly publication for members, exhibitions, special courses (e.g. making a simple telescope), etc. Most activities are conducted in Bangkok, except star parties which take place upcountry, often at a monastery near Khao Yai National Park, but we also go as far as Chiangmai. All activities are in Thai. We respond to requests from schools or other groups for astronomy speakers or guides. Other projects the society are involved in are book publishing projects and a training course in January 2001 organised by International Astronomical Union and Chiangmai University. Members of the Society vary in their approach to and sophistication in astronomy. Some members are interested in astrophotography as you may have seen from our website. We would be very glad to receive your pictures for posting in our site. The Society's membership fees are 250 Bath p.a. for adult members, 100 Bath p.a. for junior members, and 3,000 Bath for life members. How long have you been in Thailand? Do you work in Mae Sot all the time? How is the sky condition in your area? In Bangkok it has been raining for 2 days now with no clear sky.
Sincerely, "Itthiporn Sragskul" (Itthiporn@alp.co.th)เรียน กองบรรณาธิการวารสารทางช้างเผือกผมเป็นสมาชิกหมายเลข ส.43/059 ตอนนี้กำลังหาข้อมูลเพื่อซื้อกล้องสองตาอยู่และได้อ่านบทความของคุณวิมุติ วสะหลาย ในตอนท้ายของบทความให้อ่านเพิ่มเติมในบทความ "ก่อนซื้อกล้องสองตา(ตอน 1)" โดย พิชิต อิทธิศานต์ วารสารทางช้างเผือก ต.ค.-ธ.ค. 2539 และ "วิธีตรวจสอบกล้องสองตาก่อนซื้อ" วารสารทางช้างเผือก ม.ค.-มี.ค. 2540 ไม่ทราบว่าทางกองบรรณาธิการมีบทความทั้งสองเก็บอยู่ในไฟล์ของคอมพิวเตอร์หรือไม่ครับ ถ้ามีรบกวนส่งให้ผมด้วยครับ เพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อกล้อง หรือทางสมาคมฯ มีโครงการจะทำกล้องออกมาขายเองบ้างไหมครับเพราะเป็นอุปกรณ์อย่าง หนึ่งที่ใช้ในการดูดาวเหมือนกัน สุดท้ายนี้ขอให้ทางสมาคมฯมีสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปี และให้คนไทยสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ขอบคุณครับ thaiastroเรียน คุณอิทธิพร สร้างสกุลวารสารฉบับดังกล่าวหมดสต็อกไปแล้ว และไม่มีเก็บเอาไว้เป็นไฟล์เลยครับ เห็นทีคุณจะต้องลองติดต่อดูบ.ซีเอ็ดยูเคชัน ดูนะครับ เพราะบทความนั้นเคยมีตีพิมพ์ในวารสาร Best Buy เหมือนกัน แต่ผมก็จะชื่อฉบับไม่ได้แล้ว เขาอาจจะมีหลงเหลืออยู่บ้าง เรื่องให้สมาคมทำกล้องสองตามาขายนั้น ดูจะเป็นการเสี่ยงสักหน่อย หากเป็นการนำกล้องในตลาดมาขายหรือเป็นตัวแทนยังมีความเป็นไปได้เสียมากกว่า แต่ก็ยังไม่ใช่โครงการของสมาคมในช่วงนี้ เป็นไปได้ในอนาคตครับ ในตอนนี้ขอให้ลองหาบทความนั้นให้ได้เสียก่อน แล้วนำไปเลือกพิจารณาเลือกซื้อกล้องในท้องตลาด น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ วิมุติ วสะหลาย nagarind@ksc.th.comขอบคุณมากครับ :-)ใน Library ผมหมายถึงในหัวข้อ "ห้องสมุด" ในหน้าแรกน่ะครับ :-) ตอนนี้ผมกำลังจะซื้อกล้อง 2 ตาไว้ดูดาวน่ะครับ เจ้าของร้านเขาว่าขยายได้ 70 เท่าแน่ะครับ แล้วผมก็มาเปรียบเทียบกับกล้องโทรทัศน์บางรุ่น ที่บอกกำลังขยายด้วย พบว่าบางรุ่น กำลังขยายต่ำกว่า 70 เท่าอีก แต่ราคา 30,000 กว่า ๆ นะครับ ส่วนกล้องสองตาตัวนี้ราคาแค่ 5,500 บาทเอง ไม่ทราบจะเชื่อได้หรือไม่ว่ากล้องสองตานี้จะขยายได้ 70 เท่าจริง ๆ น่ะครับ???? ผมเข้ามาดู thaiastro บ่อยมากครับ อยากอ่านบทความที่คุณเขียนน่ะครับ ได้ความรู้มาก ผมเองกะจะเขียนเกี่ยวกับการประมาณตำแหน่งดาวคร่าว ๆ น่ะครับ เป็นวิธีที่ผมใช้อยู่ด้วยครับ :-) update web บ่อย ๆ เถอะนะครับ ตอนนี้ผมอ่านเกือบหมดแล้วหล่ะครับ :-D
ด้วยความเคารพ thaiastroกล้องสองตาขนาดกำลังขยาย 70 เท่าผมไม่เคยเห็นครับ อย่างมากก็ 20 เท่านั้น เจ้าของร้านที่คุณคณกรณ์ไปดูมาคงจะดูตัวเลขผิด ตัวเลขที่กล้องสองตาจะบอกอยู่สองตัวเลข มีเครื่องหมาย x อยู่ตรงกลาง เช่น 7x35, 10x50 ถ้าเป็นกล้องใหญ่ ๆ ก็อาจจะเป็น 10x70 เป็นต้น ตัวเลขที่บอกกำลังขยายคือเลขตัวแรก ส่วนตัวหลังคือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ตา หน่วยเป็นมิลลิเมตรครับราคาของทั้งกล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตาแตกต่างกันได้หลายราคามาก ตั้งแต่ไม่กี่พันจนถึงเป็นล้าน ๆ จึงยากที่จะสรุปว่าตัวไหนมีราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ ต้องดูที่คุณลักษณะอย่างอื่นประกอบ ส่วนใหญ่ราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดหน้ากล้อง คุณภาพเลนส์ ระบบขาตั้ง เป็นสำคัญ เรื่องกำลังขยายไม่เกี่ยวเลยครับ มองข้ามไปได้เลย มีกฎง่าย ๆ ข้อหนึ่งในการจำแนกกล้องชั้นต่ำข้อหนึ่งก็คือ ถ้ากล้องตัวไหนมีโฆษณาโดยเอากำลังขยายมาเป็นจุดขาย ก็ให้ถือว่าเป็นกล้องชั้นต่ำได้เลย แม้แต่ชายตาก็อย่าได้เหลียวไปมอง ขอบคุณที่ติดตามบทความในโฮมเพจ thaiastro ครับ ระยะหลังนี้ thaiastro ดูจะอืด ๆ ไปสักนิดด้วยเหตุผลหลายประการ รวมทั้งการตอบจดหมายก็ล่าช้ามาก เป็นปัญหาดินพอกหางหมูกองพะเนินเทินทึก กำลังพยายามสะสางให้ได้ในเร็ววัน ส่วนเรื่องที่คุณเขียนหากเสร็จแล้วจะลองส่งมาให้ที่นี่พิจารณาก็ได้นะครับ เราเปิดกว้างเสมอสำหรับบุคคลทั่วไปในการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ทางดาราศาสตร์ เรื่องที่คุณเขียนอาจได้ลงในโฮมเพจหรือวารสารทางช้างเผือกก็ได้ วิมุติ วสะหลาย "saranyupa chaiprasithikul" (saranyupa@yahoo.com)เป็นยุวสมาชิกมา 2 ปีแล้ว อายุสมาชิกก็จะหมดเดือนนี้ คาดว่าคงต้องต่ออายุสมาชิกแบบผู้ใหญ่ชักที เพราะเริ่มแก่แล้วค่ะ ตอนนี้อยู่ปี 1 ค่ะ (คุณอาวิมุติอ่านแล้วก็คงสะอึกเล็กน้อย ขอโทษค่ะ ไม่ได้ตั้งใจจริง ๆ) อ่าน mail ที่ถูกส่งมาให้คุณอาวิมุติบ้างเหมือนกัน แต่ไม่เคยส่งมาเอง คราวนี้นี้ส่งมาเรื่องอยากไปดาราศาสตร์สัญจรมากแต่ต้องติดสอบและติดเรียนทุกที ไม่มีโอกาสได้ไปเลยค่ะ ครั้งหน้าเดือนกุมภานี้ก็ตรงกับช่วงสอบอีกแล้ว อดไปเป็นรอบที่ 3 มาขอร้องให้จัดช่วงปิดเทอมบ้าง เผื่อตัวเองและเพื่อน ๆ ที่สนใจจะมีโอกาสได้ไปบ้างค่ะ (อยากไปมากจริง ๆ)เรื่องต่อมาก็คือ เรื่องหนังสือทางช้างเผือกค่ะ ตอนแรกได้รับฉบับมกราคม 43 นี่ก็ตกใจกับรูปเล่มพอสมควร แต่อ่านไปแล้วก็ดีเหมือนเดิมค่ะ กระทัดรัดขึ้น (แม้จะน้อยกว่าเดิมหน่อยก็ตาม) ไม่อยากกวนคุณอาวิมุติมาก คงจะจบแค่นี้ล่ะค่ะ ถ้าสงสัยอะไรจะมารบกวนอีกนะคะ
ด้วยความเคารพ thaiastroกว่าอาจะมาตอบก็ปิดเทอมเข้าไปแล้ว หวังว่าคงสอบผ่านสบาย ๆ ได้คะแนนดี ๆขอให้เรียก "พี่" ก็แล้วกันนะครับ เรียก "อา" มันทำร้ายน้ำใจกันเกินไป ผมอายุยังไม่เต็ม 30 ดีเลยครับ ช่วงรอยต่อปีที่ผ่านมาบังเอิญตรงกับช่วงเปลี่ยนชุดกรรมการพอดี ดาราศาสตร์สัญจรจึงน้อยไปสักนิด แต่ในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนนี้ก็ยังมีอยู่นะครับ หวังว่าน้องคงได้มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมกับเราบ้าง ส่วนเรื่องทางช้างเผือกนั้น ขนาดคนทำยังตื่นเต้นเลยครับ เพราะการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งนี้เป็นการปฏิวัติวารสารเลยทีเดียว แต่เดิมนั้น เราเห็นว่า 3 เดือนฉบับคงไม่ทันกิน จึงต้องยอมเสียบางอย่าง เช่นหน้าสี รูปเล่ม ความหนาไปบ้าง เพื่อให้แลกมากับความเร็ว แต่สองสามฉบับแรกก็ยังไม่เร็วอย่างที่ต้องการอยู่ดี แต่ต่อจากนี้จะค่อย ๆ เร็วขึ้นแล้วครับ ตอนนี้น้องคงได้รับ 3 หรือ 4 ฉบับแล้ว หวังว่าคงมีอะไรให้ติชมหลายจุด อย่าลืมมาบอกกล่าวกันบ้างนะครับ จะได้เป็นแนวทางในการปรับปรุงต่อไป วิมุติ วสะหลาย Olarn Arpornchayanon (oarpornc@sd01.med.cmu.ac.th)เรียนคุณวิมุติ ที่นับถือฝาก web สำหรับผู้สนใจดู Messier objects ,ใน web แรกจะรวบรวม M. ต่างๆให้อยู่ใน scale เดียวกัน ถ้าดูด้วย FOV. ประมาณ 44' (ประมาณขนาดดวงจันทร์)จะเห็นเป็นอย่างไร ส่วน web ที่สองจะเป็น free software สำหรับ log เมื่อสังเกต M. ต่าง ๆ คิดว่าคงจะมีประโยชน์ กับสมาชิกและผู้สนใจครับ http://www.stargazing.net/astroman/Scalemess.htm (M. in same scale) http://members.tripod.com/~whuyss/mls.htm (M. Logging System)
ขอแสดงความนับถือ thaiastroเพิ่งมีเวลาเข้าไปดูครับ จึงเพิ่งจะมาขอบคุณคุณโอฬาร เข้าท่าดีเหมือนกัน โดยเฉพาะเว็บ MLS ซึ่งผมดูแล้วรู้สึกถูกใจขอบคุณอีกครั้งครับ วิมุติ วสะหลาย "นายเดช วันชัยนาวิน" (wdet2508@chaiyo.com)สวัสดีครับ
ขอขอบคุณ thaiastroสวัสดีครับ* ยุวสมาชิก คือบุคคลที่อายุต่ำกว่า 22 ปี อัตราค่าสมาชิก 100 บาทต่อปี * สมาชิกผู้ใหญ่ อัตราค่าสมาชิก 250 บาทต่อปี * สมาชิกสถาบัน คือสมาชิกที่เป็นองค์กร โรงเรียน ห้องสมุด หรือตำแหน่ง อัตราค่าสมาชิก 300 บาทต่อปี * สมาชิกผู้ใหญ่ตลอดชีพ อัตราค่าสมาชิก 3,000 บาท วิมุติ วสะหลาย "พิเชษฐ ใจวงค์เป็ง" (maruko2324@hotmail.com)สวัสดีครับสวัสดีครับ ขอบคุณครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง thaiastroวิมุติ วสะหลาย "NESETA KUEZA" (neseta@chaiyo.com)อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลว่ามีลักษณะอย่างไร และความเกี่ยวกับ deep space
thaiastroรายละเอียดเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ลองไปดูที่ http://oposite.stsci.edu หรือ http://www.stsci.edu ครับ ส่วนเรื่อง deep space เข้าใจว่าหมายถึง deepspace object ในเพจของ stsci ก็มีครับ หรือจะลองไปดูที่ http://seds.lpl.arizona.edu/messier/objects.html ก็ได้ครับ ภายในมีลิงก์ไปอีกมากขออภัยที่เพิ่งมาตอบครับ ช่วงเวลาที่ผ่านมามีเมลเข้ามามาก ผมเผลอทำเมลของคุณ (และของอีกหลาย ๆ คน) ถูกเบียดไปอยู่ท้ายสุด จนเกือบไม่ได้ตอบ เพิ่งมีเวลามาสะสางครับ ขออภัยอีกครั้ง วิมุติ วสะหลาย |