จดหมายถึง thaiastro |
Kanlai Sujareerat (klais@asiaaccess.net.th)สวัสดีครับ คุณวิมุติ วสะหลายผมหายหน้าหายตาไปหลายเดือน แต่ก็เข้ามาดูเว็บไซต์ของสมาคมฯ บ่อย ๆ ตอนนี้ เว็บไซต์ของสมาคมฯ สวยมาก ๆ และข้อมูลชัดเจนกว่าเดิมมาก ชอบแบบนี้ ประทับใจมาก
จาก ครรไล สุจารีรัตน์ thaiastroขอบคุณมากครับ ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุด
วิมุติ วสะหลาย janyyam@email.siam.th.eduสวัสดีค่ะปลาเคย mail มาแล้วครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับดาวเคราะห์ 5 ดวงมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ฉบับนี้ปลาจะขอคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างกล้องดูดาว ปลาอยากสร้างกล้องดูดาวเองช่วยแนะนำได้ไหมคะว่าจะหาข้อมูลได้ที่ไหน
ขอบคุณค่ะ thaiastroสวัสดีครับเรื่องการสร้างกล้องดูดาวก็เป็นอีกคำถามหนึ่งที่มีผู้ถามหามากมาย ผมได้ตอบไปบ้างแล้ว คุณสามารถไปอ่านได้ในหน้า "จดหมายถึง thaiastro" (https://thaiastro.nectec.or.th/letters/letters.html) หรือถ้าต้องการเว็บไซต์ต่างประเทศ ลองเข้าไปดูตาม url ข้างล่างนี้นะครับ ข้างในจะมีลิงก์อีกมาก
http://www.skypub.com/catalog/atmscope.html
วิมุติ วสะหลาย sompol_lks@mailcity.comเรียน ท่านฯ ครับผมคลิกเข้า WEB เพื่อหาข้อมูลว่า วัน เดือน ปี (พ.ศ.) ที่แน่นอนว่า ดาวเคราะห์จะมาเรียงตัวกัน 7 ดวง นั้น ตรงกับวันที่ เดือนและ พ.ศ. อะไรครับ ก็เกี่ยวกับโลกแตกนั่นแหละครับ อยากทราบว่า จะมีปรากฏการณ์ดังกล่าวกี่ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ. 2542-2545 ครับ และขอร้องว่า 1. กรุณาแจ้ง ADMIN หรือ ROOT ช่วยแก้ PROXY ให้เร็วขึ้น 2. กรุณาตอบคำถามของผมทาง sompol_lks@mailcity.com ด้วยครับ 3. ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นที่สุดครับ จาก สมพล ลือชัย ลูกศิษย์ของรุ่นน้อง ๆ ของท่านอาจารย์ นิพนธ์ ทรายเพชร วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ชลบุรี รุ่นที่ 17 กระทิงดำครับ thaiastroเรียนคุณสมพล ลือชัย1. ข้อขัดข้องทางฮาร์ดแวร์ใน LAN ทำให้เซอร์เวอร์ของสมาคมฯ ถูกตัดขาดครับ เราพยายามแก้ไขอยู่แล้วครับ 2. วันที่บางคนเชื่อว่าดาวเคราะห์จะมาเรียงตัวกัน 7 ดวงคือวันที่ 5 พฤษภาคม 2543 ความจริงดาวเคราะห์ทั้งหลายไม่ได้เรียงกันเป็นเส้นตรงจริง ๆ หรอกครับ เพียงแต่มาอยู่ในแนวรัศมีที่แคบที่สุดเท่านั้น ภายในช่วง พ.ศ. 2542-2545 จะมีปี 2543 นั่นเองที่แคบที่สุด ซึ่งก็ไม่แคบเท่าไร จะนับว่าเป็นเส้นตรงในแนวที่ตามองก็ยังไม่ได้ ดูภาพใน http://www.skypub.com/special/alignmnt/images/panic3.jpg ถ้าคุณสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ลองดูข้อมูลที่ http://www.skypub.com/special/alignmnt/whypanic.html อาจารย์นิพนธ์ เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวารสารทางช้างเผือก ฉบับที่ 2 ของปี 2541 ด้วยครับ 3. ขอบคุณที่ให้ความสนใจสมาคมดาราศาสตร์ไทยครับ วิษณุ เอื้อชูเกียรติ Janya Yamcharoen (janyyam@email.siam.th.edu)สวัสดีค่ะขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ ตอนนี้ปลากำลังสร้างกล้องดูดาวอยู่ โดยใช้เลนส์วัตถุ ความยาวโฟกัส 100 cm. และเลนส์ตา ความยาวโฟกัส 2.5 cm. แต่ตอนนี้หน้าฝนไม่เห็นดาวเลย ปลาคาดว่ากว่าปลาจะทำเสร็จคงหมดหน้าฝนพอดี ปลาขอรบกวนอีกหลายๆ เรื่องนะคะ 1. ปลาไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูดาว มีกล้องแล้วแต่ดูไม่เป็นก็คงไม่มีประโยชน์ ในช่วงนี้ปลาอยากจะศึกษาวิธีการดูดาวโดยใช้กล้องดูดาว ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ 2. ในช่วงเดือนธันวาคม ที่มีเอเชี่ยนเกมส์ ปลาได้หยุด 3 อาทิตย์ ปลาอยากจะไปดูดาวที่ต่างจังหวัด เพราะในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยจะเห็นดาวเลย ช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมคะ ว่าควรจะไปที่ใดดี? และในช่วงนี้มีปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์อะไรหรือเปล่า? 3. ในวันที่ 22 สิงหาคม นี้จะเกิดสุริยุปราคา ตอนกี่โมงคะ? 4. ถ้าอยากถ่ายภาพดาวจากกล้องดูดาวจะต้องใช้กล้องแบบไหนคะ?
ขอบคุณค่ะ thaiastroสำหรับการเลือกสถานที่ดูดาวนั้น มีข้อพิจารณาอยู่คือ 1)). มลภาวะทางแสง คือจะต้องดูว่าแถวนั้นใกล้เมืองหรือหมู่บ้านหรือเปล่า สถานที่ ๆ ดูดาวควรจะมืดเข้าไว้ ควรอยู่ห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 20-30 กิโลเมตร สถานที่จำพวกนี้ก็ได้แก่ ตามไร่ หรือตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ 2)). ขอบฟ้า ต้องดูว่าขอบฟ้ากว้างพอหรือไม่ มีภูเขา หรือพุ่มไม้ใหญ่บังในทิศทางที่ต้องการจะดูโดยเฉพาะหรือไม่ เป็นต้น ตามไร่นา ป่าเสื่อมโทรม ทุ่งใกล้ป่า ตามเขาหัวโล้นต่าง ๆ จะเข้าข่าย ในที่นี้หมายถึงเฉพาะสถานที่เท่านั้น การจะเลือกที่ดูดาวจริง ๆ ยังจะต้องดูเรื่องของลมฟ้าอากาศอีกด้วย ซึ่งเรื่องลมฟ้าอากาศนี้จะต้องติดตามการพยากรณ์จากกรมอุตตุ หากเจอพายุหรือมรสุมก็โชคร้ายไปปรากฏการณ์เด่นในช่วงเดือนธันวาคม คือ ฝนดาวตกคนคู่ ตกชุกที่สุดในช่วงวันที่ 13-14 อีกอย่างหนึ่งคือ ดาวพุธขึ้นสูงสุดในวันที่ 20 ต้องดูช่วงเช้ามืดครับ
สุริยุปราคาวันที่ 22 สิงหาคม ถ้าดูอยู่ที่กรุงเทพ ฯ
จะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งตั้งแต่โผล่พ้นขอบฟ้าพอดี ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ
06.10 น. คราสจะกินลึกที่สุดที่เวลา 07.18 น. และจะคลายหมดเมื่อเวลา 8.32
น. รายละเอียดดูได้ที่หน้า "สุริยุปราคา 22 สิงหาคม 2541"
(https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/asecl98.html) กล้องที่จะใช้ถ่ายดาวควรเป็นกล้องแบบธรรมดาครับ หมายถึงที่ไม่ใช่กล้องคอมแพ็กหรือกล้องปัญญาอ่อน ถ้าเป็นกล้องแบบกลไกล้วนจะเหมาะที่สุด ที่สำคัญต้องสามารถเปิดหน้ากล้องค้าง (ชัตเตอร์ B) ได้ มิเช่นนั้นจะถ่ายได้แต่ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์
วิมุติ วสะหลาย Janya Yamcharoen (janyyam@email.siam.th.edu)สวัสดีค่ะถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมดาราศาสตร์แล้ว จะได้ไปร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น ได้ไปดูดาวในที่ต่างๆ จริงหรือเปล่าคะ ตอนนี้ปลาอยากจะสมัครเป็นสมาชิกแต่ไม่ทราบว่าสิทธิที่สมาชิกจะได้รับมีอะไรบ้าง แล้วทำไมเวลาโทรไปที่สมาคมไม่มีคนรับสายจะเข้าระบบฝากข้อความทุกครั้งเลย
ขอบคุณค่ะ thaiastroจริงสิครับคุณปลา ได้ไปในราคาถูกกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย สำหรับสิทธิของสมาชิก ประเภทสมาชิก และอัตราต่าง ๆ ดูได้ที่ https://thaiastro.nectec.or.th/member.html ครับ ปกติที่สมาคมจะมีคนทำงานอยู่ประจำ แต่บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็อาจจะต้องออกไปติดต่อที่อื่นบ้าง เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจเขาเหมือนกันเพราะมีอยู่คนเดียว ต้องแล้วแต่โชคครับว่าจะเจอตัวหรือเปล่า
วิมุติ วสะหลาย Pornthep Vichitbunchong (pornthep@cht.canon.co.th)สวัสดี ครับผมมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์ แต่เพิ่งจะมาสนใจก็เมื่อเริ่มมีใช้ INTERNET ทำให้ผมมี แหล่งที่จะติดต่อหาความรู้ได้บ้าง ผมอยากจะสมัครเป็นสมาชิกดาราศาสตร์ไทย และจะซื้อแผนที่ดาวด้วย จะได้เอาไปดูที่บ้านได้ ไม่ ทราบว่าผมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการธนาณิติมาเท่าไร ( แผนที่ดาวซื้อราคาสมาชิก นะ) และผมจะต้อง สั่งจ่ายธนาณัติมาที่ ปท. ไหน , สั่งจ่ายถึงใคร ช่วยบอกรายละเอียดด้วยครับ
ขอขอบคุณ thaiastroรายละเอียดในเรื่องสมัครสมาชิกอ่านได้จากเพจ https://thaiastro.nectec.or.th/member.html ครับ ส่วนเรื่องแผนที่ดาวนั้นสมาชิกซื้อได้ในราคา 54 บาท ที่อยู่ที่เดียวกันกับการสมัครสมาชิกครับ
วิมุติ วสะหลาย เจตนา หยงสตาร์ (zobis@thaimail.com)สวัสดีครับ คุณวิมุติผมเป็นสมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทยมา 2 ปีแล้ว เมื่อก่อนผมอยู่ต่างจังหวัด(ตรัง) แต่ปีนี้ผมสอบ entrance ได้ จึงได้มาอยู่ที่กรุงเทพฯ ผมมีความคิดเห็น ส่วนตัวว่า กิจกรรมที่ทางสมาคมฯ จัดขึ้นนั้น ยังเปิดกว้างไม่พอสำหรับเด็กต่างจังหวัด (โดยเฉพาะทางภาคใต้) ซึ่งจริงๆแล้วกิจกรรมที่ทางสมาคมฯ จัดทุกกิจกรรมนั้น ผมอยากจะมีส่วนร่วมมาก แต่ก็ไม่เคยได้ร่วมเพราะติดขัดเรื่องเวลา และระยะทาง ผมจึงมีความเห็นว่าอยากจะให้ทางสมาคมฯ จัดกิจกรรมดาราศาสตร์ทาง ทางภาคใต้บ้าง ถึงแม้ว่าผมจะมาอยู่กรุงเทพฯ แล้วก็ตาม แต่ยังมีสมาชิกและผู้สนใจหลายท่านที่อยากร่วมกิจกรรมที่สมาคมฯ จัดขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ ซึ่งให้ความสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น คุณวิมุติมีความคิดเห็นอย่างไร เมล์ มาหาผมได้นะครับที่ zobis@thaimail.com thaiastroเป็นความจริงครับที่ผ่านมาสมาคมดาราศาสตร์ไทยแทบจะไม่เคยไปจัดกิจกรรมที่ภาคใต้เลย ที่มีไปต่ำสุดก็คือที่หว้ากอเท่านั้น ในการจัดกิจกรรมดูดาวนอกสถานที่นั้น เราจะต้องคำนึงถึงระยะทาง ซึ่งจะมีผลต่อค่าใช้จ่าย และโอกาสในด้านลมฟ้าอากาศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสองปัจจัยนี้แล้วภาคใต้ย่อมจะเสียเปรียบภาคอื่นอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้มีแนวคิดที่จะกระจายโอกาสในการร่วมกิจกรรม ให้กับสมาชิกต่างจังหวัด เรื่องนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาปรึกษากันในการประชุมเมื่อสองเดือนก่อน ผลจากการประชุมเราได้ร่างรูปแบบกิจกรรมนอกสถานที่ขึ้นมา โดยใช้ภูเก็ตเป็นเป้าหมายแรก คาดว่าเราจะได้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมในฤดูกาลดูดาวที่จะถึงนี้ครับ
วิมุติ วสะหลาย janyyam@email.siam.th.eduสวัสดีค่ะแล้วฝนดาวตกคนคู่จะต้องไปดูที่ส่วนไหนของประเทศไทยคะ? หรือว่าอยู่ที่ไหนในประเทศไทยก็สามารถดูได้ ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำชี้แนะ
ขอบคุณค่ะ thaiastroฝนดาวตกไม่ใช่ปรากฏการณ์เฉพาะที่ครับ ดูที่ไหนก็ให้ผลเหมือน ๆ กันหรือเกือบเหมือนกันครับ
วิมุติ วสะหลาย Chakkrit Jaiman (chakkrit@thai.com)ผมเป็นสมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ ส.41/044 ตั้งแต่สมัครสามาชิกมาเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ เพิ่งจะได้รับ วารสารทางช้างเผือกเพียงฉบับเดียวเท่านั้นคือ ฉบับเดือน มกราคม-มีนาคม 2541 ไม่ทราบว่าฉบับอื่นไปไหนหมด? อีกเรื่องก็คือ ไม่เห็นได้รับทราบข่าวคราวใด ๆ เกี่ยวกับการจัดดาราศาสตร์สัญจรเลย ทำให้ไม่เคยได้ร่วมงานสักครั้งเดียวthaiastroฉบับอื่นไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ แต่ยังไม่ออกเลยจนถึงบัดนี้ ผมก็รอมานานแล้วเหมือนกัน คงใกล้ออกเต็มทนแล้วล่ะครับ ส่วนในเรื่องของกิจกรรมต่าง ๆ เช่นดาราศาสตร์สัญจรนั้น หากสมาคมฯ แจ้งทางวารสารไม่ทันอย่างเช่นในช่วงนี้ จะส่งจดหมายแจังไปให้สมาชิกที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล หากคุณอยู่ในพื้นที่นี้แล้วยังไม่เคยได้รับข่าวสารเลย กรุณาส่งชื่อที่อยู่มาให้ผมอีกทีครับ ผมจะแจ้งไปที่สมาคมให้ตรวจสอบให้ หรืออาจแจ้งไปโดยตรงที่ thaiastro@inet.co.th ก็ได้ครับ
วิมุติ วสะหลาย |