จดหมายถึง thaiastro |
wu@nst1.a-net.net.thไม่ทราบว่าทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยมีข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์แผนที่ดาว ของประเทศไทยโดยใช้ภาษาไทยว่ามีบ้างหรือไม่ และมีรายละเอียดอะไรบ้าง หรือสามารถจะค้นคว้าข้อมูลเหล่านี้ได้ที่ใดบ้าง รบกวนตอบในทางช้างเผือก หรือถ้าจะกรุณาตอบมาที่ wu@nst1.a-net.net.th จะขอบคุณยิ่งสุชลา ชูส่งแสง
thaiastroเรียน คุณสุชลาผมยังไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยว่ามีโปรแกรมดาราศาสตร์หรือโปรแกรมแผนที่ดาวที่เป็นภาษาไทย ปกตินักดูดาวมักใช้โปรแกรมของฝรั่งเป็นหลัก ซึ่งโปรแกรมเหล่านั้นมักจะกำหนดละติจูดและลองกิจูดของจุดสังเกตการณ์ให้เป็นเมืองไทย ได้อยู่แล้ว โปรแกรมที่ดี ๆ ก็เช่น Redshift2 อีกตัวหนึ่งก็คือ EZCosmos for Win ซึ่งเป็นโปรแกรมเก่าแล้วแต่ก็ยังมีความแม่นยำและใช้งานง่ายกว่า Redshift 2 มาก ข้อมูลที่ใช้ในการเขียนโฮมเพจนี้ผมก็มักเอามาจากโปรแกรมนี้ นอกนั้นก็มี Solar system (เหมาะกับมือใหม่), Orbits 3 (คล้าย ๆ solar system แต่สวยกว่า) , Visible Universe (ใช้ยาก) ที่ผมทราบมีเพียงเท่านี้ หากต้องการดูมากกว่านี้ ลองเข้าไปดูที่ http://www.skypub.com ภายในจะมีลิงก์ที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อีกมาก
Kanlai Sujareerat (klais@asiaaccess.net.th)เรียน คุณวิมุติ วสะหลายตอนนี้ผมอยากทราบว่า ที่มีข่าวว่า ในช่วงวันที่ 1-8 ธันวาคม 2540 นี้ จะเกิดปรากฎการณ์ทางท้องฟ้า คือ ดาวพระเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา จะเรียงกันเป็นแนวขึ้นไปบนท้องฟ้า โดยมีพระจันทร์เสี้ยวบางๆ อยู่ตรงปลายขอบฟ้า ผมอยากทราบว่า นับจากปลายของพระจันทร์หรือนับจากขอบฟ้าขึ้นไป ดาวพระเคราะห์เรียงตามลำดับดวงไหนบ้าง เพราะสุดสัปดาห์นี้ผมจะไปตั้งกล้องดูดาวที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
ขอขอบคุณ
thaiastroเรื่องปรากฏการณ์ที่ถามไม่ทราบว่าเอาข่าวมาจากไหนหรือครับ? เพราะเนื้อความคลุมเครือ คุณควรทราบอยู่อย่างหนึ่งว่า 1. ดาวเคราะห์ทั้งหมด รวมถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ด้วย จะเรียงกันเป็นแนวเสมอ อาจบิด ๆ เบี้ยว ๆ ไปบ้าง แต่ก็เห็นว่าเป็นแนวเดียวกัน 2. ดวงจันทร์เคลื่อนที่ถอยหลังไปทางตะวันออกวันละถึงประมาณ 12 องศา คุณถามถึงวันที่ 1- 8 ธันวาคม ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่าดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งใด อย่างถ้าเป็นวันที่ 2 ธันวา เวลา 1 ทุ่ม ดวงจันทร์ก็จะอยู่ใกล้ขอบฟ้าที่สุด เรียงขึ้นไปก็จะเป็นดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดี และห่างออกไปหน่อยก็ดาวเสาร์ แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าก็จะเห็นแค่ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์เท่านั้น ส่วนในคืนวันต่อ ๆ มาก็จะเห็นดวงจันทร์อยู่สูงขึ้นทุกวัน ตำแหน่งของดาวเคราะห์คุณสามารถไปดูได้ที่เพจท้องฟ้าเดือนธันวาคม (https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/dec97.html) จะมีภาพขอบฟ้าทิศตะวันตกของวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งตำแหน่งดาวเคราะห์ไม่ต่างจากวันที่ 1 - 8 เท่าใดนัก เขาใหญ่เป็นที่ ๆ ผมไปดูดาวเสมอ เพราะมีทุ่งแยะ ขอบฟ้าดี หากมีประสบการณ์ดี ๆ หรือถ่ายภาพดาวได้สวย ๆ จะเขียนเล่ามาให้สมาคมหรือวารสารทางช้างเผือกก็ได้นะครับ
วิมุติ วสะหลาย
ผมได้รับ E-MAIL คำแนะนำเรื่อง T-RING จากคุณพรชัยแล้ว ด้วยความ ขอบคุณยิ่ง ปรากฎว่าสถานที่ซื้อมี 2 แห่ง คือ ที่พลับพลาไชย กับที่ร้านทีเอ็มเค คงเป็นวันเสาร์นี้ จะไปหาซื้อที่พลับพลาไชย เรื่องดาวพระเคราะห์เรียงกันในวันที่ 1-8 ธันวาคม 2540 นั้น ผมได้ข่าว มาจากวิทยุ เป็นรายการเพลง ผมกำลังทำงานอยู่แล้วได้ยินข่าวนี้ ก็เลยหยุดฟัง ผมชอบดาราศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ก่อนดาวหางโคฮูเทคมาสร้างความผิดหวัง ให้ผมอดหลับอดนอนมานั่งดูเมฆเสียอีก สมัยนั้น ผมลงทุนนั่งรถเมล์จากบางรัก เพื่อมาท้องฟ้าจำลองเพื่อดูดาวหางด้วยกล้องดูดาว ตอนตี 4 ตี 5 เข้าแถวยาวมาก และใฝ่ฝันอยากมีกล้องดูดาว เพิ่งฝันเป็นจริงเมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง จึงถือว่าเป็นน้องใหม่ในวงการ หากผมมีข้อสงสัยหรือปัญหาใด จะรบกวนสอบถามคุณและคุณพรชัย คงไม่ขัดข้องนะครับ กล้องดูดาวของผมนั้น ยี่ห้อ CELESTRON ขนาด 9.25 นิ้ว อยากทราบว่า ความสามารถของกล้องขนาดนี้ แค่ไหน เพราะฟังพี่ชายของผมพูดแล้วหงุดหงิด คือ มักจะพูดว่า กำลังขยายต่ำ ส่องดาวพฤหัส ดาวเสาร์ เห็นดวงแค่นี้ ครั้นใช้เลนส์ตาเพื่อกำลังขยายสูงขึ้น การจับโฟกัสค่อนข้างลำบากมาก และภาพดาวมักจะไม่ชัดเจน โดยปกติที่เราเห็นภาพถ่ายดาวเป็นกล้องดูดาวขนาดไหนกันแน่ และการใช้กล้องดูดาวมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรแค่ไหน เพราะเห็นดวงนิดเดียว ก็ ไม่ทราบจะดูอะไร แต่เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ส่องดูเนบิวลา M42 ชัดเจนมาก แต่ไม่เห็นมีสีสันเหมือนในรูปของสมาคมเลย ส่วนกาแล็กซี M31 ก็เห็น แต่มัวจางมาก เป็นเพราะเหตุใด? ถามจุกจิกเกินไปหรือเปล่าครับ
ขอแสดงความนับถือ
thaiastroเรียน คุณครรไล สุจารีรัตน์กล้องขนาด 9.25 นิ้วถือว่าใหญ่แล้วครับ ยี่ห้อก็ดีด้วย ที่คุณส่องแล้วเห็นดวงนิดเดียวก็เพราะดาวพฤหัสกับดาวเสาร์มันดวงนิดเดียวจริง ๆ ถ้าจะส่องให้เห็นดวงใหญ่ ๆ คับจอนั้นยาก ต้องมีอุปกรณ์เสริม เลนส์ตาอย่างเดียวไม่พอ ยิ่งถ่ายรูปดาวเคราะห์ด้วยกล้องขนาดนี้แล้วยากมากที่ภาพจะออกมาคมชัด อย่าเปรียบเทียบกับภาพจากนาซานะครับ เพราะนั่นเขาใช้กล้องแพงระยับ วัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ที่น่าสนใจมีอยู่หลายดวงทีเดียวที่มีขนาดใหญ่ แต่ที่มองไม่เห็นเพราะมันจางเกินไป กล้องนี้จะขยายทั้งภาพและแสง ทำให้มองเห็นวัตถุจาง ๆ ได้ เช่น M31 ที่คุณส่องมาแล้ว ลองซื้อแผนที่ท้องฟ้าอย่างละเอียด ๆ มาดูแล้วไล่หาวัตถุท้องฟ้าดู มีวัตถุท้องฟ้ามากมายที่เหมาะกับกล้องของคุณ กระจุกดาวสวย ๆ ก็มีเป็นร้อย ๆ ส่องแล้วแทบล้นจอ เนบิวลาเฮลิกซ์ก็เหมือนกัน ใหญ่มหึมาแต่กลับมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ลองหาเนบิวลาหัวม้าหรือยังครับ? เนบิวลาอีต้าคารินาก็สวยหยาดเยิ้ม ให้พี่ชายคุณมาดูวัตถุเหล่านี้อีกทีแล้วเขาจะต้องถอนคำพูด เรื่องสีของเนบิวลาอย่าไปคาดหวังมากนัก เพราะวัตถุจาง ๆ ตาเราจะมองเห็นเป็นขาวดำเท่านั้นเพราะประสาทรับสีของคนจะมีความไวน้อยกว่าประสาทรับความเข้มแสงมาก ภาพที่แสดงในห้องภาพท้องฟ้าที่เป็นสีสวย ๆ เพราะเขาใช้ฟิล์มถ่าย แล้วก็เปิดหน้ากล้องนานเป็นนาที จึงสามารถรับสีและสะสมแสงได้มาก ถ้าคุณลองถ่ายภาพ M42 ดูก็จะออกมาเป็นสีแดงแจ๋เหมือนกันครับ แต่ถ้าอยากส่องกล้องด้วยตาแล้วเห็นสีสันจริง ๆ คิดว่าเนบิวลาแหวนในกลุ่มดาวพิณ น่าจะมองเห็นเป็นสีได้ คุณคงกำลังลองถ่ายภาพดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์สินะครับ สนุกไม่ต้องนอนกันเชียวล่ะ
Kanlai Sujareerat (klais@asiaaccess.net.th)เรียน คุณวิมุติ วสะหลายผมต้องขอขอบคุณอย่างยิ่ง สำหรับคำตอบเรื่องภาพที่เห็นในกล้องดูดาว เป็นความจริงที่ผมมักอิงภาพที่เห็นจากขององค์การนาซา ทั้งที่อีกใจก็ทราบว่า ภาพที่เห็นนั้นถ่ายจากกล้องขนาดยักษ์ ทั้งเป็นงานระดับโลก แต่หงุดหงิดใจทุกทีที่พี่ชายคนโตมาดูดาวด้วยกล้องของผม แล้วอยากเห็นดาวดวงโตๆ คราวนี้ผมจะหาเนบิวล่าที่คุณแนะนำมา เอาแบบประเภทพี่ชายต้องถอนคำพูด ผมอยากทราบว่า แผนที่ดาวอย่างละเอียด หาซื้อได้ที่ไหน ผมอยากทราบว่า การที่มีการคำนวณว่า ดาวดวงนั้นดวงนี้ หรือดาวหาง ขณะนี้อยู่ห่างจากโลกเท่าใด มีวงโคจรอย่างไร จะต้องผ่านกลุ่มดาวใดบ้าง วันที่ใด เขาคำนวณกันอย่างไร เอาอะไรเป็นเกณฑ์ จะค้นหาดาวอังคารได้อย่างไร ให้สังเกตจากอะไร ผมคิดไว้นานแล้ว และยังคิดอยู่ ก็คือ ในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น และสถานะการเงินมั่นคงแล้ว ประสงค์จะบริจาคกล้องดูดาว ขนาดที่สามารถใช้ค้นคว้าได้ ให้สมาคมไว้สำหรับศึกษา และให้เยาวชนได้สัมผัสกับของจริง เพราะผมจำภาพที่ไปยืนเข้าแถวเพื่อดูดาวได้ดี มันเป็นความรู้สึกของความใฝ่ฝัน ความตื่นตาตื่นใจ ความอยากรู้อยากเห็น และหวังลึก ๆ ว่า สักวันหนึ่งจะต้อง มีชื่อดาวหางเป็นชื่อไทยอยู่ในทำเนียบดาราศาสตร์
ครรไล สุจารีรัตน์
thaiastroผมยังไม่เคยเห็นมีขายแผนที่ดาวอย่างละเอียดในเมืองไทยเลย คงตั้งสั่งซื้อจากต่างประเทศ ผมได้ยินว่ามีร้านหนังสือ (ชื่อจำไม่ได้) ในเอ็มโพเรียม มีหนังสือดี ๆ มาก น่าจะลองไปหาดูการหาระยะห่างของวัตถุท้องฟ้ามีหลายวิธีครับ ถ้าเป็นวัตถุใกล้ ๆ อย่างดาวเคราะห์น้อย หรือดาวหาง จะดูจากการเปลี่ยนตำแหน่งและความสว่างของมันแล้วสร้างโมเดลของวงโคจร หรืออาจจะใช้พาราแล็กซ์ (หลักสามเหลี่ยมคล้าย) ก็ได้ เมื่อสร้างวงโคจรแล้ว อย่างอื่นก็ง่ายแล้ว เช่นผ่านกลุ่มดาวใดบ้าง เขาใกล้วันไหน? แต่วิธีการคำนวณผมไม่ทราบเหมือนกัน หากอยากทราบจริง ๆ คุณครรไลค่อยบอกมาอีกทีก็แล้วกันครับ แล้วผมจะไปถามนักดาราศาสตร์ตัวจริงให้ สำหรับดาวอังคาร ถ้าเป็นตอนนี้ก็สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ในช่วงหัวค่ำมันจะอยู่ต่ำกว่าดาวศุกร์เล็กน้อย ไม่สว่างมากนัก มีสีแดงแปลกกว่าเขา อย่าลืมเอากล้องโทรทรรศน์ของคุณส่องดูด้วย จะเห็นเป็นดวงเหมือนกัน แต่เล็กนิดเดียว (อย่าเพิ่งให้พี่ชายดู)
> ผมคิดไว้นานแล้ว และยังคิดอยู่ ก็คือ ในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น และ ผมก็หวังเช่นนั้นครับ
VANICH (bvanich@jasmine.th.com) Subject: อยากรู้มากเคยได้ยินปรากฏการณ์ที่ดาวนพเคราะห์ ทั้ง 9 ดวงเรียงเป็นเส้นตรง จะเกิดเมื่อไหร่? เกิดแล้วจะมีผลอย่างไร? มีคนพูดว่าจะทำให้สนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนแปลง มันจะมีผลขนาดนั้นไหม? ประชาชนควรเตรียมตัวอย่างไร? เพราะหวังพึ่งรัฐบาลไม่ได้ ตัวรัฐเองก็จะเอาตัวไม่รอด รายได้ไม่พอจ่ายเงินเดือนข้าราชการขอบคุณมากครับ วาณิชย์ บำรุงชาติ
thaiastroอยากตอบมากเช่นกันครับ เพราะเขียนถามมากันเยอะ คำถามยอดนิยมอันดับหนึ่งเลยนะครับ คำถามทำนองนี้เป็นเรื่องโคมลอยครับ เรื่องดาวเคราะห์ 9 ดวงเรียงกันเป็นเส้นตรง ไม่มีแน่นอน มีแต่โอกาสที่ดาวเคราะห์ 9 ดวงจะมาอยู่ภายในมุม 90 องศา ซึ่งจะเกิดขึ้นในอีกเกือบ 500 ปีข้างหน้า และจะไม่มีผลต่อมนุษย์มากพอที่จะใส่ใจด้วย คุณอาจได้ยินต่อ ๆ กันมาหลายตลบ เรื่องดาวเคราะห์เรียงกันที่มีคนลือกันหนาหูในขณะนี้คือ ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2543 จะเกิดวัตถุเรียงกันเป็นแนวเดียวกัน (ไม่ค่อยตรง) 8 ดวง ไม่ใช่ 9 ดวงอย่างที่คุณว่า 8 ดวงที่ว่านี้คือ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โลก ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัส เนปจูน และพลูโตไม่เกี่ยว อยู่อีกทางหนึ่ง ผลที่เราจะเห็นคือ ในตอนหัวค่ำ เราจะเห็นดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน ปรากฏการณ์ที่มีวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะมาอยู่เคียง ๆ กันแบบนี้เราเรียกว่า คอนจังชัน (conjunction) แค่สองดวงขึ้นไปก็เรียกคอนจังชันแล้ว ครั้งนี้พิเศษหน่อยมี 8 ดวงก็เลยเป็นแกรนด์ คอนจังชัน ผลกระทบที่จะเกิดกับมนุษย์หรือครับ ไม่มี แรงดึงดูดของวัตถุที่มีผลต่อโลกนั้นมีเพียงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เท่านั้น ซึ่งมันก็โคจรของมันไปตามปกติ ส่วนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ อยู่ไกลเกินไปและแรงดึงดูดของมันที่กระทำต่อโลกนั้นน้อยมาก ๆ จนตัดทิ้งไปได้ ปรากฏการณ์แกรนด์ คอนจังชันเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจบ่อยถึงขั้น 1-2 ครั้งต่อศตวรรษ หากมันจะมีเกิดผลร้ายแรงต่อโลกก็คงเกิดไปนานแล้ว แล้วเราก็คงไม่รอดจนถึงบัดนี้หรอกครับ เพราะฉะนั้น หากในปีนั้นมีคนมาบอกให้เซ่นไก่ดำ หรือห้อยกล้วยหน้าบ้านก็อย่าคล้อยตาม หากผมจำไม่ผิด แกรนด์คอนจังชันครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี 2504 ปกตินักดูดาวจะชอบปรากฏการณ์คอนจังชัน โดยเฉพาะเมื่อมีจันทร์เสี้ยวหรือดาวศุกร์มาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่สวยดี ถ่ายรูปง่าย บรรยากาศโรแมนติก มักเกิดเวลาหัวค่ำหรือเช้ามืดทำให้ไม่ต้องอดนอนมาก แต่น่าเสียดายที่แกรนด์คอนจังชันคราวนี้มีดวงอาทิตย์เข้ามาร่วมวงด้วย จึงอาจทำให้มองไม่เห็นดาวเคราะห์ที่มาเรียงกันอยู่บางดวงเนื่องจากถูกแสงอาทิตย์กลบเสียหมด ถ่ายรูปอาจไม่ค่อยขึ้นเท่าไหร่ ผมคิดจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับแกรนด์ คอนจังชันในครั้งนี้ลงโฮมเพจของสมาคมดาราศาสตร์ไทยอยู่เหมือนกัน โปรดติดตาม ขอย้ำอีกครั้งว่า ดาวเคราะห์มาเรียงกันไม่มีผลใด ๆ ให้เป็นห่วง เรื่องแกนโลกพลิก แม่เหล็กโลกเพี้ยน วงโคจรโลกเบี้ยว อะไรนั่น ตื่นตูมทั้งสิ้น แม้แต่ในเมืองฝรั่งเองก็ยังกลัวกัน หวังว่าคุณคงจะกระจ่างและคลายกังวลนะครับ
Kanlai Sujareerat (klais@asiaaccess.net.th)สวัสดีครับ คุณวิมุติ วสะหลายวันนี้ (13 ธ.ค.40) ผมไปเอ็มโพเรียมมา เพื่อไปหาร้านจำหน่ายหนังสือ แผนที่ดาวอย่างละเอียด ตามคำแนะนำของคุณ ซึ่งก็ไม่ค่อยผิดหวัง มีหนังสือค่อนข้างเยอะมาก ถึงแม้จะไม่ทุกแขนง สาขาวิชา แต่ก็มีหนังสือดีๆ ที่ไม่ค่อยเห็นที่อื่น และมีมุมๆหนึ่งเป็นหนังสือที่ เกี่ยวกับอวกาศทั้งหมด และได้พบแผนที่ดาวอยู่ 2 ชุด คือ STARGAZER , THE COMPLETE ASTRONOMY MAP & GUIDE PACK กับ THE MONTHLY SKY GUIDE จึงซื้อ ก็ดูละเอียดดี แต่ที่ผมตามหาอยู่ก็คือ URANOMETRIA 2000.0 ซึ่งหาไม่เจอ คงต้องฝากพี่ชายไปซื้อที่อเมริกา ส่วนตัว T-RING ได้ร้านจำหน่าย แล้ว ชื่อร้าน SHINE PHOTO อยู่ถนนเจริญกรุง ไม่ใช่ร้าน ทวีชัยอุปกรณ์ ที่อยู่ตรง ห้าแยกพลับพลาไชย หายากหาเย็นจริงๆ การคำนวณหาระยะทาง และ วงโคจรของดาว เป็นเรื่องที่ผมอยากทราบ มานาน เพราะน่าสนใจดี แต่ถ้าเจาะลึกถึงสูตรการคำนวณ ไม่ทราบสมองน้อยๆ ของผมจะเรียนรู้ไหวไหม ดาวอังคาร ผมคิดว่าผมเห็นแล้ว เป็นดาวดวงที่ผมอยากเห็นมาก แต่ ไม่คิดว่า จะเป็นดวงค่อนข้างจางดวงนี้ ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพดาว ควรใช้ฟิล์มไวแสงประมาณเท่าใด
thaiastroในเมื่อคุณอยากทราบและมีความมุ่งมั่น ก็ต้องไหวซิครับ เคยเห็นโฆษณาหนังสือในด้านนี้ในวารสาร Astronomy เขาสอนตั้งแต่ง่าย ๆ คุณหนู ๆ จนกระทั่งคำนวณขั้นเซียน (ว่าตามโฆษณา) แต่ผมซื้อไม่ไหว ราคาเกือบร้อยเหรียญ ตอนนี้โฆษณาชิ้นนั้นหายไปแล้ว ต้องขยันหาหน่อยครับดวงจาง ๆ แดง ๆ ใต้ดาวศุกร์นั่นแหละครับ ใช่แน่ ๆ หากคุณดูตั้งแต่ช่วงต้นปีจะเห็นว่าจางลงเรื่อย ๆ ในต้นปีมันสว่างเกือบเท่าดาวพฤหัสบดี ต้องรออีกสักปีหนึ่งครับมันจะกลับมาสว่างแดงโร่สดใสอีก เรื่องฟิล์ม ก็แล้วแต่ว่าจะเอาไปถ่ายอะไรครับ บางคนใช้แค่ 100 บางคนใช้ 400 หรือ 1600 แต่นักถ่ายรูปดาวมักชอบ ISO 800 หาซื้อยากหน่อย ไม่ค่อยมีใครพุชฟิล์มกัน บางคนใช้ฟิล์มบ่มแก๊ส (พิศดารดีไหม?) ถ้าเงินหนานักก็ไม่ใช้ฟิล์ม แต่ใช้ซีซีดีแทน ตัวละหลายแสนบาท
Kanlai Sujareerat (klais@asiaaccess.net.th)สวัสดีครับ คุณวิมุติ วสะหลายครับ ไหวครับที่จะเรียนรู้ โดยปกติผมไม่ค่อยเป็นคนช่างพูด แต่เป็นนักฟังที่ดี แต่ถ้าได้รู้จักสนิทสนม และเวลาถามอะไร เขาตอบอย่างคนที่อยากตอบ และตอบอย่าง เปิดเผย จริงใจเท่าที่ทราบ ผมจะชอบถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่างชนิดถึง ไหนถึงกัน แล้วประมวลเป็นความรู้แบบสำเร็จรูป เอาไว้ถ่ายทอดคนอื่นต่อ เรื่อง การคำนวณระยะทาง และ วงโคจรของดวงดาวก็คงเช่นกัน ทักษะกับประสบการณ์ แล้วก็คำชี้แนะจากท่านผู้รู้ ก็จะได้สูตรสำเร็จในการพัฒนาความรู้ด้านนี้ ซึ่งเยาวชน ควรจะได้ศึกษาค้นคว้า คนไทยขาดการสนับสนุน และ ความต่อเนื่องในการกระทำ ไปสู่เป้าหมายเท่านั้น วารสาร ASTRONOMY หาได้ที่ไหน และวารสารทางช้างเผือก จะได้เฉพาะสมาชิกสมาคมหรืออย่างไร ผมเคยอ่านหนังสือวารสาร "สารคดี" หน้าหลังมีคอลัมภ์เกี่ยวกับท่องอวกาศ จะมีฉบับละ 3-4 หน้า ดีมาก เนื้อหาน่าอ่าน รูปก็สวย คำอธิบายก็น่าสนใจ การที่มีอยู่ทุกฉบับ ก็แสดงว่ามีคนสนใจอ่านเป็นจำนวนไม่น้อย แต่หาหนังสือความรู้ด้านนี้น้อยมากในประเทศไทย ทั้งที่ในอวกาศมีเรื่องมากมายที่ต้องศึกษาค้นคว้า เพื่อ ให้ได้คำตอบเกี่ยวกับเราและรอบตัวเรา
ครรไล สุจารีรัตน์
thaiastroเรียน คุณครรไลวารสาร ASTRONOMY ซื้อได้ที่เซ็นทรัล เห็นมีอยู่ที่เดียว ส่วนวารสารทางช้างเผือกส่งให้กับสมาชิกอยู่แล้ว หรือถ้าไม่ใช่สมาชิกก็ซื้อได้ที่ร้านสเปกตรัม อยู่ที่ชั้นล่าง อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ข้างท้องฟ้าจำลอง หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย์ ราคาตามปก บวกค่าส่ง 10 บาท คนเขียนเรื่องดาวใน "สารคดี" คือคุณตระกูลจิตร เป็นสมาชิกเก่าแก่ของสมาคมเหมือนกันครับ
Kanlai Sujareerat (klais@asiaaccess.net.th)สวัสดีครับ คุณวิมุติ วสะหลายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 21 ธ.ค.40 ) ผมได้ไปที่ร้านเซ็นทรัล หัวหมาก และก็ได้พบวารสาร ASTRONOMY แล้ว น่าตื่นตาตื่นใจ รูปสวยๆแยะดี ลองมีวารสารแบบนี้ให้ประชาชนชาวอเมริกันได้อ่านกัน ก็ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมเขาถึงรุดหน้ากว่าเรามากมาย และหลากหลาย ปลายสัปดาห์นี้ ผมจะไปภาคเหนือ ไปเที่ยวเปลี่ยนบรรยากาศครับ และ จะกลับมากรุงเทพฯ วันที่ 4 ม.ค. 2541 หลังจากนั้น ก็จะได้ไปลองถ่ายรูปดาว ที่เขาใหญ่ ถึงวันนั้น จะรายงานให้ทราบอีกครั้งครับ
ครรไล สุจารีรัตน์
thaiastroขอให้ฟ้าใสดาวสวยครับ
Karn Jongvanich (siravach@ksc.th.com)สวัสดีครับผมเป็นคนหนึ่งที่กำลังศึกษาทางด้านนี้อยู่ เสียดายที่ประเทศเราไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องนี้มากเท่าไรนัก ผมอยากจะให้ทางสมาคมช่วยลงภาพสีพร้อมคำบรรยายหรือภาพประกอบเรื่องด้วยครับ ขอบคุณครับ
thaiastroเรียนคุณ Karn,ผมไม่เข้าใจว่าคุณหมายถึงเรื่องไหน เพจอะไร กรุณาส่งมาใหม่ให้ชัดเจนด้วยครับ
From: Ple
It's great. I really like it ^_^
But I'd like to see more frequent updates. |