จดหมายถึง thaiastro

"ศุภชัย ราชพิตร" [sraja@chaiyo.com]

เรียน ท่านบรรณาธิการ ทางช้างเผือก
ผมใคร่ขอทราบว่า "ทางช้างเผือก" ฉบับปฐมฤกษ์ ยังพอมีเหลือหรือไม่? เพราะเห็นระบุว่าเป็น ฉบับที่ ๑ อยู่หลายฉบับ หลาย พ.ศ. ผมอยากได้ไว้สะสม เฉพาะฉบับที่ระบุชัดเจนว่าเป็น ฉบับปฐมฤกษ์ หรือ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ เท่านั้น โปรดแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง ศุภชัย ราชพิตร

thaiastro

เรียน คุณศุภชัย
การตั้งชื่อลำดับของ "ทางช้างเผือก" จะนับ 1 ใหม่ทุกปีครับ จึงมีฉบับที่ 1 หลายฉบับ ทางช้างเผือก ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 ไม่มีเหลือครับ แม้แต่ที่สมาคมฯ เองยังหาไม่พบเลยครับ ขอแสดงความเสียใจด้วย ฉบับที่พอมีเหลือให้สั่งย้อนหลังมีเพียงไม่กี่ฉบับ ก่อนสั่งซื้อควรโทรสอบถามก่อนจะดีที่สุดครับ เพราะเหลือไม่มากนัก รายชื่อฉบับที่ยังเหลือที่บอกไว้ที่อยู่ในเว็บ (หน้า "ทางช้างเผือก" [https://thaiastro.nectec.or.th/mlky/mlkyjnl.html]) ไม่ทันเหตุการณ์สักเท่าไหร่นัก โทรสอบถามจะดีกว่าครับ

วิมุติ วสะหลาย


"thaweedet chainapong" [chut23@hotmail.com]

สวัสดีครับ
ผมมีคำถามที่ข้องใจครับ
1. ทำไมเราเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยว ไม่เต็มดวง
2.มีทางไหมที่ดาวพฤหัสจะกลายเป็นดาวฤกษ์ เพราะว่าดาวพฤหัสมีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ
กรุณาตอบคำถามของผมด้วยครับ

ขอบคุณครับ

thaiastro

1. นอกจากดาวศุกร์ที่มักเห็นไม่เต็มดวงแล้ว ดาวพุธก็เช่นเดียวกันครับ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน มีวงโคจรเล็กกว่าโลก มันจึงมีโอกาสที่จะไปอยู่ในตำแหน่งที่แสงดวงอาทิตย์ทำมุมกับสายตามาก ๆ ได้ ในขณะที่ดาวเคราะห์วงนอก เช่นดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี จะไม่มีโอกาสอย่างนั้น จึงเห็นเป็นดวงกลมหรือเกือบกลมเสมอ
2. เป็นไปไม่ได้ครับ การเป็นดาวฤกษ์หมายความว่า ต้องเกิดปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนภายในดาวได้ ดาวพฤหัสบดีมีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจนมากก็จริง แต่มีมวลน้อยเกินกว่าที่จะทำให้แกนกลางร้อนถึงระดับที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนได้ หากต้องการจะให้ดาวพฤหัสบดีกลายเป็นดาวฤกษ์ จะต้องหามวลมาเพิ่มให้มากขึ้นราว 90 เท่าขึ้นไป ซึ่งไม่รู้จะไปหามาจากไหน ต่อให้รวมดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ได้มวลแค่ดาวพฤหัสบดีสองดวงเท่านั้นเอง ดังนั้นดาวพฤหัสบดีจึงไม่มีทางกลายเป็นดาวฤกษ์ได้ครับ

วิมุติ วสะหลาย


santi pornsophon [saintist@excite.com]

ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับ Home page ที่มี software ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ เช่น คำนวนตำแหน่งของดวงดาวในระบบสุริยะขอบคุณครับ

thaiastro

สวัสดีครับ
ลองไปดูที่
http://astronomy-mall.com/hotlinks/software.htm
http://www.skypub.com/resources/software/freeshare.shtml
มีรายชื่อซอฟแวร์อยู่มากพอควรครับ

วรเชษฐ์ บุญปลอด


"chupong sriseang" [chupongs@hotmail.com]

ถึงคุณ ชีวิตทุกสิ่งเกิดขึ้นบนโลกได้อย่างไร

thaiastro

ขออภัยครับ ช่วยจำกัดกรอบคำถามให้แคบสักนิดจะได้ไหมครับ เพราะคำถามกว้างเหลือเกิน ถ้าจะตอบ อาจต้องเอาบทความทั้งบทความมาลง หากคุณต้องการเช่นนั้นก็ได้ครับแต่เกรงว่าคุณจะต้องรอคำตอบนานเกินไป

วิมุติ วสะหลาย


"chai" [s_kabkyo@hotmail.com]

ดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างไร

thaiastro

คิดว่าเมลไม่สมบูรณ์กระมังครับ เพราะเห็นแต่หัวข้อ ถ้าคำถามมีสั้น ๆ แค่หัวข้อ ก็ขอตอบสั้น ๆ ว่า ส่งด้วยจรวดหรือส่งด้วยยานขนส่งอวกาศครับ หากผมเข้าใจวัตถุประสงค์ของคำถามผิดก็ขออภัยครับ หรือจะเขียนมาถามใหม่ก็ได้ครับ

วิมุติ วสะหลาย


Bavon Rugepong [mailto:bavon9@hotmail.com]

สวัสดี ครับ ผมสนใจอยากได้รับข่าวสารเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ทางe-mail ถ้ามีกรุณาส่งให้ผมทาง E-Mail ด้วยครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง Bavon Rugepong

thaiastro

สวัสดีครับคุณ Bavon Rugepong
ก่อนอื่นต้องขออขอบคุณนะครับที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย ในขณะนี้ ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยบริการข่าวสารเฉพาะบนเว็บไซต์ และหนังสือรายเดือน "ทางช้างเผือก" ทางสมาคมฯ ยังไม่มีความพร้อมในการบริการข่าวสารทางอีเมลล์ จึงขอให้คุณบวรกรุณาติดตามข่าวสารทาง 2 สื่อข้างต้นด้วย หรือหากคุณบวรอยากอ่านข่าวที่ update กว่านี้ สามารถสมัครเป็นสมาชิกสารอัตโฯใติได้ที่เว็บไซต์ต่างประเทศครับ เช่นที่ www.nasa.gov, www.space.com เป็นต้นครับ
แต่อย่างไรก็ดี สมาคมฯ มีแผนที่จะบริการข่าวสารผ่านอีเมลล์ แต่คงต้องรออีกสักระยะครับ

ขอแสดงความนับถือ พรชัย อมรศรีจิรทร


กรุณา วงศ์จันทร์สุ [star_ms@chaiyo.com]

สวัสดีครับทีมงานสมาคมดาราศาสตร์ไทยทุกท่าน เนื่องจากกระผมเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาฟิสิกส์ กำลังทำproject เรื่อง redshift blueshift ของดาวเสาร์ จึงอยากขอคำแนะนำว่าจะหาข้อมูลเรื่องเหล่านี้ได้จาก website ไหนบ้าง เพราะต้องการวัดการ shift ของดาวเสาร์ แต่ไม่แน่ใจว่ากล้องดูดาวที่หอดูดาวสิรินธร จะตรวจวัดได้รึเปล่า จึงใคร่ขอคำแนะนำจากทุกท่านด้วย ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง กรุณา วงศ์จันทร์สุ

thaiastro

สวัสดีครับคุณ กรุณา วงศ์จันทร์สุ
จริง ๆ แล้วถ้าอยู่ มช. น่าจะปรึกษาท่านอาจารย์บุญรักษา และทีมของอาจารย์ท่านจะสะดวกกว่านะครับ เพราะว่าท่านเป็นผู้ดูแลหอดูดาวเชียงใหม่ และหอดูดาวสิรินธรอยู่ครับ
สำหรับเรื่องการวัดค่า red shift/blue shift ลองหาอ่านในแบบการวัดค่าจากดาวฤกษ์ก็ได้นะครับ เพราะว่าหลักการเดียวกัน แต่เรื่องผลของ parallax จะมีผลด้วยครับ ลองดูที่เว็บ
http://www.pbs.org/deepspace/classroom/activity2.html
http://members.tripod.com/~mikelin/doppler1.html
http://www.dustbunny.com/afk/howdo/redshift/redshift.htm
http://www.wncc.cc.ne.us/astronomy/lecture/lecmeas.htm ตัวอย่าง link ข้างต้น ผมหาจาก search engine ชื่อ yahoo.com และ google.com ลองหาดูนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
พรชัย อมรศรีจิรทร


"ศิริวรรณ มะลิกัน" [tonou@chaiyo.com]

เรียน ....สมาคมดาราศาสตร์ไทย
เนื่องด้วยดิฉันนักศึกษา สถาบันราชภัฎมหาสารคาม คณะวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีโปรแกรมวิชาฟิสิกส์อยากทราบว่าทางสมาคมรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์ไหม ถ้าทางสมาคมมีความประสงค์รับนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในนามนักศึกษาโปรแกรมวิชาฟิสิกส์ จึงเรียนมาเพื่อสอบถาม

นักศึกษาโปรแกรมวิชาฟิสิกส์

thaiastro

เรียน นักศึกษาโปรแกรมวิชาฟิสิกส์,
ขณะนี้ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทย ยังไม่มีนโยบายรับนักศึกษาฝึกงาน เนื่องจากทางสมาคมฯ ยังไม่มีรายได้มากพอ และไม่มีสถานที่เพียงพอที่จะดำเนินการเหล่านี้ แต่ยินดีเป็นอย่างยิ่งหากนักศึกษา/นักเรียน/ประชาชน ท่านใดที่กรุณาให้การสนับสนุนสมาคม ทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย ตลอดจนการบริการประชาชน เนื่องจากงานสมาคมฯ ณ ปัจจุบัน ดำเนินการด้วยอาสาสมัครทั้งหมด ยกเว้นเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เพียงจำนวน 1 คน เท่านั้น
อย่างไรก็ดี ทางสมาคมฯ มีโครงการที่จะทำหอสังเกตุการณ์ทางดาราศาสตร์ และมีการวิจัยงานทางด้านวิชาการ ตลอดจนงานเผยแพร่ เมื่อสิ่งเหล่านี้สำเร็จ และมีงบประมาณเพียงพอ ทางสมาคมฯ ก็ยินดีที่จะให้นักศึกษา/นักวิชาการ/นักเรียน/นักดาราศาสตร์ ได้ใช้บริการในส่วนนี้เพื่อเพิ่มทักษะ และก่อให้เกิดความรู้กับประเทศไทยต่อไปในอนาคต

จึงเยนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
พรชัย อมรศรีจิรทร


Nopporn Manoppong [m_nopporn@hotmail.com]

Hi! Please do me a great favour ! May I have some data of the MARS observed by Thai people any part of the coumtry. I observed on the night of 30 - 31 MAY at mid night. It formed a triangle with the star at the base of SAGg - SCORp tail beautifully.The MARS was 45 app. high. It was brighter than the VEGA. The sky was no so cloudy. It was a worm night. I was suurounded by the mosquitoes. I also observed the NGC 6231. SOooo attractive. I also let some of my family and friends know how to find the MARS. Good Luck to all of u who love the MARS, not fighting, just the planet.

Bye now. c u on the MARS.
paa nop

thaiastro

Dear Pa Nop,
I'm happy to see your mail again. Was it a personal observation or public activity? May I suggest that instead of write to only me, you can also post your story to TAS' webboard [https://thaiastro.nectec.or.th/webboard] So many people can read your interesting stories and share experience. It's even better if you write your activity report for TAS' Milky Way Journal. Our children member would enjoy reading it.

Regards,
Wimut Wasalai.