จดหมายถึง thaiastro |
Jumphol Hemakheerin (jumphol@inet.co.th)สวัสดีครับเว็บเพจของคุณมีคำสะกดผิดนะครับ คำว่า "ใหน" น่ะ เขียนว่า "ไหน" ครับ ผิดทุกจุดเลยครับ ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย
thaiastroขอบคุณมากครับ ผมจะรีบแก้โดยเร็วที่สุดครับThai Emb. Beijing (thaibej@public.bta.net.cn)ผมขอรบกวนถามหน่อยหนึ่งเกี่ยวกับตัวเลขความสว่างของดาวตามหนังสือหรือ homepage คืออย่างไรครับ เช่นเทียบกับอะไร ครับผมจะได้ประมาณได้ว่าจะสว่างขนาด ไหน ขอบคุณมากครับ
thaiastroผมก็คิดว่าต้องมีคนสงสัยเรื่องนี้แน่นอน คงจะต้องเขียนเรื่องเกี่ยวกับความสว่างของดวงดาวลงใน homepage เร็ว ๆ นี้แล้วความสว่างของดาววัดเป็น ค่าอันดับความสว่าง (Magnitude) ตัวเลขอันดับความสว่างยิ่งสูง หมายถึงยิ่งสว่างน้อย ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าคือดาวซิริอุส มีอันดับความสว่างประมาณ -1 ดาวที่จางที่สุดที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ ดาวที่มีอันดับความสว่าง 6 ถ้าในกรุงเทพ ๆ สงสัยจะไม่ไหว เห็นได้อย่างมากก็ประมาณดาวที่มีอันดับความสว่าง 3-4 เท่านั้น อย่างดวงอาทิตย์นี่สว่างมาก มีอันดับความสว่างประมาณ -27 (ไม่แน่ใจ) สมมติดาวสองดวงมีอันดับความสว่างต่างกัน 1 หมายความว่ามีความสว่างต่างกันประมาณ 2.5 เท่า ดังนั้นดาวที่อันดับความสว่าง 1 ก็จะสว่างกว่าดาวที่มีอันดับความสว่าง 6 ถึง 100 เท่า ดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดคือดาวศุกร์ ช่วงที่สว่างที่สุดคือประมาณ -4 กว่า ๆ ดาวเสาร์ประมาณ 0 หรือ 1 ยูเรนัสประมาณ 6 จึงมองเห็นยากมาก วารสารทางช้างเผือกเล่มล่าสุดมีเรื่องเกี่ยวกับความสว่างของดวงดาวอยู่พอดี เขียนโดย ผศ.ผหล จิตติยศรา เขียนได้ดีทีเดียวครับ คงจะพอเข้าใจนะครับ ถ้ายังมีข้อสงสัยก็เขียนมาถามเพิ่มได้นะครับ
Worachate Boonplod (worachateb@hotmail.com)Hi,I'm a member of TAS. You may find my name in an article in "Milky Way" journal about the report on 1995 Total Solar Eclipse at Klong Lan, Kampaengpetch. I 'm a co-writer of Dr. David Ruffolo, which is my advisor for Senior Project. I currently create my home page about eclipse in English on WWW. It's located at http://www.geocities.com/CapeCanaveral/7137/. If it's possible, I would like to help you write some articles for Web page or TAS' journal in Thai. Some events in the future such as Lunar Occultation in October 1997 and January 1998 are interesting.
thaiastroHi, I'm glad to hear from you. Any article is welcome. TAS' Milky Way Journal has been lacking of events almanac for a long time. It would be great if TAS has one more hand to deal with it. To submit an article to TAS webpage, send to me (wimut@mis.mua.go.th). To submit an article to MWJ, send to thaiastro@inet.co.th.I may put a link to your Eclipse page if you permit. Please reply if you allow me to do so. Also with other astronomical webpages in CU. Worachate Boonplod (worachateb@hotmail.com)Link to my web page freely. I will add TAS page to my links page soon. Can you download file from WWW? I can post a Winword file (*.doc) or HTML and pictures (*.gif,*.jpg) on our physics server and tell you to dowload from my directory, if it's easy for you. However, I can send them via e-mail (files).
thaiastroI can extract the attachments. E-mail is the most convenient way for me. Thanks.
BA_WUB@HAL.LAMAR.EDUI was a member of the Thai Astronomy society. Now I'm studying in USA. I just visited the society's homepage before sending this E-Mail. It's really cool, great, it keeps me updated with things I always need to know. Several articles that you wrote are also terrific. However, there is one comment from me. There is one hyperytext indicating that I can get more information about the topics by an American guest speaker (Sorry! I cannot remember his name) but when I clicked it, It led me to the Star Party Page and I could not get the information I wanted. Anyway, I'm quite confident to say that this is the BEST homepage I've ever visited (I think even some AMERICAN homepages cannot even beat you).I'm sorry that I could not send this comment to wimut@nsctc.mua.go.th. I hope that you can get this message through this address also. By the way, I have one question. "How many branches are there in Astronomy? What are they?" Hope to hear from you soon. I have no Thai keyboard so I have to use English.
thaiastroDear Worapote,Thanks for your comments. I think the link you are talking about is the link of the Lecture & Party page. You might have followed this link from a back issue bulletin page or "What's new" page. You could not see the information of the event because the Lecture & Party page is changed and updated as the event elapse. The guest lecturer is Australian, not American. I forwarded your question to the president of TAS to answer yesterday. I'll reply you immediately after I get the answer from him.
BA_WUB@HAL.LAMAR.EDU"How many branches are there in Astronomy? What are they?"Hope to hear from you soon.
thaiastroA.Nibondh, the president of TAS has answer your question in the attached file QA.DOC. It's also put in the TAS webpage in the section Astronomy FAQs.
chuntase seenapan (chuntase@hotmail.com)น้องอยากทราบว่า นายริชาร์ด นูน ได้เสนอทฤษฎีว่าจะเกิดภัยพิบัติขั้นกับโลกในวันที่ 5 พฤษภาคม 2534 ทฤษฎีมีว่า ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะจะโคจรมาเรียงกันเป็นเส้นตรง จนส่งผลให้แกนเอียงของโลกเปลื่ยนไป และเกิดภัยพิบัติมากมาย ไม่รู้ว่าทฤษฎีดังกล่าวเชื่อถือได้หรือไม่ กรุณาตอบกลับน้องด้วย
thaiastroมีคนถามคำถามแบบนี้มาหลายคนแล้ว ไม่ทราบว่าได้รับข่าวมาจากไหนหรือครับ?อย่าตกใจไปเลยครับน้องจันทร์เทศ แรงดึงดูดของดาวเคราะห์แต่ละดวงมีผลต่อโลกเราน้อยมาก ๆ ที่ว่ามีผลต่อแกนเอียงของโลกนั้นจะว่าเป็นศูนย์ก็ไม่ใช่แต่ก็คงจะเกือบ ๆ ศูนย์ และอีกอย่าง โลกเราก็มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่ช่วยรักษาแกนเอียงของโลกเราให้คงที่อยู่ด้วย เหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์มาเรียงกันนั้น จะทำให้เรามองเห็นว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นมากระจุกรวมกันอยู่ ดูแล้วเป็นปรากฏการณ์ที่สวยงามเรียกว่า conjunction ครั้งที่จะเกิดในปี 2543 นั้นพิเศษหน่อยจึงเรียกว่า grand conjunction อย่าตกใจไปเลยครับ เตรียมตัวไว้ถ่ายรูปเหตุการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมนี้เอาไว้ดีกว่า
Lukkana Junloy (lukkana@hotmail.com)ดิฉันลัคนา จันทร์ลอย เคยถามมาถึงคุณเรื่อง ดาวเคราะห์ที่จะโคจรมาเรียงกันเป็นเส้นตรง ดิฉันอ่านพบใน นิตยสาร ดิฉัน ซึ่งได้ยกทฤษฎีของนายริชาร์ด นูนและนายริชาร์ด คีนิงเกอร์ ที่ว่าโลกจะเกิดภัยพิบัติขึ้นใน ปี 2543ต้องขออภัยด้วยที่เคยส่ง mail มา ดิฉันใช้ภาษาไทยเครื่องคงรับไม่ได้ ไม่ทราบว่าที่ส่ง mail มาเมื่อวานคุณได้รับหรือยัง ดิฉันไม่ได้คำตอบเลย กังวลว่าเหตุการณ์ที่นายนูนพูดจะเกิดขึ้นจริง ๆ คงน่ากลัวมาก ดิฉันจะรอคำตอบนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
thaiastroขออภัยครับที่ตอบล่าช้า เนื่องจากมีคนถามคำถามนี้หลายคน ผมได้ตอบคำถามนี้ไปยังผู้ถามแล้วบ้างบางคนแต่ตอบสั้น ๆ บางส่วนเท่านั้น ฉบับนี้ขอตอบเต็มยศครับเพราะหนังสือดิฉันลงเรื่องนี้นี่เอง มิน่าเล่า คนที่ถามมาถึงมีแต่ผู้หญิง เหตุการณ์นี้เรียกว่า conjunction ครับ คือเหตุการณ์ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นดาวเคราะห์ (อาจรวมถึงดวงจันทร์) บนท้องฟ้าออกันอยู่หรือกระจุกกันอยู่ในบริเวณแคบ ๆ เนื่องจากดาวเคราะห์เหล่านั้นมาเรียงกันเป็นแนวเดียวกัน แต่ไม่ถึงกับเป็นเส้นตรงหรอกครับ เป็นแนวเบี้ยว ๆ คดไปคดมานิดหน่อย โดยปกติแล้วปรากฏการณ์ conjunction เกิดขึ้นบ่อยมาก อาจเกิดจากดาวเคราะห์ 2 หรือ 3 ดวง มาเรียงกัน ในกรณีของวันที่ 5 พฤษภาคม 2543 นั้น พิเศษหน่อยคือมีดาวเคราะห์เรียงกันถึง 5 ดวง รวมทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ด้วย เรียกว่า grand conjunction ดาวเคราะห์ทั้ง 5 นี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโตนั้นอยู่ทางทิศอื่น แรงดึงดูดของดาวเคราะห์เหล่านั้น แม้ว่าจะมาเรียงตัวรวมพลังกันแล้วแต่ก็ยังน้อยมาก ๆ เพราะดาวเคราะห์เหล่านั้นอยู่ไกลมาก ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัสก็อยู่ไกลเกินไป ส่วนดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็เล็กนิดเดียว แทบจะไม่มีผลใด ๆ กับการเคลื่อนที่หรือแกนเอียงของโลกเลย ตัวเลขนี้ถึงจะไม่ใช่ศูนย์แต่ก็ใกล้ ๆ ศูนย์ พอจะถือได้ว่าไม่มีผลเลย ไม่ต้องตกใจครับ วัตถุท้องฟ้าที่จะมีผลต่อโลกจริง ๆ ก็มีเพียงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เท่านั้น อิทธิพลแรงดึงดูดของดวงจันทร์มีมากกว่าดวงอาทิตย์เนื่องจากอยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์มาก(400 เท่า) จะเห็นได้ว่าดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นวัตถุที่หนักที่สุดในระบบสุริยะยังมีผลน้อยกว่าดวงจันทร์ แล้วอย่างนี้ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งเบากว่าดวงอาทิตย์นับร้อยนับพันเท่าและไกลกว่าดวงอาทิตย์ตั้ง 6-7 เท่า จะมามีผลร้ายแรงกับโลกได้อย่างไร นอกจากนี้ ดวงจันทร์ของเรายังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมแกนเอียงของโลกให้คงที่อีกด้วย เนื่องจากโลกเรามีดวงจันทร์ที่ใหญ่มาก ขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะรั้งโลกเอาไว้ด้วยทำให้แกนเอียงของโลกคงที่ หากปราศจากดวงจันทร์แล้ว แกนเอียงของโลกอาจไม่มีเสถียรภาพอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ดาวอังคารมีแกนเอียงใกล้เคียงกับโลกคือ 24 องศา แต่ขาดเสถียรภาพอย่างมาก นักดาราศาสตร์เชื่อว่าในอดีตแกนเอียงของดาวอังคารอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจเคยเอียงมากถึง 60-70 องศาก็เป็นได้ เนื่องจากดาวอังคารไม่มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่อย่างโลกที่จะคอยรักษาแกนเอียงให้ ดาวอังคารถึงจะมีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวงแต่ก็เล็กกระจิดริด แทบไม่มีผล เหตุการณ์ grand conjunction ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก grand conjuction อาจมีบ่อยถึง 2 ครั้งต่อศตวรรษ ถ้าเหตุการณ์นี้มีผลร้ายแรงกับโลกจริง ก็คงเกิดไปนานแล้ว และพวกเราก็คงไม่ได้มีชีวิตอุบัติขึ้นมาบนโลกนี้อย่างทุกวันนี้ใช่ไหมครับ ผมกำลังจะลงเรื่องของ grand conjunction ลงใน homepage ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยอยู่พอดี จะมีรูปแสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่มาเรียงกันให้ดูด้วย คาดว่าคงจะเสร็จภายในวันสองวันนี้ครับ โปรดติดตาม ถ้าคำตอบผมยังไม่กระจ่าง ถามมาใหม่ก็ได้นะครับ
|