จดหมายถึง thaiastro |
Thepparit Bunditwattanarwong (debharit@hotmail.com)1. ถ้าเป็น Vixen 4 นิ้วที่คุณพรชัยแนะนำจะประมาณ 82,000 บาทครับ ยิ่งแพงเข้าไปใหญ่เลย ไม่ทราบทำไมราคาเท่ากับ Celestron รุ่น C-8 เลยครับ?2. เคยอ่านพบว่า ถ้าเป็นกล้องเป็นชมิดท์แคสซิแกรน เมื่อใช้ไปนาน ๆ สารที่เคลือบกระจกอยู่จะเสื่อม จริงหรือไม่ครับ? 3. อยากปรึกษาคุณพรชัยช่วยแนะนำร้านจำหน่ายกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ ให้หน่อยครับ 4. ผมอยากอ่านหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์มากครับ จะเป็นไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ครับ แต่ไม่ทราบมีจำหน่ายที่ไหนบ้าง? พอทราบบ้างไหมครับ thaiastroเรียนคุณ เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์สำหรับคำถามของคุณนั้นผมแบ่งเป็นข้อ ๆ นะครับ แต่ว่าก่อนที่จะตอบคำถามผมอยากจะบอกเกี่ยวกับกล้องของคุณก่อนนะครับ เริ่มที่กล้องโทรทรรศน์ Celestron ของคุณก่อน กล้องรุ่นี้เป็นกล้องที่มีคุณภาพดีมากครับ ไม่ถึงกับสุดยอด แต่ว่าคุณภาพเมื่อเทียบกับราคานั้นอยู่ในอันดับต้น ๆ ในโลกนี้เลย และกล้องสองตาของคุณ 10*50 ก็ใช้ได้ดีทีเดียวนี่ครับ เพียงแต่อาจจะลำบากสักหน่อยสำหรับการถือนาน ๆ ผมมีข้อแนะนำสำหรับขาตั้งกล้องสองตาคือ คุณไปซื้อขาตั้งกล้องถ่ายภาพมาก็ได้ครับ แล้งลองหาที่ติดกล้องสองตากับขาดูครับ น่าจะเป็นทางออกที่ดีทีเดียว
สำหรับคำถามของคุณนะครับ 2. จริงครับ กล้องกระจกจะดูแลรักษายากกว่ากล้องแบบเลนส์พอสมควรครับ แต่ว่ากล้องทุกกล้องก็มีวิธีการรักษานะครับ ไม่ใช่ว่าสารเคลือบจะหลุดร่อนออกได้ง่าย ๆ โดยปกติสารเคลือบพวกนี้จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ถ้าสารเคลือบนั้นหนาพอ หรือว่ามีคุณภาพดีพอ ก็จะยืดอายุการใช้งานได้นานพอสมควรทีเดียวครับ ส่วนเลนส์นั้น ก็มีสารเคลือบกันสะท้อนเหมือนกันนะครับ(Multicode , กล้องแบบกระจก เมื่อเคลือบสารสะท้อนแสงแล้ว จะต้องเคลือบสารนี้ด้วย เพื่อป้องกันการสะท้อนในมุมที่ไม่ต้องการ และป้องกันสาระสะท้อนทำปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนในอากาศ) แต่ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว กล้องเลนส์จะทนทาน และมีอายุการใช้งานนานกว่ากล้องแบบกระจกครับ 3. ร้านที่คุณสามารถซื้อกล้องได้นั้นในเมืองไทย ผมเห็นอยู่ 2 ร้านครับ คือ TMK และ อีกร้านหนึ่งจำชื่อไม่ได้ แต่ว่าจะขายแต่เฉพาะรุ่นใหญ่ ๆ ราคาตั้งแต่ แสนบาทขึ้นไป ผมแนะนำว่าคุณควรจะสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตดีกว่าครับ ราคาจะถูกกว่ากันประมาณครึ่งหนึ่งเห็นจะได้ ลองดูที่ http://www.skypub.com นะครับ ที่นี่เป็นเว็บไซต์ดาราศาสตร์ที่ดังมาก แล้วก็จะมีลิงก์ ไปที่ร้านขายกล้องดังๆ ในอเมริกาครับ หรืออาจจะลองดูที่ http://www.oriontel.com ที่นี่ก็มีกล้องพร้อมอุปกรณ์เสริมมากมายครับ แต่ว่าต้องซื้อโดยใช้บัตรเครดิตนะครับ ของพวกนี้เวลาสั่งซื้อแล้วจะเร็วมากครับ และมีการรับประกันการส่งของด้วยครับ เมื่อคุณสั่งของแล้ว คุณสามารถติดตามการส่งของของคุณผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาครับ โดยมากจะส่งมาถึงเมืองไทยไม่เกิน 1 อาทิตย์ครับ เร็วมาก และมีคุณภาพดีครับ ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องคุณภาพ 4. ร้านหนังสือดาราศาสตร์ ถ้าเป็นหนังสือภาษาไทยแบบชั้นสูงก็ต้องดูตามศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย ที่ที่มีเปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ครับ เช่นที่จุฬาฯ เชียงใหม่ รามคำแหง ศิลปากร เป็นต้นครับ ส่วนเบื้องต้นไม่ค่อยมีหรอกครับที่ผมรู้จัก ถ้าจะแนะนำก็เป็นที่ร้าน Spectrum กับร้านใจแสตมป์ครับ ซึ่งตั้งอยู่ที่ท้องฟ้าจำลองครับ สำหรับ Text Book คุณสามารถหาอ่านและซื้อได้ที่ร้าน Kinokuniya(อ่านว่า คิ-โน-คุ-นิ-ยะ) อยู่ที่ห้าง The Emporium ชั้นสาม สุขุมวิท 24 ติดกับสวนเบญจสิริ ใกล้ ๆ โรงแรม Imperial Queen Park ที่นี่หนังสือดาราศาสตร์มีเป็นชั้น ๆ เลยครับ รับรองว่าถ้าคุณมาที่นี่แล้วจะติดใจครับ ผมก็ไปใช้บริการที่นี่บ่อยเหมือนกันครับ ขอให้คุณมีความสุขกับการศึกษาดาราศาสตร์มาก ๆ นะครับ มีอะไรก็ถามมาได้นะครับ ยินดีตอบเต็มที่ครับ พรชัย อมรศรีจิรทร Thepparit Bunditwattanarwong (debharit@hotmail.com)กล้อง 60 mm สามารถสังเกตดาวเคราะห์ได้ดีหรือไม่ครับ และถ้ากำลังขยาย 176x จะมากไปรึเปล่าครับ ภาพจะมัวรึเปล่าครับthaiastroเรียนคุณเทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนวงศ์กล้องขนาดนี้สามารถสังเกตดาวเคราะห์ได้ครับ เช่น มองเห็นเสี้ยวของดาวศุกร์ หลุมดวงจันทร์ ขั้วน้ำแข็งของดาวอังคาร (ขณะที่ดาวอังคารโคจรเข้าใกล้โลกเท่านั้น) เมฆดาวพฤหัสบดี และบริวารทั้ง 4 ดวง, วงแหวนดาวเสาร์ เป็นไงบ้างครับกล้องที่คุณว่ามา แต่ว่าจะบอกว่าแค่มองเห็นอย่างเดียวไม่ได้นะครับ เพราะว่าต้องดูกันที่คุณภาพของภาพด้วยครับ ผมไม่ทราบว่ากล้องของคุณใช้เลนส์อะไรเป็นเลนส์วัตถุ ถ้ากล้องคุณใช้เลนส์อรงค์ (Achromatic lens) ภาพที่ได้จะมีคุณภาพดีพอสมควร ถ้าหากเป็นเลนส์ธรรมดา คุณภาพที่ได้จะแย่มาก และไม่เห็นอะไรนอกจากพื้นผิวดวงจันทร์ คุณภาพของภาพที่ได้จากกล้องขนาดนี้ เราจะพิจารณาอยู่ 3 เรื่องคือ 1. กำลังแยกภาพ (Resolution) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการแยกภาพ หรือเห็นรายละเอียดของภาพ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุยิ่งใหญ่ ค่านี้จะมากตาม ถ้าเป็นกล้องของคุณ กำลังแยกภาพคือ 2.36 พิลิปดา (2.36 arcsecond) ความหมายคือ ถ้าคุณเล็งกล้องไปบนท้องฟ้า ลองส่องดาวดู ดาวที่อยู่ใกล้กันกว่า 2.36 พิลิปดา กล้องคุณสามารถไม่สามารถแยกภาพดาวออกมาเป็น 2 ดวงได้ ถ้ามากกว่า ก็จะแยกภาพดาวออกมาได้ 2. อัตราส่วนความยาวโฟกัส (F-Ratio) เป็นค่าดัชนีที่บ่งบอกว่าภาพที่ได้รับนั้นมีความสว่างมากน้อยเพียงใด กล้องของคุณมีค่า F-Ratio = ความยาวโฟกัส (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) / 60 ถ้าตัวเลขยิ่งน้อย ภาพที่ได้จะสว่างมาก ถ้าค่ามาก ภาพที่ได้จะค่อนข้างมืด 3. กำลังขยาย (Magnification) เป็นกำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ หาได้จาก ความยาวโฟกัสเลนส์วัตุถุ/ความยาวโฟกัสเลนส์ตา (ใช้หน่วยวัดเดียวกันทั้งสองค่า) ค่าที่ได้จะมีค่าเป็นเท่า กล้องที่มีกำลังขยายมาก ไม่ได้แปลว่าเป็นกล้องที่มีคุณภาพดี กล้องที่มีคุณภาพดี จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นทั้ง 3 ประการ รวมทั้งความคมชัดของภาพด้วย กล้องขนาด 60 มิลลิเมตร จะเห็นภาพดาวได้ดีพอสมควร แต่ว่าขาดรายละเอียดไปมาก ถ้าคุณจะซื้อมาดูเล่นก็ได้ แต่ว่าถ้าซื้อมาเพื่อศึกษา ผมแนะนำว่าซื้อขนาดหน้ากล้องใหญ่กว่านี้ดีกว่า ประมาณ 4 นิ้ว ถ้าเป็นไปได้ เวลาเราซื้อกล้อง เราจะไม่พิจารณาที่กำลังขยายมากนัก เนื่องจากว่าถ้าเราส่องดูดาวเคราะห์บนฟ้า เราก็ไม่สามารถใช้กำลังขยายได้มากเท่าไรนัก เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพเลนส์ สภาพบรรยากาศ และก็คุณภาพของขาตั้งกล้อง เพราะว่าด้วยกำลังขยาย 176 เท่าอย่างที่คุณบอก กล้อง 60 มิลิเมตรตัวนี้น่าจะได้ภาพที่ไม่ค่อยจะคมชัดเท่าไรนัก เพราะว่าเกินขอบเขตของเลนส์ตัวนี้แล้วครับ ค่าที่เหมาะสมของเลนส์ขนาดนี้ น่าจะมีกำลังขยายไม่เกิน 150 เท่า ถ้าภาพที่ได้มีความคมชัดอยู่ แสดงว่ากล้องของคุณมีคุณภาพดีมาก คุณอย่าลืมว่าด้วยกำลังขยายขนาดนี้ คุณจะต้องมีขาตั้งกล้องที่ดีพอสมควรครับ เพราะว่ากล้องจะสั่นไหวได้ง่ายมาก อีกทั้งไม่มีระบบตามดาวอัตโนมัติด้วย จะทำให้ดูดาวได้ลำบากพอสมควร แต่ว่ากล้องขนาดนี้ก็เป็นการเริ่มต้นศึกษาท้องฟ้าได้ดีนะครับ สมัยที่ผมเริ่มฝึกดูดาว ผมก็ใช้กล้องที่ทำเองครับ คุณภาพแย่มาก ๆ ครับ แต่ว่าไม่สำคัญเท่ากับความตั้งใจของเราครับ
Pornchai Amornsrijiratorn sa (sarayudh@infonews.co.th)Thanks for your help. And more question?Do you known about Dr. Chrump who studies about lunar orbit and predicts the equation for lunar circle? Does The Thai Astronomy Society concern about Acheoastronomy such as Suriyayartra (old Thai astrological sidereal calendar). I have seen in the internet more about acheoastronomy and I afraid, we are Thai, of no one of thai people study about our Thai sidereal calendar with sceintific maner. sarayudh@infonews.co.th thaiastroIn TAS, Acharn Aree Sawadee is the only one person who read the textbook.
regards, Pasakorn Iem-sumarng (ipas@rocketmail.com)สวัสดีครับช่วงนี้ทำไม homepage ของสมาคมดาราศาสตร์จึงช้านักละครับ บางทีต้อง reload กัน หลายครั้ง หรือบางครั้งก็ขึ้น dialog ว่า could be server down แต่ถ้าไปที่ nectec เอง ก็จะวิ่งปกตินะครับ ช่วงนี้ที่ศรีราชาฝนตกทุกวัน ท้องฟ้าไม่มีดาว เลยไม่ค่อยได้แหงนหน้าครับ แต่ก็ดีทำให้อากาศเย็นสบาย ผมใช้ NT 4.0 Thai Enable จะมีปัญหาตรงตัว ท ทหาร มันจะเป็นสี่เหลี่ยมครับ พอจะมีคำแนะนำไหมครับ อ้อ ผมทำ homepage ที่ http://www.geocities.com/Tokyo/Island/1578 ลองเข้าไปติชมหน่อยครับ จะได้เก็บเอา มาปรับปรุง ภาสกร เอี่ยมสำอางค์ thaiastroเรียนคุณ Pasakorn Iem-sumarngขอคุณครับที่คุณได้ติดตามข่าวสารดาราศาสตร์จากโฮมเพจของสมาคมดาราศาสตร์ไทย และยังส่งข้อเสนอแนะข้อติชมมาอีก สำหรับปัญหาเรื่องดังกล่าว ผมได้ตรวจสอบดูแล้วครับ ปรากฏว่าช้าอย่างที่คุณว่าจริงครับ ผมคิดว่าน่าจะเกิดจากสายสื่อสารภายในครับ ยังไงผมจะรีบแก้ไขด่วนเลยครับ ขอบคุณมากนะครับที่ช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบ สำหรับปัญหาเรื่อง ท เป็นสี่เหลี่ยมนั้น เท่าที่ผมเคยเจอก็คือ คิดว่ารหัสตัวอักษรไม่ตรงกันครับ ไม่ทราบว่าคุณใช้ font อะไรครับ โดยปกติคุณต้องใช้ font ตระกูล UPC ครับ ถึงจะไม่มีปัญหาดังกล่าวครับ พรชัย อมรศรีจิรทร Pasakorn Iem-sumarng (ipas@rocketmail.com)สวัสดีครับผม e-mail มาเมื่อวานนี้ แล้วตอนเช้าผมเรียกมาที่โฮมเพจของสมาคมใหม่ ปรากฏว่าวิ่งดีมาก แต่ได้ประมาณชั่วโมงเดียวเอง "server could be down or not respond" อีก กำลังอ่านจดหมายถึงสมาคมอยู่แต่ก็เกือบหมดแล้วครับ พอดีอ่านไปเจอจดหมายจากคุณ ลัคณา จันทร์ลอย ที่ถามถึงเรื่อง sun outage ไม่ทราบว่าได้คำตอบหรือยัง ถ้ายังผมก็พอจะมีคำตอบครับ ขอแนะนำนิดนึงครับ ในส่วนจดหมายถึงสมาคมน่าจะทำ link ตรง e-mail address ด้วยนะครับ อย่างกรณีของคุณลัคณา ถ้ามี link ผมก็อาจจะถามเธอไปเลยก็ได้ว่า ได้รับคำตอบ หรือต้องการรายละเอียดอะไรอีกบ้าง คำแนะนำคงเท่านี้ละครับ ส่วนอื่น ๆ nice work อยู่แล้ว ภาสกร เอี่ยมสำอางค์ thaiastroช่วงนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คงจะเรียบร้อยในเร็ววัน เรื่อง Sun outage จนถึงบัดนี้ผมก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากคนที่ถามไปเลย หากคุณทราบกรุณาบอกด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับวิมุติ วสะหลาย service (ser@ns.lib.mut.ac.th)สวัสดีค่ะดิฉันต้องการทราบข้อมูลของกล้องดูดาวสำหรับมือสมัครเล่น ดิฉันทำงานอยู่แถว ๆ หนองจอก ฟ้าโปร่งเป็นบางวัน แต่ก็ไม่ต้องถ่อไปดูถึงต่างจังหวัด ขอความกรุณาช่วยบอกรุ่นและราคาที่เหมาะสม พร้อมกับสถานที่ขายแก่ดิฉันด้วย ขอบคุณนะคะ
ดนยา นรเศรษฐ thaiastroก่อนอื่นต้องสำรวจงบก่อนครับมีกล้องโทรทรรศน์ที่พอใช้ได้น่าจะประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป จริง ๆ กล้องราคาต่ำกว่านี้ก็มีครับ เห็นอยู่บ่อย ๆ ตามห้างและร้านขายกล้องและที่โฆษณาตามหนังสือพิมพ์ บางตัวแค่สามพันกว่าบาท แต่ผมไม่แนะนำได้ซื้อกล้องเกรดนี้เด็ดขาด เพราะคุณภาพต่ำเกินกว่าจะยอมรับได้ ด้วยราคา 20,000 บาทน่าจะได้กล้องแบบหักเหแสงประมาณหน้ากล้องสักสองนิ้วเห็นจะได้ หรือถ้าไปซื้อกล้องแบบสะท้อนแสงแบบนิวโตเนียนก็อาจจะได้ถึงขนาด 4-6 นิ้ว ใหญ่โตเอาการ แต่คุณภาพอาจจะด้อยลงบ้างเล็กน้อย การเลือกซื้อก็มีข้อควรพิจารณาพอสมควร เช่น คุณภาพของเลนส์ การเคลือบเลนส์ เลนส์ที่ดีควรจะมีการเคลือบจนดูเหมือนกับเป็นเลนส์ทึบ ๆ ถ้ามองเข้าไปทางเลนส์วัตถุแล้วเห็นกลไกข้างในใสแจ๋วก็ไม่ดีนัก ขนาดหน้ากล้องเป็นตัวที่จะบอกว่าภาพที่ได้จะสว่างมากเท่าใด ถ้าหน้ากล้องแคบก็จะสว่างน้อย ถ้าหน้ากล้องกว้างก็จะสว่างมาก อย่าลืมว่ากำลังขยายแสงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากำลังขยายภาพ โดยทั่วไปราคาของกล้องมักจะขึ้นกับขนาดหน้ากล้องเป็นสำคัญ โดยทั่วไปเมื่อซื้อกล้องโทรทรรศน์จะได้พร้อมขาตั้งด้วยเป็นชุดเดียวกัน ระบบขาตั้งกล้องที่ดีควรเป็นแบบอิเควตอเรียล (ดูคด ๆ เอียง ๆ) เพราะจะมีแกนหมุนที่สอดคล้องกับการหมุนท้องฟ้า อีกแบบหนึ่งคือแบบอัลตาซิมุท (ปรับมุมราบและมุมเงย) แบบหลังนี้จะถูกกว่ามาก เมื่อดูกล้องให้พิจารณาเรื่องของขาตั้งกล้องด้วย เพราะขาตั้งเป็นส่วนที่สำคัญมาก บางทีราคาของส่วนขาแพงกว่าตัวกล้องเสียอีก ส่วนเรื่องยี่ห้อและรุ่นคงมีให้เลือกไม่มากนัก ในเมืองไทยเห็นมีขายยี่ห้อ Celestron, Vixen, Televue แต่ละยี่ห้อล้วนคุณภาพดีทั้งสิ้น ลองดูในโฆษณาปกหลังของวารสารทางช้างเผือกดูสิครับ เป็นบริษัทที่นำเข้ากล้องโทรทรรศน์จากต่างประเทศ หรืออาจจะไปดูในโฆษณาในวารสารต่างประเทศเช่น Astronomy หรือ Sky & Telescope ก็ได้ มีมากมายตาลายไปหมด ตามห้างใหญ่ ๆ ในกรุงเทพ ๆ คิดว่าหาซื้อได้ไม่ยาก จริง ๆ แล้วสำหรับมือสมัครเล่นควรเริ่มต้นด้วยกล้องสองตาก่อนนะครับ กล้องสองตาคุณภาพดี ๆ ขนาดเหมาะมือตัวหนึ่งราคาเพียงไม่ถึงหมื่น ในขณะที่ถ้าเอาเงินจำนวนนี้ไปซื้อกล้องโทรทรรศน์ก็จะได้แค่กล้องเลว ๆ มาตัวหนึ่งเท่านั้น ถ้าจะซื้อกล้องสองตาให้ดูตัวเลขที่บอกกำลังขยายและขนาดหน้ากล้องซึ่งจะเขียนเป็น 7x40, 10x50 เป็นต้น ตัวเลขข้างหน้าตัว x คือกำลังขยาย ตัวเลขข้างหลัง x คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้องหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดยทั่วไปกล้องสองตาที่เหมาะกับการดูดาวคือ 7x40 จนถึง 10x50 ไม่ควรเลือกกล้องที่มีกำลังขยายมากกว่านี้เพราะกล้องจะสั่นมาก ดูดาวไม่รู้เรื่อง ถ้าเลือกตัวหน้ากล้องแคบอาจจะทำให้มุมของภาพแคบเกินไป ดูไม่สนุก ถ้าเลือกใหญ่เกินไปก็จะราคาแพงและหนักด้วย 10x50 น่าจะดีที่สุดครับ
วิมุติ วสะหลาย DARARAT YUENCHAWEEWON (a38h4153@daisy.bu.ac.th)Hello!My name is Dararat. I have some questions I want the answers. 1. What province in Thailand that has maximum meteor shower? 2. Where can I find the history of meteor shower?
Sincerely yours, thaiastroSorry for late reply.1. A meteor shower is not a place-specific phenomenon. It is visible in a very vast area. In case of a small country like Thailand, observers in every province should see virtualy the same abundance of the shower. 2. Try Sky & Telescope's Online Meteor page (http://www.skypub.com/meteors/meteors.html). It also has many links to meteor-related webpages.
Regards, Rattapol Sirijearanai (rattpol@mail.cscoms.com)สวัสดีครับผมลองส่งภาพที่ผมถ่ายไว้มาเผื่อว่าจะได้ลงในห้องภาพดาราศาสตร์ของโฮมเพจสมาคมดาราศาสตร์ไทย ภาพที่ผมถ่ายเป็นภาพปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์เคลื่อนมาอยู่ใกล้กันมากที่สุด (conjunction) ซึ่งผมได้รับข้อมูลวันและเวลา ดังกล่าว จากโฮมเพจสมาคมดาราศาสตร์ไทย ภาพชุดแรก (conj1_1 , conj1_2) เป็นภาพดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ค่ำวันที่ 21ม.ค.2541ประมาณ19.00น. ภาพชุดที่สอง (conj2_1 , conj2_2 , conj2_3) เป็นภาพดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี กับดวงจันทร์เสี้ยว เช้ามืดวันที่ 23เม.ย.2541 ภาพเหล่านี้ผมถ่ายโดยใช้กล้อง Nikon F90x, lens AF nikkor 35-105mm D, Teleconverter2X, film slide FUJI Provia100, Direct print แล้ว scan ปรับแต่งภาพเล็กน้อยโดยใช้ Photoshop (เพิ่มcontrast และลบ artifact พวกรอยเศษฝุ่นผงที่ติดบนภาพเวลา scan) ภาพเหล่านี้อาจเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานานพอสมควร แต่ผมคิดว่าเป็นภาพที่ผมภูมิใจมากชุดหนึ่ง และอยากเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เห็น หากท่านใดมีข้อติชม สามารถตอบกลับมาได้ที่ Rattapon Sirijiaranai ขอบคุณมากครับ /รัฐพล thaiastroเรียนคุณรัฐพลภาพถ่ายของคุณเป็นภาพที่สวยมากครับ ผมจะส่งต่อให้คุณวิมุติครับ คุณวิมุติจะทำการนำขึ้นห้องภาพท้องฟ้าให้ครับ ขอบคุณคุณรัฐพล มากนะครับ หากคุณรัฐพลมีภาพถ่ายทางดาราศาสตร์อีก ก็ขอให้ส่งมาได้เลยนะครับ จะได้เป็นการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ด้วยครับ และถ้าไม่เป็นการรบกวน จะขออนุญาตนำภาพของคุณรัฐพลมาลงในหนังสือทางช้างเผือกด้วยนะครับ แต่ว่าอยากจะให้ส่งมาเป็นภาพถ่าย หรือว่าฟิล์มครับ (สำหรับฟิล์มนั้น ขอให้เป็นฉบับ copy นะครับ อย่าส่ง master มาครับ) ขนาดประมาณ 5 * 7 นิ้ว ถึง 6 * 9 นิ้วครับ โดยส่งมาตามที่อยู่ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยครับ
ขอบคุณมากครับ Stuart Anderson (stuartr@loxinfo.co.th)Hi,I'm a British person living and working in Thailand, and I'm interested to know more about the TAS. Do you have an english-language portion of your website or a hot key to switch to english? My Thai language isn't good enough to read!
Thanks and regards, thaiastroDear sir,Our english page is being implemented, and it has not been exposed yet. However, you can directly see it at https://thaiastro.nectec.or.th/eng/index.html The pages are not complete, but most of them are available now. You can know more about TAS by this draft. The complete version is expected to be released soon. Sorry for the inconvenience.
Regards, Nusorn Rukkasikorn (nusorn_r@hotmail.com)Dear Sir/Madam,I am staff of Thai Satellite Telecomnunication Co.,Ltd (TSC) what operate Iriduim project. The Iridium project is that cullular network uses satellites for comnunication. I have very interesting project for you, I would like to see Iridium satellite but I can not see real satellite. However, we can see the flares of Iridium satellite (For more information see WWW.gsoc.dlr.de/satvis). Now we try to observ it but it is not success. I think that you can help me because you have good acknowledge of astronomical. If you interest, please reply my mail.Thank a lot.
Sincere thaiastroI have just looked into your suggested homepage. The data presented are simple enough to understand. They give positions in altitude/azimuth coordinate. However, they do not say how long we can observe each flare. Maybe I missed the information, or maybe they assume we can work it out using the detailed information on each flare.You probably need a very clear and dark night to observe. It would be best if you know the exact location of your observation post, using a GPS, and feed this position to the web page for the most accurate data. Then use a low power telescope to aim the centre at the specified point in the sky and wait for something to move. Admittedly, most small telescopes do not allow you to aim accurately. You just have to guess, I think, but I am not the most knowledgeable person on telescopes. Other webmasters may be able to help you. We are going out of town in mid-July. If I do not forget to observe, I will tell you the result. Visanu E. |