"Nopporn Manoppong" [m_nopporn@hotmail.com]
Hi !
How r u going. It's me, paa nope. I read in the newspaper about the objects of interest in our sky. I need help. I mean I
would like to care your
feeling if u were a child 9-12. I'll let them observe the sky on the 31 /03/01 at wiang saa , Surat Dhanee. Archarn
Krajang suggested some activities on the moon. What about your OBJECTS ? Any will do! Pls say something. Waiting with hope.
It 'll be a camp fo some other activities, notthing to concern with
astrology. Only night sky will be observe at least once. Thanks. I have a big binoc on a stand for them....Bye now.
nopporn manoppong
thaiastro
Dear Paa Nope,
I'm sorry that I have not replied you previous mail. This time I don't pospone, as you seem in hurry. I did not read the newspaper so I am not sure what they write about. Yes I gave an interview via telephone but I think my speaking was a little confusing (as I usually do).
I am quite surprised that you asked me about kid activity. I always respect you as a kid expert. My suggestion may not be good enough because I am not an activist, espectially with kids.
Some objects in the list I presented in the Milky Way Journal may not be suitable for starters or kids. Try star clusters, espectially open clusters. They are excellent for binoculars. Bright nebulae such as the Great Orion Nebula, Trifid nebula, Lagoon nebula may be good targets too. You can use nebula as examples while you talk about stellar birth or death.
Please note that some objects in the list is not really top 20 objects for some experienced stargazers. The list even missed some interesting objects. The Trifid nebula for example. It is really good object but I forgot to include it. There is one more error in the picture page. The picture of Eta Carina is incorrect. It is actually the Eagle nebula.
A. Krajang was right. The Moon is a good target and easy to observe. There are a lot of things to play with the Moon : rabbit, Apollo, man on moon, dry seas, craters, etc. I hope you have tripots for the binocs. Set up your binocs for the Moon, Lay a mat on the grassfield and let children gathered around a moon atlas, compare with what they see from the binocs.
Hope this helps,
Wimut Wasalai
"Sunta Enterprise" [sunta@access.inet.co.th]
สวัสดีครับ
ผมเป็นผู้ที่สนใจเรื่องของดาราศาสตร์มาตั้งแต่เด็กๆ แต่ไม่ค่อยได้มีโอกาสศึกษาอย่างจริงจัง ตอนนี้ผมสนใจเรื่องการสร้างกล้องโทรทรรศน์
ผมเลยอยากทราบว่า การสร้างกล้องโทรทรรศน์นั้นจะหาศึกษาอย่างละเอียดได้ที่ไหนบ้างครับ
ขอบคุณมากครับ
thaiastro
ยินดีต้อนรับคนคอเดียวกันครับ เรื่องสร้างกล้องโทรทรรศน์ ลองเข้าไปดูที่ "ดิน" ดูนะครับ อยู่ที่ http://www.geocities.com/Hollywood/Land/9706/atmindex.htm เป็นไทย ๆ อ่านง่ายในเว็บนี้เขามีลิงก์ไปยังเพจเกี่ยวกับการสร้างกล้องอื่น ๆ ของต่างประเทศอีกหลายแห่งครับ
วิมุติ วสะหลาย
burmese_inn@access.inet.co.th
Dear Sir !
I am an Austrian (33 years old) living in Thailand since over 8 years and Astronomy is my hobby
since over 20 years. Surfing the Internet I ran into your homepage and the gallery which is
connected to it. As I take (and have taken) astronomical pictures of all kind I would appriciate
it if I could send one or the other to your gallery. As it says that you have to be Thai or
member of TAS I would like to ask you to mail me membership terms or a possibility to
participate in your gallery.
Thank you very much in advance !
Armin Hermann, 71240 Sangkhlaburi, Kanchanaburi Province
thaiastro
Dear Armin,
Thank you for your interest in our Society. We would be very happy to receive your astro
pictures and include them in our website's gallery. At the moment we are quite flexible on
pictures submissions and you need not become a member.
I look forward to seeing your pictures soon. Many apologies for a late reply.
Visanu Euarchukiati
Committee member
"Nopporn Manoppong" [m_nopporn@hotmail.com]
A thousand thanks !
I'm a bit old and feel un-easy to b on my own so i aked u the qs. It's wonderful to e-mail bcause i
never did when I was young. Yes, I got a stand for thee binocs and also a big moon map . Kids in my
case are lower & upper 1 ry school kids , not 2ry school kids!!! Sooo I have to tell tales and
tales or
even let them perform some shows after the tales. I'll show up again. All the best to and the
whole gang.
Bye now.
paa nope who is about to b 26 but a bit backward .
ประชา เอกวรวงศ์ [pe@mailcrt.cementhai.co.th]
ThaiAstro Homepage cannot display Thai correctly
with some encoding such as user-defined
in Netscape.
Please specify font type in your scripts
as 'Ms sans serif'
สมาชิก สช.428
thaiastro
Thank you for your notice. thaiastro web pages are mostly non font-specific, so it should be displayed as setting in user-defined scheme in your browser. Few text are font specific, espectially in the main page and only font we use is "ms sans serif". You should see Thai text in thaiastro correctly. Be sure that the character set is set to User-defined, and the variable width font is the UPC family such as AngsanaUPC. The "New" family such as AngsanaNew may not work. However, the current and future design of thaiastro is tend to be IE friendly. Netscape 3.04 (which I still use occasionally) of older versions may be prevented from many pages. Netscape 4.x can see thaiastro but the layout may be untidy.
Our web is used to be fully browser independent, but after losing patient by Netscape's unacceptable bugs in its Javascript engine and the lacking of Thai capability, I decided to change thaiastro to be IE follower and remain it until Netscape fix the major problems. I am sorry if this policy inconvenient you.
Regards,
Wimut Wasalai.
POPOH@poppymail.com
อยากสอบถาม คุณวิมุติ ถึงจุดประสงค์และแรงจึงใจอะไรที่ทำให้ คุณวิมุติจัดทำ เว็บนี้ขึ้นมา
ครับ การใช้ สี การวางรูปแบบเวฟนี้ คุณวิมุติ คิดรูปแบบเองหรือไม่ครับ ส่วนใหญ่ข้อมูลเกี่ยว
กับดาราศาสตร์ที่ได้มาลงในเวฟ มีที่มาจากที่ไหนครับ ทำไมคุณถึงทำห้องสมุดในเวฟนี้
ด้วยครับ ถ้าคุณวิมุติได้อ่านmail นี้แล้ว ขอความกรุณาช่วยตอบกลับมาที่
POPOH@poppymail.com ด้วยนะครับยิ่งเร็วยิ่งดีนะครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
(นักศึกษา)
thaiastro
หากคุณหมายถึง thaiastro.nectec.or.th
ขอบอกก่อนครับว่านี่ไม่ใช่เว็บของผม เป็นเว็บของสมาคมดาราศาสตร์ไทย ภายใต้โครงการสารสนเทศดาราศาสตร์ไทย ได้รับการสนับสนุนจาก เนคเทค ม.เกษตรศาสตร์ และบ.โกรวิ่งพอยท์ฯ
ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวกับแรงใจอะไรหรอกนะครับ เป็นงานของสมาคมฯ ที่ผมทำในฐานะผู้ดูแลเท่านั้น
จุดประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ความรู้และข่าวสารทางดาราศาสตร์สู่ประชาชนทั่วไป ซึ่งห้องสมุดก็เป็นส่วนหนึ่งของสาระเหล่านั้น (แม้เนื้อหาดูจะยังน้อยอยู่ก็ตาม)
เรื่องการจัดศิลป์นั้น เดิมผมออกแบบ ไม่ค่อยจะมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนครับ ค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ แต่งไปเรื่อย ๆ บางส่วนก็คิดเอง บางส่วนก็เก็บเกี่ยวเอาจากเว็บอื่น ๆ
แต่ตอนนี้คุณวรเชษฐ์เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งรูปแบบใหม่จะค่อย ๆ ทะยอยนำมาใช้เรื่อย ๆ จนกระทั่งครบทุกหน้าครับ
วิมุติ วสะหลาย
popoh@poppymail.com
อยากสอบถาม คุณวิษณุ ถึงจุดประสงค์และแรงจึงใจอะไรที่ทำให้ คุณวิษณุจัดทำ เวฟนี้ขึ้น
มาครับ การใช้ สี การวางรูปแบบเวฟนี้ คุณวิษณุ คิดรูปแบบเองหรือไม่ครับ ส่วนใหญ่ข้อมูล
เกี่ยวกับดาราศาสตร์ที่ได้มาลงในเวฟ มีที่มาจากที่ไหนครับ ทำไมคุณถึงทำห้องสมุดในเวฟ
นี้ด้วยครับ ถ้าคุณวิษณุได้อ่านmail นี้แล้ว ขอความกรุณาช่วยตอบกลับมาที่
POPOH@poppymail.com ด้วยนะครับยิ่งเร็วยิ่งดีนะครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
(นักศึกษา)
thaiastro
หมายถึงเว็บของสมาคมดาราศาสตร์ไทยใช่ไหมครับ
เว็บไซต์นี้มีคนช่วยกันทำหลายคน ตัวผมเองช่วยเขาเพียงเล็กน้อยในตอนแรก
ที่สร้างเว็บนี้กันขึ้นมาก็เพื่อจะเผยแพร่ตัวสมาคมฯ และเผยแพร่ข้อมูลดาราศาสตร์
ที่เป็นภาษาไทยให้กับสาธารณชน เพราะเรารู้ว่าลำพังวารสารของสมาคมฯ เอง
ไม่มีทางจะออกไปสู่คนส่วนใหญ่ได้ ซึ่งผมคิดว่าเราบรรลุจุดประสงค์นี้อย่างสมบูรณ์ครับ
ผู้ที่เป็นหลักของเว็บไซต์นี้คือคุณวิมุติ วรเชษฐ์ พรชัย และวิทยาครับ
รูปแบบปัจจุบันเป็นการออกแบบของคุณวรเชษฐ์ หน้ากิจกรรมเป็นของวิทยา
ส่วนข่าวก็แบ่งกันระหว่างวิมุติกับวรเชษฐ์ ถามกับผู้จัดทำโดยตรงได้เลยครับ
วิษณุ
"Puvanart Assavabenjang" [puvanart@hotmail.com]
สวัสดีครับ
ผมมีเรื่องขอความช่วยเหลือหน่อยครับ คือว่าผมต้องหานิทานดวงดาวเพื่อไปประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับการออกค่ายเด็กในวันพฤหัสที่ 29 นี้ และทางพวกเราได้มีการวางกิจกรรมตอนกลางคืนว่าจะให้มีการเล่านิทานเกี่ยวกับนิทานดวงดาว แต่ว่าทางพวกเรายังไม่มีข้อมูลพวกนี้เลย ไม่ทราบว่าทางผมจะหาข้อมูลพวกนี้ได้จากที่ไหนครับ ไม่ทราบว่าทางสมาคมมีข้อมูลเกี่ยวกับพวกนี้หรือเปล่า รบกวนข่วยบอกผมด้วยนะครับเพราะว่าทางผมเหลือเวลาให้เตรียมตัวไม่ถึง 3 วันแล้ว ถ้าเป็นไปได้ผมขอเบอร์โทรศัพท์เพือการติดต่อที่สะดวกยิ่งขึ้นด้วยครับ ขอบคุณครับ
ภูวนารถ
thaiastro
หนังสือเทพนิยายกรีกที่มีขายทั่วไปน่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่หาได้อย่างรวดเร็วที่สุดครับ
แต่บางทีเขาจะไม่บอกว่าเกี่ยวกับดาวอะไรเท่านั้นเอง ข้อดีคือมีเรื่องเยอะ เล่าได้นาน
ข้อเสียคือจะมีแต่ของกรีก คงไม่เป็นไรนะครับ
หนังสือ จันทรคตินิยาย ของ ส. พลายน้อย มีนิทานพระจันทร์หลายสิบเรื่องจากหลายชาติ
คนที่รวบรวมเรื่องไว้มากพอจะใช้ได้คือคุณพรชัย (อ๊อด) แต่ผมไม่สามารถติดต่อได้
คนที่รู้เบอร์อาจจะช่วยคุณภูวนารถได้
ดาวที่เกี่ยวข้องกับนิทานกรีก
กลุ่มดาวหมีใหญ่-หมีเล็ก เรื่องนางคัลลิสโต
กลุ่มดาวนายพราน-แมงป่อง เรื่องโอไรออน
กลุ่มดาววัว เรื่องนางยุโรปา
กลุ่มดาวสิง เรื่องเฮอร์คิวลิส ตอนปราบสิงโตนีเมีย
กลุ่มดาวเพอร์ซีอุส-ค้างคาว-อันโดรเมดา-เซฟีอุส-เซตุส-ม้าปีก เรื่องนางอันโดรเมดา
กลุ่มดาวพิณ เรื่องออร์ฟีอุส
กลุ่มดาวงูน้ำ (ไฮดรา) เรื่องเฮอร์คิวลิสตอนปราบงูไฮดราที่บึงเลอร์เนน
กลุ่มดาวมังกร (Draco) เรื่องเฮอร์คิวลิสตอนแอปเปิลทองคำของเฮสเปอริดีส
กลุ่มดาวม้าปีก เรื่องเบลเลอโรฟอน
ถ้าสามารถเล่านิทานจีนเรื่องเทพธิดาทอผ้ากับเด็กเลี้ยงวัวได้ นั่นคือดาวเหมือนกัน
คนเลี้ยงวัวคือดาวนกอินทรี เทพธิดาคือดาวพิณ มีทางช้างเผือกกั้นเป็นแม่น้ำ
วิษณุ
โช [chotiporns@hotmail.com]
คือว่าอยากให้เว็บของสมาคมมีเว็บบอร์ดอ่ะค่ะ
thaiastro
เรียนคุณโช
สมาคมดาราศาสตร์ไทย มีแผนที่จะให้เว็บสมาคมฯ มีเว็บบอร์ด โดยมีกำหนดการคร่าว ๆ
คือประมาณไม่เกินกลางเดือนเมษายน 2544 นี้
ผมต้องขอขอบคุณคุณ โช มากครับที่ได้กรุณาเสนอสิ่งที่ดี ๆ ให้กับหลาย ๆ คนได้ใช้กันครับ
ขอบคุณมากครับ
พรชัย อมรศรีจิรทร
"Thanayuth Thongchindavong" [thanaya@hotmail.com]
สวัสดีครับ
ขอความรู้หน่อยนะครับ คือ ผมต้องการหาคำศัพท์ "Parallax" แต่ไม่พบ รบกวนด้วยนะครับ
ยะ
thaiastro
ครับ Parallax เขาเรียกกันทับศัพท์ว่า พารัลแลกซ์
หมายถึงการเปลี่ยนตำแหน่งของภาพวัตถุเป้าหมาย อันเป็นผลมาจากการมองจากตำแหน่งที่ต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น คุณลองยื่นมือออกไปแล้วยกนิ้วชี้ขึ้นมา ชูนิ่ง ๆ ไว้ หลับตาขวาแล้วมองด้วยตาซ้าย นิ้วชี้อาจจะบังต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่ข้างหลัง ทีนี้ลองเปลี่ยนมาหลับตาซ้ายแล้วมองด้วยตาขวา จะเห็นว่านิ้วไม่ได้บังต้นไม้นั่นแล้ว เหมือนกับว่านิ้วเปลี่ยนตำแหน่งไป ทั้ง ๆ ที่มันอยู่ที่เดิม แต่ที่เห็นว่านิ้วเปลี่ยนตำแหน่งเพราะการมองสองครั้งนั้นมองจากตำแหน่งต่างกัน อย่างนี้เรียกว่าเกิดพารัลแลกซ์
พารัลแลกซ์สามารถใช้ในการวัดตำแหน่งหรือขนาดได้ดี อย่างในการทดลองข้างต้น เราสามารถทราบระยะทางระหว่างลูกตาถึงนิ้วได้โดยไม่ต้องเอาไม้บรรทัดมาวัดระหว่างนิ้วกับตา แต่ใช้วัดมุมระหว่างตำแหน่งของนิ้วที่มองเห็นทั้งสองครั้ง และวัดระยะห่างระหว่างลูกตาทั้งสอง อาศัยหลักเรขาคณิตง่าย ๆ ก็จะทราบระยะห่างของนิ้วกับลูกตาได้ มุมระหว่างตำแหน่งนิ้วที่เปลี่ยนไปนั้นเรียกว่ามุมยอด ระยะห่างระหว่างลูกตาทั้งสองข้างเรียกว่า เส้นฐาน เส้นฐานยิ่งกว้าง การคำนวณยิ่งแม่นยำ
วิธีพารัลแลกซ์นี้อาจนำไปใช้วัดระยะของวัตถุที่อยู่ไกลออกไปและไม่สามารถวัดระยะได้โดยตรง เช่น วัดความกว้างของแม่น้ำ คุณอาจคุ้น ๆ ว่าเคยทำโจทย์คณิตศาสตร์ทำนองนี้มาแล้วสมัยเรียนมัธยม
ในทางดาราศาสตร์ก็เช่นกัน พารัลแลกซ์ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางดาราศาสตร์มากมาย เช่นการวัดระยะห่างของดาวเคราะห์ หรือดาวฤกษ์ที่อยู่ไม่ไกลจนเกินไปนัก ในการวัดระยะของดาวเคราะห์ หรือดาวเคราะห์น้อย หรือวัตถุอื่นภายในระบบสุริยะ เขาอาจส่องกล้องจากคนละตำแหน่งบนโลกที่ห่างกันเป็นร้อยเป็นพันกิโลเมตรเพื่อให้ได้เส้นฐานที่กว้าง อาจวัดจากกล้องเดียวกันแต่ต่างเวลากัน โดยอาศัยการหมุนรอบตัวเองของโลกช่วยเปลี่ยนตำแหน่งให้ แต่ถ้าเป็นการวัดระยะของดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จะใช้การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเปลี่ยนตำแหน่งการมองให้ คือถ่ายดาววันนี้ครั้งหนึ่ง แล้วอีกครึ่งปีถ่ายอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้ก็จะได้เส้นฐานที่กว้างถึง 2 หน่วยดาราศาสตร์
ขออภัยที่ไม่ได้ใส่คำพื้นฐานอย่างนี้ไว้ในปทานุกรมดาราศาสตร์ ผมจะนำใส่เร็ว ๆ นี้ครับ
วิมุติ วสะหลาย
|