จดหมายถึง thaiastro |
Kritsada Supaviruchbuncha (kritsada@email.ksc.net)Dear sir,I am a backyard astronomer as well as a member of TAS. Can I ask some questions? 1. Is there any radio or TV program about astronomy in Thailand? If yes, What time? What channel? 2. Is Kirdkaew Observatory's homepage (.../~thagoon) still alive? Thank you for your kindness, hope to hear from you soon.
Sincerely, thaiastroI'm so sorry for very late response. I receive no answer from my friends who I forwarded your question to.About the program on TV and radio. As far as I know, there is no astronomy-related TV program. For radio programs, I checked the documents an found only these: -"Perd Lok Jakkawan" by acharn Aree Sawadee, only on the first and the third sundays of month. FM.100.5MHz 4p.m.-5p.m.
-FM96.5MHz, Saturday-Sunday, 3p.m.-5p.m. by Dr.Chaiwat Kupratakun Acharn Chaiwat's programs talk about science, astronomical topics are often raised. I met khun Thakoon Kerdkaew last week. He said that his observatory's homepage has been moved to elsewhere and is now tempolarily abandoned. He will start maintaining again when everything settles.
Regards, ggg (lamai@bigfoot.com)Dear sir,I appreciate Thai Astronomical Society's Homepage and your staff. It's useful to public and anybody who like astronomy. Well, I will continue following your work and creative idea. (If possible, always keep the pages updated, please.) Your faithfully. thaiastroThank you very much. Any comment is welcome.
Best regards, Opat Sangrungsri (opats@loxinfo.co.th)Dear sir,I live in pattaya. I am interested in astromomy, but I don't know where I can buy a telescope. Please give me an advice. Thank you,
Opat Sangrungsri thaiastroDear khun Opat,Telescopes are often seen in photographic shops in Bangkok espectially in big department stores, but most of them are too small and are of low quality. Good ones are somewhat hard to find. "Good" in my opinion costs 15,000 baht up. There is only one company I know who imports telescopes. Contact TMK Trading Co.,Ltd. Tel. 2140976, 2155849.
Regards, debharit (theppari@notes.nectec.or.th)Dear Khun Wimut,Let you click subject of NEWS "ดำแต่ละแห่งมีมวลเท่ากันหรือไม่?" then you will find what's up, sir. Regards. thaiastroYes, the link was incorrect. I'll fix it as soon as possible. Thank you very much.
Wimut Wasalai. jumphol@inet.co.thสวัสดีครับคุณวิมุติพอดีตอนนี้ทางอัพเดทอยากจะลงเรื่องราวของ วันที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย คือ วันที่ 27 เมษายน 2541 เราอยากจะลงว่า ทำไมวันนี้จึงเป็นวันที่ร้อนที่สุด ซึ่งผมก็พอจะทราบว่าเป็นเรื่องของแนวโคจร เรื่องของตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ทราบว่าคุณวิมุติมีข้อมูลเรื่องนี้บ้างหรือไม่ที่จะตอบว่า ---- ทำไมต้องเป็นวันที่ 27 เมษายน ? คำนวณอย่างไร ---- จะตรงกันทุกปีหรือไม่ ? ---- ที่บอกว่า แนวแสงอาทิตย์ตั้งฉากกับกรุงเทพฯพอดีนั้นเป็นเวลากี่นาฬิกากันแน่ ---- ทำไมแสงอาทิตย์ตั้งฉาก แล้วร้อนที่สุด ?
ถ้าคุณวิมุติพอจะรู้ หรือมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้ ก็บอกด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ thaiastroเรียนคุณไพรัตน์ทุก ๆ ปีพอใกล้หน้าร้อนก็จะได้ยินการประกาศจากโทรทัศน์และสื่อต่าง ๆ เสมอว่าวันที่ 27 เมษายนจะร้อนที่สุด แต่เอาเข้าจริงวันนี้ก็ไม่ร้อนที่สุด ความจริงคือ วันที่ 27 เมษายนเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะผ่านเหนือกรุงเทพพอดีหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ในเวลาเที่ยงวันท้องถิ่น ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับพื้นดินพอดี ในขณะที่วันอื่น ๆ ในรอบปีดวงอาทิตย์จะไม่ตั้งฉากกับพื้นดิน การที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นดินพอดีนั่นหมายความว่าพื้นดินรับพลังงานจากดวงอาทิตย์เต็มที่จึงน่าจะร้อนที่สุด ทำไม่ต้อง 27 เมษา? ทั้งนี้เราจะต้องเข้าใจการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เสียก่อน เมื่อเรายืนอยู่บนพื้นโลกและสังเกตดวงอาทิตย์ทุกวัน ทุก ๆ วันดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าและตกลงขอบฟ้าไม่ซ้ำจุดเดิม ในช่วงประมาณวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นใกล้จุดทางทิศตะวันออก และตกลงขอบฟ้าใกล้ทิศตะวันตก วันนี้เราเรียกว่าวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ในทางดาราศาสตร์ถือว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิและถือเป็นวันปีใหม่ของดาราศาสตร์ด้วย หลังจากวันวสันตวิษุวัตแล้วดวงอาทิตย์ก็จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตำแหน่งขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไปโดยเบี่ยงมาทางเหนือเรื่อย ๆ ทุกวัน ๆ ความเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ ช้าลงเรื่อย ๆ จนหยุดที่ประมาณวันที่ 23 มิถุนายน วันนี้จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ปรากฏค่อนไปทางเหนือมากที่สุด กลางวันยาวที่สุด กลางคืนสั้นที่สุด เรียกว่าวันซอลสติซฤดูร้อน (Summer solstice) หลังจากวันซอลสติซฤดูร้อนแล้วนั้นตำแหน่งขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ก็จะย้อนทางกลับลงมา คือจะเบี่ยงมาทางใต้เรื่อย ๆ ทุกวัน ๆ ผ่านจุดทิศตะวันออก-ตะวันตกอีกครั้งประมาณวันที่ 22 กันยายน เรียกว่าวันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ตำแหน่งขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ยังคงเบี่ยงไปทางใต้เรื่อย ๆ เช่นเดียวกับขาขึ้น และจะไปหยุดเอาประมาณวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่งเรียกว่าวันซอลสติซฤดูหนาว (Winter Solstice) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ปรากฏไปทางใต้มากที่สุด กลางวันสั้นที่สุด กลางคืนยาวที่สุด หลังจากวันนี้แล้วแนวขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ก็จะกลับขึ้นไปทางเหนืออีกจนถึงวันวสันตวิษุวัตก็เป็นอันครบรอบ 1 ปี การที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นดินย่อมทำให้พื้นที่หนึ่ง ๆ รับแสงแดดมากที่สุด จึงน่าจะร้อนที่สุด แต่ในความจริงแล้วปัจจัยที่จะทำให้อากาศวันใดร้อนมากหรือร้อนน้อยนั้นไม่ได้มีเพียงแสงแดดเท่านั้น ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกมากเช่น ลม ความชื้น เมฆ เป็นต้น นั่นคือเหตุผลที่ว่าเหตุใดเรามักพบว่าวันที่ 27เมษายนไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดจริง ๆ วันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับกรุงเทพหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในแต่ละปีนั้นอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างวันสองวัน บางปีอาจเป็นวันที่ 28 เมษายนก็ได้ จริง ๆ แล้ววันที่ดวงอาทิตย์จะผ่านเหนือกรุงเทพนี้มีสองวันในรอบปีคือ วันที่ 27-28 เมษายน(ขาขึ้น) และ อีกครั้งหนึ่งคือประมาณ 16-17 สิงหาคม(ขาลง) สำหรับเวลาที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากพอดีหรือเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงที่สุดก็คือ เวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านเส้นเมอริเดียนหรือเส้นที่ลากจากทิศเหนือผ่านกลางศีรษระมายังทิศใต้ เวลานี้เรียกว่าเที่ยงวันท้องถิ่น แต่ไม่ใช่เที่ยงวันของเวลามาตรฐาน วันที่ 27เมษายนที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์มาตั้งฉากกับพื้นโลกเวลา 12:16 น. ตามเวลามาตรฐาน ขออภัยที่ตอบล่าช้าครับ หากมีจุดใดที่อธิบายไม่ชัดเจนกรุณาถามมาอีกทีก็ได้ครับ
วิมุติ วสะหลาย piak (piak@ksc.th.com)สวัสดีครับ คุณวิมุติผมมีเรื่องอยากจะถามครับ คือว่า ผมมีกล้อง refractor ขาแบบ german equatorial ตามปกติต้องตั้งขาและเล็งไปที่ดาวเหนือเพื่อจะตามดาวและถ่ายภาพได้ ผมอยากจะทราบว่าพอจะมีวิธีอื่นบ้างไหม? ถ้าเราเกิดมองไม่เห็นดาวเหนือ แล้วคนที่อยู่ทางซีกโลกใต้เขาทำกันอย่างไรในเมื่อไม่เห็นดาวเหนือ?
Thank you very much, thaiastroการจะเล็งแกนกล้องให้ตรงขั้วท้องฟ้านั้นไม่จำเป็นต้องใช้ดาวเหนือก็ได้ครับ โดยทั่วไปมีวิธีการเล็งแกนฐานตั้งกล้องอยู่ 3 วิธีคือ1. ใช้ดาวเหนือ อย่างที่คุณรู้จักดีอยู่แล้ว 2. ใช้วิธี two-star หรือ three-star วิธีนี้จะต้องเลือกหาดาวฤกษ์สองสามดวงที่อยู่ห่างกันแต่มีค่าเดคลิเนชันเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก ๆ ขึ้นมาเสียก่อน โดยทั่วไปจะหาดาวที่อยู่ไม่ไกลจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากนัก ขั้นตอนนี้คงต้องพึ่งตารางหรือแคตาล็อกที่แสดงตำแหน่งดาวอย่างละเอียด ดาวฤกษ์ที่เลือกขึ้นมานี้ต้องเป็นดาวที่สามารถมองเห็นได้ในขณะนั้น และควรเป็นดาวที่สว่างพอสมควร จะได้หาได้ไม่ยาก เล็งแกนฐานตั้งกล้องไปยังขั้วเหนืออย่างคร่าว ๆ ก่อน อาจใช้วิธีเล็งดาวเหนือก็ได้หรืออาจใช้เข็มทิศในกรณีที่มองไม่เห็นดาวเหนือ หลังจากนั้นหันกล้องไปยังดาวฤกษ์ดวงแรกที่เลือกเอาไว้ เล็งให้อยู่กลางกล้องพอดี ล็อกเดคลิเนชันเอาไว้ เสร็จแล้วหมุนกล้องตามแนวไรต์แอสเซนชัน เพื่อไปหาดาวฤกษ์ดวงที่สอง (และดวงที่สาม หากเลือกไว้สามดวง) ที่เลือกไว้ หากแกนของฐานตั้งกล้องตั้งไว้ตรงขั้วท้องฟ้าจริง เราจะเห็นจุดของดาวดวงที่สองและดวงที่สามผ่านกลางกล้องพอดีเช่นเดียวกับดาวดวงแรก หากไม่ตรงก็แสดงว่าแกนฐานตั้งกล้องยังเบี้ยวอยู่ ต้องปรับมุมของฐานตั้งกล้องเล็กน้อย แล้วกลับไปทำตามขั้นตอนเล็งดาวฤกษ์ดวงแรกอีกครั้ง ทำซ้ำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะสามารถเห็นดาวทั้งสองดวง (หรือสามดวง) นั้นผ่านกลางกล้องพอดีโดยไม่ต้องเปลี่ยนมุมเดคลิเนชัน ก็หมายความว่าแกนของฐานตั้งกล้องตรงกับขั้วฟ้าแล้ว ยิ่งดาวที่เลือกมีหลายดวงก็จะยิ่งแม่นยำยิ่งขึ้น แต่จริง ๆ แล้วแค่สามดวงก็พอแล้ว 3. ใช้วิธีสตาร์ชิฟต์ วิธีนี้บางทีก็เรียกวิธีเดคลิเนชันดริฟต์ ขั้นแรกให้เล็งขั้วเหนืออย่างคร่าว ๆ เสียก่อนเช่นเดียวกับวิธี two-star, three-star เลือกดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่สว่างพอสมควรที่อยู่ใกล้ ๆ ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกหรือทิศตะวันออก หันกล้องไปยังดาวดวงนั้น และให้เล็งเอาไว้ตรงกลางกล้อง ล็อกแกนเดคลิเนชันและไรต์แอสเซนชัน เปิดมอเตอร์ตามดาว คอยสังเกตการเคลื่อนตำแหน่งของจุดดาวตลอดเวลา หากจุดดาวมีการเคลื่อนตามแนวเดคลิเนชันแสดงว่ามุมเงยของแกนฐานตั้งกล้องนั้นไม่ถูกต้องให้ปรับเล็กน้อย แล้วสังเกตการเคลื่อนที่ของจุดดาวต่อ หากมีการเปลี่ยนตำแหน่งอีกก็ให้ปรับมุมเงยของแกนฐานตั้งกล้องอีก ปรับจนกว่าจะไม่มีการเคลื่อนที่ของจุดดาวในแนวเดคลิเนชัน ในขั้นตอนนี้เป็นการปรับมุมเงยของแกนขั้วเหนือของฐานตั้งกล้อง ขั้นต่อไปเป็นการปรับมุมราบ (อาซิมุท) ของแกนขั้วเหนือของฐานตั้งกล้อง ขั้นตอนนี้คล้าย ๆ กับขั้นตอนที่แล้ว แต่แทนที่จะเลือกดาวใกล้ ๆ ขอบฟ้าเป็นดาวตรวจสอบ คราวนี้ให้เลือกดาวที่อยู่ใกล้ ๆ กับเหนือศีรษระแทน แล้วกระทำในลักษณะเดียวกัน โดยให้สังเกตการเคลื่อนที่ของจุดดาวว่ามีการเลื่อน ตำแหน่งในแนวเดคลิเนชันหรือไม่ หากมีการเลื่อนตำแหน่งแสดงว่ามุมราบของแกนขั้วเหนือของฐานตั้งกล้องเบี้ยว ให้ปรับแก้แล้วกลับมาสังเกตการเปลี่ยนตำแหน่งของจุดดาวต่อ หากมีการเปลี่ยนตำแหน่งอีกก็ให้ปรับมุมราบของแกนฐานตั้งกล้องอีก ปรับจนกว่าจะไม่มีการเคลื่อนที่ของจุดดาวในแนวคลินชันอีก หากทำสำเร็จทั้งสองแนวแล้วก็หมายความว่าขณะนี้แกนของฐานตั้งกล้องตรงกับขั้วเหนือพอดีแล้ว เริ่มดูดาวหรือถ่ายรูปดาวได้เลย หากเปรียบเทียบวิธีการปรับฐานตั้งกล้องทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมา วิธีนี้เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด เมื่อยที่สุด และใช้เวลาปรับตั้งนานที่สุด บางครั้งอาจนานกว่า 1 ชั่วโมง หากจะใช้วิธีที่ 2 และ 3 ในการตั้งฐานตั้งกล้อง พึงระวัง ไม่ควรใช้กระจกสะท้อน diagonal mirror ติดตรงเลนส์ตา เนื่องจากจะทำให้สับสนและหลงทิศได้ง่าย ส่วนกล้องที่ใช้เล็งดาวให้ใช้กำลังขยายสูง ๆ หรือ 80 เท่าขึ้นไปจึงจะเหมาะสม
วิมุติ วสะหลาย narongsak_98@thaimail.comกระผมอยากจะสร้างกล้องโทรทัศน์ด้วยตนเอง แต่ยังไม่มีคู่มือหรือความรู้ในการสร้างกล้องและคู่มือการดูดาว ผมอยากได้มาก ถ้าคุณหาให้ผมได้กรุณา E-Mail ได้ที่ narongsak_98@thaimail.com จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งthaiastroขออภัยที่ตอบล่าช้า คำถามนี้เป็นคำถามที่มีคนถามมาบ่อยพอสมควร ซึ่งผมได้ตอบไปแล้ว จึงขอคัดคำตอบของผมในครั้งนั้นมาตอบคุณอีกที ดังนี้มีวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายเล่มที่เคยลงบทความการสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่ายขึ้นแต่นานมากแล้ว วารสารทางช้างเผือกของสมาคมดาราศาสตร์ไทยก็เคยลงมาแล้วเมื่อปี 38 สมาคมดาราศาสตร์ไทยก็เคยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่ายไปเมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง อาจจะมีครั้งต่อไปในกลางปีนี้ก็ได้ ในเว็บไซต์ต่างประเทศที่เกี่ยวกับการสร้างกล้องโทรทรรศน์ก็มีมากมาย หลักการสร้างกล้องที่เคยเห็นตีพิมพ์ส่วนใหญ่แนวทางจะเหมือน ๆ กัน ต่างกันเพียงขนาดของเลนส์และท่อเท่านั้น กล้องโทรทรรศน์ที่พอจะสร้างได้เองคือ กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ส่วนแบบอื่น ๆ จะยากกว่าครับ คุณสามารถออกแบบและสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงเองได้ไม่ยาก มีเรื่องให้พิจารณาเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ดังนี้ กล้องดูดาวอย่างง่ายที่สุดประกอบขึ้นจากเลนส์นูนสองตัว ตัวหนึ่งอยู่ด้านหน้าเรียกว่าเลนส์วัตถุ อีกตัวหนึ่งด้านหลังชิดกับตาเรียกว่าเลนส์ตา กำลังขยายของกล้องเท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุหารด้วยความยาวโฟกัสของเลนส์ตา ระยะห่างของเลนส์ตาและเลนส์วัตถุต้องยาวอย่างน้อยเท่ากับผลรวมของความยาวโฟกัสของเลนส์ทั้งสองตัว และระยะห่างนี้ควรเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากขนาดเลนส์มีให้เลือกไม่มากนัก เพราะฉะนั้นควรไปหาซื้อเลนส์ก่อน เมื่อได้เลนส์กลับมาแล้วจึงค่อยออกแบบตัวกล้อง ออกแบบเองไม่ยากหรอกครับ ที่สำคัญเวลาเลือกเลนส์ ไม่ควรเลือกให้กล้องมีกำลังขยายมากเกินไปนัก (ไม่ควรเกิน 100 เท่า) 30-40 เท่ากำลังเหมาะ เลนส์ถูก ๆ ที่ไม่ใช่เลนส์ประกอบราคาเพียงไม่ถึงร้อย หากใช้เลนส์อย่างดีที่เป็นเลนส์ประกอบและมีการเคลือบด้วยราคาจะแพง (หลายพันบาท) เลนส์หาซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์ (ราชดำเนิน) และร้านวิทยาภัณฑ์(สามยอด) ที่ผมทราบมีเพียงสองร้านนี้ เรื่องการสร้างกล้องดูดาวอย่างง่ายนี้อาจจะมีลงในโฮมเพจเร็ว ๆ นี้ |