จดหมายถึง thaiastro

"saroch kriangsakdachai" (saroch444@hotmail.com)

สวัสดีครับ
วันนี้แวะเข้ามาดูเว็บของทางสมาคมอีกครั้ง เข้ามาก็ไม่รู้ว่าจะอ่านตรงไหนดี ก็เลยจะขอตินิดนึงว่า เว็บของทางสมาคมมีข้อมูลน้อยไปนิดนึงครับ อยากให้มีข้อมูลมากกว่านี้สักหน่อยก็จะดี และควรจะมีการ update ให้เร็วกว่านี้นิดนึงครับ เพราะผมเข้ามาดูค่อนข้างบ่อยและคิดว่าคงจะมีอีกหลายคนที่เหมือนผมครับ ก็มีเรื่องจะรบกวนเพียงแค่นี้ครับ แล้วจะเขียน e-mail มารบกวนใหม่ครับ

สาโรจน์

thaiastro

สวัสดีครับ
ช่วงนี้ผมได้รับจดหมายติติงในเรื่องความล่าช้าค่อนข้างบ่อย ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับที่ช่วงนี้ทั้งการอัปเดทข้อมูลใหม่ ๆ และการตอบจดหมายก็ดูจะล่าช้าไปเสียหมด ผมจะพยายามเร่งให้ครับ ส่วนเรื่องเนื้อหาของโฮมเพจของสมาคมผมยอมรับว่ายังน้อยอยู่จริง ๆ ผมจะพยายามหามาเพิ่มเติมอยู่เสมอ ๆ ครับ โฮมเพจของสมาคมฯ ถึงแม้จะโตช้าสักนิดแต่ก็ไม่เคยหยุดนิ่งครับ

วิมุติ วสะหลาย


saroch kriangsakdachai" (saroch444@hotmail.com)

สวัสดีครับ
ขอบคุณมากครับที่กรุณาตอบ e-mail ของผมก็เลยเขียนมารบกวนใหม่ครับ เรื่องที่ผมอยากจะสอบถามก็เกี่ยวกับกิจกรรมของทางสมาคมดาราศาสตร์ครับ คือผมพอจะทราบว่าในเดือนสิงหาคมนี้ จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นอีกครั้ง รู้สึกว่าจะมองเห็นได้แถบทวีปยุโรป และแถบอินเดีย จึงอยากจะทราบว่าทางสมาคมมีการจัดไปดูเหตุการณ์ครั้งนี้หรือไม่ครับ เพราะผมเองอยากดูมากครับแต่ไม่ทราบว่าจะไปยังไง ถ้าเผื่อทางสมาคมจัดไป ผมจะได้ไปด้วยครับ อ้อ แล้วก็อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสุริยุปราคาครั้งนี้ (อยากให้เขียนลงในเว็บครับ) ขอบคุณมากครับ

สาโรจน์

thaiastro

สวัสดีครับ
สุริยุปราคาเดือนสิงหาคมนี้สมาคมไม่มีการจัดไปดูครับ ขืนจัดไปขาดทุนป่นปี้แน่นอน แม้แต่สุริยุปราคามาเลเซียเมื่อปีที่แล้วยังจัดไม่ได้เลยครับ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับสุริยุปราคาคราวนี้มีกล่าวไว้บ้างแล้วในหน้า "อุปราคาในปี 2542" (https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclips99.html) ครับ จะไม่ลงรายละเอียดมากนักเนื่องจากมองไม่เห็นเต็มดวงในประเทศไทย ถ้าคุณสาโรจน์ต้องการรายละเอียดจริง ๆ ต้องตามไปดูของต่างประเทศครับ เช่น Eclipse Homepage (http://planets.gsfc.nasa.gov/eclipse/eclipse.html) Solar Eclipses : 1996-2020 http://planets.gsfc.nasa.gov/eclipse/SEcat/SE1996-2020.html ครับ

วิมุติ วสะหลาย


"Boy" (tnpboy01@singburi.a-net.net.th)

มีเรื่องรบกวนขอสอบถามผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้ ช่วยตอบให้ด้วยครับ เพราะมีคนสงสัยกันเยอะมาก และเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อด้านการทำนายหายนะโลกด้วยครับ ขอสอบถามเกี่ยวกับการที่ในปีนี้ ประมาณ เดือน ส.ค. 2542 จะมีการเรียงตัวกันของดวงดาวในระบบสุริยะเป็นเส้นตัดกัน (กากบาท) ที่เรียกว่า แกรนครอส และในปี 2543 ประมาณเดือน พ.ค. จะมีการเรียงตัวกันของดวงดาวในระบบสุริยะเป็นเส้นตรงนั้น จะมีผลกระทบต่อวงโคจร หรือ การหมุนตัวของโลกหรือไม่ อย่างไร น่าจะมีผลต่อโลกหรอไม่ครับ เพราะตามหลักฟิสิกส์ วัตถุสองสิ่งขึ้นไป ย่อมมีแรงดึงดูดกระทำซึ่งกันและกัน โดยความแรงของการดึงดูดมีระยะห่างระหว่างวัตถุเป็นตัวแปร และเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นครับ ขอคำอธิบายอย่างละเอียดหน่อยครับ และไม่ทราบว่าเคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนหรือไม่ครับ และถ้ามี เกิดครั้งสุดท้ายเมื่อไร

thaiastro

เรื่องดาวเคราะห์มาเรียงตัวกัน ไม่ว่าจะเรียกกันเป็นรูปกากบาทหรือเส้นตรงก็แล้วแต่ จะไม่ทำให้เกิดภัยพิบัติอย่างแน่นอนครับ เป็นความจริงที่ว่าวัตถุมีแรงดึงดูดกัน แต่ดาวเคราะห์เหล่านั้นอยู่ห่างจากโลกเรามาก แรงดึงดูดรบกวนที่กระทำต่อโลกจึงมีน้อยมากจนไม่ต้องใส่ใจ กรุณาอ่านเรื่อง "เมื่อดาวเคราะห์มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน" (https://thaiastro.nectec.or.th/library/grncnj.html) ประกอบด้วยครับ ในบทความนี้มีคำตอบที่คุณ Boy อยากทราบหมดแล้วครับ

วิมุติ วสะหลาย


"suthaya asvisessivakul" (suttaya@hotmail.com)

Does any organization or club arrange the activity for sky observation or has a course for people who interested in this field?

Thank you for your kindness,
Suthaya Asvisessivakul

thaiastro

Yes, we do. TAS has a annual course called FA--Future Astronomer. This course is open to anyone who wants the learn more about the sky than just watching. The next class will be held around the end of this year. We will announce the course schedule by letters to members and in our homepage later. Some special courses are also occassionally organized, such as Simple telescope making, Astrophotograhy. See more in the "Our Regular Activities" page at https://thaiastro.nectec.or.th/eng/regact.html

Regards,
Wimut Wasalai.


atikom piangngok (piangngok@hotmail.com)

สวัสดีครับคุณวิมุติ
ผมอยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับวารสารทางด้านดาราศาสตร์ จะเป็นของไทยหรือต่างประเทศก็ได้นะครับ ส่วนใหญ่ผมจะสนใจเรื่อง Messier objects หรือ NGC objects ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

thaiastro

วารสารไทยทางดาราศาสตร์โดยเฉพาะมีแค่ "ทางช้างเผือก" ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยเท่านั้นครับ เป็นวารสารรายสามเดือน ส่งให้กับสมาชิกเท่านั้น และมีขายแถว ๆ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ส่วนวารสารทางวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่มีเรื่องดาราศาสตร์ด้วยนั้น เหลือเพียง Update ของบ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด และ "สารคดี" ของบ.วิริยะธุรกิจเท่านั้นครับ ก่อนหน้าที่ยังมีมากกว่านี้ครับ แต่ก็อำลาแผงหนังสือไปเสียหลายราย ส่วนวารสารต่างประเทศมีเต็มไปหมด ที่เป็นดาราศาสตร์โดยเฉพาะก็เช่น Astronomy, Sky & Telescope และที่ไม่ใช่เฉพาะดาราศาสตร์แต่มีเรื่องดาราศาสตร์อยู่บ่อย ๆ ก็เช่น Scientific American, Science, National Geographic เป็นต้น หาซื้อได้ตามร้านหนังสือใหญ่ ๆ หรือห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ครับ ถ้าคุณ atikom สนใจเรื่องวัตถุท้องฟ้าพวก M หรือ NGC คุณสามารถหาข้อมูลได้ฟรี ๆ จากเว็บไซต์หลายแห่งครับ เช่น SEDS The Messier Catalog (http://www.seds.org/messier/Messier.html) และ The Interactive NGC Catalog Online (http://www.seds.org/~spider/ngc/ngc.html) ครับ

วิมุติ วสะหลาย


Buntita Pravalpruk (csb88509@ait.ac.th)

Dear sir,
I'm Buntita Pravalpruk. I have to type in English, because my computer has no Thai font. I have read TAS' web page. I was a young member of the society. I received some journals of the society. I would like to register for the membership, but I have a problem that I couldn't understand some articles in the journals. Could you please, advise me some easy books to start learning about Astronomy? I prefer Thai books, because I have to read a lot of English books on my field.

If there are some errors during sending e-mail to me, please send to csb88509@alphaserv.ait.ac.th

Best regard,
Buntita Pravalpruk.

thaiastro

Dear Buntita,
Actually most articles in The Milky Way Journal are not too difficult. I agree that it still lacks some articles/tips for beginners. We have to disccuss in the editorial committee about this. If you want to learn more basic about astronomy, you can simply regularly visit TAS homepage. The Glossary Page (https://thaiastro.nectec.or.th/ency/index.html) can help you understand some specific terms. The Beginner page will be released in near future. It is already in the queue. The book "Lak Karn Doo Dao Kan Tone" (หลักการดูดาวขั้นต้น) by A.Nibonth Saibejara is recommended. You can also find other good translation pieces e.g. Eyewitness, Pocket Fact series. They have beautiful illustration and simple facts about the sky which are very good for beginners.

Regards,
Wimut Wasalai.


Pong Ngoew (pongn@hotmail.com)

Hello,
I have known that 1-jan is the time when the earth is farthest from the sun, so the day becomes the New Year's day. Man has known this since 1582.

Question. how did the guy who found this known? man known this since 400 years ago, but i have still have no idea about this. help me pls.

thank you
pongn@hotmail.com

thaiastro

It is not true that 1-Jan is the day when the Earth is furthest away from the sun. You may think that is the case because it is wintertime, but that is due to Earth's northern hemisphere tilting away from the sun. To the people in Earth's southern hemisphere, it is summertime. You will not feel that you are far away from the sun in Australia on 1-Jan.

1582 is the year when Gregorian calendar was created. This is the calendar system that we use today. This calendar replaced Julian calendar. Both systems are solar calendars. However, Julian calendar was not very accurate--the months and the seasons were out of step by many days. For example, think of Buddhist lent (wan khao pansa) which is fixed in June, but because of inaccurate calendar, our June comes during winter when there is no rain.

New year's day in different cultures fall on different days. A popular day is spring equinox, like our Songkran day in ancient time. As for January 1, Gregorian calendar is not the first system that sets the New year's day on January 1. Julian calendar also had New year's day on January 1. It is a Roman new year date.

The reason the Roman had their new year's day on January 1 has nothing to do with season. They even had their new year's day in March 1 before changing to January 1 after 153 BC. Their new year started on the month when a new consul (i.e. head) of the Roman empire took office, which happened in March. Then in 153 BC they decided the consul should take office in January instead, so the new year moved to January.

Sorry for a late and complicated reply. Calendar matter is rather complicated. Please feel free to comment or ask if you need further clarification.

Visanu E.


Pong Ngoew (pongn@hotmail.com)

Hello
About the original Thai New Year (Songkran day ), I feel that the date 13-14 Apr. is not the original Thai New Year. It is supposed to be based on the lunar system, but not the solar system like today.

Q.
1. When was it changed?
2. Who changed and why?
It will be very useful to know real Thai history matter.

it will be very useful to known real thai history matter.

thank you.
pongn@hotmail.com

thaiastro

As far as I know, Songkran has always marked the original Thai new year. It is based on the solar calendar of ancient India. The day is supposed to be spring equinox which in ancient time, when the calendar was fixed, occurred in April. Due to Earth's precession, the equinox now occurs in March, but Songkran still keeps that April date.

Thai new year used to start on 1st April before it was changed during the time of Field Marshall P. Pibulsongkhram's 1st Prime Ministership to 1st January. So the year B.E. 2482 had 12 months, starting from April 2482 until March 2482. The year B.E. 2483 had 9 months, starting from April 2483 until December 2483. Then the following January became 2484. The reason was to match our calender with international calendar.

Visanu E.


Sompol Prompongcharoen" (Sompol.P@tfb.co.th)

ขอความกรุณาช่วยอธิบาย 10 x 30 ด้วยครับ 10 ตัวแรกคือกำลังขยาย 30 คืออะไร

ขอบพระคุณครับ
สมพล

thaiastro

หากกำลังพูดถึงตัวเลขที่กล้องสองตา เลข 30 คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้องครับ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรครับ

วิมุติ วสะหลาย