CHARAN SIRIPHORNCHAIKUL (charans@usa.net)

คือว่า ลูกสาวของพี่ที่ทำงานเค้าจะทำรายงานเกี่ยวกับสรุปปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ น่ะครับ ซึ่งใน WEB ของสมาคมฯ มีข้อมูลของสรุปปรากฏการณ์ของปี 2542 แล้ว แต่ไม่เห็นมีของปี 2541 ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลอยู่บ้างหรือไม่ครับ ถ้ามีก็ขอรบกวนด้วยนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

thaiastro

ข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่ผ่านเลยไปแล้วผมจะรวบรวมเป็นหัวข้อไว้ที่หน้า "จดหมายเหตุฟ้าเมืองไทย" (https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/archive.html) ครับ ซึ่งมีเรื่องของสุริยุปราคาในปี 2541 ด้วย คือ สุริยุปราคา 22 สิงหาคม 2541 (https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/asecl98.html) ครับ

วิมุติ วสะหลาย


"Nongyao Quartz" (nongyao@yindii.com)

เรียน ThaiAstro Webmasters
ดิฉันอยากจะเรียนให้ท่านทราบว่า เว็บไซต์ของท่านได้ถูกเลือกให้อยู่ในส่วนที่เป็นการศึกษาในเว็บไซต์ ของเราชื่อว่า Yindii School Zone http://www.yindii.com/edu/astronomyth.htm ทางเราเห็นว่าเว็บไซต์ของท่านดีมากและเป็นประโยคสำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษา อาจารย์ หรือผู้สนใจทั่วไป

หากท่านมีข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นเพื่อที่จะทำให้ Yindii School Zone พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้น ทางเราขอน้อมรับ ความคิดเห็นเพียงหนึ่งท่านก็มีค่ามากสำหรับเรา

นอกจากนี้ดิฉันจักขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ถ้าท่านจะกรุณาลิ้งค์ Yindii School Zone เป็นส่วนหนึ่งในเว็บไซต์ ของท่านเพื่อให้คนทั่วไปได้รู้จัก

ขอคุณค่ะ
นางนงเยาว์ ควาทซ์
nongyao@yindii.com
www.yindii.com

thaiastro

เรียน คุณนงเยาว์
ขอขอบคุณที่ Yindii.com ได้ทำลิงก์มายังโฮมเพจสมาคมดาราศาสตร์ไทย ผมได้ตามไปดูในเพจ Yindii School Zone แล้ว และไม่ลังเลเลยที่จะทำลิงก์ให้เพจนี้ในหน้าลิงก์ของสมาคมฯ (https://thaiastro.nectec.or.th/library/astrowww.html) เช่นกันครับ

วิมุติ วสะหลาย


Pasakorn Iem-sumarng (ipas@sra.cat.or.th)

Dear Sir,
November 8,1999 : 10.11am. At "What's new?" (me ah rai mai) (my pc cann't type in Thai letters..sorry) link on your main page it's shown "Error 404 not found" please correct it, thanks.

Regards,
Pasakorn

thaiastro

Dear sir,
Good to hear from you again. The What's New file was broken accidentally. I have fixed it already.

Regards,
Wimut Wasalai


Noo+ Noi~ MeSy *^_^* (mesy@usa.net)

เรียนคุณวิษณุ
ตามที่ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวเรื่อง ฝนดาวตกอันใหม่ ที่เพิ่งถูกค้นพบ และจะปรากฏให้เห็นในวันที่ 10 พ.ย. 2542 นั้น อยากทราบว่า ...
1. เป็นความจริงมากน้อยประการใด
2. จะมีปรากฏให้เห็นในระยะเวลานานเท่าใด
3. จะสามารถมองเห็นได้โดยชัดเจนในเวลาใด และสถานที่ไหน
เนื่องจากปีที่แล้ว ได้ไปดูฝนดาวตก ลีโอนิดส์ ที่บางคล้า ( แปดริ้ว ) แต่ก็เห็นไม่ค่อยมากนัก และ ได้ไปดู ฝนดาวตก เจมินิดส์ ที่เกาะเสม็ด ( เดือน ธันวาคม 2541 ) ก็ยิ่งเห็นไม่มากเท่าไหร่เลยค่ะ ปีนี้ก็เลยอยากจะเห็นฝนดาวตกได้มากกว่าเดิม ( กลัวจะผิดหวังอีก )

ขอบคุณมากค่ะ
- เมซี่ -
= Noo+ Noi~ MeSy *^_^* =

thaiastro

เรียนคุณเมชี่
1. อาจจะมีฝนดาวตกชุดใหม่จริงในวันดังกล่าว ถ้าดาวหาง LINEAR (C/1999 J3) ที่ผ่านมา ทิ้งฝุ่นผงไว้มากพอ ต้องรอดูกันวันสองวันนี้แหละครับ
2. เรื่องระยะเวลา ไม่มีใครทราบแน่ชัด เดากันทั้งนั้น
3. ดูที่ไหนก็ได้ ถ้าฟ้าใสและมืดพอ หลังเที่ยงคืนลองดูดาวตกที่กระจายออกมาจาก บริเวณดาวหมีใหญ่ (จระเข้) ช่วงวันที่ควรสังเกตคือ 4-18 พ.ย. ดีที่สุดคือ 11 พ.ย.
ข้อมูลจาก http://www.skypub.com/sights/meteors/newshower.html
ดาวตกลีโอนิดส์ปีนี้ก็ยังน่าจะมีมากอยู่นะครับ ปีที่แล้วมันมาเร็วกว่าที่โฆษณากันไว้ 1 วัน คนส่วนใหญ่จึงเห็นดาวตกไม่จุใจ ถ้าเป็นไปได้ควรรอดูในช่วง 16-19 พ.ย. หลังเที่ยงคืน
วิษณุ

chalermchai maklam (iquesung18@hotmail.com)

ขอบคุณครับสำหรับเมลล์ที่ตอบมา ที่ชมรมให้ผมหาที่ดูดาวที่เขาใหญ่ครับ มีอะไรพอจะแนะนำผมได้ก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

thaiastro

ขออภัยครับ กระผมสัพเพร่าอีกแล้ว มาเปิดอ่านเมลช้าไปตั้งสัปดาห์ กว่าคุณจะเห็นจดหมายผมก็คงจะกลับมาจากเที่ยวแล้วกระมัง อย่างไรก็ตาม คำตอบของผมคงจะมีประโยชน์บ้างในการเที่ยวดูดาวครั้งต่อไปนะครับ สำหรับข้อพึงปฏิบัติในการดูดาวในอุทยานแห่งชาติ ผมได้เขียนไปบ้างแล้วในเพจ "สารพันคำถามเกี่ยวกับฝนดาวตก" (https://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faqshowr.html) และในจดหมายเก่า ๆ ในหน้า "จดหมายถึง thaiastro" (https://thaiastro.nectec.or.th/letters/letters.html) ก็เคยตอบมาก่อนแล้ว สำหรับเขาใหญ่ซึ่งผมไปดูดาวและเที่ยวป่าอยู่บ่อย ๆ ผมว่ามีสถานที่ดูดาวง่าย ๆ ก็คือ บริเวณหน้าค่ายลูกเสือกองแก้วเพราะสถานที่กว้างขวาง ยิ่งจัดกิจกรรมจะดีมาก บริเวณลานผากล้วยไม้ก็ดี แต่ถ้าเป็นเสาร์อาทิตย์คงไม่ดีเพราะอึกทึกเกินไป นอกจากนี้ที่ใกล้ ๆ ผากล้วยไม้ก็มีจุดชมวิว ก็ดูดีครับ แต่จุดนี้ถ้าจะไปดูต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพราะอยู่นอกพื้นที่ที่จะปล่อยให้ผู้คนออกมายามวิกาลได้ โฮมเพจ "ฟ้า 4 ดูฟ้าดูดาว ไม่เหงาหัวใจ" ของคุณ fa4 มีการแนะนำสถานที่ดูดาวตามอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง มีประโยชน์ทีเดียวครับ มี url อยู่ที่ http://members.xoom.com/fa4/ ประการสำคัญที่สุดในการดูดาวในป่าก็คือ ป่าเป็นบ้านของสัตว์ ต้องเกรงใจเจ้าของบ้านด้วยครับ พึงระวังการใช้เสียงและกลิ่นให้มากที่สุด หากคุณไปเที่ยวดูดาวกลับมาแล้วมีเรื่องน่าสนุกตื่นเต้นก็ลองเขียนมาเล่าให้อ่านในเพจ "รายงานกิจกรรม" (https://thaiastro.nectec.or.th/report/index.html) บ้างนะครับ และขออภัยอีกครับที่ตอบล่าช้า

วิมุติ วสะหลาย


Gift (user35@griffon.cec.chula.th)

ขอข้อมูลเรื่อง "การทดลองเรื่องแรงดึงดูด" บนดวงจันทร์ครับ

thaiastro

ผมขอเดาว่า คุณต้องการแผนที่แสดงสนามความโน้มถ่วงของดวงจันทร์นะครับ ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องไปดูที่โฮมเพจของยานคลีเมนไทน์ครับ เพราะเป็นยานอวกาศที่สำรวจเรื่องนี้มาอย่างละเอียด มี url อยู่ที่ http://www.nrl.navy.mil/clementine/clementine.html ครับ แต่ถ้าผมเดาคำถามของคุณผิดก็ขอความกรุณาบอกรายละเอียดมากหน่อยได้ไหมครับ เพราะโจทย์ของคุณกว้างเหลือเกิน

วิมุติ วสะหลาย


นิคม (nikomcm@yahoo.com)

ผมอยากจะเรียนรู้การดูดาว ตอนนี้ดูไปเป็นเลย ควรจะเริ่มต้นอย่างไร และควรจะเริ่มอ่านหนังสือเล่มไหนดีที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายและมีรูปประกอบชัดเจน ขอบคุณครับ

thaiastro

หนังสือดีสำหรับหัดดูดาวก็มีหลายเล่มครับ ถ้าเป็นร้านหนังสือทั่ว ๆ ไปอาจจะได้เห็นอยู่สองเล่มคือ "หลักการดูดาวขั้นต้น" ของ อ.นิพนธ์ ทรายเพชร กับ "ดาราศาสตร์พื้นฐาน" ของรุจิราพรรณ รุ่งรอด แต่เล่มอื่นอาจหายาก ถ้าคุณต้องการดูให้เยอะ ลองไปดูที่ร้านสเปกตรัมกับร้านใจแสตมป์ข้าง ๆ ท้องฟ้าจำลองก็จะเห็นหลายเล่มพอสมควร ล่าสุดผมเห็น "การดูดาวภาคปฏิบัติ" ของท้องฟ้าจำลอง เพิ่งออกมาไม่นานนี้เองครับ

ข้อมูลในเว็บอยู่หลายแห่งพอสมควรที่มีการสอนดูดาวสำหรับผู้เริ่มต้น เช่น ในโฮมเพจ "FA4 ดูฟ้าดูดาว ไม่เหงาหัวใจ" (http://members.xoom.com/fa4) เพจ "สารพันดาว" (http://www.geocities.com/Area51/Shire/1567/) เป็นต้น เพจสำหรับเริ่มต้นของสมาคมฯ ก็กำลังเรียบเรียงอยู่ คงออกมาเร็ว ๆ นี้ครับ

วิมุติ วสะหลาย


apisit j. (kookoo@ksc.th.com)

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณาตอบ mail นะครับ พูดถึงกิจกรรมต่างๆในเมืองไทยนี่ผมช้ำใจแทนคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จริง ๆ ครับ คุณวิมุติคงเห็นและทราบดีอยู่แล้ว ทาง TAS ก็พยายาม ทำอะไรหลาย ๆ อย่างให้เด็กและเยาวชนซึ่งผมก็ขอบคุณแทนพวกเขานะครับ กิจกรรม,กีฬาและงานอดิเรกเป็นสิ่งที่พ่อแม่คนไทยทุกคนต้องการปลูกฝังให้บุตรหลาน ห่างไกลจากสังคมกึ่งวิปริตในปัจจุบัน แต่ดูสิครับอะไรที่มันเป็นบวกเป็นคุณมันต้องลำบากต้องไขว่คว้าน่าเหนื่อยใจเหลือ เกิน นอกเรื่องไปไกลแล้ว ขออภัยนะครับ ผมไปลอนดอนมา 2-3 วันเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ใครว่า London เป็นเมืองในฝนเมืองในหมอก ผมตื่นเช้ามืด (เพราะเวลาเป็นลบ) นอนดูดาวพฤหัสเคียงดาวเสาร์ชัดแจ๋วแหวว เสียดายที่รีบจัดกระเป๋าลืมเอา bino ไปด้วย ผมซื้อ mag จำพวก Astronomy, Sky & Telescope, Astronomy Now เป็นประจำเมื่อ มีโอกาส เดือนนี้เขามีฉบับพิเศษเหมือนเป็น yearbook ของปี 2000 เป็นคู่มือดูดาวได้ตลอดปีหน้า ถ้าผมจะส่งไปให้คุณวิมุติเพื่ออาจจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก็คงใช้ที่อยู่ของสมา คมได้นะครับ (ไม่ทราบว่าจะเอามะพร้าวห้าวไปขายสวนหรือปล่าว) ผมว่าถึงแม้ปัจจุบันเราแทบจะค้นหาข้อมูลทุกอย่างใน internet แต่ Mag พวกนี้ก็ยังมีประโยชน์มากเหมือนเดิม เพราะหยิบดูหยิบใช้ได้ตลอด โยนไว้ในรถก็ได้ ช่วงสัปดาห์หน้ากลางเดือนผมคงต้องเดินทางอีกครั้ง คราวนี้เป็นประเทศที่ไม่เคยไป จะเอาเจ้าสองตาไปด้วย แล้วจะลองเขียน scoop สั้นๆว่าด้วยเรื่องดูสาว เอ๊ย..ดูดาวต่างแดนด้วยกล้องสองตาเผื่อคุณวิมุติอาจจะกรุณารับไว้ พิจารณาเพื่อต่อเป็นตอนที่ 4 นะครับ !!!????

ขอบคุณที่อ่านครับ
อภิสิทธิ์ เจิมสวัสดิ์

thaiastro

ไม่เพียงแต่งานทางดาราศาสตร์เท่านั้นหรอกครับ ไม่ว่างานด้านอะไรถ้าเป็นทางวิทยาศาสตร์ก็เผยแพร่ยากทั้งนั้นครับ แรงสนับสนุนหายากเต็มทน รายการวิทยุโทรทรรศน์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็อยู่ไม่ยืด ต้องสปอนเซอร์ให้รายการตัวเอง วารสารก็ปิดตัวเองไปหมด เหลืออยู่สองสามฉบับ ใครทำหนังสือขายมาก็ต้องภาวนาให้มีคนซื้อ เรื่องพิมพ์ซ้ำไม่ต้องฝัน ในขณะที่ถ้าใครทำตำราหรือออกเทปดูหมอ ดูโหงวเฮ้ง ดูผี ขายดียังกับอะไรดี นี่แหละครับ เมืองไทยยุคปีสองพัน สมาคมดาราศาสตร์ไทยและองค์กรอื่น ๆ ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องทำงานต่อไป รอเมื่อวันฟ้าสีทองผ่องอำไพ วิทยาศาสตร์และเหตุผลจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน นาน ๆ มีผู้ให้กำลังใจอย่างคุณอภิสิทธิ์สักทีก็ดีใจขึ้นอีกอักโข

วารสารประเภท yearbook ที่เมืองไทยก็มีจำหน่ายครับ ไม่ขอรบกวนคุณอภิสิทธิ์หรอกครับ แต่อย่างไรก็ขอบคุณมากที่แจ้งเรื่องดี ๆ จากทางลอนดอนมาให้ เรื่องสกู๊ปจากต่างแดนผมรออ่านอยู่ครับ ถ้าหากคุณเขียนมาเป็นตอนหรือเป็นเที่ยว ๆ คงจะดีมากครับ เพราะจะเหมาะกับเพจ "รายงานกิจกรรม" (https://thaiastro.nectec.or.th/report/index.html) มาก สำหรับจดหมายตอนแรกของคุณอภิสิทธิผมเอาลงเว็บในหน้า "จดหมายถึง thaiastro" (https://thaiastro.nectec.or.th/letters/letters.html) แล้ว คงจะได้อ่านแล้วนะครับ

วิมุติ วสะหลาย


nikom poosawang (nikomcm@yahoo.com)

ผมอยากจะเรียนรู้การดูดาว ตอนนี้ดูไปเป็นเลย ควรจะเริ่มต้นอย่างไร และควรจะเริ่มอ่านหนังสือเล่มไหนดีที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายและมีรูปประกอบชัดเจน ขอบคุณครับ

นิคม nikomcm@yahoo.com

thaiastro

หนังสือดีสำหรับหัดดูดาวก็มีหลายเล่มครับ ถ้าเป็นร้านหนังสือทั่ว ๆ ไปอาจจะได้เห็นอยู่สองเล่มคือ "หลักการดูดาวขั้นต้น" ของ อ.นิพนธ์ ทรายเพชร กับ "ดาราศาสตร์พื้นฐาน" ของรุจิราพรรณ รุ่งรอด แต่เล่มอื่นอาจหายาก ถ้าคุณต้องการดูให้เยอะ ลองไปดูที่ร้านสเปกตรัมกับร้านใจแสตมป์ข้าง ๆ ท้องฟ้าจำลองก็จะเห็นหลายเล่มพอสมควร ล่าสุดผมเห็น "การดูดาวภาคปฏิบัติ" ของท้องฟ้าจำลอง เพิ่งออกมาไม่นานนี้เองครับ ข้อมูลในเว็บอยู่หลายแห่งพอสมควรที่มีการสอนดูดาวสำหรับผู้เริ่มต้น เช่น ในโฮมเพจ "FA4 ดูฟ้าดูดาว ไม่เหงาหัวใจ" (http://members.xoom.com/fa4) เพจ "สารพันดาว" (http://www.geocities.com/Area51/Shire/1567/) เป็นต้น เพจสำหรับเริ่มต้นของสมาคมฯ ก็กำลังเรียบเรียงอยู่ คงออกมาเร็ว ๆ นี้ครับ

วิมุติ วสะหลาย


Pattharit Songsak (s_pink28@ksc.phrae.co.th)

ผมอยากทราบเรี่ยงมหากากบาทนะครับ ผมเป็นนักเรียนที่ต้องทำส่งรายงานเรี่องนี้ครับ ผมอยากได้ข้อมูลเร็วๆครับ ถ้าคุณส่งมา ผมจะขอบพระคุณอย่างมากเลยครับ Email ของผม s_pink28@ksc.phrae.co.th ครับ

thaiastro

คุณหมายถึงการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2542 ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ อยากทราบในแง่ไหนบ้าง ดาราศาสตร์อย่างเดียวหรือโหราศาสตร์ด้วย กรุณาตอบโดยเร็ว ระหว่างนี้ผมจะค้นคว้าเรื่องปรากฏการณ์ในวันดังกล่าวไปพลางก่อน

วิษณุ