สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สิบข่าวเด่นดาราศาสตร์ปี 2560

สิบข่าวเด่นดาราศาสตร์ปี 2560

27 ธ.ค. 2560
รายงานโดย: ธรรมฤทธิ์ ลิขิตธีรเมธ ()

อันดับ 10 ดาวเคราะห์น้อย 6125 สิงห์โต

หลังจากเมื่อพ.ศ. 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้ตั้งชื่อดาว 47 หมีใหญ่ว่าดาวชาละวัน (Chalawan) ตามที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยเสนอ ในปีนี้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก็ให้สิทธิ์สมาคมดาราศาสตร์ไทยเสนอชื่อดาวเคราะห์น้อยเพิ่มอีก ดวง สมาคมดาราศาสตร์ไทยจึงเสนอชื่อนายสิงห์โต ปุกหุตไป ซึ่งสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้นำชื่อนี้ไปตั้งให้กับดาวเคราะห์น้อย 1989 ซีเอ็น ทำให้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อใหม่ว่า ดาวเคราะห์น้อย 6125 สิงห์โต (6125 Singto)

นายสิงห์โต ปุกหุต เป็นนักดาราศาสตร์ไทยรุ่นบุกเบิก เป็นนักเขียน เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และอดีตนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทยสองสมัย มีผลงานเขียนด้านดาราศาสตร์มากมาย เช่น พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย, ประวัติดาราศาสตร์,  ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หนึ่งในนั้นคือหนังสือเรื่อง นิยายดาว เป็นหนังสือที่อยู่ในรายชื่อ “หนังสือดี 100 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน” โดย สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย
อ่านต่อ: สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อ "ดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต" เชิดชูเกียรติ อ.สิงห์โต ปุกหุต
 

อันดับ ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เสียชีวิต

ปีนี้วงการดาราศาสตร์ไทยสูญเสีย ศ.ดร.ระวี ภาวิไล นักคิด นักเขียน นักดาราศาสตร์คนสำคัญของไทย และหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมดาราศาสตร์ไทย ไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เป็นนักดาราศาสตร์รุ่นบุกเบิกของไทย มีผลงานทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ดาวหาง ดาราศาสตร์และอวกาศ หรือหนังสือทางศาสนา เช่น อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่
 

อันดับ นานาทฤษฎีที่พยายามอธิบายความประหลาดของดาวแท็บบี

ถ้ายังจำได้ ปีที่แล้วมีเรื่องดาวพิลึกกึกกือ หรือที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ดาวเคไอซี 8462852 (KIC 8462852) หรือดาวแทบบี ซึ่งมีพฤติกรรมประหลาด มีการลดแสงสว่างที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่มีรูปแบบแน่นอน นักดาราศาสตร์นั่งขบคิดเรื่องนี้กันข้ามปี ตลอดทั้งปีมานี้ก็มีทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย เช่น
เฟร์นันโด บัลเลสเตรอส จากมหาวิทยาลัยวาเลนเซีย ประเทศสเปน เสนอว่า ดาวเคไอซี 8462852 นี้น่าจะมีดาวเคราะห์ยักษ์เป็นบริวารดวงหนึ่ง และดาวดวงนี้ก็มีวงแหวนล้อมรอบเช่นเดียวกับดาวเสาร์ นอกจากนี้ก็ยังมีดาวเคราะห์น้อยทรอยอีกจำนวนหนึ่งที่เกาะกลุ่มกันอย่างหนาแน่นและใช้วงโคจรร่วมกัน กลุ่มหนึ่งนำหน้าดาวเคราะห์ อีกกลุ่มหนึ่งตามหลัง นักวิจัยคณะนี้ชี้ว่าตรงที่กราฟแสงตกลงไปลึกที่สุดนั้นเกิดจากการบังของดาวเคราะห์นั่นเอง
อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอโดย ปีเตอร์ ฟูกัล อธิบายว่า แสงดาวที่หรี่ลงมาจากบางอย่างภายในดาวเองไปยับยั้งกระแสไหลวนของพลาสมาภายในดาวไม่ให้มาถึงพื้นผิวได้เป็นระยะสั้น ๆ ส่งผลให้กราฟแสงตก หรืออาจเป็นสนามแม่เหล็กเข้มข้นภายในดาวไปหยุดกระแสหมุนวนของเนื้อดาวทำให้เกิดจุดมืดขนาดใหญ่บนพื้นผิว เป็นผลให้ความสว่างของดาวลดลง
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนทุกทฤษฎีที่มีคนเสนอมาในตอนนี้ยังไม่มีทฤษฎีไหนได้รับการยอมรับ และอธิบายได้อย่างหมดจด จนถึงตอนนี้เจ้าดาวพิลึกกึกกือก็ยังคงเป็นดาวพิลึกกึกกือต่อไป

อ่านต่อ: นานาทฤษฎีอธิบายพฤติกรรมประหลาดของดาวแทบบี
 

อันดับ ดาว N6946-BH1 ลักไก่ ข้ามซูเปอร์โนวาไปเป็นหลุมดำ

ตามปกติแล้วดาวฤกษ์มวลมากต้องผ่านช่วงที่พองตัวออกเป็นดาวยักษ์แดง แล้วระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา หลังจากนั้นจะกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำก็ขึ้นอยู่กับมวลของมัน แต่ทว่าบนท้องฟ้ามีอะไรไม่แน่นอนอยู่เสมอ นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่าดาวเอ็น 6946-บีเอช (N6946-BH1) ที่มีมวล 25 มวลสุริยะ อยู่ห่างออกไป 22 ล้านปีแสงในดาราจักรเอ็นจีซี 6946 นั้น "ลักไก่" ไม่ยอมระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา แต่กลายเป็นหลุมดำไปดื้อ 
นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถหาคำตอบที่แท้จริงของการลักไก่ครั้งนี้ ถ้าหาได้ ดาวดวงนี้อาจจะเป็นคำตอบของปริศนาว่าทำไมเราจึงไม่เคย เจอดาวฤกษ์มวลมากระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาเลย

อ่านต่อ: พบดาวฤกษ์ "ตายลัด" กลายเป็นหลุมดำโดยไม่ระเบิด 
 

พบตำแหน่งลำแก๊สบนยูโรปา

ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีนับว่าเป็นสถานที่นอกโลกที่มีความเป็นไปได้สูงสุดที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ ในปีนี้ยูโรปาก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นอีกเรื่อง โดยในวันที่ 14 เมษายน องค์การนาซาได้รายงานว่า ไอน้ำที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปาที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเคยถ่ายได้ในสองวาระน่าจะเป็นรอยเดียวกัน ซึ่งทำให้จุดนี้เป็นจุดที่น่าจะส่งยานอวกาศไปสำรวจมากที่สุด นาซาจะส่งยานยูโรปาคลิปเปอร์ไปสำรวจดวงจันทร์ยูโรปาในทศวรรษหน้า โดยยานจะใช้เวลาเดินทาง ปี ภารกิจหลักก็คงหนีไม่พ้นการสำรวจความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตใต้พื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา

อ่านต่อ: พบตำแหน่งกำเนิดลำแก๊สบนยูโรปา นาซาเตรียมส่งยูโรปาคลิปเปอร์สำรวจทศวรรษหน้า
 

อันดับ ปิดฉาก 20 ปี แคสซีนี

ปีนี้คงไม่มียานอวกาศลำไหนจะดังไปกว่า "แคสซีนี" ยานสำรวจดาวเสาร์ขององค์การนาซา หลังภารกิจเกือบ 20 ปีของมัน จนดูเหมือนว่ามันถูกใช้งานเยี่ยงนางทาส แคสซีนีก็จบชีวิตของตัวเองลงในวันที่ 15 กันยายน นอกจากจะสำรวจดาวเสาร์อย่างใกล้ชิดแล้ว ยานแคสซีนียังถ่ายภาพสวย ๆ ของดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์ และดาวบริวารของมัน รวมทั้งค้นพบอะไรต่อมิอะไรมากมาย เช่น ความเป็นไปได้ที่จะมีของเหลวอยู่ใต้พื้นผิวของดวงจันทร์เอนเซลาดัส หรือความจริงที่ว่าระหว่างวงแหวนดาวเสาร์กับตัวดาวเสาร์เองนั้นแทบไม่มีฝุ่นเลย แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา นาซาได้บังคับให้ยานแคสซีนีพุ่งชนดาวเสาร์เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจากโลกที่อาจมีชีวิตรอดอยู่บนยานไปแปดเปื้อนดวงจันทร์ของดาวเสาร์ ซึ่งมีโอกาสมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนนั้น
อ่านต่อ: แคสซีนี นังทาสของนาซา 
 

อันดับ โอมูอามูอา วัตถุปริศนาจากนอกระบบสุริยะ

ตอนแรกก็นึกว่าเป็นดาวหาง ตอนหลังก็บอกว่าไม่ใช่ นี่ไม่ใช่วัตถุอื่นใด แต่เป็นดาวเคราะห์น้อยจากแดนไกล ชื่อว่า โออูมูอามูอา ('Oumuamua) หินประหลาดรูปซิการ์กว้าง 40 เมตร ยาว 400 เมตรก้อนนี้สร้างความจ้าละหวั่นให้นักดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยตอนแรกที่นักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุชิ้นนี้ ทีมที่ค้นพบก็นึกว่าเป็นดาวหาง เลยตั้งชื่อให้ว่า ซี/2017 ยู (C/2017 U1) แต่หลังจากสำรวจไปสำรวจมาก็พบว่า มันทำตัวไม่เหมือนดาวหางเลยนี่นา จึงสรุปได้ว่าเป็นวัตถุประเภทดาวเคราะห์น้อย นักดาราศาสตร์ก็ต้องเปลี่ยนชื่อเจ้าตัวป่วนนี้ใหม่ให้เป็น เอ/2017 ยู (A/2017 U1)
แต่เรื่องยังไม่จบแค่นี้ ปรากฏว่าวัตถุชิ้นนี้ไม่ได้มาจากระบบสุริยะ จึงต้องตั้งประเภทขึ้นมาใหม่อีก มันเลยได้ชื่อใหม่ว่า ไอ/2017 ยู (1I/2017 U1) และคณะนักวิทยาศาสตร์ของกล้องแพน-สตารส์ก็ตั้งชื่อสามัญให้เจ้าตัวแสบนี้ว่า โออูมูอามูอา ('Oumuamua) ซึ่งเป็นคำภาษาฮาวาย แปลว่า "ผู้นำสารคนแรกจากแดนไกล"
อ่านต่อ: ความคืบหน้า วัตถุต่างด้าวดวงแรก
 

อันดับ นาซาค้นพบระบบดาวแทรปพิสต์-1

น่าจะยังจำได้ว่าเมื่อต้นปีที่ผ่านมามีข่าวใหญ่เกี่ยวกับการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะของ ดาวแทรปพิสต์-1 (TRAPPIST-1) ปรากฏว่าระบบสุริยะที่ค้นพบใหม่นี้มีดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงโลกถึงเจ็ดดวง โดยสามในเจ็ดดวงนั้นอยู่ในเขตเอื้อชีวิต การค้นพบครั้งนี้นับเป็นการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบในเขตเอื้อชีวิตของระบบสุริยะเดียวกันเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยดาวแทรปพิสต์-1 อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ มีมวลเพียง เปอร์เซ็นต์ของดวงอาทิตย์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/8 ของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิพื้นผิว 2,800 เคลวิน เป็นดาวฤกษ์ประเภท ดาวแคระแดง และอยู่ห่างจากโลกเราเพียง 39 ปีแสงเท่านั้น ซึ่งถือว่าใกล้มาก
อ่านต่อ: พบดาวเคราะห์ขนาดระดับโลกเจ็ดดวงในระบบสุริยะเดียว
 

อันดับ นาซาพบโลกต่างระบบในระบบของดาว Kepler-90

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์นั้นมักจะทำการค้นพบที่ทำให้เป็นข่าวฮือฮาอย่างสม่ำเสมอ ปีนี้มันก็ไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะนอกจากจะค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบดวงใหม่ ๆ แล้ว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 นาซาก็ประกาศว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ทำสถิติใหม่ คือพบดาวที่มีบริวารถึง ดวงเป็นครั้งแรก ดาวดวงนั้นคือดาวเคปเลอร์-90 ซึ่งเคยคิดกันว่ามีบริวาร ดวง จำนวนนี้นับว่ามากแล้ว เท่า ๆ กับดาวแทรปพิสต์-1 แต่นาซาเผยในวันนั้นว่ามีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่  ที่สำคัญการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้เหมือนการค้นพบครั้งก่อน ๆ ตรงที่มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) มาร่วมด้วย
แต่สิ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ตื่นเต้นมากที่สุดคงเป็นเรื่องที่การค้นพบครั้งนี้บอกว่า มีโอกาสที่ดาวเคราะห์ต่างระบบชุดนี้บางดวงมีขนาดพอเหมาะจะเป็นดาวเคราะห์หิน และดาวเคราะห์บางดวงก็อยู่ในบริเวณที่เอื้อต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตด้วย

อันดับ พบคลื่นความโน้มถ่วงจากดาวนิวตรอน

หลังจากการประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งแรกเมื่อปี 2559 นั้น ไลโก (LIGO) ก็ได้พบคลื่นความโน้มถ่วงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้มีการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่ ขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2560
ซึ่งแน่นอนว่าถ้าการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงใหม่ครั้งนี้เหมือนครั้งก่อน ๆ มันก็คงไม่ติด 10 อันดับข่าวในรอบปีของสมาคมดาราศาสตร์ไทย และมันก็เป็นการค้นพบที่ไม่ธรรมดาจริง ๆ ด้วย เพราะต้นเหตุครั้งนี้ไม่ได้มาจากหลุมดำชนกันเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่เกิดจากดาวนิวตรอนสองดวงชนกัน! และเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบในลักษณะนี้
ในการค้นพบครั้งที่ นี้ สิ่งที่สร้างความประหลาดใจแก่นักดาราศาสตร์อย่างที่สุดก็คือ กล้องโทรทรรศน์เชิงแสงที่สังเกตปรากฏการณ์นี้ตรวจพบการสังเคราะห์ธาตุหนักบางชนิด เช่น ทองคำ แพลทินัม ตะกั่ว ซึ่งนักดาราศาสตร์ก็สงสัยมานานแล้วว่า ในเมื่อตอนกำเนิดเอกภพมันมีแค่ธาตุไฮโดรเจน และฮีเลียมเท่านั้น แล้วธาตุหนัก (เลขอะตอมมากกว่าเหล็ก) เหล่านี้มาจากไหนกัน นักดาราศาสตร์สันนิษฐานไว้ก่อนแล้วว่ามันน่าจะมาจากการชนกันของดาวนิวตรอน ซึ่งการค้นพบครั้งนี้จะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะมาพิสูจน์ว่าทฤษฎีนี้ถูกหรือไม่
อ่านต่อ: คลื่นความโน้มถ่วงจากดาวนิวตรอนชนกัน 

ข่าวที่คล้ายกัน:

    ที่มา: