โครงการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ
ครั้งที่ 2
(ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
The Second Thai Astronomy Olympiad : TAO
ผู้รับผิดชอบโครงการ
-
มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา
ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.)
- สมาคมดาราศาสตร์ไทย
ความสำคัญและที่มาของโครงการ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 4) ทรงสนพระทัยทางด้านดาราศาสตร์และทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปี
ซึ่งในครั้งนั้นตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 นับเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งทางด้านดาราศาสตร์
ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
สืบเนื่องต่อมาพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงสนพระทัยในทางดาราศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
เพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะประกาศใช้ทั่วประเทศในปี 2546
แล้วนั้น หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์และอวกาศได้บรรจุสาระเนื้อหาวิชาในทุกระดับชั้น
ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนได้เรียนรู้
เพื่อให้ได้ระดับมาตรฐานของสากลในระดับนานาชาติ ดังนั้นมูลนิธิ
สอวน. ตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างยิ่ง
ซึ่งทางมูลนิธิได้จัดโครงการโอลิมปิกวิชาการหลายสาขาต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา
อาทิ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ฯลฯ สืบเนื่องจากมีการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ
International Astronomy Olympiad หรือย่อว่า IAO จัดโดย
Euro Asian Astronomical Society (EAAS) และ Euro
Asian Association of Astronomy Teacher (EAATA) เป็นการแข่งขัน
สำหรับนักเรียนระดับมัธยมช่วงอายุไม่เกิน 15 ปีและ 17
ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้มีการพบปะในระดับนานาชาติระหว่างโรงเรียนที่มีการสอนดาราศาสตร์และฟิสิกส์
ให้ตระหนักถึงความสำคัญของดาราศาสตร์ที่มีต่อวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมทุกสาขา
รวมทั้งการศึกษาโดยทั่วไปของเยาวชนซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษาในสาขาวิชาดาราศาสตร์และอวกาศที่จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับชั้นต่างๆ
ในประเทศไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องวางแผนงานโครงการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกในระยะเวลา
5 ปีเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนและเยาวชนของชาติอีกทั้งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
อาทิ ครู อาจารย์ นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตร สิ่งสำคัญยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่
21 ศูนย์สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทย ศูนย์สอวน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดให้มีการเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี
2547 2548 (ค่ายดาราศาสตร์ 1) จำนวนนักเรียน 35 คน จากนักเรียนทั่วประเทศ
และคัดนักเรียนเข้าค่ายดาราศาสตร์ 2 จำนวน 20 คน เพื่อสอบคัดเลือกเป็นผู้แทนศูนย์ละ
6 คน รวม 24 คน แต่ละระดับชั้น โดยนักเรียนทั้งหมดจะเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ
ครั้งที่ 2 ซึ่งศูนย์ สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างวันที่ 29 เมษายน
5 พฤษภาคม 2548 นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่
อาจารย์และครูสังเกตการณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย
และหน่วยงานต่างๆ จำนวนประมาณ 30 คน ในการสอบแข่งขันประกอบด้วย
3 ส่วน คือการสอบแข่งขันภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และภาคสังเกตการณ์
เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติต่อไป
วัตถุประสงค์
- ให้นักเรียนที่เป็นผู้แทนศูนย์ได้เพิ่มพูนประสบการณ์การแข่งขันดาราศาสตร์ระดับชาติเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านความรู้ความสามารถทางด้านดาราศาสตร์
- เพิ่มพูนประสบการณ์ครูสังเกตการณ์ให้มีประสบการณ์ด้านความรู้และทักษะทางดาราศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาดาราศาสตร์ในสาระการเรียนรู้ดาราศาสตร์และอวกาศ
- เพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นผู้แทนเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศในปี
พ.ศ. 2548
- พัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความรู้
ความสามารถทางด้านดาราศาสตร์เพื่อได้บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิธีดำเนินการ
- ศูนย์การอบรม
4 ศูนย์ คัดเลือกนักเรียนเข้าแข่งขันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
และมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์ละ 12 คน รวม 48 คน
- ศูนย์การอบรม
4 ศูนย์ ดำเนินการออกข้อสอบภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติการ และภาคสังเกตการณ์แล้วส่งให้ศูนย์
สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทย เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวิชาการพิจารณาและ
คัดเลือกข้อสอบ
- ศูนย์การอบรม
4 ศูนย์ เสนอชื่ออาจารย์รวมเป็นกรรมการออกข้อสอบ กรรมการตรวจข้อสอบและกรรมการวิชาการ
ศูนย์ละ 2 คน รวมทั้งเสนอชื่อครูสังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมศูนย์ละ
2 คน
-
ศูนย์สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทยประสานงานและดำเนินการจัดแข่งขันในระหว่างวันที่
29 เมษายน 5 พฤษภาคม 2548
กำหนดการและสถานที่
- กำหนดการจัดแข่งขัน
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน - วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2548
-
สถานที่จัดแข่งขัน ภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ ณ อาคารฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
พระนครแกรนด์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร เขตบางเขน
กรุงเทพฯ
-
ภาคสังเกตการณ์ ณ วัดมกุฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
หลักสูตรการจัดแข่งขัน
ประเภทข้อสอบ
|
จำนวนข้อสอบ
|
เวลาสอบ
(ชั่วโมง) |
เนื้อหาข้อสอบ
/ กิจกรรม |
คะแนนเต็ม |
ภาคทฤษฎี
แบบอัตนัย |
6
ข้อ |
3
ชม. (ข้อละ 30 นาที) |
ทฤษฎีดาราศาสตร
์ |
60 |
ภาคปฏิบัติการแบบอัตนัย
|
2
ข้อ |
3
ชม. (ข้อละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) |
ใช้ข้อมูลจริง
แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำปฏิบัติการ |
20 |
ภาคสังเกตการณ์
|
3
ข้อ |
35
นาที / คน
จำนวน 24 คน
รวม 3 ชม. |
ให้นักเรียนสังเกตดวงดาวท้องฟ้าจริง
แล้วบันทึกผล |
20 |
งบประมาณ
จากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริน
|