โครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก"
รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี
ประจำปีดาราศาสตร์โอลิมปิกสากล 2549 (ค่ายดาราศาสตร์ 1)
จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา
ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
(มูลนิธิ สอวน.) และศูนย์ สอวน. สมาคมดาราศาสตร์ไทย
1. ความสำคัญและที่มาของโครงการ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 4) ทรงสนพระทัยทางด้านดาราศาสตร์และทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปี ซึ่งในครั้งนั้นตรงกับวันที่
18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 นับเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งทางด้านดาราศาสตร์
ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
สืบเนื่องต่อมาพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงสนพระทัยในทางดาราศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อปฏิรูปการศึกษา
ซึ่งจะประกาศใช้ทั่วประเทศในปี 2546 แล้วนั้น หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์และอวกาศได้บรรจุสาระเนื้อหาวิชาในทุกระดับชั้น
ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนได้เรียนรู้
เพื่อให้ได้ระดับมาตรฐานของสากลในระดับนานาชาติ ดังนั้นมูลนิธิ สอวน.
ตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้และความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างยิ่ง
ซึ่งทางมูลนิธิได้จัดโครงการโอลิมปิกวิชาการหลายสาขาต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา
อาทิ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ฯลฯ
สืบเนื่องจากมีการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ International
Astronomy Olympiad หรือย่อว่า IAO จัดโดย Euro Asian Astronomical
Society (EAAS) และ Euro Asian Association of Astronomy Teacher
(EAATA) เป็นการแข่งขัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมช่วงอายุไม่เกิน
15 ปีและ 17 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้มีการพบปะในระดับนานาชาติระหว่างโรงเรียนที่มีการสอนดาราศาสตร์และฟิสิกส์
ให้ตระหนักถึงความสำคัญของดาราศาสตร์ที่มีต่อวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมทุกสาขา
รวมทั้งการศึกษาโดยทั่วไปของเยาวชนซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษาในสาขาวิชาดาราศาสตร์และอวกาศที่จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับชั้นต่างๆ
ในประเทศไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องวางแผนงานโครงการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกในระยะเวลา
5 ปีเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนและเยาวชนของชาติอีกทั้งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
อาทิ ครู อาจารย์ นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตร สิ่งสำคัญยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่
21
ดังนั้นมูลนิธิ สอวน.และสมาคมดาราศาสตร์ไทย จึงจัดโครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก"
รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ประจำปีดาราศาสตร์โอลิมปิกสากล 2549 (ค่ายดาราศาสตร์
1) โดยรับผิดชอบโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง
ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ทั้งหมดประมาณ 1,000 โรงเรียน ซึ่งทางมูลนิธิ
สอวน. และสมาคมดาราศาสตร์ไทยจะจัดโครงการ "ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก"
ในช่วงวันที่ 8 16 ตุลาคม 2548
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก
(ค่ายดาราศาสตร์ 1) จำนวน 35 คน
- เพื่อจัดให้มีกิจกรรมแข่งขันความสามารถทางดาราศาสตร์ระดับประเทศ
- เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดาราศาสตร์ของนักเรียนในการเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ
- เพื่อพัฒนาการศึกษาดาราศาสตร์ในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากลตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
- เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์อันเป็นรากฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่
21
3. เป้าหมายของโครงการ
- เมื่อนักเรียนสิ้นสุดจากการเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก
(ค่ายดาราศาสตร์ 1) จำนวน 35 คน แล้วจะจัดการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าค่ายดาราศาสตร์
2 จำนวน 20 คน ในระหว่างเดือนมีนาคม 2549 เพื่อคัดเลือกในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติต่อไป
- นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ดาราศาสตร์อย่างกว้างขวาง
- พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถทางด้านดาราศาสตร์แก่เยาวชนของประเทศเข้าสู่มาตรฐานระดับนานาชาติและเข้าแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ
- ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนดาราศาสตร์บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา
- พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะดาราศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับแผนการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. วิธีดำเนินการ
ศูนย์ สอวน. (สมาคมดาราศาสตร์ไทย)
กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก
ตามรายละเอียดดังนี้
4.1 จำนวนค่ายที่จัด
เวลา สถานที่ ค่าย
1 ปิดเทอมต้นปีการศึกษา 2548 จำนวน 9 วัน วันที่ 8 16 ตุลาคม จำนวน
35 คน
- ค่าย 2
ปิดเทอมปลายปีการศึกษา 2548 จำนวน 11 วัน ในระหว่างวันที่
18 - 28 มีนาคม 2549 จำนวน 20 คน
- เมื่อสิ้นค่าย 2
จะคัดเลือกผู้แทนศูนย์ๆ ละ 3 คน เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม
2549 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ผู้แทนจากการแข่งขันระดับชาติจะส่งไปแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป
4.2
ค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก (ค่ายดาราศาสตร์ 1)
ระยะเวลาที่เข้าค่ายดาราศาสตร์ 1 คือในระหว่างวันที่ 8
16 ตุลาคม 2548 จำนวน 9 วัน ณ สมาคมดาราศาสตร์ไทย จำนวนนักเรียนเข้าค่าย
35 คน โดยคัดเลือกจากนักเรียนที่สังกัด โรงเรียนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ประมาณ 1,000 โรงเรียน
5. คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าค่าย
- นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
(* อายุไม่เกิน 15 ปี ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีที่ส่งไปแข่งขันระดับนานาชาติ
)
- * นักเรียนจะต้องเกิดระหว่างวันที่
2 มกราคม 2534 30 ธันวาคม 2535
6. วิธีการสมัคร
- กรอกใบสมัครพร้อมชำระค่าสมัครคนละ
50.- บาท ส่งมาทางไปรษณีย์หรือโอนเงินผ่านธนาคาร รายละเอียดอยู่ในใบสมัครดังแนบ
ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2548
- ทางโรงเรียนสามารถให้นักเรียนสมัครเข้าร่วมคัดเลือกเข้าค่ายโดยไม่จำกัดจำนวน
- นักเรียนสามารถสมัครได้ด้วยตนเองหรือสมัครผ่านโรงเรียนทางไปรษณีย์
ทางอินเทอร์เน็ต ผ่าน website สมาคมดาราศาสตร์ไทย
7. การคัดเลือก
- นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
โดยทดสอบความรู้พื้นฐานทางด้านดาราศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
- สอบคัดเลือกในวันเสาร์ที่
3 กันยายน 2548 เวลา 12.00 15.00 น.
- สถานที่สอบ โรงเรียนปทุมคงคา
แขวงเอกมัย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (ข้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
- แผนผังที่นั่งสอบและห้องสอบให้นักเรียนตรวจสอบได้ในวันเสาร์ที่
3 กันยายน 2548 ณ บริเวณสนามสอบ
- ให้นักเรียนนำบัตรประจำตัวนักเรียน
หรือบัตรมีรูปถ่ายที่ทางโรงเรียนออกให้มาแสดงในวันสอบ (ถ้านักเรียนไม่นำบัตรมาแสดงทางสมาคมฯไม่อนุญาตให้สอบ)
8. การประกาศผลสอบ
- ประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าค่ายในวันศุกร์ที่
30 กันยายน 2548
ทาง website สมาคมดาราศาสตร์ไทย https://thaiastro.nectec.or.th
และที่สำนักงานสมาคมดาราศาสตร์ไทย โทรศัพท์ 0-2381-7409-10 โทรสาร
0-2381-7410
- ผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกได้
35 คน จะมีจดหมายถึงนักเรียนโดยตรง
9. ระยะเวลาและสถานที่เข้าค่าย
- วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม
2548 นักเรียนรายงานตัวเพื่อเข้าค่ายดาราศาสตร์ 1 ระยะเวลาเข้าค่าย
วันเสาร์ที่ 8 - วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2548 (รวม 9 วัน)
- สถานที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย
ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
https://thaiastro.nectec.or.th E-Mail Address : thaiastro@inet.co.th
โทรศัพท์ 0 - 2381 - 7409 - 10 โทรสาร. 0 - 2381 - 7410
10. ค่าใช้จ่าย
มูลนิธิ สอวน. จะเป็นผู้รับชอบ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าจัดกิจกรรมอื่นๆ
สำหรับ นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายทุกคน (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
|