ดาราศาสตร์สัญจร ครั้งต่อไป
2-4 ธันวาคม 2548
|
|
ณ
อุทยานแห่งชาติภูเรือ |
|
|
|
ธรรมชาติ เราเชื่อว่าสิ่งสิ่งนี้จะช่วยเยียวยาความเหน็ดเหนื่อยในชีวิตได้
และในฤดูหนาวเช่นนี้ หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมาตลอดทั้งปีแล้ว
เชื่อว่าตอนนี้หลายท่านกำลังเตรียมวางแผนการท่องเที่ยวอยู่ หลายต่อหลายท่านคงกำลังนึกถึงภาพของป่าไม้เขียวขจี
อากาศหนาว และที่สูง แน่นอนที่สุด คงไม่มีสถานที่ใดเหมาะสมไปกว่าบรรดาภูต่างๆ
ที่อยู่มากมายในประเทศเราไปได้ |
|
ภูเรือ
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของ
จ.เลย ด้วยระยะทางที่ค่อนข้างไกลจากเมืองหลวง ทำให้หลายคนยังไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
การเดินทางไปภูเรือนั้น หากเริ่มจากตัวจังหวัดเลย ใช้เส้นทางสายเลย-ด่านซ้าย
ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ก็มาถึงอำเภอภูเรือ ซึ่งที่ตัวอำเภอนี้เองจะมองเห็นรูปพรรณสัณฐานของภูเรือว่าเป็นรูปเรือสำเภาคว่ำ
ภูเรือมีความสูง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเล (สูงกว่าภูกระดึง) แต่การขึ้นยอดภูเรือง่ายกว่าหลายเท่านัก
หากมีรถขับเคลื่อนกำลังดีๆ ก็สามารถขับขึ้นไปบนยอดเขาได้เลย สำหรับผู้ที่ชอบเดินป่าอยู่แล้ว
ก็สามารถใช้เส้นทางเดิน ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรโดยจะใช้เวลาประมาณ
2-3 ชั่วโมงเท่านั้น |
|
ในอุทยานแห่งชาติภูเรือมีสถานที่ท่องเที่ยวให้เยี่ยมชมอยู่หลายจุด
แต่มีอยู่สถานที่หนึ่งเมื่อทุกคนเดินทางถึงต้องมีสักครั้งที่ต้องไปเยือน
นั่นคือบริเวณยอดภู นักท่องเที่ยวโดยส่วนมากยังนิยมเดินเท้าขึ้นยอดภู
เนื่องจากการเดินขึ้นสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ดีกว่า เพราะจะได้เห็นป่าเกือบทุกสภาพตลอดระยะเวลาการเดินทางยิ่งเดินกับคนรู้ใจคงไม่ต้องบอกว่าน่าเดินแค่ไหน
ตลอดสองข้างทางของภูเรือเต็มไปด้วยป่าเขียวขจี เราจะเดินผ่านป่าหลายต่อหลายชนิด
สำหรับนักถ่ายภาพทั้งหลาย ฟิล์มม้วนเดียวหรือการ์ดแค่ 256 MB. อาจเก็บภาพได้ไม่จุใจท่าน
ขอแนะนำให้นำไปเยอะๆ เลย ไม่เช่นนั้นอาจต้องเดินลงมาซื้อฟิล์มม้วนใหม่ก็เป็นได้
เมื่อเดินขึ้นภูมาได้ครึ่งทาง ก็จะถึงจุดพักหรือด่าน 2 บริเวณนี้นี่เองที่หลายต่อหลายคนอดใจเก็บภาพอันสวยงามของธรรมชาติบริเวณนี้ไม่ได้
นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยปักหลักกางเต็นท์กันที่บริเวณนี้เนื่องจากบริเวณนี้ก็เป็นที่ยอดภู
ถึงแม้จะยังไม่ใช่จุดที่สูงที่สุด บริเวณที่ควรเก็บภาพอีกที่หนึ่งคือบริเวณที่กรมป่าไม้
ใช้ถ่ายภาพเพื่อตีพิมพ์ลงใน Passport ต้องจัดมุมกล้องกันพอสมควรกว่าจะได้ภาพ
เมื่อชื่นชมกับธรรมชาติบริเวณนี้กันจนหายเหนื่อยแล้ว ก็เหลือระยะทางอีกครึ่งเดียวเท่านั้น
เราก็จะเป็นผู้พิชิตยอดภู ป่าในช่วงนี้จะมีหญ้าค่อนข้างเยอะพอควร บางทีอาจท่วมหัวก็มี
ได้บรรยากาศอีกแบบหนึ่ง เดินไปคุยไป เดินดูสีเขียวของธรรมชาติ อ้าว มาถึงแล้วหรือนี่
ยอดภูเรือ หากท่านเริ่มเดินจากตีนภูในตอนบ่าย ก็จะมาถึงบริเวณยอดภูในตอนเย็นพอดี
กว่าเที่ยวชมบริเวณยอดภูก็เป็นเวลาที่จะได้ชมพระอาทิตย์ตกดินที่ยอดภูพอดี
หลังจากที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว สิ่งๆ หนึ่งที่จะมาแทนที่คือ ดวงดาว
และแน่นอนที่สุด หากท่านได้มีโอกาสอยู่บนยอดภูในเวลากลางคืน ท่านจะได้เห็นสิ่งที่ธรรมชาติรังสรรค์ความงดงามบนท้องฟ้าให้เราได้ชม
และสิ่งๆ นั้นคือ ทะเลดาว |
|
ทะเลดาว
หลายคนคงเคยได้ยินคำคำนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่เคยได้ไปสัมผัสกับสิ่งนี้
เชื่อว่าผู้ที่ได้เคยไปสัมผัสกับ ทะเลดาว คงรู้สึกประทับใจและหลงใหลไปกับมัน
ดาวนับพันนับหมื่นแข่งกันทอแสงสวยงามท่ามกลางท้องฟ้าอันมืดมิด จนทุกคนที่ได้ไปสัมผัสต่างกล่าวขนานนามให้กับสิ่งสิ่งนี้ว่าทะเลดาว
ผู้ที่เคยได้สัมผัสกับทะเลดาวคงได้เคยสัมผัสเพียงแค่ตาเปล่าเท่านั้น
คงมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยได้สัมผัสกับความงดงามอันลึกลับของดวงดาวต่างๆ
หากท่านได้มีโอกาสส่องกล้องโทรทรรศน์ไปยังดวงดาวต่างๆ ท่านจะได้เห็นสิ่งที่ทำให้ท่านได้ประหลาดใจเช่น
หลุมบนดวงจันทร์ , ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี , วงแหวนดาวเสาร์ , กาแลกซี
, กระจุกดาว สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ในการช่วยดู
หลายต่อหลายคนต้องอดตาหลับขับตานอนเพราะอยากชื่นชมความสวยงามแห่งฟากฟ้านี้
|
|
หากท่านมีโอกาสลองไปดูทะเลดาวที่ภูเรือสักครั้งในชีวิต
อาจทำให้ความเหน็ดเหนื่อยที่มีในชีวิตหายไปก็เป็นได้ เพียงเท่านี้ วันหยุดธรรมดาของคุณก็จะเป็นวันหยุดที่สุดพิเศษและเต็มไปด้วยความเบิกบาน
|
|
ใครที่ยังคิดไม่ออกว่าหนาวนี้จะไปดูทะเลดาวที่ไหน
ลองไปเยี่ยมชมทะเลดาวกับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร ณ อุทยานแห่งชาติภูเรือ
จ.เลย ในวันที่ 2-4 ธันวาคม 2548 |
|
***
สิทธิพิเศษที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย ตั้งใจจะมอบให้ท่าน คือท่านจะได้ไปเยี่ยมชมทะเลดาว
ณ ยอดภูเรือตั้งแต่ตอนพระอาทิตย์ตกดิน จนกระทั่งเที่ยงคืน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว
นักท่องเที่ยวทั่วไปจะอยู่ถึงยอดภูได้ถึงประมาณ 18.00 น. แต่ทางอุทยานภูเรือ
อนุญาตให้เราได้ทำกิจกรรมดูดาวที่ยอดภูจนกระทั่งเที่ยงคืน ลองคิดดูสิครับ
ว่าน่าไปสัมผัสแค่ไหน *** |
|
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติภูเรือ
http://www.tourthai.com/
, กรมอุทยานแห่งชาติฯ |
|
กำหนดการเดินทาง |
|
วันแรกของการเดินทาง
( วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2548) |
20.00 น |
ลงทะเบียนและรับเอกสารพร้อมของที่ระลึก
ณ ที่ทำการสมาคมดาราศาสตร์ไทย |
21.30 น. |
ออกเดินทางจากสมาคมฯ มุ่งสู่จังหวัดเลยด้วยรถบัสโดยสาร
VIP ชั้น 1 |
23.00 น |
บริการข้าวต้มรอบดึกที่ร้านข้าวต้มในตัวเมืองจังหวัดสระบุรีเพื่อเติมพลังมุ่งสู่ภูเรือ
และเข้าสู่นิทราบนรถโดยสาร VIP |
|
|
|
วันที่สองของการเดินทาง
( วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2548) |
06.00
น. |
ถึงอุทยานแห่งชาติภูเรือ
รับลมหนาวพร้อมสัมผัสกลิ่นอายธรรมชาติยามเช้า |
07.30 น.
|
บริการอาหารเช้าแบบบุฟเฟ่และเชิญท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย |
08.30 น. |
พบหัวหน้าอุทยานฯ ชมการบรรยายด้วยการฉาย
สไลด์แสดงสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูเรือ |
09.30 น. |
เข้าสู่บรรยายเรื่องทรงกลมท้องฟ้า
การใช้แผนที่ฟ้า เทคนิคการสังเกตกลุ่มดาวต่างๆ
การใช้กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์จากวิทยากรสมาคมฯ หรือพักผ่อนตามอัธยาศัย |
11.30 น. |
บริการอาหารกลางวันแบบบุฟเฟ่ต์
และเชิญท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย |
13.00 น. |
พาท่านพิชิตยอดภูด้วยการเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ชม หิน พระศิวะ สวนหินเต่า ผาโหล่นน้อย แก่งคุดคู้กลาง หรือเลือกเดินสำรวจบริเวณตีนภูแล้วเดินทางขึ้นสู่ยอดภูด้วยรถยนต์ท้องถิ่นในเวลา
16.00 น. |
17.00 น. |
ถึงยอดภูเรือ เชิญท่านนมัสการพระพุทธรูปนาวาบรรพต
เพื่อเป็นสิริมงคล และเราขอบริการอาหารเย็นแบบปิคนิคแด่ท่านสมาชิกท่ามกลางสายลมหนาวบนยอดภูเรือ |
18.30 น.
|
เตรียมตัวสำรวจท้องฟ้าดูดาวจริง
ชมทะเลดาวที่ระลานตาซึ่งมีทางช้างเผือกที่สวยงามพาดผ่าน สังเกตกลุ่มดาวต่างๆ
นอนนับดาวตกบนยอดภูเรือ ฟังนิทานดาว และชมวงแหวน ที่สวยงามของดาวเสาร์จากกล้องโทรทรรศน์ของสมาคมฯ |
22.00 น |
เดินทางกลับลงมาสู่ที่พักบริเวณตีนภูด้วยรถยนต์ท้องถิ่น
และเข้าสู่นิทราภายในเต๊นท์โดมอันแสนอบอุ่นของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช |
|
|
วันที่สามของการเดินทาง
( วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2548) |
03.00 น |
ตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น
เตรียมตัวเดินทางขึ้นสู่ยอดภูเรืออีกครั้งด้วยรถยนต์ท้องถิ่นเพื่อดูดาวตอนเช้า
ชมดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ยอดภูพร้อมสายลมหนาวในยามเช้า |
07.30 น |
เดินเท้าจากยอดภูประมาณ
900 เมตร มาที่เบส 2 แล้วต่อรถยนต์ท้องถิ่นลงมาที่ตีนภู |
08.00 น. |
บริการอาหารเช้าบริเวณตีนภูและขอ
เชิญท่านเก็บสัมภาระให้เรียบร้อย |
09.30 น. |
เข้าอำลาหัวหน้าอุทยานฯ |
10.00 น. |
ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ |
13.00 น. |
บริการอาหารกลางวันท่านด้วยไก่ย่างวิเชียรบุรีเลิศรสและมุ่งหน้ากลับสู่กรุงเทพโดยสวัสดิภาพ |
|
|
|
|
การรับสมัคร
กรอกใบสมัคร (ติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่คุณสุกัญญา พึ่งผลงาม ตามที่อยู่ด้านล่าง
หรือ ดาวโหลดใบสมัครได้ที่นี่) พร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียนตามรายละเอียดดังแนบ
ในกรณีฝากเงินผ่านทางธนาคารกสิกรไทย กรุณาส่งสำเนาใบฝากเงินพร้อมใบสมัครมาทางโทรสารที่หมายเลข
0 -2381 -7410 หรือส่งมาทางไปรษณีย์
ค่าใช้จ่ายการลงทะเบียน ค่ารถยนต์โดยสารปรับอากาศ , ค่าประกันอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง
, ค่าอาหารทุกมื้อ , ค่าที่พัก(นอนเต็นท์ของอุทยานฯ เนื่องจากบ้านพักเต็ม
และยังถือโอกาสใกล้ชิดธรรมชาติในตัวด้วย) , ค่าเอกสารประกอบ , แผนที่ฟ้า
ไฟฉายแดง
สิ่งที่ต้องเตรียมนำไปด้วย
1. อุปกรณ์กันหนาว
2. หมวกกันน้ำค้าง
3. ถุงนอนส่วนตัว (ถ้ามี)
4. กล้องสองตาส่วนตัว จะได้ไม่ต้องไปแย่งกับคนอื่น(ถ้ามี)
5. ยารักษาโรคประจำตัว
6. ของใช้ส่วนตัวต่างๆ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณสุกัญญา พึ่งผลงาม (เจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย)
จันทร์ เสาร์ 09.00 -17.00 น. วันอาทิตย์สมาคมฯ ปิดทำการ
โทร. 0-2381-7409
โทรสาร. 0-2381-7410
คุณพรชัย รังษีธนะไพศาล (เหรัญญิกสมาคมฯ)
มือถือ 01 - 833 - 6511
ที่ทำงาน โทร. 0-2234-9988 ต่อ 163-4 อ๊อด (9.00 น.-17.00น.)
โทร. 0-2882-0489 ( 20.00 น. 24.00 น.)
หมายเหตุ
กำหนดการดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
โปรดนำสัมภาระมาเท่าที่จำเป็น เพราะช่วงนี้อากาศเย็น
สมาชิกฯ กรุณารับประทานอาหารเย็นมาก่อนเดินทาง
สมาชิกฯ ที่มีโรคประจำตัวหรือต้องการอาหารพิเศษ เช่น มังสวิรัต,เจ,อิสลาม
กรุณาแจ้งเจ้าที่ขณะทำการจองที่นั่ง
|
|
|
|
|
|
|