รายงาน/ภาพกิจกรรมเดือนตุลาคม 2553

พรชัย รังสีธนะไพศาล 12 ตุลาคม 2553

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2553 วันหยุดของต้นเดือนที่บรรยากาศกำลังเย็นสบาย เวลา 16.00 น. (บ่าย 4 โมงเย็น) เป็นเวลานัดหมายที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษรายเดือน "รวมพลคนรักดาว" ขึ้นที่ลานหน้าสมาคมดาราศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นวันแรกและครั้งแรกที่ได้ห่างเหินไปหลายเดือน ทำให้กิจกรรมครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งก่อน ๆ ที่ได้จัดมา ที่ให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำกิจกรรมร่วมกันและได้ของกลับไปด้วย เมื่อถึงเวลานัดหมายได้มีสมาชิกและผู้สนใจเดินทางมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมหลายท่าน ไม่มากไม่น้อยประมาณ 12 ท่าน

ก่อนจะถึงเวลาบรรยายได้เชิญผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าห้องทำงานของสมาคมฯ ท่านอาจารย์อารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้กล่าวเปิดกิจกรรมบรรยายพิเศษรายเดือนที่กลับมาให้บริการแก่สมาชิกและผู้สนใจอีกครั้งที่ไม่ได้จัดมาหลายเดือน การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่สมาคดาราศาสตร์ไทยครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งสมาคมดาราศาสตร์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน และขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยให้กิจกรรม "รวมพลคนรักดาว" ได้กลับมาให้บริการแก่สมาชิก จากนั้นก็ได้แนะนำกรรมการบริหารสมาคมฯ และวิทยากรที่จะทำการบรรยายให้กับท่าน ท่านอาจารย์อารี สวัสดี ได้สอบถามว่าได้ข่าวการจัดกิจกรรมของสมาคมฯ จากที่ใด ท่านสมาชิกและผู้สนใจตอบว่าได้ข่าวจากเว็บของสมาคมฯ และ Facebook สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เวลา 16.50 น. สมาชิกและผู้สนใจได้ออกมาที่ลานด้านข้างสมาคมฯ ก็เริ่มการบรรยาย บรรยายเรื่องทรงกลมท้องฟ้า โดยวิทยากร อาจารย์พรชัย รังษีธนะไพศาล กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย

  • ให้รู้จักกลไกของโลกและท้องฟ้าว่าหมุนอย่างไร
  • การวัดมุมดาว
  • การใช้แผนที่ฟ้าแบบหมุนสองหน้าของสมาคมฯ (แผนที่ดาว)
  • การดูดาวเบื้องต้น การดูดาวด้วยตาปล่าว การสังเกตกลุ่มดาว การลากเส้นสมมุติกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  • การเตรียมตัวก่อนออกไปดูดาวต้องทำอย่างไร และต้องเครียมอะไรไปบ้าง
  • หาสถานที่ที่จะไปดูดาวต้องมีความปลอดภัยและทรัพย์สิน
  • ควรจะไปดูดาวช่วงหน้าหนาวดีที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ควรดูดาวช่วงวันเดือนมืด (ตั้งแต่แรม 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันข้างขึ้นอ่อน ๆ ขึ้น 1 - 5 ค่ำ)
  • ควรหลีกเลี่ยงแสงสว่างจากตัวเมือง

เวลา 18.00 น. บรรยายข่าวดาราศาสตร์ โดย วิทยากร คุณวิษณุ เอื้อชูเกียรติ กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวที่ 1. ดาวหาง ฮาร์ตลีย์ 2 เข้าใกล้โลก 20 ต.ค. 53

  • เข้ามาใกล้โลกที่สุด 18 ล้าน กม. ในวันที่ 20 ตุลาคม (ตำแหน่งบนแผนที่ฟ้า http://bit.ly/ahfbNu)
  • เห็นได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ กล้องส่องทางไกล และตาเปล่าในที่มืดสนิท
  • ดาวหางดวงนี้จะพบกับยานดีปอิมแพคต์ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากยานได้พบกับดาวหางเทมเพล 1 ในปี 2005
  • ดาวหางฮาร์ตลีย์ 2 ถูกค้นพบเมื่อ 15 มีนาคม 1986 โดย มัลคอล์ม ฮาร์ตลีย์ ที่หอดูดาวออสเตรเลียที่ไซดิงสปริง
  • คาบสั้นเพียง 6 ปีครึ่ง
  • ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดวันที่ 28 ต.ค.
  • ใกล้โลกที่สุด 20 ต.ค. ด้วยระยะที่ใกล้เป็นพิเศษ (เกิดขึ้น 3-4 ครั้ง เท่านั้นใน 1 ศตวรรษ)
  • แต่ดาวหางฮาร์ตลีย์ 2 มีขนาดเล็ก ขนาดนิวเคลียสเพียง 1.1 กม. (หนึ่งในสิบของดาวหางแฮลลีย์) จึงไม่สว่าง
  • โชติมาตรสูงสุด 4.4 ขนาดครึ่งองศา เห็นเป็นดวงฟุ้งแสงสลัว
  • หางที่เห็นน่าจะเป็นหางแก๊สเรียวยาว
  • อยู่ในกลุ่มดาวสารถี
  • ข่าวจาก space.com (http://bit.ly/d66eSF)

ข่าวที่ 2. ยานสำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ 2 ของจีน ไปดวงจันทร์เมื่อวานนี้

  • ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 17:59:57 น. วันที่ 1 ต.ค. 53 จากศูนย์อวกาศซีชาง มณฑลเสฉวน
  • เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ภายใน 5 วัน
  • เพื่อสำรวจอ่าวสายรุ้ง (Sinus Iridum ขนาด 147 กม.) ที่ซึ่งจะเป็นจุดลงจอดสำหรับยานของจีน (11 น. ของทะเลฝน Imbrium)
  • ถ่ายภาพจุดลงจอดสำหรับ ฉางเอ๋อ 3 ในปี 2013 และศึกษาพื้นผิวโดยรวม
  • โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับช้อนทำให้เหมาะแก่การลงจอดเพื่อศึกษาจุดลงจอด ที่สำรวจแล้วอยู่ในแนวศูนย์สูตร อ่าวสายรุ้ง อยู่นอกแถบนี้มาก นับเป็นที่น่าสำรวจ
  • สิ้นสุดภารกิจด้วยการทิ้งตัวลงพื้นดวงจันทร์
  • ข่าวจาก space.com (http://bit.ly/a3nVj2)

ข่าวที่ 3. พายุสุริยะขนาดใหญ่จะถล่มโลกในปี 2012 ด้วยพลังงานเท่ากับระเบิดปรมาณู 100 ล้านลูก

การลุกจ้าที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนสิงหาคม เป็นเพียงตัวอย่าง ของจริงจะมาในช่วงจุดสูงสุดสุริยะ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2012 หรือหลังจากนั้น ข่าวจาก yahoo news (http://bit.ly/a4xe9Z)

ข่าวที่ 4. โฟร์เวิร์พ ของฮันนี

  • การ์ตูนเล่าเรื่องการค้นพบวัตถุที่เรียกว่า โฟร์เวิร์ฟ (voorwerp) ของ ฮันนี (Hanny)
  • วัตถุประหลาดในกลุ่มดาวสิงโตเล็ก ใกล้ดาราจักร IC 2497 ค้นพบโดยครูวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ ขณะช่วยงาน Galaxy Zoo
  • วัตถุนี้ไม่มีดาวอยู่เลย แต่มีช่องว่างขนาด 16,000 ปีแสง มีสีเขียวแปลกกว่าวัตถุท้องฟ้าทั่วไป ห่างจากโลก 700 ล้านปีแสง เช่นเดียวกับดาราจักรข้างๆ
  • ภาพจากกล้องไอแซคนิวตัน (2.5 ม) บนเกาะคะเนรี (http://bit.ly/cIWczN) คือ แก๊สในรูปไอออน อาจเกิดจากซากดาราจักรที่สะท้อนแสงเควซาร์ หรือเควซาร์ หรืออาจมีหลุมดำ ???
  • เว็บเล่าเรื่อง http://hannysvoorwerp.zooniverse.org/
  • เว็บทางการ http://www.hannysvoorwerp.com/
  • วิกิเกี่ยวกับโฟร์เวิร์พ http://en.wikipedia.org/wiki/Hanny%27s_Voorwerp

เวลา 18.30 น. กิจกรรมประกอบโมเดล ทรงกลมท้องฟ้า ด้วยกระดาษ โดย วิทยากร อาจารย์พรชัย รังษีธนะไพศาล

กิจกรรมประกอบโมเดลนี้เป็น ทรงกลมท้องฟ้าที่มีรายละเอียดของจุดเม็ดดาวที่เหมือนกลุ่มดาวท้องหมดบนท้องฟ้าจริง มีเส้นขอบเขตของกลุ่มดาว มีชื่อของกลุ่มดาว มีเส้นเวลาบนท้องฟ้า มีเส้นสุริยวิถี มีเส้นศูย์สูตรฟ้า มีเส้นเมริเดียนท้องฟ้า และมีแนวทางช้างเผือกด้วย เห็นไหมครับ ถ้าประกอบเสร็จแล้ว ก็ได้แบบจำลองท้องฟ้าจริง และแผนที่ดาวไปในตัวด้วย

ก่อนที่จะประกอบ ทรงกลมท้องฟ้า อาจารย์พรชัยได้แจกแผ่นโมเดล 3 แผ่น ที่จะต้องตัดออกมาแล้วประกอบให้เป็นลูกทรงกลมท้องฟ้า อาจารย์พรชัย ได้แนะนำการตัด การพับลอย การประกอบ ให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบแล้ว ก็เริ่มลงมือประกอบ ต่างตนต่างลงมือทำกันอย่างแข็งขัน จนทุกคนสามารถประกอบกันจนเสร็จสมบูรณ์ กันอย่างสวยงาม

กิจกรรมวันนี้ได้เลิกเวลา 20.00 น.

นอกจากมีการบรรยายแล้วทางสมาคมฯ ก็ได้เชิญ นักเรียนที่เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งขันฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ IOAA ประจำปี 2553 ที่ประเทศสาธารณประชาชนจีนที่ผ่านมา ซึ่งได้เหรียญกลับมา เป็นเหรียญทอง ทางสมาคมฯ ก็ขอแสดงความดีใจด้วยที่เด็กนักเรียนผู้นี้เคยเป็นเด็กที่อยุ๋ค่ายฟิสิกส์ ดาราศาสตร์โอลิมปิกศูนย์สมาคมดาราศาสตร์ไทยมาตั้งแต่ตั้น และมาเพื่อแนะนำตัวต่อเพื่อนสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมด้วย ยังมีนักเรียนที่ไปสอบแข่งขันที่ได้เหรียญมาร่วมกิจกรรมด้วย

นักเรียนที่ได้เหรียญทองผู้นี้ชื่อ นายพชร วงศ์สุทธิโกศล โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย