จดหมายถึง thaiastro

Thanomjit Phanichrat [thanomjit.phanichrat@bbc.co.uk]

Dear Khun Wimut,
How do you translate Big Bang in to Thai. You can write to me in Thai naka.

Thank you kha,
Thanomjit Phanichrat
Thai Service BBC World Service
Room 516 CB, Bush House PO Box 76
Strand WC2B 4PH London
United Kingdom

thaiastro

สวัสดีครับ
คงหมายถึงให้แปลคำใช่ไหมครับ โดยปกติ คำนี้ผมจะใช้ทับศัพท์ว่า บิกแบง ไปเลย มีบางท่านใช้คำว่า "ระเบิดใหญ่" หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า "ทฤษฎีการระเบิดใหญ่" ซึ่งผมก็คิดว่าน่าใช้เช่นเดียวกันครับ
หากหมายถึงให้อธิบายความหมายของคำนี้ กรุณาไปดูในปทานุกรมดาราศาสตร์ [https://thaiastro.nectec.or.th/ency/index.html] นะครับ

วิมุติ วสะหลาย

thaiastro

ขออภัยครับ เมื่อวานผมตอบไปโดยไม่ทันได้ตรวจสอบว่ามีคำนี้แล้วหรือยัง เพราะเห็นว่าเป็นคำทั่วไป แต่มารู้สึกสังหรณ์ใจจึงตรวจสอบวันนี้ แล้วก็พบว่ายังไม่มีจริง ๆ จึงรีบเขียนและเอาใส่เข้าไปในวันนี้แล้วครับ และเพื่อประหยัดเวลาของคุณถนอมจิต ผมจึงแนบคำแปลมาให้ด้วยเลยครับ หวังว่าคงไม่สั้นเกินไป
-------------
บิกแบง - Big bang
ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายกำเนิดของเอกภพ กล่าวว่า เอกภพเริ่มต้นจากความเป็นศูนย์ ทั้งขนาดและเวลา และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ ไม่มีเวลา ไม่มีแม้แต่ความว่างเปล่า เมื่อเอกภพระเบิดขึ้นและเอกภพก็เริ่มขยายตัวออก อนุภาคมูลฐาน อะตอม โมเลกุล ต่าง ๆ ค่อย ๆ เกิดขึ้นหลังจากนั้น คาดว่าการระเบิดใหญ่นั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10,000-20,000 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขนี้หมายถึงอายุของเอกภพด้วย ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น การขยายตัวของเอกภพ และ การแผ่รังสีพื้นหลังของเอกภพ
--------------

วิมุติ วสะหลาย


"Nopporn Manoppong" [m_nopporn@hotmail.com]

HI!
PAA NOPE just came back from the kids 9-12 camp at WIANG SAA, SURAT THANI. It was right in the WAT WIANG SA surrounded by rice paddy. The main objective was- to keep kids away from drugs. Kids practiced Thai traditional massage, yoka, family life and the way oldies lived in their fields,orchard and their back yards. Kids cooked from what they picked and caught. They got edible young shootsand got BIG PLA CHON,PLA MAW by their hands. They created some new DISHes beautiful but hard to take as u would expeerienced in the camp when u were yuong. The starry night plus the half moon were OK! Oldies said the moon wasready to pick by hands, very close. Kids came in row and made round trips. The BIG DOG was very attractived. The BIG BEAR hanging its head while its tail traacked to the ARCTURUS and the SPICA. Yes, The LION heart also showed up. Very early in the morning, the MARS and the SCORPION heart showed up. THat was great , was'nt it ? Some songs and taales were told. SO SORRY, no one saw the RABBIT or TA kub YAI on the MOON even though I brought along a paper sheet from S&P restuarant showing what people of other countries see on the same moon. Have u ever seen A LADY on the MOOn, just 1,only for u. HA! HA! HA! REported by PAA NOPE, a southerner who went back to the land of ancesters.

thaiastro

Dear Paa Nope,
That's amazing! Would you mind writing a story of this activity for the Milky Way Journal? As you have seen, our journal has too few stories for kids. I always think of your "Dek Gab Dao" story.
I always see the rabbit and the lady face on the moon, but I don't know where the Ta Gab Yai is.

Best regards,
Wimut Wasalai


Thanomjit Phanichrat [thanomjit.phanichrat@bbc.co.uk]

Dear Khun Wimut,
Thank you much ka kha. Actually I understand what Big Bang is. But I am just curious, if there is a thai translation of that word. Just a brief note na ka, in thaiastro.nectec website, there is no translation of that world. Before I emailed to you, I have checked the word in the website, but I did not find the meaning in Thai. So I followed an instruction and email you. By the way thank you ka.

Best regards,
Thanomjit Phanichrat
Thai Service BBC World Service
Room 516 CB, Bush House PO Box 76
Strand WC2B 4PH London
United Kingdom


สมศักดิ์ [gw1993@ksc.th.com]

เรียนคุณวิษณุ
ก่อนอื่นผมขอเสนอว่า หน้าแผนที่ท้องฟ้าประเดือนที่ลงในวารสารทางช้างเผือก ขอให้ช่วยลงเป็นของเดือนหน้าได้ไหม เช่นฉบับเดือนมกราคมก็ให้ลงเป็นแผนที่ของเดือนก.พ. เพราะผมอยู่ต่างจังหวัดเวลาได้รับวารสารจะเป็นปลายเดือนเลยเอาไปใช้ไม่คอยจะได้ครับ ผมขอถามคำถามสักหนึ่งข้อครับ ระบบ AUTO STAR ที่ในกล้องดูดาว เวลาใช้ต้องsetกล้องไปตำแหน่งใดก่อนหรือไม่ ตำแหน่งของดาวเคราะห์จะหาเจอหรือไม่เพราะมันไม่แน่นนอน ถ้าดาวดวงนั้นยังไม่ขึ้นกล้องหันไปทางใด ระบบนี้น่าซื้อหามาใช้ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ
สมศักดิ์

thaiastro

ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับวารสารทางช้างเผือก ผมขอตอบในคำแนะนำของคุณสมศักดิ์ข้อแรกครับ
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับทางช้างเผือกมานานแล้วครับ ซึ่งเราพยายามอย่างมากที่จะให้ทางช้างเผือกออกทันเดือน เพื่อให้สมาชิกได้รับข้อมูลทันเหตุการณ์ แต่ตั้งแต่แปลงโฉมใหม่มาจนถึงบัดนี้ปีกว่าแล้วก็ยังทำไม่ได้ ทางช้างเผือกออกประมาณกลางเดือนทุกที ยิ่งสมาชิกต่างจังหวัดก็ช้าลงไปอีก
ข้อแนะนำของคุณก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่เราเคยคิดจะนำมาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว แต่ผมคิดว่านั่นเป็นการแก้ปลายเหตุ และอาจทำให้ออกล่าช้าไปอีกเพราะไม่มีตัวเร่ง จึงขอยับยั้งแนวคิดนี้ไว้ก่อน ขอฟัดกับปัญหาเดิมอีกสักพัก หากไม่ไหวจริง ๆ ก็อาจทำอย่างที่คุณสมศักดิ์แนะนำก็ได้ครับ

วิมุติ วสะหลาย

thaiastro

เห็นมีคำถามเกี่ยวกับกล้อง คงจะเกี่ยวข้องกับผม งั้นผมตอบเพิ่มเติมเลยนะครับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นระบบ Auto STAR ของยี่ห้อไหนหรอครับ ผมอาจจะไม่แม่นเรื่องชื่อทางการค้านะครับ แต่แบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ
1. ระบบ Auto STAR อย่างที่คุณว่า หมายความว่า โดยปกติ กล้องจะติดตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องคอมพิวเตอร์ ระบบอัลตาซิมุธ (ระบบเดียวกันกับขาตั้งกล้องถ่ายรูป คือหมุนได้ในแนวราบ และแนวดิ่งครับ) แล้วหน้าที่เราจะต้องทำ 3 อย่างคือ
1.1 ตั้งละติจูดกล้องให้ตรงกับที่เราสังเกตก่อน
1.2 เล็งกล้องไปที่ดาวอ้างอิงของระบบคอมพิวเตอร์ก่อน ซึ่งมักจะเป็นดาวที่สว่างมาก ๆ เช่น Serius, canopus หรือ Betelgues เป็นต้น เมื่อเล็งได้แล้ว ก็กดปุ่มบอกคอมพิวเตอร์ในขาตั้งกล้อง (ซึ่งจะควบคุมผ่าน Hand controller รูปร่างเหมือน remote control แบบมีสาย) ว่าเป็นดาวอะไร
1.3 ทำแบบนี้อีกดวงหนึ่ง ที่อยุ่ห่าง ๆ กันหน่อย

เมื่อทำครบขั้นตอนแล้วก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย คราวนี้กล้องเราก็จะตามดาวได้อย่างอัตโนมัติ

เทคนิคที่จะทำให้ระบบทำงานได้แม่นยำมาก ๆ คือ
1. ต้องระบบพิกัดละติจูดให้แน่นอนก่อน โดยอาจจะต้องระบุให้ได้ถึงระดับทศนิยม 2 ตำแหน่ง
2. กำลังขยายต้องให้สูงมากพอ เช่นมากกว่า 200 เท่า เพราะว่าจะทำให้ตำแหน่งดาวแม่นยำขึ้นครับ
สำหรับคำถามที่ถามว่า แล้วถ้าดาวยังไม่ขึ้นละ กล้องจะหันไปทางไหน อันนี้ไม่ใช่ปัญหาครับ ระบบมีการป้องกัน 2 ระดับ
1. ถ้าเราใส่ตำแหน่งดาวถูกต้อง และละติจูดถูกต้อง กล้องมันจะรู้เองว่าดาวยังไม่ขึ้น หรือว่าดาวลับขอบฟ้าไปแล้ว มันก็จะไม่เล็งไปที่ดาวดวงนั้นครับ ไม่ต้องเป็นห่วงว่ากล้องจะพัง
2. ในกรณีที่เราใส่ตำแหน่งดาวผิด เนื่องจากเข้าใจผิด เช่นเล็งไปที่ดาว Canopus แต่ไปบอกกล้องว่าเป็นดาว Sirius ซึ่งเป็นเรื่องปกติมาก และโดยมากก็มักจะผิด เรื่องนี้ระบบขาตั้งกล้องมันจะรู้ครับ คือมันจะพยายามหมุนกล้องแล้วเล็งไปที่ดาวดวงนั้นให้ได้ (เพราะว่ามันไม่รู้ว่ามันเล็งดาวผิดดวง, ก็เราบอกผิดนี่นา) ถ้ากล้องหันไปแล้วไม่ไปติดกลไกอะไรของขาตั้งกล้อง กล้องมันจะเล็งไปได้ แต่จะไม่เจอดาว แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ากล้องเล็งไปแล้วเกิดไปติดขัดกับระบบขาตั้งกล้อง (ซึ่งระบบขาตั้งจะรู้) เช่นเล็งไปต่ำกว่าของฟ้าเป็นต้น มันก็จะแจ้งเป็นข้อความผิดพลาดกลับมาครับ ซึ่งกล้องก็จะรู้ภายหลังว่าเราเล็งผิดดวง ต้องเซ็ทระบบใหม่ครับ
จริง ๆ แล้ววิธีเซ็ทก็ไม่ต้องใช้ดาวดวงที่ 2 (ข้อ 1.3) หรอกครับ เพราะว่าถ้าเราใส่ค่าละติจูดถูก ก็ถูกได้ด้วยดาวดวงเดียวครับ แต่ในกรณีที่เราไม่รู้ละติจูด เราก็ใช้ดาว 2 ดวงแทนได้ครับ หรือจะ 3 ก็ได้ครับ
ระบบนี้ดีมากสำหรับการดูดาวแบบธรรมดาครับ แม่นจำพอที่จะจับวัตถุท้องฟ้าที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น M1 หรือเนบิวลารูปปู หรือดาวยูเรนัส หรือเนปจูน ได้สบาย ๆ เลยครับ แต่มีปัญหาใหญ่คือ ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพดาวที่ต้องการเปิด shutter นาน ๆ ครับ ต้องไปใช้ระบบอื่นครับ
ระบบที่ผมว่ามานี้ มีกล้องหลายยี่ห้อครับที่ใช้กัน เช่นของกล้องยี่ห้อ MEADE ก็จะใช้ระบบที่เรียกว่า GOTO ครับ ซึ่งมีอยู่ในกล้องโมเดล LX200 ครับ เช่น กล้องสะท้อนแสง 8 นิ้ว หรือ 10 นิ้ว หรือ 12 นิ้ว หรือ 16 นิ้วครับ โดยขาตั้งกล้องเป็นระบบ LX200 ครับ ส่วนอีกยี่ห้อคือ CELESTRON ผมจำโมเดลของกล้องนี้ไม่ได้ครับ เลยต้องขออภัยด้วยครับ
ราคาก็หายห่วงครับ หลักแสนขึ้นครับ
สำหรับระบบ Auto Star แบบที่สอง เป็นระบบที่ไว้ตอบสนองการถ่ายภาพดาวครับ หรือเรียกว่า Auto GUIDER ครับ เป็น CCD ที่ติดอยู่ที่ท้ายกล้องดูดาวอันขนาดปานกลางที่ขี่ซ้อนอยู่กับกล้องดูดาวอันใหญ่ครับ เข้าใจว่าคุณคงไม่ได้หมายถึงระบบนี้ ผมเลยขออนุญาตละไว้ไม่อธิบายครับ
หากต้องการคำอธิบายก็เมลล์มาถามได้ครับ จะตอบให้ครับ
ขออภัยที่ตอบช้าครับ รู้สึกว่าผมเคยเห็นเมลล์ฉบับนี้แต่ว่าไม่ได้ตอบ ต้องขออภัยด้วยครับ กลับมาตอบแล้วนะครับ

พรชัย อมรศรีจิรทร


"Gumphon Jantawornpong" [gumphon@bangkok.com]

Dear Khun Wimut,
(First of all, I am sorry to use English because my computer (of company) has not have Thai Font in the system. I can read but I can not send any message out in Thai).
I have just found your web site today (June 7, 2000), because I have just known your address in the Plaza Corner of Siam University Homepage.
The interested item for me is Looking for Water On The Moon. After I read them all, I think that the water MAY not be available on the Moon due to environment of itself and external affect such as ultraviolet ray and electric particle storm to break the bond of molecule to hydrogen and oxygen atom. However I still beleive the water may be available at underneath of the cover in formation of DRY ICE or mud. The top soil of the Moon may be powder or solid rock that cover the DRY ICE in it. Recently, I recognize that NASA did command to one of the small spaceship to collide the Moon to look for the component of water in the dust of the top soil, but the operation was failed due to energy of collision was not strong enough. And one of Japan's astronomer found the WHITE cover (like snow ice) at the south pole of the Moon, but the result is not be released.
Regarding to thus matter, do you have any latest news for the WATER ON THE MOON, or not? Because I have just returned to read the Astronomy matter again after more than 18 years that I leave. If possible, I would like you to split some page for MOON only. When I was young the Moon is the biggest matter of interesting, until today, too.
I'm sorry if my question make you feel trouble or irritate.

Best regards,
Gumphon Jantawornpong.

thaiastro

สวัสดีครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและข้อคิดเห็นครับ
เรื่องของดวงจันทร์จนบัดนี้ก็ยังเป็นที่น่าสนใจอยู่จริง ๆ บทความ "ตามล่าหาน้ำบนดวงจันทร์" นั้นผมเขียนตอนราว ๆ ปลายปี 2539 ซึ่งตรงกับช่วงที่ยานคลีเมนไทน์พบหลักฐานของน้ำบนดวงจันทร์พอดี บทความนั้นให้ภาพของน้ำบนดวงจันทร์เป็นทะเลสาบน้ำแข็งตามสมมติฐานในขณะนั้น แต่ข้อมูลที่ใหม่กว่าจากลูนาร์โพรสเปกเตอร์พบว่าน้ำน่าจะอยู่ในรูปของปะปนอยู่ในก้อนดินก้อนหินมากกว่า ลืมเรื่องทะเลสาบไปได้เลย
ผมได้เขียนข่าวอีกบทหนึ่งที่เอ่ยถึงการพุ่งชนขั้วดวงจันทร์ไว้เหมือนกันที่ https://thaiastro.nectec.or.th/news/1999/news1999oct06.html ไม่ทราบว่าอ่านหรือยังครับ
ผมคงจะไม่ไปแก้ไขบทความนั้น แต่อาจจะเขียนบทความใหม่อีกบทความหนึ่งที่โดยอ้างถึงผลสำรวจจากยานลูนาร์โพรสเปกเตอร์เป็นสำคัญ ยานลำนี้ได้เปลี่ยนแปลงความคิดดั้งเดิมของมนุษย์เกี่ยวกับดวงจันทร์หลายอย่างเลยทีเดียว คิดว่าจะเขียนเป็นบทความต่อไปเลย หวังว่าคงถูกใจคนรักดวงจันทร์ครับ และขออภัยอย่างสูงที่เพิ่งมาตอบครับ จริง ๆ ผมชอบจดหมายฉบับนี้มาก เพราะนาน ๆ จะมีจดหมายที่แสดงข้อคิดเห็นเสียที

วิมุติ วสะหลาย


pongsakorn prasittilapo [s0010235@hotmail.com]

พอดี เข้าไปที่ https://thaiastro.nectec.or.th/ แล้วได้ E-MAIL ADDRESS ของคุณมา อยากทราบว่า หากสนใจเป็น "อาสาสมัคร" จะให้ติดต่ออย่างไร คือมีความสนใจด้านนี้ส่วนตัว แต่ไม่ค่อยมีความรู้ เลยคิดลองฝึกงาน กับพวก พี่ๆ เท่าที่สอบถามก็ ตอบมาว่า "พอได้ แต่ช่วงแรกๆ จะให้ยกของอะไรพวกนี้ก่อน"
แล้วก็ ขอทราบตารางเวลาสังเกต ปรากฏการณ์ นอกสถานที่ด้วย แค่ช่วง 2-3 เดือนนี้ก็พอครับ เผื่อจะได้ติดตามไป

thaiastro

ผมเพิ่งมาพบจดหมายฉบับนี้ของคุณจากการค้นหาเมลเก่า ๆ ค้างตอบ สาเหตุที่ "ซุก" เมลนี้ไว้เนื่องจากขณะนั้นยังไม่ทราบว่าจะตอบอย่างไรดี แต่ตอนนี้มีคำตอบแล้วครับ
ดูเหมือนว่าผมจะตอบข้อสองที่เกี่ยวกบปรากฏการณ์ไปแล้ว แต่เรื่องการเป็นอาสาสมัครนั้น ตอนนี้มีข่าวดีที่สมาคมเริ่มจัดการพบปะพูดคุยตอนเย็น ๆ เดือนละครั้งที่สมาคมฯ เป็นการพบปะเล็ก ๆ ไม่เป็นทางการ แต่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสมาชิกกับอาสาสมัครและกรรมการของสมาคม เป็นทางเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ที่จะมาเป็นอาสาสมัครให้กับสมาคมฯ ครับ หากสนใจลองเข้าไปดูรายละเอียดและปฏิทินกิจกรรมที่หน้า https://thaiastro.nectec.or.th/activity ดูนะครับ

วิมุติ วสะหลาย


Komol Asawamenakul [asawamenakul@hotmail.com]

อยากทราบว่าจะสามารถค้นหาข้อมูลขององค์การนาซาที่เป็นภาษาไทยได้ที่ไหนครับ

ขอบคุณครับ

thaiastro

ไม่มีครับ ไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยินเลยครับ ถ้าอยากเห็นเพจนาซาเป็นภาษาไทย ลองใช้ "ภาษิต" ของเนคเทคดูก็ได้ครับ ลองดูที่ http://c3po.links.nectec.or.th/parsit/ อาจจะงง ๆ บ้างแต่ก็คงพอช่วยได้บ้างครับ

วิมุติ วสะหลาย


From nok_wara@yahoo.com

Sawasdee,
I'm master degree student of Silpakorn University, in field French-Thai study. I'm searching for documents concerned about astronomy in Narai's period. I would like to koow that at the Thai Astronomical Society, you keep some foreign documents in Ayutthaya period or not. If there are some, please tell me the books' title and the author's name. Thanks for your kindness helpful. I'll wait for your answer.

thaiastro

Khun Nok,
We may have just what you are looking for. The Thai Astronomical Society is in the process of publishing a book of astronomical records by French Jesuit missionaries who worked in the Far East, including Lopburi, during King Narai the Great's reign. The original documents are in France. We have arranged for its translation from old French to Thai and the book should be complete by the end of the year.
For your purpose, you may want the French version. The document is a photocopy of the original. Some of the pages are very hard to read because they are in fine handwriting. You can make appointment with me to see it, or the translation, if you are interested.
There are a number of French books written at that time that mention astronomy in Siam, all of them have been translated into Thai. Tachard published 2 books for his 2 voyages to Siam. The first book contains many items about astronomy, the second book also have some, a kind of progress report and less of a technical record than the first one. De Choisy also wrote words about astronomy. The most complete, however, is de La Loubere. His description of the Thai astronomical method is very accurate.
The Society plans to hold a conference about the upcoming book in November. It may be useful for you to attend. Apart from getting the book's contents, you will meet people who are real scholars of King Narai's period. Keep in touch.

Visanu Euarchukiati.


tanadcha paungklad [tanadchap@hotmail.com]

สวัสดีค่ะ
คุณยายหนูบอกว่า ตอน พ.ศ. 2454 คุณยายหนูยังไม่เกิดเลยค่ะ คุณยายเกิด พ.ศ. 2474 และเหตุการณ์นี้เกิดตอนประมาณ 10 ขวบ เป็นช่วงที่มีสงครามแน่นอน เพราะคุณยายบอกว่า เคยได้ยินคนเล่าว่า หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ทำเสื้อให้ทหารไทยใส่ เป็นเสื้อยันต์สีแดง สู้กับฝรั่งเศส ทำให้ทหารต่างชาติแปลกใจว่าทำไมยิงไปแล้วยังสามารถลุกขึ้นมาสู้ได้อีก พวกฝรั่งเศสเลยคิดว่ารบกับผีอยู่ คุณยายอยากทราบมาก เพราะคุณยายบอกหลานแล้วไม่มีใครเชื่อ ตอนหัวค่ำคุณยายยืนมองจากชัยนาท มองไปทางจังหวัดอุทัยธานี ตอนนี้คุณยายหนูอายุ 70 ปี ท่านชอบเล่าเรื่องในอดีตให้ฟังค่ะ แต่ท่านต้องการหลักฐานเพื่อเพิ่มความหนักแน่น รบกวนช่วยหาข้อมูลอีกครั้งนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ
ธนัชชา

thaiastro

สวัสดีอีกครั้งครับ
ต้องขอบอกตามตรงว่า ค่อนข้างบอกได้ยากและไม่ค่อยแน่ใจ เนื่องจากคุณธนัชชาไม่ได้บอกมาว่าคุณยายท่านอายุเท่าไร และตอนที่คุณยายได้ยินตอนเป็นเด็กนั้น ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังขณะที่เกิดเหตุการณ์ หรือว่าเหตุเกิดหลายปีก่อนหน้านั้น ซึ่งผมคิดว่าคงเป็นอย่างหลังมากกว่า? จากที่ค้นดูมีดาวหางสว่าง 2 ดวง ที่มาไล่ๆ กัน และเห็นพร้อมกันตอนหัวค่ำในปี ค.ศ. 1911 หรือ พ.ศ. 2454 คือหนึ่งปีหลังจากดาวหางฮัลเลย์ผ่านเข้ามา ชื่อดาวหางบรูคส์ (Brooks) และดาวหางเบลจอสคี (Beljawsky) ดาวหางบรูคส์มาให้เห็นในช่วงปลายสิงหาคม-ปลายพฤศจิกายน ส่วนดาวหางเบลจอสคีมาให้เห็นตั้งแต่ปลายกันยายน-ปลายตุลาคม 2454 ดาวหางสองดวงนี้มาให้เห็นใกล้กันในท้องฟ้าหัวค่ำช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งดาวหางบรูคส์มีสีน้ำเงิน ส่วนดาวหางเบลจอสคีมีสีทอง ช่วงก่อนที่จะใกล้กันมากที่สุด ดาวหางเบลจอสคีสว่างกว่าดาวหางบรูคส์ แต่หลังจากที่เข้าใกล้กันมากที่สุดแล้ว ดาวหางบรูคส์จะสว่างกว่า นอกจากนี้ดาวหางทั้งสองดวงไม่เพียงมองเห็นได้ตอนหัวค่ำเท่านั้น แต่ยังปรากฏในท้องฟ้าตอนเช้ามืดด้วยครับ

วรเชษฐ์ บุญปลอด


jing_vinyaratn@hotmail.com

ได้อ่านข้อเขียนของคุณวิษณุจากวารสารของสมาคมดาราศาสตร์ แล้ว ขอชมเชยว่า เขียนเรื่องอ่านสนุกดีค่ะ และที่รู้สึกดีก็คือ คุณรอบรู้เรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องดาราศาสตร์ และสามารถนำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้เช่นเรื่องดาวในภาพเขียน ของแวนโก๊ะหรือเรื่องฮัลลีย์(กับนิวตันและพระเจ้าซาร์) ส่วนฉบับล่าสุดสุริยคราสในจิตกรรมของจิตรกรไทย หนังสือที่นำมาแนะนำก็น่าสนใจเช่นกัน ฉบับก่อน ๆ ที่คุณพูดถึงนักเขียนอิตาเลียน (จำชื่อไม่ได้แล้ว) ก็สนุกนะคะ ทำให้อยากอ่านทั้งเล่ม หรือถ้าคุณจะแปลก็น่าจะดีค่ะ

thaiastro

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่ให้ครับ เหตุที่ผมเขียนเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ดาราศาสตร์ ก็เพราะอยากจะช่วยเปิดหูเปิดตาให้แก่ผู้อ่านให้กว้างขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้ เป็นไปในทางกว้าง นอกเหนือจากแนวลึกที่คนอื่นเขียนกันอยู่แล้ว และผมเห็นว่า มีเรื่องเกี่ยวกับดาวอีกตั้งเยอะแยะที่น่าสนใจ เมื่ออ่านแล้วก็อยากให้คนอื่นรู้ด้วยครับ
หนังสือ Cosmicomics อ่านแล้วจินตนาการบรรเจิดดี น่าอ่านครับ แต่ผมคงยังไม่สามารถแปลได้ เนื่องด้วยเวลาจำกัด และบางเรื่องในนั้นก็แปลยากจริงๆ ครับ

วิษณุ


williams oster [woster@club-internet.fr]

Bonjour
je passe เ ko pee pee เ la fin du mois, je suis ้quip้ d'un ETX 90 EC. quelles belles choses puis-je observer???
Merci d'avance

Salutations
williams

thaiastro

Bonjour
Qu'est le bon temps pour voir les ้toiles. La lune sera vers le haut tardive la nuit. Vous aurez l'abondance de l'heure de voir les ้toiles.
Cependant, o๙ serez-vous dans le pipi de pipi? L'๎le peut obstruer votre vue dans une certaine direction.
Si vous venez de France, regardez du sud pour les constellations m้ridionales. Le Crux, le Centaurus, le Scorpio, et le Canopus sont tous les cibles faciles avant que la lune se l่ve. Cependant, nous ne pouvons pas voir les nuages de Magellanic.
Votre ETX 90 devrait ๊tre utile lเ. Jupiter et Saturne devraient vous maintenir occup้ juste apr้s le coucher du soleil. Alors je suis s๛r que vous pouvez trouver beaucoup d'objets c้lestes pour regarder. Mes favoris sont la batterie de cadre de bijou dans Crux, Omega centauri dans Centaur, alpha et b๊ta centauri, Canopus lui-m๊me. Vous pouvez essayer de trouver le sac เ charbon dans le noeud aussi. Le Scorpion monte plus tard la nuit, mais il y a beaucoup d'objets int้ressants lเ, y compris le centre de la voie laiteuse.
Je ne suis pas s๛r si ce vous est utile. Si vous avez besoin de plus d'information, ้crivez s'il vous pla๎t.
J'essayerai d'obtenir votre E-mail traduit plus t๔t. Ce E-mail a ้t้ ้crit en anglais. J'avais l'habitude un site Web pour le traduire en fran็ais, ainsi il peut sembler dr๔le เ vous.

Visanu E.

[English original below]

That is good time to see the stars. The moon will be up late in the night. You will have plenty of time to see the stars.
However, where will you be in Pee Pee? The island may obstruct your view in some direction.
If you come from France, look South for southern constellations. Crux, Centaurus, Scorpio, and Canopus are all easy targets before the moon rises. However, we cannot see the Magellanic Clouds.
Your ETX 90 should be useful there. Jupiter and Saturn should keep you busy just after sunset. Then I am sure you can find many celestial objects to look at. My favourites are the Jewel Box cluster in Crux, Omega Centauri in Centaur, Alpha and Beta Centauri, Canopus itself. You may try to find the Coal sack in Crux too. Scorpio comes up later in the night, but there are many interesting objects there, including the centre of the Milky Way.
I am not sure if this is useful to you. If you need more information, please write. I will try to get your e-mail translated sooner.
This e-mail was written in English. I used a web site to translate it into French, so it may sound funny to you.
[End English original]

"jeranath vichit" [bubee_20@hotmail.com]

อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับดาวอังคาร ดาวศุกร์ และดาวหมีใหญ่

thaiastro

คำถามกว้างเหลือเกินครับ จึงไม่เข้าใจว่าคุณสนใจด้านไหน ด้านคุณสมบัติทางกายภาพ หรือเชิงประวัติศาสตร์ หรือด้านอื่น สมมุติว่าถ้าเป็นอย่างแรก ข้อมูลของดาวอังคาร และดาวศุกร์ และดาวเคราะห์อื่น ๆ อ่านได้ที่หน้า "ข้อมูลดาวเคราะห์" [https://thaiastro.nectec.or.th/library/planets.html] หรือ The Nine Planets [http://www.seds.org/billa/tnp/] ซึ่งสมบูรณ์กว่า สำหรับดาวอังคาร เว็บของสมาคมดาวอังคารก็น่าสนใจครับ อยู่ที่ [http://www.marssociety.org/]
ส่วนดาวหมีใหญ่ จริง ๆ แล้วคือชื่อกลุ่มดาว ตรงกับกลุ่มดาวจระเข้ของไทยครับ

วิมุติ วสะหลาย


"Apisit Jermsawat" [kookiwi@ksc.th.com]

สวัสดีครับคุณวิมุติ
ผมกลับมาอีกครั้งครับหลังจากเคยคุยกับคุณวิมุติเมื่อสักเกือบปีมาแล้ว (เกือบปี !!!) ผมละอายใจมากที่เคยคุยโวไว้ว่าจะเขียนเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะประสบการณ์การดูดาวเวลาเดินทางไปยังที่ต่างๆ เสร็จแล้วก็เข้าอีหรอบเดิมคือไม่เคยเขียนสำเร็จ เอาหละน่าคราวนี้เขียนจบแน่ คิดพล็อตไว้ในใจตั้งเป็นสิบเรื่อง (ฮา)
ตั้งแต่คุยกัน (ทาง email) คราวก่อนผมได้ไปมาอีกหลายแห่งครับ แต่มีงานให้ทำแทบจะเต็มเวลาทีเดียว ช่วงต้นปีไปออสเตรเลียมาสองครั้ง ที่ซิดนีย์นั้นหมดสิทธิ์เพราะพักในเมืองย่านคิงสครอส ไฟสว่างทั้งคืนยังกับงานเฉลิม แต่ที่เมลเบอร์นพักแถวสนามบินซึ่งอยู่นอกเมือง พออาศัยหลบมุมโรงแรมใช้เจ้าสองตาดูดาวได้บ้าง เห็น LMC และ SMC ด้วยนา ทำเป็นเล่นไป
ที่ซิดนีย์ตอนไปคราวที่แล้วปีก่อนครอบครัวไปด้วย เลยพากันไปดูดาวที่ Sydney Observatory ได้ประสบการณ์และเรื่องราวแปลกๆ อยากนำมาเล่าให้สมาชิกฟังแต่ยังไม่ได้เริ่มสักที (อีกแล้ว) ยกตัวอย่างสักเรื่องคือ เจ้าลูกชายสองคนสรุปตรงกัน (ไม่ค่อยบ่อยนัก) ว่าดาวพฤหัสที่ดูที่หอ (Meade 16 inch) ชัดและสุกสว่างสู้ดูที่บ้านที่เมืองนนท์ (Orion 4.5 inch) ไม่ได้
แถวตะวันออกกลางก็แปลกนะครับ เคยอ่านพบเรื่อยๆ ว่าชาวอาหรับก็เป็นชนพวกหนี่งที่ถูกอ้างถึงในตำนานหรือเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการดูดาวในอดีต แต่ผมไม่เห็นดาวสักดวงถึงแม้ท้องฟ้าจะใสไม่มีเมฆเลย (จะว่าใสก็ไม่เสียทีเดียวนะครับ มักเป็นสีเทาๆ ทึมๆ ยังไงบอกไม่ถูก) ปรารภกับเพื่อนเพื่อนก็บอกว่าคงเป็นเพราะอยู่ในเมีองไม่ได้อยู่ในทะเลทรายเหมือนคนโบราณ ก็ยังเถียงอยู่ในใจนะครับว่า เมืองที่ไปคือมัสกัตนั่นน่ะอยู่ในทะเลทรายแท้ๆ เลย
ผมนึกเลยเถิดไปในฐานะที่เป็นแฟนฟุตบอลอยู่ด้วยว่าพวกนี้เค้าเล่นฟุตบอลเก่งกว่าเราได้อย่างไรนะ อย่างโอมานนี่มีประชากรน้อยกว่าเมืองไทยหลายเท่า เวลาตอนจะซ้อม เราเล่นตอนบ่ายตอนเย็นบ่นเรื่องร้อนนักร้อนหนา ขอโทษครับ ที่มัสกัตตอนผมไป ตอนหกโมงเช้า 33 องศาครับ
ที่เอเธนส์ปีนี้เองตอนเดือนกรกฎาคม พักที่โรงแรมริมทะเลออกมานอกเมือง ดูดาวได้ที่ระเบียงเลย ปัญหาคือเป็นช่วงหน้าร้อน ท้องฟ้ากว่าจะมืดก็ปาเข้าไปเกือบสี่ทุมบวกเวลาที่เคยชินจากเมืองไทยอีก 4 ชั่งโมงก็เป็นตีสอง บางวันก็เลยหลับไปเสียก่อน คุยกับคนกรีกอาศัยจำชื่อดาวกับชื่อกลุ่มดาวได้ เขาก็เลยทึ่งกัน ทำให้เห็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งครับ อากาศร้อนมาก ตอนบ่ายๆ นี่ 40 องศา ท้องฟ้าใสแจ๋วไม่มีเมฆ ผมอยากจับคนแถวบ้านเราที่ร้อนนิดร้อนหน่อยก็บ่นกันแล้วไปอยู่เป็นบ้าเลยครับ
ที่กรุงเทพ ตอนนี้นอกจากไม่มีเวลา แล้วยังไม่มีดาวนะด้วยครับ ผมจำไม่ได้แล้วว่าเคยเห็นดาวครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
ผมเริ่มเขียนเรื่องกิจกรรมของสมาชิก (เป็นเรื่องคุยเรื่อยเปื่อยมากกว่า) ชื่อว่า "หกตาพากล้องเที่ยว" และจะส่งตามมานะครับ คุณวิมุติช่วยพิจารณาดูเพื่อเผยแพร่หรือเอาไว้อ่านเองหรือเก็บลง "Basket File" ก็แล้วแต่เห็นควรนะครับ

สวัสดีครับ
อภิสิทธิ์ เจิมสวัสดิ์

thaiastro

แค่นี้ไม่เห็นต้องละอายใจเลยครับ ผมนี่สิน่าละอายกว่า ดองจดหมายของคุณตั้งเกือบปี นานกว่าที่คุณหยุดเขียนเสียอีก (ฮากว่า) ช่วงนี้ผมกำลังเร่งสะสางจดหมายที่ดองไว้อย่างหนัก นับ ๆ ดูเกือบร้อยฉบับแน่ะครับ จดหมายใหม่ก็มาเรื่อย ๆ เหนื่อยทีเดียว ประสบการณ์ของคุณน่าสนใจทีเดียวครับ ถ้าเขียนได้ยาวกว่านี้คงจะดีมาก หวังว่าคงยังไม่เลิกที่จะเขียน "หกตาพากล้องท่องเที่ยว" ส่งมาเมื่อไหร่ผมก็จะนำเอาลงหน้ารายงานและหน้าจดหมายทั้งคู่เลย

วิมุติ วสะหลาย


"Nopporn Manoppong" [m_nopporn@hotmail.com]

HI!
PAA NOPE just came back from the kids 9-12 camp at WIANG SAA, SURAT THANI. It was right in the WAT WIANG SA surrounded by rice paddy. The main objective was- to keep kids away from drugs. Kids practiced Thai traditional massage, yoka, family life and the way oldies lived in their fields,orchard and their back yards. Kids cooked from what they picked and caught. They got edible young shootsand got BIG PLA CHON,PLA MAW by their hands. They created some new DISHes beautiful but hard to take as u would expeerienced in the camp when u were yuong. The starry night plus the half moon were OK! Oldies said the moon wasready to pick by hands, very close. Kids came in row and made round trips. The BIG DOG was very attractived. The BIG BEAR hanging its head while its tail traacked to the ARCTURUS and the SPICA. Yes, The LION heart also showed up. Very early in the morning, the MARS and the SCORPION heart showed up. THat was great , was'nt it ? Some songs and taales were told. SO SORRY,
no one saw the RABBIT or TA kub YAI on the MOON even though I brought along a paper sheet from S&P restuarant showing what people of other countries see on the same moon. Have u ever seen A LADY on the MOOn, just 1,only for u. HA! HA! HA! REprted by PAA NOPE, a southerner who went back to the land of ancesters.