จันทรุปราคา พ.ศ. 2551-2555
รวบรวมผลการพยากรณ์การเกิดจันทรุปราคาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พัฒนาโดยนายวรเชษฐ์ บุญปลอด
จันทรุปราคา พ.ศ. 2551 - 2555 | |||||
---|---|---|---|---|---|
วัน เดือน ปี | เวลาบังเต็มที่ (เวลาประเทศไทย) |
ชนิด |
ผลการคำนวณ วิธีดั้งเดิม1 |
ผลการคำนวณ วิธีดองชง2 |
หมายเหตุ |
21 กุมภาพันธ์ 2551 | 10:26 น. | เต็มดวง | - | - | ประเทศไทยไม่เห็น |
17 สิงหาคม 2551 | 04:10 น. | บางส่วน | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
9 กุมภาพันธ์ 2552 | 21:38 น. | เงามัว | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
7 กรกฎาคม 2552 | 09:39 น. | เงามัว | - | - | ประเทศไทยไม่เห็น |
6 สิงหาคม 2552 | 07:39 น. | เงามัว | - | - | ประเทศไทยไม่เห็น |
1 มกราคม 2553 | 02:23 น. | บางส่วน | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
26 มิถุนายน 2553 | 18:38 น. | บางส่วน | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
21 ธันวาคม 2553 | 15:17 น. | เต็มดวง | - | - | ประเทศไทยไม่เห็น |
16 มิถุนายน 2554 | 03:13 น. | เต็มดวง | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
10 ธันวาคม 2554 | 21:32 น. | เต็มดวง | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
4 มิถุนายน 2555 | 18:03 น. | บางส่วน | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
28 พฤศจิกายน 2555 | 21:33 น. | เงามัว | แผนภาพ | แผนภาพ | เห็นได้ในประเทศไทย |
หมายเหตุ :
- วิธีดั้งเดิม หมายถึง การคำนวณโดยให้เงาโลกขยายร้อยละ 2% อันเป็นผลจากบรรยากาศ ผลการคำนวณนี้ตรงกันหรือใกล้เคียงกับที่พบได้ใน Astronomical Almanac รายปี
- วิธีดองชง เป็นวิธีคำนวณขนาดของเงาโลกที่เสนอโดย อองเดร ดองชง (Andre Danjon) ผลการคำนวณนี้ตรงกันหรือใกล้เคียงกับที่พิมพ์ใน Connaissance des Temps ของฝรั่งเศส และใกล้เคียงกับผลการคำนวณโดยเฟร็ด เอสพีแน็ก (Fred Espenak - NASA/GSFC) ซึ่งตีพิมพ์ใน Observer's Handbook รายปี (เฟร็ดเริ่มใช้วิธีดองชงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007)
- เวลาที่คำนวณได้นี้ อาจแตกต่างจากผลการคำนวณของนักดาราศาสตร์ท่านอื่น ๆ ได้เล็กน้อย อันเนื่องมาจากค่าคงที่บางค่าและวิธีคำนวณที่อาจต่างกันเล็กน้อย ตำแหน่งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่ใช้ก็เป็นคนละระบบ ปัจจัยต่อมา คือ ความไม่แน่นอนของค่าความต่างระหว่างเวลา UT กับเวลา TDT (deltaT) ซึ่งไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า (มีผลเล็กน้อยราว 1-2 วินาที ในระยะไม่เกิน 5 ปีนี้)