จดหมายถึง thaiastro

Autjaree (autjaree@sdc.co.th)

I would like to ask you a few questions. Can you recommend web sites that show constellations? Thank you very much.

AUTJAREE @^-^@

thaiastro

Please try http://www.geocities.com/Eureka/Park/1476/starpark.html for Thai or http://www.astro.wisc.edu/~dolan/constellations/ for English.

Hope this helps
Wimut Wasalai


Kornkan@wcrs.co.th

สวัสดีค่ะ
ขอบคุณอีกครั้งที่ยังไม่ลืม แต่ดิฉันอาจขี้ลืมจำผิดจาก f เป็น m ก็ได้ ดิฉันจะจำข้อมูลของคุณให้แม่น ก่อนไปซื้อวันเสาร์ 14 พ.ย. นี้ค่ะ ตัวเลขที่ระบุนี้จะหมายความว่า ยิ่งมุมของภาพกว้างและสูงก็จะดีกว่าหรือเปล่าคะ ? และที่อยากทราบเพิ่มก็คือ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของดาวเคราะห์ เราจะหาดูได้จากไซต์ไหน ได้บ้าง ? (ภาษาไทยนะคะ) ของ thaiastro ก็น่าจะมีบ้างนะคะ พอให้เปรียบเทียบกับโลกของเราได้ก็พอ ไม่ต้องถึงขั้นอ่านไปสอบ ที่เห็นข้อมูลตอนนี้จะเป็นตารางตัวเลขต่าง ๆ แต่ไม่มีคำอธิบายความหมาย หรือลักษณะรูปธรรมที่คนทั่วไปจะนึกภาพได้ชัดเจน ข้อมูลเพิ่มเติมเช่น ทำไมดาวอังคารมีสีชมพูแดง อาจช่วยเพิ่มความเพลิดเเพลินในการศึกษาดวงดาวได้มากขึ้น ขออนุญาตแนะนำเท่านี้ค่ะ ที่จริง thaiastro ก็ดีเยี่ยมอยู่แล้ว

Stardust

thaiastro

เรื่องของกล้องสองตา ถ้าจะเอาไว้ดูดาว ขอแนะนำให้เลือกที่มุมกว้าง ๆ จะดีครับ ยิ่งมีระบุคำว่า wide angle ยิ่งดี กำลังขยายไม่สำคัญเท่ากับมุมภาพหรอกครับ

เว็บไซต์ภาษาไทยที่มีข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของดาวเคราะห์ พวกชื่อหลุม ภูเขาไฟต่าง ๆ บนดวงจันทร์ ดาวอังคาร ยังไม่มีครับ และผมก็คิดว่าคงจะไม่นำลงในโฮมเพจสมาคมฯ ด้วยครับ เพราะเห็นว่าเป็นข้อมูลเฉพาะด้านมากเกินไป รวมถึงเว็บไซต์ภาษาอังกฤษก็หายากครับ ข้อมูลทางนี้น่าจะหาจากพวกซีดีรอมมากกว่าครับ มีแน่นอน

ส่วนเรื่องทั่วไปอย่าง ทำไมดาวอังคารถึงมีสีแดง ทำไมดาวศุกร์มีสีเหลืองพวกนี้ มีการกล่าวถึงบ้างในบทความทั่ว ๆ ไปอยู่แล้วครับ เร็ว ๆ นี้จะมีบทความสำหรับนักดูดาวมือใหม่ออกมา มีการพูดถึงเรื่องนี้ด้วยครับ โปรดอดใจรอครับ

วิมุติ วสะหลาย


sunida (sunida@health2.moph.go.th)

เรื่องลูกอุกกาบาตที่จะพุ่งชนโลกอีก 100 ปีข้างหน้า เป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน

hutapon@thaimail.com

thaiastro

ยังไม่มีรายงานที่เป็นที่ยืนยันครับ

วิมุติ วสะหลาย


spdsp (d_sophon@thaimail.com)

ผมอยากจะขอทราบความรู้เกี่ยวกับเรื่องหลุมดำ (black hole)ว่าในปัจจุบันมีอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีเราสามารถพิสูจน์ได้หรือยังครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

thaiastro

ปัจจุบันเราค้นพบสิ่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นหลุมดำแล้วหลายหลุม โดยเฉพาะหลุมดำขนาดยักษ์ที่อยู่ตามใจกลางกาแล็กซีขนาดใหญ่ ๆ รวมทั้งกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราด้วย การสำรวจหลุมดำตามใจกลางกาแล็กซีพวกนี้มักสำรวจในย่านคลื่นวิทยุครับ เพราะเป็นความถี่เดียวที่สามารถทะลุฝุ่นก๊าซหนาทืบที่ล้อมรอบใจกลางหลุมดำได้ ส่วนหลุมดำที่อยู่โดด ๆ อย่างเช่น Cynus X-1 ก็สำรวจได้ในย่านรังสีเอกซ์ครับ

วิมุติ วสะหลาย


Oran Trangkanukoonkit (oran@udon.ksc.co.th)

ผมดูใน โปรแกรม Redshift 3 พบว่า ช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า จะมีดาวหาง Biela เข้าใกล้โลกมาก ประมาณ 0.2 a.u. ไม่ทราบว่าเราจะสามารถมองเห็นได้อย่างไร ผมลองจำลองใน Redshift แล้วจะมีบางช่วงหางยาวมาก และทำไมถึงไม่ค่อยเป็นที่สนใจ...

ขอบคุณครับ
โอฬาร ตรังคานุกูลกิจ
อุดรธานี

thaiastro

ดาวหางดวงนี้เคยเป็นดาวหางอันตรายครับ เคยเข้าใกล้โลกถึง 0.0364 หน่วยดาราศาสตร์ (5.46 ล้านกิโลเมตร) เท่านั้น แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวหางดวงนี้ได้แตกสลายไปแล้ว เพราะไม่มีการพบเห็นอีกเลยหลังจากปี 1866 ก่อนหน้านั้นในปี 1846 นักดาราศาสตร์ได้พบว่ามันเริ่มแตกเป็นสองส่วน และเริ่มแตกต่อไปเรื่อย ๆ จนเชื่อว่ามันได้แหลกสลายไปแล้ว เนื่องจากมันเป็นดาวหางที่มีวงโคจรตัดกับวงโคจรโลก และมีการสลายตัวแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ดาวหาง Biela จึงเป็นต้นกำเนิดฝนดาวตกด้วย ดังรายงานฝนดาวตกที่พบในวันที่ 27 พฤศจิกายน 1872 เกิดพายุฝนดาวตกห่าใหญ่ที่เกิดจากดาวหางดวงนี้ อัตราดาวตกต่อชั่วโมงในครั้งนั้นสูงถึง 3,000/ชั่วโมง และ 15,000/ชั่วโมงในปี 1885 และ 6,000/ชั่วโมงในปี 1892 ส่วนในปี 1899 เหลือแค่ 150 ดวงต่อชั่วโมง หลังจากนั้นก็ไม่พบฝนดาวตกของชุดนี้อีกเลย โดยสรุปแล้วก็คือ ไม่ต้องเป็นห่วง ดาวหางดวงนี้กลายเป็นตำนานไปแล้วครับ

วิมุติ วสะหลาย


Yo, Pim, Nilneera (yoyoja@usa.net)

เรียน คุณวิมุติ
ขณะนี่ดิฉันใช้ win98 เวอร์ชันภาษาไทยอยู่ค่ะ แต่ก็ยังไม่สามารถอ่านภาษาไทยในเว็บไซต์ thaiastro ได้ ขอความกรุณาบอกชื่อฟอนต์ภาษาไทย ที่จำเป็นในการดูเว็บไซต์นี้ด้วยค่ะ

ขอแสดงความนับถือ
นิลนีรา หาญวงศ์

thaiastro

เรียน คุณนิลนีรา
ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการปรับตั้งบราวเซอร์ครับ เพราะโฮมเพจของสมาคมฯ ไม่มีการระบุฟอนต์ ลองดูตรงที่ Preference ของบราวเซอร์นะครับ เลือกฟอนต์ที่เป็นฟอนต์ภาษาไทย เช่นพวก UPC ก็ได้แล้วครับ

วิมุติ วสะหลาย


plan4 (plan4@prasrisrv)

ถ้าอยากจะเป็นนักดาราศาสตร์ควรเรียนอะไร?

thaiastro

ในเมืองไทยขณะนี้ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดที่เปิดสาขาดาราศาสตร์โดยตรงครับ ดังนั้น ถ้าคุณ plan4 ถ้าต้องการเรียนดาราศาสตร์หรือเป็นนักดาราศาสตร์ ควรเลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์ครับ แล้วก็เป็นภาควิชาฟิสิกส์ ซึ่งจะมีสอนวิชาดาราศาสตร์ด้วย เมื่อเรียนฟิสิกส์แล้ว เราก็อาจจะเลือกทำวิจัยที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ได้ครับ มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในด้านนี้ก็ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ

วิมุติ วสะหลาย


Pasakorn Iem-sumarng (ipas@rocketmail.com)

สวัสดีครับ คุณวิมุติ
รู้สึกผิดคาด (ในจำนวน) แต่ไม่ผิดหวังกับ (การได้เห็น) ดาวตกลีโอนิดส์ ผมรอดูคืนเช้าวันอังคาร (16) ตอนประมาณตี 2 ได้เห็นดวงแรกที่ตก รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะว่ามัน มีขนาดใหญ่และเป็นทางยาวมาก มีสีเขียว-แดง ในขณะที่มันพุ่งไป จึงไปปลุกภรรยาขึ้นมาดูด้วยกัน ช่วยกันนับได้ประมาณ 15 ดวงใน 1 ชั่วโมง ประทับใจมาแต่ผิดคาดที่จำนวนน้อยไป แต่มันก็ตกมากกว่าปกติที่เคยเป็น ขณะขับรถไป ทำงานประมาณ 8 โมงเช้าผมว่าผมเห็นมีตกลงมาลูกใหญ่มากเห็นฝุ่นเป็นทางยาว ภรรยาว่าผมตาฝาด แต่ผมมองรถข้าง ๆ ก็เห็นเขาแหงนหน้ามองและชี้ มือไปทางที่เห็น แต่ผมก็ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง จนเข้าไปอ่านที่กลุ่มรัชดา ใน www.pantip.co.th ก็มีคนเห็นเหมือนผมเข้าไป post ข้อความไว้ แสดงว่าผมตาไม่ฝาดแน่ ๆ เช้าวันพุธ (17) ผมดูกับคุณแม่ ส่วนภรรยาแยกไปดูกับเพื่อน ๆ จำนวนที่ตกก็พอ ๆ กับวันอังคาร แต่เล็กกว่ามาก ได้เห็นดวงใหญ่เพียงครั้งเดียว ดูอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง เช้าวันพฤหัสบดีมีเมฆมากเลยไม่ดู (อ้อ ผมดูที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา) 2 วันแรกท้องฟ้าโล่งดีมาก แต่มีแสงไฟในเมืองรบกวนนิดหน่อย ดูข่าว TV บอกว่าทางภาคอิสานเห็นตกครั้ง (ไม่ใช่ ชม.) ละ 30-40 ดวงจริงไหมครับ ส่วนคนที่ไปดูแถวแปลงยาว บางคล้าบอกว่าเห็นชัดและมีจำนวนมาก (ไม่ยืนยัน) เดือนหน้าเห็นว่ามีปรากฏการณ์อย่างนี้อีก (ได้ยินจากข่าว TV) จริงไหมครับ? ถ้ามีจะเห็นจากกลุ่มดาวอะไร และมีโอกาสเห็นมากน้อยแค่ไหน อ้อ ผมอ่านเจอใน web ต่างประเทศ มีการตกแบบ fireball มันเป็นอย่างไรครับ และนอกจาก fireball แล้วมีตกแบบอื่นอีกไหมครับ หวังว่าทางสมาคมคงจะมีบทสรุปของฝนดาวตกลีโอนิดส์ในเมืองไทยให้อ่านกันนะครับ และขอให้โฮมเพจทางดาราศาสตร์ 1 เดียวของไทยอยู่เผยแพร่ความรู้ต่อไปนาน ๆ นะครับ

ภาสกร เอี่ยมสำอางค์

thaiastro

คุณภาสกรโชคดีจริง ๆ ที่ได้ดูดาวตกในคืนวันที่ 16/17 เพราะนั่นคือของจริงครับ จากรายงานการสังเกตฝนดาวตกทั่วโลก พบว่า จำนวนดาวตกที่เห็นในคืนวันที่ 16/17 สูงกว่าในคืนวันที่ 17/18 มากเป็นเท่าตัวทีเดียว

เรื่องที่ว่ามีผู้เห็นดาวตก ๆ ครั้งละ 30-40 ดวงนั้น ไม่มีการยืนยันครับ ผมคิดว่าน่าจะเป็นการพูดเกินเลยไปมากกว่า ส่วนเดือนธันวาคมนี้ก็จะมีฝนดาวตกคนคู่ครับ ฝนดาวตกนี้เป็นฝนดาวตกชื่อดังอีกชุดหนึ่งที่มีอัตราการตกอย่างเสมอต้นเสมอปลายทุก ๆ ปีไม่เหมือนกับฝนดาวตกสิงโตครับ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับฝนดาวตกคนคู่ได้จาก หน้า "ฝนดาวตกที่น่าสนใจในเดือนธันวาคม 2541" (https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/mete1298.html) ครับ

คำว่า fireball มีการพูดกันถี่มากในช่วงฝนดาวตกสิงโตที่ผ่านมา จริง ๆ แล้ว fireball ก็คือดาวตกนั่นเองครับ ไม่ใช่ศัพท์ทางวิชาการแต่อย่างใด ใช้เรียกดาวตกที่สว่างมาก ๆ ไม่มีการกำหนดแน่นอนว่าความสว่างเท่าใดจึงจะเป็นไฟร์บอล แต่โดยทั่วไปถ้าดาวตกสว่าง -5 หรือ -6 ขึ้นไปก็เรียกว่า fireball แล้วครับ

โฮมเพจทางดาราศาสตร์ของไทยไม่ได้มีแต่สมาคมฯ เท่านั้นนะครับ ลองดูที่หน้าลิงก์ของสมาคมฯ ดูสิครับ เรามีเพื่อนร่วมทางอยู่ไม่น้อยเลย

วิมุติ วสะหลาย


kompass@loxinfo.co.th

สวัสดีค่ะ
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอุกกาบาตว่าคืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? และค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับอุกกาบาตได้ที่ไหนบ้างคะ?

ขอบคุณค่ะ

Kompass

thaiastro

สวัสดีครับ อุกกาบาตคือ วัตถุที่ตกลงมาจากนอกโลกครับ ในอวกาศมีเศษก้อนหินก้อนโลหะเล็กน้อยกระจัดกระจายอยู่ทั่ว วันดีคืนดีมันก็อาจจะตกลงสู่โลก เสียดสีกับบรรยากาศจนลุกเป็นไฟให้เราเห็นเป็นดาวตกหรือผีพุ่งไต้ หากเผาไหม้ไม่หมดก้อนหินนั้นก็จะตกลงถึงพื้น กลายเป็น อุกกาบาต มีเว็บเพจที่เกี่ยวกับด้านดาวตกและอุกกาบาตโดยตรงอยู่หลายแห่งครับ คุณ Kompass ลองหาดูที่หน้า https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/mete1198.html ดูนะครับ ภายในมีลิงก์เต็มไปหมด

วิมุติ วสะหลาย


ACS (acsic@acs.ac.th)

ทำไมดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง? และมีความร้อนในใจกลางเท่าไร?

thaiastro

การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ เป็นผลมาจากแรงหมุนที่หลงเหลือมาจากการเคลื่อนที่ของก๊าซที่หมุนตีเกลียวมารวมตัวกันตอนสร้างดวงอาทิตย์ ขณะนี้เชื่อว่า ใจกลางดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิประมาณ 15 ล้านเคลวินครับ

วิมุติ วสะหลาย


patt55@hotmail.com

สวัสดีครับ คือว่าผมกำลังหาข่าวเกียวกับเรื่องพวกดาราศาสตร์ หรือไม่ก็เป็นพวกปรากฎการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้า ที่ใหม่ ๆ ไม่ทราบว่าคุณจะหาข้อมูลและช่วยส่งมาให้ผมด้วยจะได้หรือไม่ หวังว่าผมคงจะได้รับข่าวดีจากคุณนะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

patt

thaiastro

เรื่องที่คุณ patt ต้องการทราบมีอยู่ในโฮมเพจสมาคมดาราศาสตร์ไทยหมดแล้วนะครับ เรื่องข่าวดาราศาสตร์ดูได้ที่ https://thaiastro.nectec.or.th/news/blletin.html ส่วนเรื่องปรากฏการณ์ท้องฟ้าดูได้ที่ https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/skyevnt.html ครับ หวังว่าคงจะถูกใจนะครับ

วิมุติ วสะหลาย


unch_t@hotmail.com

สวัสดีค่ะ
เนื่องด้วย ด.ช.ปณัสย์ พงษ์ศักดิ์ชาติ (น้องไต้ฝุ่น) อายุ 9 ปี เรียนอยู่ชั้น ป.4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์ และต้องการที่จะศึกษาค้นคว้า อยากจะขอคำแนะนำคุณวิมุติให้แก่น้อยไต้ฝุ่นหน่อยค่ะ และถ้าจะสมัครเป็นสมาชิก สามารถสมัครได้ที่ใดบ้างคะ กรุณาส่งคำตอบไปที่ unch_t@hotmail.com นะคะ จักเป็นพระคุณยิ่ง

อัญชนา พงษ์ศักดิ์ชาติ
(ผู้ปกครองน้องไต้ฝุ่น)

thaiastro

สวัสดีครับ ชื่อน้องไต้ฝุ่นช่างน่ากลัวสำหรับนักดูดาวเหลือเกิน นักดูดาวเขากลัวเมฆกลัวฝนครับ ยิ่งเจอไต้ฝุ่นยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่

หากน้องไต้ฝุ่นยังไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ผมขอแนะนำให้สมัครครับ ค่าสมัครยุวสมาชิกเพียง 100 บาทต่อปีเท่านั้น สมาชิกจะได้รับวารสารทางช้างเผือกปีละ 4 ฉบับ แม้ช่วงนี้เรื่องสำหรับเด็ก ๆ จะห่างหายไปพักใหญ่ แต่ต่อไปคิดว่าจะกลับมาครับ อย่างน้อยถ้าเป็นสมาชิกก็จะสามารถไปร่วมโครงการดาราศาสตร์สัญจร หรือทัวร์ดูดาวได้ในราคาถูกกว่าบุคคลทั่วไป ยิ่งช่วงนี้หน้าหนาว ทางสมาคมจัดบ่อยเป็นพิเศษ ลูกเด็กเล็กแดงก็ไปได้ครับ

ที่ห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตก็น่าจะมีหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์สำหรับเด็กอยู่ไม่น้อยนะครับ ถ้าดูตามร้านหนังสือทั่วไป ช่วงนี้ก็มีหนังสือดี ๆ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์สำหรับเด็ก ๆ อยู่พอสมควร สำนักพิมพ์รักลูก ได้ออกหนังสือที่แปลมาจากหนังสือตระกูล Eyewitness มาหลายเล่ม ซึ่งรวมถึงเรื่องดาราศาสตร์ด้วย น่าอ่านทีเดียวครับ ที่กล่าวมานี้ยังไม่รวมถึงหนังสือเล่มเล็ก ๆ อีกหลายเล่ม ผมเห็นมีขายอยู่มากที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และที่ท้องฟ้าจำลอง ราคาไม่แพง น่าซื้อหาเอาไว้ครับ

ถ้ามีเวลาวันเสาร์-อาทิตย์ลองพาน้องไต้ฝุ่นมาเที่ยวท้องฟ้าจำลองก็ได้นะครับ ค่าเข้าชมในโดมถูกมาก เมื่อเข้าไปในโดมแล้วเขาจะสอนดูดาวเบื้องต้นให้ด้วย เมื่อออกมาจากโดมแล้วก็อย่าแวะดูของที่ร้านค้าข้าง ๆ ศูนย์บริภัณฑ์กับร้านสเปกตรัมด้วยนะครับ มีอะไรดี ๆ เยอะแยะไปหมด

คิดว่าเพียงเท่านี้ก็เพียงพอที่จะให้น้องไต้ฝุ่นชอบและหลงใหลดวงดาวแล้วหล่ะครับ

วิมุติ วสะหลาย


CHALEE (rek01441@asianet.co.th)

ผมกำลังจะสั่งซื้อกล้อง MEADE ETX ASTRO อยากขอคำแนะนำสำหรับกล้องรุ่นนี้ ในเมืองไทยใครที่ซื้อแล้วกรุณาติดต่อผมด้วย จะขอบคุณมาก

ชาลี ประจงกิจกุล

thaiastro

สวัสดีครับ
กล้องดูดาว Meade ETX ก็เป็นกล้องโทรทรรศน์อีกตัวหนึ่งนะครับที่น่าสนใจ แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อกล้องโทรทรรศน์สักตัวหนึ่ง เราจะต้องกำหนดเป้าหมายของเราให้ชัดเจนเสียก่อนว่ากล้องที่เราจะซื้อมาเนี่ย เราต้องการที่จะมาดูอะไรกันแน่ เช่น
- ดาวเคราะห์
- กาแล็กซี เนบิวลา กระจุกดาว
- ถ่ายภาพทางดาราศาสตร์
ถ้าคุณต้องการดูดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราหล่ะก็ Meade ETX เป็นกล้องที่เหมาะสำหรับงานนี้มาก เพราะให้ภาพที่คมชัด เทียบเท่ากับกล้องหักเหแสงที่มีขนาดเท่า ๆ กัน (90 mm) สำหรับการดูกาแล็กซี เนบิวลา กระจุกดาว และการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ก็ควรจะเป็นกล้องดูดาวที่มีค่า f/ratio ต่ำ ๆ เช่น f/6.3 หรือ f/8 แต่สำหรับการถ่ายรูปทางดาราศาสตร์แล้ว เรายังต้องอาศัยอุปกรณ์อื่น ๆ ช่วยอีกมากมาย เช่น Motor drive, Adapter สำหรับกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ และยังต้องเรียนรู้ระบบของขาตั้งกล้องอีกพอสมควร (ซึ่งกล้อง Meade ETX ไม่เหมาะสมสำหรับงานถ่ายภาพและดูกาแล็กซี เนบิวลา กระจุกดาว)

แต่ถ้าคุณยังสนใจที่จะหาข้อมูลของกล้องตัวนี้เพิ่มเติมผมแนะนำให้ไปยัง http://www.meade.com ซึ่งเป็น web ของบริษัท Meade ที่อยู่ในอเมริกา สำหรับคนไทยที่ใช้กล้องรุ่นนี้อยู่ก็คือ คุณวิภู รุโจ-ปการ มีรูปที่เขาถ่ายไว้ในวารสารทางช้างเผือกฉบับที่ 2 ปีที่ 17 ด้วยนะครับ (ปกหลังด้านใน)

พรชัย อมรศรีจิรทร


Monton Wongwandee (05132130@student.chula.ac.th)

ผมอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพและเวลา ผมจะศึกษาเรื่องเหล่านี้ได้จากที่ใดบ้างครับ

ขอบคุณครับ

thaiastro

หนังสือที่ผมรู้จักส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่าจะสนใจหรือไม่ครับ สำหรับแหล่งข้อมูลภาษาไทยที่อาจจะตอบคำถามบางอย่างของคุณได้ ลองดูหนังสือเรื่อง มนุษย์กับจักรวาล ของ ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล จากสำนักพิมพ์สารคดี

รู้สึกว่าหนังสือ A Brief History of Time จะมีคนแปลเป็นภาษาไทยแล้วใช่ไหมครับ ถ้าใช่ ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่น่าอ่าน ถึงแม้จะเข้าใจยากไปบ้าง คนเขียนคือ Stephen Hawking ครับ

วิษณุ


Robert Teh (robert@oil.ptt.or.th)

เรียน คุณ วิษณุ เอื้อชูเกียรติ
กระผมอยากจะขอปรึกษาและคำชี้แนะจากท่าน ตอนนี้ผมกับเพื่อนตกลงกันว่าจะไปสมัครสมาชิกกับสมาคมดาราศาสตร์ไทย แต่ตอนนี้กำลังจัดเตรียมอุปกรณ์ที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้ จึงขอคำปรึกษาจากท่านว่า สิ่งที่จะต้องใช้ใน การดูดาวมีอะไรบ้าง และกล้องที่ใช้ควรใช้แบบไหน มีขนาด 100x และ 50x ไม่ทราบว่าท่านมีอะไรจะแนะนำสำหรับมือสมัครเล่น และอยากทราบว่า ราคาของกล้องราคาโดยประมาณเท่าไร ขอขอบพระคุณท่านที่ให้คำชี้แนะ

natural@oil.ptt.or.th
robert@oil.ptt.or.th

thaiastro

เรียน คุณ Robert
การเป็นสมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ มาก่อน สมาคมฯ มีกล้องดูดาวให้บริการแก่สมาชิกอยู่แล้วเวลาที่ออกไปดูดาวใน โครงการดาราศาสตร์สัญจร

หากคุณ Robert ยังไม่เคยใช้กล้องดูดาว ผมแนะนำให้ลองไปกับสมาคมฯ ก่อนที่จะตัดสินใจชื้อกล้องดูดาว ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือใช้กล้องส่องทางไกลชนิดสองตา ซึ่งให้ความคล่องตัวมากกว่า ไม่ทราบว่าคุณ Robert ได้ลองพิจารณาทางเลือกนี้ หรือยัง

สิ่งที่ต้องใช้ในการดูดาว ที่สำคัญที่สุดคือตาของเราเอง เมื่อเราดูดาวด้วยตาเปล่า ได้คล่องพอสมควร รู้จักทิศทางและวิถีการโคจรของดวงดาวแล้ว จึงจะสามารถ ใช้กล้องดูดาวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ข้อมูลกล้องดูดาว: https://thaiastro.nectec.or.th/library/tele.html
ข้อมูลกล้องสองตา: https://thaiastro.nectec.or.th/library/binocwld.html

วิษณุ เอื้อชูเกียรติ


raaak@mucc.mahidol.ac.th

ต้องการเลือกซื้อกล้องดูดาว ช่วยแนะนำกำลังขยาย ราคา รุ่น ยี่ห้อ และสถานที่ที่สามารถจะซื้อได้ ขอบคุณครับ.

thaiastro

สวัสดีครับ
กล้องดูดาวก็เป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนะครับ แต่ว่าผู้ที่สามารถที่จะใช้กล้องดูดาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางดาราศาสตร์มากอยู่สักหน่อย อย่างน้อยๆ ก็ควรที่จะรู้ว่ากล้องดูดาวมีระบบการทำงานอย่างไร (เวลาที่เกิดเสียขึ้นมาจะได้ไม่ต้องหาที่ซ่อม เพราะหาไม่ได้ในเมืองไทยครับ) และเราก็ต้องทราบตัวเองด้วยว่ากล้องที่เราต้องการที่จะซื้อเนี่ย เราต้องการจะเอามันมาทำอะไร เช่น
- ดูดาวเคราะห์
- ดูวัตถุระหว่างดาวฤกษ์
- ถ่ายภาพทางดาราศาสตร์
ถ้าเราทราบจุดมุ่งหมายและระบบของกล้องดูดาวแล้ว ต่อไปก็คือการพิจารณาร้านค้าที่เราจะไปซื้อ ผมขอแนะนำว่าซื้อต่างประเทศราคาจะถูกกว่าในเมืองไทยแน่นอนครับ บริษัทที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์ก็คือ www.celestron.com และ www.meade.com และ www.televue.com ครับ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูนะครับเพราะว่ากว่าเราจะหาสตางค์มาซื้อกล้องดูดาวได้สัก ตัวหนึ่ง เราก็ต้องอยากได้กล้องที่เหมาะกับราคาและงานของเรามากที่สุด เป็นเรื่องธรรมดาน่ะครับ

พรชัย อมรศรีจิรทร


Samornrat Vatanatham (Samornrat.V@PAN-GROUP.COM)

Dear K.Wimut,
I observed the phenomenon in Thailand, Khao yai (North Eastern) on the mountain top, at Nov 17-18, in fact nov 18 1.00-3.00 a.m. We were disappointed that we did not see what was posted on your website at all. What we saw were a few minutes per one meteor. No two meteors appeared at the same time at all. Over 2-3 hr, we saw about 30, no more than 60 of them.

I'd like to offer some comments:
- wrong calculation
- too much promotion by mass media
- just a speculation
- in the last 33 yrs, it was about the same, no more than this. It was just word to word, so it sounds too much to be true.
- no proof of the estimates
- somewhere else like China, how was it?

Please let us hear form you. The whole nation is very much dissappointed, indeed.

I would like to let you know why people are disappointed all over the world. It's because you people, Astromony academics and media had given misleading info to the public that we were going to see 100,000 meteors on Nov17, 1998, the biggest event in the history.

We assumed also from the pictures that we would see many meteors at the same time, while in reality it fell one at a time. The photographs were the most misleading, because the "fall" is so fast there is no way you can take a picture in time. So by photographic techniques, they set automatic and time exposure for as long as 10 minutes per shot. Then we see more than one meteor in the picture, that created people's expectation.

Somebody must explain this to the public, it is the academics' and mass media's jobs, sirs/madam.

Please do not mislead the public. We must be well educated about astronomical phenomena like this.

rgds
Samornrat/Thailand

thaiastro

Dear Samornrat,
I'm sorry for a very late reply. Thanks for your message. Your mail is very useful.

Stargazers, researchers, and astronomers around the world, including TAS staff and I, were disappointed too. There were several reasons that made you saw a low rate of meteor shower such as weather and light pollution.

First, the weather. We were unlucky. A storm passed Thailand during the Leonid dates. I heard many reports from who observed at Khao Yai that the weather was very bad. It even rained near my house. Cloud and foggy weather could greatly degrade your visibility.

Second, the actual peak time came 15 hours sooner than forecast. Therefore, the best place to see this phenomenon were on the other side of Asia. This made the meteor rates reported from Europe and America higher than those from the Far East. And the Nov 16/17 rate is higher than the expected Nov 17/18. The highest rate of the shower was as high as 500 meteors per hour.

Khun Worachate has prepared good articles explaining why we saw few meteors that night. Please see the articles at :

https://thaiastro.nectec.or.th/library/leofact.html
https://thaiastro.nectec.or.th/library/leo1999.html

It's the duty of mass media to distribute interesting celestial events.

The word "rain" or "shower" were not totally misleading. Several "Shower" rate falls really occurred in the past. A 40-meteor-per-second rate was seen in some moments in 1966. Pictures and drawings would be misleadings only if they lack captions. Our publications provide descriptive captions and clear explationation. I think we did not make anything misleading. Drawings in our pages are somewhat exaggerated, but we also provide descriptive captions and explanation.

This was not the first time that Leonids disappoints people. The situation this year was very similar to that of 1965. People were very disappointed by the scarce Leonids. The following year, 1966, people were shocked by true storm rate. Think on the bright side. Regardless of the drift of the peak, if this year's Leonids is comparable to 1965, then next year's may equal 1966. Would you believe again?

Wimut Wasalai


surapa decha (surapa@mail.ams.cmu.ac.th)

สวัสดีค่ะคุณวิมุติ เมื่อคืนนี้ ดิฉันได้เฝ้ามองได้เห็นดาวตก เมื่อเวลาก่อนตีหนึ่ง ชัดเจน หนึ่งลูกมาจากทางทิศเหนือ ขนาดใหญ่สีเขียวสว่างผ่านเป็นแนวเหนือใต้ด้วยความรวดเร็ว หลังจากนั้น ก็ไม่เห็นลักษณะเช่นนี้อีก มีเพียงดาวตกขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น จากด้านบนลงล่าง แต่ไม่มีสีสวย รออย่างไรต่อก็ไม่เห็นอีกเลยจนเกือบตี ห้า มีฝนปรอย ๆ ก็เข้านอนค่ะ รู้สึกผิดหวังไม่เหมือนที่ว่าจะมีมาก ๆ เหมือนฝนตามที่นักวิชาการให้ข้อมูลนัก หรือว่า มีปัจจัยอื่นที่เป็นตัวแปร แต่ก็ดีใจที่ได้เห็นตามที่เล่า จะเป็นเลโอนิดส์หรือไม่คะตามที่ดิฉันได้เล่ามานี้ เพราะเห็นก่อนตีสองมาก ขอเล่าให้ทราบเท่านี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ให้โอกาส
สุรภา เดชะ

thaiastro

ฝนดาวตกสิงโตปีนี้มาผิดคาดเล็กน้อยครับ เพราะว่าช่วงที่ตกสูงสุดไม่ใช่ตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะมันมาก่อนหน้านั้นตั้ง 15 ชั่วโมง ผู้ที่เห็นของดีจริง ๆ กลับกลายเป็นคนแถว ๆ ยุโรปและอเมริกาไป ส่วนในเมืองไทยก็จะเห็นมากในคืน 16/17 แทนที่จะเป็น 17/18 คนที่ได้ดูคืน 16/17 บอกว่ามีมากจริง ๆ ครับ มากกว่าคืนต่อมาหลายเท่า อย่างไรก็ตาม ฝนดาวตกสิงโตปีหน้าก็ไม่ควรพลาดครับ อย่างน้อยที่สุด มันก็จะมากเท่า ๆ กับของปีนี้ จะไม่แย่ไปกว่าปีนี้ครับ และอีกฝนหนึ่งก็คือ ฝนดาวตกคนคู่ในคืนวันที่ 13/14 ธันวาคม 2541 นี้ก็ไม่ควรพลาดครับ เชื่อว่าจะตกไม่มากเท่าฝนดาวตกสิงโต แต่มันก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันครับ

วิมุติ วสะหลาย


SGM (bnacmm@samart.co.th)

เรียนผู้ดูแลเว็บ
ผมสนใจในเรื่องปรากฎการณ์ฝนดาวตกแต่อาจไม่มีเวลาที่จะดูการถ่ายทอดแบบสดบน Internet ไม่ทราบว่าจะมีการเก็บไว้ให้เข้ามาชมในภายหลังได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ
ภควันต์

thaiastro

เรื่องข้อมูลฝนดาวตกไม่ต้องห่วงครับ เพราะจะไม่มีการลบของเก่าอยู่แล้ว มีแต่จะเพิ่มครับ

วิมุติ วสะหลาย