สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(15 ก.ย. 67) นักวิจัยสองคน ได้แก่ คาร์ลอส เด ลา ฟูเอนเต มาร์กอส และ ราอุล เด ลา ฟูเอนเต มาร์กอส ได้คำนวณแนววิถีแล้วพบว่า วัตถุดวงนี้จะถูกโลกคว้าจับเอามาเป็นบริวารตั้งแต่วันที่ 29 กันยายนจนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ...

สตาร์ไลเนอร์กลับถึงโลก แต่ลูกเรือไม่ได้มา

(7 ก.ย. 67) ยานสตาร์ไลเนอร์ลำนี้มีชื่อว่า คาลิปโซ ได้ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ มิถุนายน โดยมีมนุษย์อวกาศโดยสารไปด้วยสองคน คือ สุนิตา วิลเลียมส์ และ บุตช์ วิลมอร์ เป็นภารกิจทดสอบครั้งที่สามของยานรุ่นนี้และเป็นครั้งแรก ...

ดาวหาง เอ 3 ยังไม่หมดลุ้น กันยา-ตุลามาตามนัด

(15 ส.ค. 67) เป็นเวลาปีครึ่งแล้วที่นักดาราศาสตร์ทั้งอาชีพและสมัครเล่นเฝ้าติดตามความคืบหน้าของดาวหางที่เพิ่งพบใหม่ดวงหนึ่งที่ชื่อ ซี/2023 เอ (จื่อจินซาน-แอตลัส) [C/2023 A3 (Tsuchinshan–ATLAS)] หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอ 3 เพราะดาวหางดวงนี้มีวงโคจร ...

จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีอาจเพิ่งเกิด

(11 ส.ค. 67) นับตั้งแต่ที่นักดาราศาสตร์เริ่มประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แล้วหันขึ้นส่องดวงดาว ก็พบว่าดาวพฤหัสบดีมีจุดแดงใหญ่แล้ว โดยคนแรกที่ค้นพบจุดแดงใหญ่นี้คือ โจวันนี กัสซีนี ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นก็มีการศึกษาดาวเคราะห์ดวงนี้และมีบันทึกเกี่ยวกับจุดแดงนี้มาตลอด ...

หลุมดำมวลปานกลางในโอเมกาคนครึ่งม้า

(2 ส.ค. 67) ในบรรดาศัพท์แสงทางดาราศาสตร์ หลุมดำ เป็นชื่อที่ถูกเอ่ยถึงบ่อยมาก จึงเป็นที่คุ้นหูมากแม้ในหมู่คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงดาราศาสตร์ หลุมดำเป็นวัตถุที่ลึกลับที่สุดชนิดหนึ่งในเอกภพ แม้จะถูกเอ่ยถึงบ่อยครั้งมาก แต่นักดาราศาสตร์ก็ยังรู้จักวัตถุชนิดนี้ไม่มากนัก ยังมีความลับอีกมากหมายเกี่ยวกับหลุมดำที่ยังดำมืดเหมือนชื่อ ...

พบบ่อเพชรใต้ดาวพุธ

(25 ก.ค. 67) ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และมีขนาดเล็กที่สุด แม้จะมีขนาดเล็กแต่ดาวเคราะห์ดวงนี้กลับมีดีหลายอย่าง เช่นมีทั้งบรรยากาศ มีสนามแม่เหล็ก มีน้ำแข็งที่ขั้วดาว ลักษณะบางอย่างบนดาวเคราะห์ดวงนี้ก็เป็นเอกลักษณ์ที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่มี เช่น ...

นักดาราศาสตร์เตรียมเสนอแก้ไขนิยามดาวเคราะห์อีกรอบ

(21 ก.ค. 67) ในปี 2549 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกี่ยวกับวงการดาราศาสตร์ เมื่อสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้กำหนดนิยามของดาวเคราะห์เสียใหม่ การใช้นิยามใหม่นี้ เป็นผลให้ดาวพลูโตซึ่งเคยจัดเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้าของระบบ ...

แนวโน้มของดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส

(12 ก.ค. 67) ตามเส้นทางการโคจร ดาวหางเอ 3 จะเข้ามาถึงระยะวงโคจรของดาวอังคารในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 27 กันยายน ช่วงที่ดีที่สุดของการดูดาวหางดวงนี้เกิดขึ้นหลังจากอ้อมผ่านดวงอาทิตย์มาแล้ว ซึ่งจะอยู่ในช่วง ...

ฉางเอ๋อ-6 กลับถึงโลก

(26 มิ.ย. 67) ฉางเอ๋อ-6 เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ของประเทศจีน ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ภารกิจของยานเป็นความท้าทายอย่างมาก มีทั้งยานโคจรรอบดวงจันทร์ มีส่วนที่ลงจอดบนดวงจันทร์ มีการปล่อยรถสำรวจลงไปวิ่งบนพื้นผิว และยังมีการเก็บตัวอย่างดินจากดวงจันทร์แล้วนำกลับมายังโลกอีกด้วย และสิ่งที่ยากที่สุดของภารกิจฉางเอ๋อ-6 ก็คือ จุดที่ลง ...

เสียงจากวอยเอเจอร์ 1

(18 มิ.ย. 67) จนถึงขณะนี้ ยานวอยเอเจอร์ปฏิบัติหน้าที่มาเป็นเวลาถึง 47 ปี แม้จะยังส่งสัญญาณกลับมายังโลกอยู่ แต่ก็เริ่มแสดงอาการขัดข้องเป็นระยะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 สัญญาณจากยานวอยเอเจอร์ที่ส่งกลับมายังโลกกลายเป็น ...

นักดาราศาสตร์เตรียมส่งยานอวกาศจิ๋วสำรวจอะโพฟิส

(13 มิ.ย. 67) การที่มีดาวเคราะห์น้อยเข้ามาใกล้โลกมาก ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ยานสำรวจและดาวเทียมได้ศึกษาดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ในระยะใกล้ชิด ขณะนี้มียาน โอซิริส-เอเพ็กซ์ (ชื่อเดิมคือ โอซิริส-เร็กซ์) ที่ยังปฏิบัติภารกิจ ...

อาร์โรคอตสายหวาน

(12 มิ.ย. 67) มื่อต้นปี 2562 ยานนิวฮอไรซอนส์ของนาซาได้เดินทางไปถึงวัตถุเป้าหมายใหม่ และส่งภาพของวัตถุดวงนั้นกลับมายังโลก วัตถุดวงนั้นมีชื่อว่า อาร์โรคอต (Arrokoth) หรือชื่อเดิมคืออัลติมาทูลี นับเป็นวัตถุไคเปอร์ดวงที่สองที่มียานไปสำรวจในระยะใกล้ ภาพของอาร์โรคอตที่ส่งกลับมา ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องงุนงง เพราะวัตถุดวงนี้มีลักษณะ ...

หลุมดำมวลดาวฤกษ์ที่มีมวลมากที่สุด

(20 พ.ค. 67) ห่างจากโลกออกไปเพียงไม่ถึงสองพันปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวนกอินทรี ยักษ์ล่องหนตนหนึ่งซุ่มซ่อนอยู่โดยไม่มีใครเห็นมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งถูกตรวจพบโดยดาวเทียมไกอา โดยการช่วยเหลือของดาวฤกษ์ข้างเคียง ...

ฮับเบิลพบระบบดาวสามดวงเกิดใหม่

(19 พ.ค. 67) แม้ในเอกภพมีระบบดาวสามดวงอยู่มาก แต่ระบบดาวนี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะดาวแต่ละดวงมีอายุน้อยมาก คาดว่ามีอายุราว 10 ล้านปีเท่านั้น ด้วยอายุเพียงเท่านี้ ดาวทั้งสามจึงยังมีสภาพเป็นดาวทารก นั่นคือปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนที่ใจกลางยังไม่เกิดขึ้น ...

อัตราหมุนรอบตัวเองของดาวเบเทลจุส

(24 เม.ย. 67) ปัจจุบันดาวเบเทลจุสอยู่ในสถานะดาวยักษ์แดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากถึงหนึ่งพันล้านกิโลเมตร ดาวที่มีขนาดใหญ่ขนาดนี้ไม่ควรหมุนรอบตัวเองเร็วนัก เพราะเมื่อดาวขยายใหญ่ขึ้น อัตราการรหมุนรอบตัวเองจะต้องลดลงตามหลักการสงวนโมเมนตัม แต่นักดาราศาสตร์เคยวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของเบเทลจุสพบว่ามีความเร็วที่พื้นผิว 5 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าดาวยักษ์แดงทั่วไปถึง 100 เท่า ...

ดาวหางเคียงข้างสุริยุปราคา ค้นพบโดยคนไทย

(23 เม.ย. 67) หลังสุริยุปราคาผ่านพ้นไป ปรากฏว่ามีผู้ถ่ายภาพสุริยุปราคาติดภาพดาวหางได้จริง อย่างไรก็ตาม ดาวหางดวงนั้นไม่ใช่ดาวหาง 12 พี แต่เป็นดาวหางที่เพิ่งถูกค้นพบหมาด ๆ ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง และที่สำคัญ ดาวหางดวงนี้ถูกค้นพบโดยคนไทย ...

คลื่นความโน้มถ่วงจากวัตถุลึกลับ

(20 เม.ย. 67) เมื่อมีการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงได้ นักดาราศาสตร์จะวิเคราะห์ลักษณะของคลื่น เพื่อสืบสาวไปได้ว่า การชนนั้นเกิดขึ้นที่ใด ไกลออกไปเท่าใด และวัตถุที่มาชนจนทำให้เกิดคลื่นนั้น มีมวลเท่าใด มวลของวัตถุก็บอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นวัตถุชนิดใด ...

เบเทลจุสหรี่แสงอีกแล้ว

(15 มี.ค. 67) ตั้งแต่ต้นปี 2567 นักดาราศาสตร์เริ่มสังเกตได้ว่า ดาวดวงนี้เริ่มหรี่แสงลงอีกอย่างผิดสังเกตอีกแล้ว นับจากเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ความสว่างลดลงไปราว 0.5 อันดับ ซึ่งนับเป็นช่วงที่ดาวดวงนี้มีความสว่างน้อยที่สุดนับจากที่พ้นช่วงหรี่แสงครั้งใหญ่เมื่อ ...

ปีนี้มี "ดาวใหม่" เห็นได้ด้วยตาเปล่า

(15 มี.ค. 67) กลุ่มดาวมงกุฎเหนือ เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็ก แต่ก็สังเกตได้ง่าย มองเห็นได้ง่ายเกือบตลอดปี มีเพียงช่วงฤดูหนาวเท่านั้นที่มองไม่เห็น ใครที่ยังไม่รู้จักกลุ่มดาวนี้ก็รีบหัดดูเสียแต่เนิ่น ๆ เพราะในปีนี้ กลุ่มดาวนี้จะมี "ดาวใหม่" เกิดขึ้นให้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลยทีเดียว ...

นักดาราศาสตร์ย้ำชัด อะโพฟิสไม่ชนโลกแน่นอน

(7 มี.ค. 67) ภัยคุกคามจากอะโพฟิสยังเป็นไปได้อยู่ แนววิถีของอะโพฟิสเฉียดโลกไปในระยะเฉียดฉิว หากมีเหตุใดที่มาทำให้แนววิถีของอะโพฟิสเบี่ยงเบนไปจากเดิมแม้เพียงเล็กน้อย แนววิถีใหม่อาจเป็นแนวที่ชนโลกก็ได้ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น