กิจกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2556

พรชัย รังษีธนะไพศาล29 มกราคม 2556

กิจกรรมบรรยายพิเศษ
"โลก ท้องฟ้า จินตนาการ สู่องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์"

ประวัติของวิชาดาราศาสตร์เกิดขึ้นมานานแล้วที่เคยเจริญก้าวหน้ามาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นบนพื้นโลก ที่มีผู้คนสนใจเป็นเวลานานและมีคนติดตามทุกยุคทุกสมัย ที่มองบนท้องฟ้ามีดวงดาว และปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับฃีวิตของมนุษย์อยู่กับกลางวันและกลางคืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิชาดาราศาสตร์มาเจริญเฟื่องฟูที่ประเทศกรีก

จากการที่มนุษย์มองจักรวาลในระบบโลกเป็นศูนย์กลาง แล้วพัฒนาองค์ความรู้มาโดยลำดับจนถึงระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในปัจจุบัน ประกอบด้วยเรื่องเกี่ยวกับข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม แนวคิดในระบบการคำนวณเบื้องต้นของนักดาราศาสตร์โบราณ ในการหาวงโคจรของดาวต่าง ๆ จนมาถึงจักรวาลวิทยาของอริสโตเติล, ทอเลมี, โคเปอร์นิคัส, ทีโค บราห์, กาลิเลโอ กาลิเลอี, เคปเลอร์ จนถึงระบบดาราศาสตร์ปัจจุบันในที่สุด

สมคมดาราศาสตร์ไทย จึงจัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อง “ โลก ท้องฟ้า จินตนาการ สู่องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ “ ให้ความรู้ความเข้าใจในวิชาดาราศาสตร์ นอกจากการบรรยายแล้ว ตอนค่ำเชิญชวนมาดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ คือ ดาวพฤหัสบดี สังเกตแถบชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์บริวานใหญ่ 4 ดวง คือ 1. ไอโอ 2. ยูโรปา 3. แกนีมีด 4. คัลลิสโต วัตถุท้องฟ้า เช่น กระจุกดาวลูกไก่, เนบิวลา M42 , ดาวคู่, กระจุกดาว เป็นต้น การบรรยายพิเศษ วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

กำหนดการบรรยาย

  • 15:30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 16:00 น. บรรยายเรื่อง “โลก ท้องฟ้า จินตนาการ สู่องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์“
    วิทยากรบรรยายโดย นายวรพล ไม้ภา สมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • 17:30 น. ช่วงเวลาถาม-ตอบ ดาราศาสตร์ และข่าวดาราศาสตร์ทันเหตุการณ์
  • 18:00 น. ตั้งกล้องโทรทรรศน์ส่องดูดาวเคราะห์ ดาวพฤหัสบดี สังเกตแถบชั้นบรรยากาศดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์บริวารใหญ่ 4 ดวง, กระจุกดาวลูกไก่ , สังเกตกลุ่มดาว , เนบิวลา M42 , ดาวคู่ , กระจุกดาว
  • 20:00 น. ปิดกิจกรรม

หมายเหตุ

  • การบรรยายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศได้
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟังบรรยายได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (ฟรี)

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (อาคาร 4) ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทร. 02-3817409 -10 เจ้าหน้าที่สมาคมฯ คุณสุกัญญา พึ่งผลงาม

การเดินทางมาสมาคมดาราศาสตร์ไทย

ที่สะดวกที่สุดควรมาทางรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีเอกมัย (ฝั่งสถานีขนส่งเอกมัย) แล้วเดินย้อนขึ้นมาผ่านสถานีขนส่งเอกมัย ผ่านทางเข้าท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เข้าทางเข้าที่จะไปโรงเรียนปทุมคงคา สมาคมดาราศาสตร์ไทย จะอยู่ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (อาคาร 4) อยู่ทางขวามือติดกับถนนสุขุมวิท